พระเจ้าปเสนทิโกศล
พระเจ้าปเสนทิโกศล | |
---|---|
ราชา | |
พระเจ้าปเสนทิโกศลขณะเสด็จไปพบพระพุทธเจ้า | |
กษัตริย์เเห่งเเคว้นโกศล | |
ครองราชย์ | 534 ปีก่อน ค.ศ. |
ก่อนหน้า | พระเจ้าสัญชัยมหาโกศล |
ถัดไป | วิฑูฑภะ |
ราชินี | มัลลิกาแห่งโกศล |
พระราชบุตร | Jeta, วิฑูฑภะ, วชิรกุมารี |
ราชวงศ์ | อิกษวากุ |
พระราชบิดา | พระเจ้าสัญชัยมหาโกศล |
ปเสนทิ (ปะ-เส-นะ-ทิ; บาลี: पसेनदि, อักษรโรมัน: Pasenadi) หรือ ประเสนชิต (ปฺระ-เส-นะ-ชิด; สันสกฤต: प्रसेनजित्, อักษรโรมัน: Prasenajit; ป. ศตวรรษที่ 6 ก่อน ค.ศ.) เป็นพระมหากษัตริย์แห่งโกศลจากราชวงศ์อิกษวากุ เสวยราชย์อยู่ ณ เมืองสาวัตถี สืบต่อจากพระบิดา คือ พระเจ้าสัญชัยมหาโกศล[1] ถือเป็นอุบาสกที่สำคัญพระองค์หนึ่งของพระพุทธเจ้า และทรงสร้างวิหารอารามไว้หลายแห่ง เช่น วัดราชิการามเป็นวัดที่พระเจ้าปเสนทิโกศลสร้างถวายเพื่อเป็นที่อยู่ของพระภิกษุณี มีพระราชบุตรชื่อ วิฑูฑภะและวชิรกุมารี
พระชนมชีพ
[แก้]ต้นพระชนมชีพ พระเจ้าปเสนทิทรงศึกษา ณ ตักศิลา ต่อมา ได้ขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์แห่งโกศล (ปัจจุบันคืออวัธ)[2] พระมเหสีพระองค์แรก คือ เจ้าหญิงพระองค์หนึ่งจากมคธที่มีศักดิ์เป็นพระเชษฐภคินี/ขนิษฐาในพระเจ้าพิมพิสาร พระมเหสีพระองค์ที่สองมีพระนามว่า วาสภขัตติยา เป็นพระธิดาของพระเจ้ามหานามะแห่งราชวงศ์ศากยะ โดยให้กำเนิดพระราชโอรสนามวิฑูฑภะ และพระราชธิดานามวชิรกุมารีที่ภายหลังอภิเษกสมรสกับพระเจ้าอชาตศัตรู[3][2] พระเจ้าปเสนทิยังมีพระมเหสีพระองค์ที่สาม พระนามว่า มัลลิกา เป็นบุตรีของคนทำมาลัย
รัชสมัย
[แก้]ในรัชสมัยพระเจ้าปเสนทิโกศล โกศลกลายเป็นเจ้านครศักดินา (suzerain) ของสาธารณรัฐชนเผ่า Kālāma[4] และดินแดนของพระองค์ยังคงความสัมพันธ์ที่เป็นมิตรกับเผ่าลิจฉวีทางตะวันออกของอาณาจักร[5]
ครั้งหนึ่ง เมื่อพระเจ้าปเสนทิเสด็จไปจากพระนคร มหาอำมาตย์ของพระองค์ นามว่า ทีฆการายนะ ตั้งเจ้าชายวิฑูฑภะขึ้นเสวยราชย์แทน พระเจ้าปเสนทิจึงเสด็จไปยังมคธเพื่อขอความช่วยเหลือจากพระเจ้าอชาตศัตรู แต่พระเจ้าปเสนทิสิ้นพระชนม์ที่นอกประตูเมืองราชคฤห์เสียก่อนจะได้พบพระเจ้าอชาตศัตรู[6] เจ้าชายวิฑูฑภะจึงได้เป็นพระมหากษัตริย์ต่อจากพระองค์[7] แต่ ปุราณะ ว่า ผู้สืบราชสมบัติต่อจากพระองค์ คือ กษุทรกะ มิใช่วิฑูฑภะ[8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Raychaudhuri H. (1972). Political History of Ancient India, Calcutta: University of Calcutta, pp.90,176
- ↑ 2.0 2.1 Sastri 1988, p. 17.
- ↑ Pasenadi. PaliKanon.com
- ↑ Sharma 1968, p. 231-236.
- ↑ Sharma 1968, p. 121.
- ↑ Raychaudhuri H. (1972). Political History of Ancient India, Calcutta: University of Calcutta, pp.176-8,186
- ↑ Sen 1999, p. 107.
- ↑ Misra, V. S. (2007). Ancient Indian Dynasties, Mumbai: Bharatiya Vidya Bhavan, ISBN 81-7276-413-8, pp.287-8
บรรณานุกรม
[แก้]- Sastri, K. A. Nilakanta, บ.ก. (1988) [1967], Age of the Nandas and Mauryas (Second ed.), Delhi: Motilal Banarsidass, ISBN 81-208-0465-1
- Sen, Sailendra Nath (1999) [1988], Ancient Indian History and Civilization (Second ed.), New Age International Publishers, ISBN 81-224-1198-3
- Sharma, J. P. (1968). Republics in Ancient India, C. 1500 B.C.-500 B.C. Leiden, Netherlands: E. J. Brill. ISBN 978-9-004-02015-3.
- Singh, Upinder (2016), A History of Ancient and Early Medieval India: From the Stone Age to the 12th Century, Pearson, ISBN 978-81-317-1677-9