Nothing Special   »   [go: up one dir, main page]

ข้ามไปเนื้อหา

วิเทหะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ราชอาณาจักรวิเทหะ

ไม่ปรากฏ–500 ปีก่อนคริสตกาล
Videha
รัฐวิเทหะ (มิถิลา) และรัฐอื่น ๆ ในสมัยพระเวทตอนปลาย
เมืองหลวงชนกปุระ (ปัจจุบันอยู่ในประเทศเนปาล)[1] หรือพาลีราชคฒ (ปัจจุบันอยู่ในเขตมธุพนี รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย)[2]
ภาษาทั่วไปสันสกฤต
ศาสนา
พระเวท-ฮินดู[3]
การปกครองราชาธิปไตย
พระเจ้าชนก 
ยุคประวัติศาสตร์ยุคเหล็ก
• ก่อตั้ง
ไม่ปรากฏ
• สิ้นสุด
500 ปีก่อนคริสตกาล
ถัดไป
[[Vajji Mahajanpada[4]]]
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ อินเดีย
 เนปาล

วิเทหะ (สันสกฤต: विदेह) หรือ มิถิลา (สันสกฤต: मिथिला) เป็นราชอาณาจักรโบราณในประเทศอินเดียสมัยพระเวท[5] ซึ่งรุ่งเรืองขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าชนก มีดินแดนซึ่งปัจจุบันได้แก่ภาคมิถิลากินอาณาบริเวณทางเหนือและตะวันออกของรัฐพิหาร ประเทศอินเดีย กับตะวันออกของที่ราบตะราอี ประเทศเนปาล[6][7]

ประวัติ

[แก้]

ปลายสมัยพระเวท (ราว 1100–500 ปีก่อนคริสตกาล) รัฐวิเทหะได้เป็นหนึ่งในศูนย์กลางหลักทางการเมืองและวัฒนธรรมแห่งเอเชียใต้ พร้อมด้วยรัฐกุรุและรัฐปัญจาละ[8]

วรรณกรรมสมัยพระเวทตอนปลาย เช่น พราหมณะ และ พฤหทารัณยกอุปนิษัท กล่าวว่า พระเจ้าชนกเป็นกษัตริย์นักปราชญ์แห่งวิเทหะ มีพระเกียรติยศเลื่องลือเพราะเหตุที่ได้ทรงอุปถัมภ์วัฒนธรรมและปรัชญาพระเวท ราชสำนักของพระองค์เป็นศูนย์กลางแห่งภูมิปัญญาเพราะอุดมด้วยฤษี ที่มีชื่อเสียงเช่น ฤษียาชญวัลกยะ[9]

ภูมิภาคและวัฒนธรรมของรัฐวิเทหะยังมักปรากฏในวรรณกรรมฮินดู[10] เช่น กล่าวถึงแนวคิดเรื่องราชวงศ์กษัตริย์ และประเพณีการมีกษัตริย์นักปราชญ์ผู้ประพฤติสันยาสะ[10] เรื่องทำนองเดียวกันยังพบในงานเขียนทางฮินดู พุทธ และเชน ที่เหลือรอดอยู่ในปัจจุบัน ทำให้น่าเชื่อว่า ประเพณีสันยาสะน่าจะมีมาก่อนพุทธกาล และนับถือแพร่หลายในรัฐอื่น ๆ ทั่วอินเดียนอกเหนือไปจากวิเทหะด้วย เช่น รัฐปัญจาละ รัฐกลิงคะ และรัฐกันธาระ[10] ศาสนาเชนยังถือว่า พระเจ้าเนมิราชแห่งวิเทหะเป็นตีรถังกรองค์ที่ 21 จากทั้งหมด 24 องค์[10]

รัฐวิเทหะยังปรากฏในมหากาพย์สันสกฤต เช่น มหาภารตะ และ รามายณะ เรื่องหลังนี้กล่าวว่า สีดาเป็นเจ้าหญิงแห่งรัฐวิเทหะ[10] และสมรสกับพระรามแห่งรัฐโกศลเพื่อเกี่ยวดองระหว่างสองรัฐ[1]

สันนิษฐานว่า เมืองหลวงของรัฐวิเทหะอาจได้แก่ เมืองชนกปุระในประเทศเนปาลปัจจุบัน[1] หรือเมืองพาลีราชคฒในเขตมธุพนี รัฐพิหาร ประเทศอินเดียปัจจุบัน[11]

เมื่อสิ้นสมัยพระเวท รัฐวิเทหะน่าจะได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของรัฐวัชชี และภายหลังก็ตกเป็นของรัฐมคธ[12]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 Raychaudhuri (1972)
  2. "Archived copy". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 ตุลาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 26 ตุลาคม 2017.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  3. Ben-Ami Scharfstein (1998), A comparative history of world philosophy: from the Upanishads to Kant, Albany: State University of New York Press, pp. 9-11
  4. Raychaudhuri Hemchandra (1972), Political History of Ancient India, Calcutta: University of Calcutta, pp. 85–86
  5. Michael Witzel (1989), Tracing the Vedic dialects in Dialectes dans les litteratures Indo-Aryennes ed. Caillat, Paris, pages 13, 17 116-124, 141-143
  6. Dilip K. Chakrabarti (2001). Archaeological Geography of the Ganga Plain: The Lower and the Middle Ganga. Orient Blackswan. pp. 207–. ISBN 978-81-7824-016-9.
  7. Michael Witzel (1989), Tracing the Vedic dialects in Dialectes dans les litteratures Indo-Aryennes ed. Caillat, Paris, pages 13, 17 116-124, 141-143
  8. Michael Witzel (1989), Tracing the Vedic dialects in Dialectes dans les litteratures Indo-Aryennes ed. Caillat, Paris, pages 13, 141-143
  9. H. C. Raychaudhuri (1972), Political History of Ancient India and Nepal, Calcutta: University of Calcutta, pp.41–52
  10. 10.0 10.1 10.2 10.3 10.4 Geoffrey Samuel, (2010) The Origins of Yoga and Tantra: Indic Religions to the Thirteenth Century, Cambridge University Press, pages 69-70
  11. "Archived copy". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 ตุลาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 26 ตุลาคม 2017.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  12. H.C. Raychaudhuri (1972), pp. 70-76