โกศล
หน้าตา
อาณาจักรโกศล कोसल राज्य | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
c. 7th century BCE[1]–5th century BCE | |||||||||
Kosal and other kingdoms of the late Vedic period. | |||||||||
Kosal and other Mahajanapadas in the Post Vedic period. | |||||||||
เมืองหลวง | สาวัตถี และ อโยธยา | ||||||||
ภาษาทั่วไป | Sanskrit | ||||||||
ศาสนา | Hinduism Buddhism Jainism | ||||||||
การปกครอง | ราชาธิปไตย | ||||||||
Maharaja | |||||||||
ยุคประวัติศาสตร์ | Bronze Age, Iron Age | ||||||||
• ก่อตั้ง | c. 7th century BCE[1] | ||||||||
• สิ้นสุด | 5th century BCE | ||||||||
| |||||||||
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ | India Nepal |
อาณาจักรโกศล (สันสกฤต: कोसल राज्य) เป็นอาณาจักรโบราณของอินเดีย ปัจจุบันตั้งอยู่ราวแคว้นอวัธ ในรัฐอุตตรประเทศ
เริ่มต้นจากการเป็นแคว้นเล็ก ๆ ในช่วงปลายยุคพระเวท โดยอยู่ติดกับแคว้นวิเทหะ[2]
จากคัมภีร์โบราณทางพุทธศาสนา อังคุตตรนิกาย โกศลเป็นหนึ่งใน 16 แคว้นของมหาชนบท เมืองหลวงของแคว้นโกศลในสมัยพุทธกาลคือ สาวัตถี พระเจ้าผู้ปกครองแผ่นดินคือ พระเจ้าปเสนทิโกศล ในยุคนี้เป็นแคว้นที่รุ่งเรืองและมีอำนาจมาก แคว้นกาสีในสมัยนั้นก็ขึ้นกับแคว้นโกศล มีหลักฐานมากแห่งทั้งทางฝ่ายพุทธและอื่น ๆ แสดงว่าแคว้นสักกะแห่งกษัตริย์ศากยวงศ์ของพระพุทธเจ้าก็อยู่ภายใต้อำนาจหรือความคุ้มครองของแคว้นโกศล เมืองและสถานที่ ที่ปรากฏในพระคัมภีร์พุทธศาสนา เช่น เมืองสาเกต อโยธยา เสตัพยา เกสปุตตะของชาวกาลามะ หมู่บ้านอิจฉานังคละ และป่าอันธวันใกล้สาวัตถี[3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Samuel 2010, p. 50.
- ↑ Michael Witzel (1989), Tracing the Vedic dialects in Dialectes dans les litteratures Indo-Aryennes ed. Caillat, Paris, 97–265.
- ↑ พระราชธรรมมุนี (เกียรติ สุกิตฺติ). เกี่ยวกับอินเดีย ; มหาชนบท16แคว้นในชมพูทวีปสมัยพุทธกาล ; จดหมายเล่าเรื่องอนาคาริกธัมมปาละ ; คำบูชาประทักษิณเวียนเทียน ณ สังเวชนียสถาน 4 แห่ง ; ประจักษ์พยานเรื่องกรรมและตายแล้วเกิด ; นำเที่ยวสถานที่ทางพระพุทธศาสนาในอินเดีย. กรุงเทพฯ : วี.อินเตอร์พริ้นท์, 2549. 278 หน้า. หน้า 20-24.