สมัยพระเวท
สมัยพระเวท หรือ ยุคพระเวท (ราว 1500–500 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นสมัยหนึ่งในประวัติศาสตร์ของอนุทวีปอินเดียทางตอนเหนือ มีช่วงเวลาระหว่างตอนสิ้นสุดอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุกับการตั้งรกรากครั้งที่สองที่เริ่มต้นตอนกลางของที่ราบลุ่มแม่น้ำสินธุ-คงคา (Indo-Gangetic Plain) ราว 600 ปีก่อนคริสตกาล ชื่อของยุคมาจากพระเวท ซึ่งคือคัมภีร์ที่ให้ข้อมูลของชีวิตของยุคนี้ ซึ่งเข้าใจว่าเป็นข้อมูลทางประวัติศาสตร์[1] และประกอบด้วยข้อมูลเอกสารชั้นต้นของยุคนี้ เอกสารเหล่านี้รวมถึงหลักฐานทางโบราณคดีทำให้สามารถพิจารณาพบร่องรอยและและสรุปได้ถึงความก้าวหน้าของวัฒนธรรมยุคพระเวท[2]
คัมภีร์พระเวทแต่งขึ้นจากการเล่าต่อกันมาโดยคนที่ใช้ภาษาอินโดอารยันเก่าที่อพยพจากทางตอนเหนือของภูมิภาคของอนุทวีปอินเดีย สังคมยุคพระเวทเป็นสังคมชายนำและสืบทอดตำแหน่งโดยฝ่ายชาย ต้นยุคพระเวทอารยันเป็นสังคมยุคสัมฤทธิ์ตอนปลายมีจุดศูนย์กลางบริเวณภูมิภาคปัญจาบ มีรูปแบบเป็นชนเผ่ามากกว่าจะเป็นราชอาณาจักร และสืบทอดตำแหน่งโดยฝ่ายชาย ต่อมาช่วงราว 1200–1000 ปีก่อนคริสตกาล ยุคพระเวทอารยันเริ่มขยายตัวไปทางทิศตะวันออกไปถึงทางตะวันตกของที่ราบลุ่มแม่น้ำคงคา และได้รับเครื่องมือทำจากเหล็ก ทำให้มีการถางป่าและมีการตั้งถิ่นฐานมากขึ้น มีสังคมกสิกรรม ในช่วงครึ่งหลังของยุคนี้มีการเกิดขึ้นของเมืองเล็ก ๆ ราชอาณาจักร และสังคมอันแบ่งแยกชนชั้นอย่างชัดเจนในอินเดีย[2] รวมถึงประมวลเกี่ยวกับพิธีกรรมการบวงสรวงดั้งเดิมของราชอาณาจักรกุรุ[3][4] ในช่วงนี้บริเวณตอนกลางที่ราบลุ่มแม่น้ำคงคาปกครองโดยกลุ่มที่ไม่ใช่วัฒนธรรมพระเวทอินโดอารยัน พอสิ้นสุดยุคพระเวทมีการเกิดเป็นนครใหญ่ ๆ และแคว้นใหญ่ ๆ ที่เรียกว่า มหาชนบท รวมถึงความเจริญรุ่งเรืองของขบวนการสมณะ (รวมถึงศาสนาพุทธและศาสนาเชน) ที่เข้ามาแข่งขันกับความเชื่อดั้งเดิมของยุคพระเวท[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ McClish, Mark; Olivelle, Patrick (2012), "Introduction", ใน M. McClish; P. Olivelle (บ.ก.), The Arthasastra: Selections from the Classic Indian Work on Statecraft, Hackett Publishing, p. xxiv, ISBN 1-60384-903-3: "Although the Vedas are essentially liturgical documents and increasingly mystical reflections on Vedic ritual, they are sufficiently rich and extensive to give us some understanding of what life was like at the time. The earliest of the Vedas, the Ṛgveda Saṃhitā, contains 1,028 hymns, some of which may be as old as 1500 BCE. Because the Vedic texts are the primary way in which we can understand the period between the fall of the IVC (ca 1700) and the second wave of urbanization (600 BCE), we call the intervening era of South Asian history the 'Vedic Period.'"
- ↑ 2.0 2.1 Stein 2010, p. 50.
- ↑ Witzel 1995, p. 3-5.
- ↑ Samuel 2010, p. 49-52.
- ↑ Flood 1996, p. 82.
บรรณานุกรม
[แก้]- Flood, Gavin (2003), The Blackwell Companion to Hinduism, Malden, MA: Blackwell, ISBN 1-4051-3251-5
- Samuel, Geoffrey (2010), The Origins of Yoga and Tantra. Indic Religions to the Thirteenth Century, Cambridge University Press
- Stein, Burton (2010), A History of India, John Wiley & Sons, ISBN 978-1-4443-2351-1
- Witzel, Michael (1995), "Early Sanskritization. Origins and Development of the Kuru State." (PDF), Electronic Journal of Vedic Studies, 1 (4): 1–26, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 11 มิถุนายน 2007, สืบค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2012