Nothing Special   »   [go: up one dir, main page]

ข้ามไปเนื้อหา

วัชชี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัชชี
Vajji

c. 700 BCE–c. 400 BCE
แคว้นวัชชีกับแคว้นอื่นๆ ในยุคพระเวทตอนปลาย
แคว้นวัชชีกับแคว้นอื่นๆ ในยุคพระเวทตอนปลาย
เมืองหลวงเวสาลี[1]
ภาษาทั่วไปภาษาไมถิลี, ภาษาปรากฤต
ศาสนา
ศาสนาเชน
ศาสนาฮินดู
พระพุทธศาสนา
การปกครองสาธารณรัฐ[1]
กษัตริย์ (มหาราชา) 
ยุคประวัติศาสตร์ยุคโลหะ, ยุคหิน
• ก่อตั้ง
c. 700 BCE
• ถูกพิชิตโดย พระเจ้าอชาตศัตรู แห่งแคว้นมคธ
c. 400 BCE
ถัดไป
ราชวงศ์หรายังกะ
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ อินเดีย
 เนปาล

แคว้นวัชชี (อักษรโรมัน: Vajji สันสกฤต: Vṛji ฮินดี: वज्जि ) หรือ วริชชี เป็นอาณาจักรชาวลิจฉวีในประเทศอินเดียสมัยโบราณ และเป็นหนึ่งมหาชนบท 16 แคว้น ตั้งอยู่ทางเหนือของแคว้นมคธ มีแม่น้ำคงคาเป็นแดนแบ่งเขตแคว้นทั้งสอง เมืองหลวงของแคว้นชื่อเวสาลี[1] เทียบกับปัจจุบันแคว้นวัชชีได้แก่รัฐพิหารตอนเหนือ หรือประมาณคร่าว ๆ ได้แก่เนื้อที่บริเวณจังหวัด มุซัฟฟาร์ปูร์ ดรภังคะ จัมปารัน และไวศาลีรายละเอียดเกี่ยวกับอาณาเขต นอกจากที่บอกว่าทาง ทิศใต้ จดแม่น้ำคงคาดังกล่าวแล้ว ทางทิศอื่นไม่มีหลักฐานบอกให้ทราบแน่ชัด นักประวัติศาสตร์และโบราณคดีลงความเห็นว่า ทางทิศตะวันออก เขตของแคว้นวัชชี คงจะจดแม่น้ำโกสี หรือเกาสิกี ในปัจจุบัน ตะวันออกแม่น้ำนี้เป็นเขตที่เรียกในสมัยพุทธกาลว่า อังคุตตราปะ ทางทิศเหนือ จดทิวเขาหิมาลัยซึ่ง เวลานี้อยู่ในเขตประเทศเนปาลและทางตะวันตกจดแม่น้ำคัณฑักใหญ่ อันน่าจะเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างแคว้นวัชชีกับแคว้นมัลละ ในสมัยนั้น แม่น้ำคัณฑักนี้เรียกกันว่า คัณฑกะ หรือคัณฑกีอีกบ้าง ผู้รู้ลงความเห็นว่า ได้แก่แม่น้ำที่ทางอินเดียสมัยโน้นเรียกว่าสทานีรา แต่บางท่านให้ความเห็นว่าได้แก่แม่น้ำมหี ที่ปรากฏชื่อในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาว่า เป็นหนึ่งในปัญจมหานที หรือแม่น้ำใหญ่ 5 สายของอินเดียเหนือในพุทธสมัย

ในพระไตรปิฎก อังคุตตรนิกาย และคัมภีร์ในศาสนาเชน ภควัตตีสูตร ได้รวมแคว้นวัชชีเป็นหนึ่งใน มหาชนบท 16 แคว้น[2] ชื่อของมหาชนบทแคว้นนี้ได้มาจากหนึ่งในตระกูลที่ปกครองเมืองคือ ตระกูลวัชชี รัฐวัชชีถูกระบุว่าเป็น สาธารณรัฐ เผ่านี้ถูกกล่าวถึงโดย Pāṇini, จาณักยะ และ พระถังซัมจั๋ง[3] ในบันทึกของ พระถังซัมจั๋ง สองตระกูลเชื่อมโยงกับแคว้นวัชชี/แคว้นมิถิลาโดย เวสาลี และวริชชี โดยเมืองเสาลี นับถือทั้งศาสนาพุทธและศาสนาฮินดูในขณะที่ วริชชี ส่วนใหญ่นับถือศาสนาฮินดูและเป็นเมืองหลวงคือ Zhanshuna [4]

แคว้นวัชชีในสมัยพุทธกาล เป็นแคว้นที่รุ่งเรืองมากแคว้นหนึ่ง มีการปกครองแบบคณราชย์ หรือสามัคคีธรรม ซึ่งอาจเรียก ได้ว่าเป็นประชาธิปไตยในลักษณะหนึ่ง คือปกครองแบบไม่มี กษัตริย์เป็นประมุขทรงอำนาจสิทธิ์ขาด มีแต่ผู้ได้รับเลือกให้ทำหน้าที่เป็นประมุขแห่งรัฐ แล้วบริหารงานโดยการปรึกษาหารือกับสภาซึ่งประกอบด้วยเจ้าหรือกษัตริย์วงศ์ต่าง ๆ รวมถึง 8 วงศ์ด้วยกัน และในจำนวนนี้วงศ์สิจฉวีแห่งเวสาลี และวงศ์วิเทหะแห่งมิถิลา เป็นวงศ์ที่มีอิทธิพลมากที่สุด

เวสาลี ซึ่งเป็นเมืองหลวงของแคว้นวัชชีในสมัยนั้น ปัจจุบันเป็นซากอยู่ที่ตำบลสาร์ท หรือเบสาร์ท แห่งจังหวัดไวศาลี ที่เขตติดต่อของอำเภอ สดาร์ กับ หชิปูร์ซึ่งเป็นที่ตั้งที่ทำการจังหวัด ห่างจากหชิปูร์ 35 กิโลเมตร หรือ 22 ไมล์ และห่างจากเมืองมุซัฟฟาร์ปูร์ 37 กิโลเมตร หรือ 23 ไมล์ โดยอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของมุซัฟฟาปูร์เดิมเขตของเวสาลีขึ้นกับจังหวัดมุซัฟฟาร์ปูร์ แต่พร้อมกันกับการจัดตั้งจังหวัดนาลันทาและอื่น ๆ ในปี 2515 ดังกล่าวข้างต้น ทางการก็ได้จัดตั้งจังหวัดไวศาลีขึ้นด้วย โดยมีหชิปูร์เป็นที่ตั้งที่ทำการจังหวัด ผลการจัดตั้งจังหวัดขึ้นใหม่ดังกล่าวทำให้เขตที่ตั้งของเวสาลีเดิมมาขึ้นกับจังหวัดใหม่คือไวศาลี

เวสาลี นครหลวงของวัชชี เป็นจุดศูนย์กลางของพระพุทธศาสนา ที่สำคัญยิ่งแห่งหนึ่งในสมัยของพระพุทธองค์ พระพุทธองค์เสด็จเยี่ยมเวสาลีครั้งแรก ในปีที่ 5 นับแต่ตรัสรู้ ตามการกราบทูลเชิญของคณะผู้ครองแคว้น เมื่อเวสาลีประสพทุพภิกขภัยและฉาตกภัยร้ายแรง ผู้คนล้มตายนับจำนวนไม่ได้ เมื่อพระพุทธองค์เสด็จถึงด้วยอำนาจพุทธานุภาพทำให้ภัยทั้งหลายสงบลง และหมดสิ้นไปในระยะเวลาอันรวดเร็วและที่ป่ามหาวันนี้ พระนางมหาปชาบดีโคตมีกับเหล่านางสากิยานี 500 ได้พร้อมกันปลงผมและครองเพศนักบวช เดินทางจากกบิลพัสดุ์มาเฝ้าพระพุทธองค์เพื่อกราบทูลขอบวชในพระศาสนา อันมีผลทำให้พระพุทธองค์ทรงมีพระพุทธานุญาตให้มีภิกษุสงฆ์ หรือให้สตรีบวชเป็นภิกษุณีในพระศาสนาได้

พระพุทธองค์ทรงแสดงพระสูตรสำคัญ ๆ หลายสูตรที่เวสาลี อาทิเช่น รตนสูตร มหาลิสูตร มหาสีหนาทสูตร จูลสัจจกะ และมหาสัจจกะสูตร เตวิชชสูตรสุนักขัตตสูตร และสารันททสูตร ซึ่งทรงแสดงอปริหานิยธรรม 7 ประการ แก่เจ้าลิจฉวีจำนวนมาก ซึ่งได้พากันมาเฝ้าพระพุทธองค์ ณ สารันททเจดีย์ อันเป็นที่ทรงแสดงพระสูตรดังกล่าว

ในการเสด็จเวสาลีครั้งสุดท้ายก่อนปรินิพพาน พระพุทธองค์ทรงรับสวนมะม่วงของนางอัมพปาลีคณิกา หญิงงามเมืองแห่งเวสาลี ซึ่งนางได้อุทิศถวายให้เป็นสังฆารามในพระศาสนาพระพุทธองค์ทรงจำพรรษาสุดท้ายที่เวฬุวคาม ทรงปลงอายุสังขารที่ปาวาลเจดีย์และเมื่อพระพุทธองค์เสด็จปรินิพพานแล้วได้ 100 ปี ได้มีการทำสังคายนา ครั้งที่สอง ณ วาลุการาม ซึ่งสถานที่ทั้งหมดเหล่านี้อยู่ในเวสาลี แคว้นวัชชี

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 Patrick Olivelle (13 July 2006). Between the Empires: Society in India 300 BCE to 400 CE. Oxford University Press. pp. 15–. ISBN 978-0-19-977507-1.
  2. Raychaudhuri Hemchandra (1972), Political History of Ancient India, Calcutta: University of Calcutta, pp.85-6
  3. Raychaudhuri Hemchandra (1972), Political History of Ancient India, Calcutta: University of Calcutta, p.107
  4. ISBN 9789867332677 page 485