ศาสนาเชน
ศาสนาเชน, ไชนะ หรือ ชินะ (แปลว่า ผู้ชนะ) (อังกฤษ: Jainism) เป็นศาสนาเก่าแก่ของอินเดีย เป็นหนึ่งในลัทธิสำคัญทั้งหก ที่เกิดร่วมสมัยกับพระโคตมพุทธเจ้า[1][2][3] คำว่า เชน หรือ ไชนะ มาจากภาษาสันสกฤต "ไชนะ" อันแปลว่าผู้ชนะ และสามารถลุยข้ามสายน้ำแห่งการเวียนว่ายตายเกิดได้[4] ศาสนาเชนเชื่อว่าเป็นศาสนาที่เป็นนิรันดร์ ("sanatan") มีประวัติศาสตร์มายาวนานตั้งแต่สมัยตีรถังกรทั้ง 24 องค์ที่ผ่านมา ซึ่งมี "พระอาทินาถ" เป็นองค์แรกในวงจรจักรวาลนี้ (อวสานปิณี) เมื่อราวหลายล้านล้านล้านปีมาแล้ว ตีรถังกรองค์ที่ 23 คือ "พระปารศวนาถ" มีชีวิตอยู่ราว 800 ปีก่อนคริสตกาล และตีรถังกรองค์สุดท้ายและองค์ปัจจุบันในจักรวาลนี้ "พระมหาวีระ"[5] เป็นองค์ที่ 24 มีชีวิตอยู่ราว 500 ปีก่อนคริสตกาล
หลักการสำคัญของศาสนาเชนคือหลัก อหิงสา (ahiṃsā; ไม่ใช้ความรุนแรง), อเนกานตวาท (anekāntavāda; many-sidedness), อปริเคราะห์ (aparigraha; ความไม่ยึดติด) และการถือพรตนิยม (asceticism) ศาสนิกชนที่เคร่งจะถือปฏิญญา 5 ประการ คือ อหิงสา (ahiṃsā ไม่รุนแรง), สัตยะ (satya ความจริง), อสตียะ (asteya ไม่ลักขโมย), พรหมจรรย์ (brahmacharya การถือพรหมจรรย์) และอปริเคราะห์ (aparigraha; ความไม่ยึดติด) หลักการเหล่านี้นำไปสู่วัฒนธรรมเชนที่มีลักษณะเฉพาะหลายประการ โดยเฉพาะการทานมังสวิรัติ เพื่อป้องกันการทำลายสัตว์ต่าง ๆ และรบกวนวงจรชีวิตของมัน ศาสนาเชนมีคติพจน์ว่า "ปรัสปโรปัครโห ชีวานาม" (Parasparopagraho Jīvānām) อันแปลว่า หน้าที่ของสิ่งมีชีวิตหนึ่งคือการช่วยเหลือกันและกัน (the function of souls is to help one another) และมีบทสวดมนต์พื้นฐานที่สุดคือ "ณโมการมนตระ" (Ṇamōkāra mantra)[6] ศาสนาเชนแบ่งออกเป็นสองสาขาเก่าแก่หลัก ๆ คือ ทิคัมพร และ เศวตามพร และยังมีสาขาย่อยแตกออกไปอีกมากมายในช่วงคริสต์สหัสวรรษที่ 2 ทั้งสองนิกายนี้มีมุมมองที่ต่างกันหลายประเด็น โดยเฉพาะ การบำเพ็ญทุกรกิริยา, เพศ และ คัมภีร์เล่มใดที่จะยึดเป็นคัมภีร์หลักกลาง
ศาสนาเชนมีศาสนิกชนประมาณ 4-5 ล้านคน ส่วนมากอยู่ในประเทศอินเดีย[7] ส่วนน้อยนอกอินเดีย ได้แก่ แคนาดา ยุโรป เคนยา สหราชอาณาจักร ฮ่องกง ซูรินาเม ฟิจิ และ สหรัฐอเมริกา เทศกาลสำคัญ ๆ ในศาสนาเชน เช่น Paryushana และ Daslakshana, มหาวีรชยันตี และ ทีปาวลีแบบเชน
ศาสดา
[แก้]ศาสนาเชนเชื่อว่ามีศาสดา เรียกว่า "ตีรถังกร" อยู่ด้วยกัน 24 องค์ในจักรวาลปัจจุบัน (อวสานปิณี) องค์แรกคือพระอาทินาถ และองค์สุดท้ายคือองค์ปัจจุบันคือพระมหาวีระ ตีรถังกรคือบุคคลผู้บรรลุเกวลญาณ (สัพพัญญูในศาสนาเชน - Omniscience) และเผยแผ่ธรรมะนั้น ในบรรดา 24 ตีรถังกร องค์ที่ได้รับการเคารพบูชาสูงสุดสี่องค์คือ พระอาทินาถ, พระเนมินาถ, พระปารศวนาถ, พระมหาวีระ
ตีรถังกรองค์ปัจจุบันและองค์สุดท้าย คือ พระมหาวีระ เดิมมีพระนามเดิมว่า "วรรธมาน" แปลว่า ผู้เจริญมีกำเนิดในสกุลกษัตริย์ เกิดในเมืองเมืองเวสาลี พระบิดานามว่า สิทธารถะแห่งกุนทครามะ พระมารดานามว่า ตฤศลา เมื่อเจริญวัยได้รับการศึกษาศิลปศาสตร์หลายอย่างโดยควรแก่ฐานะแห่งวรรณะกษัตริย์ เผอิญวันหนึ่งขณะเล่นอยู่กับสหาย ได้มีช้างตกมันตัวหนึ่งหลุดออกจากโรงวิ่งมาอาละวาด ทำให้ฝูงชนแตกตื่นตกใจ ไม่มีใครจะกล้าเข้าใกล้และจัดการช้างตกมันตัวนี้ให้สงบได้ แต่เจ้าชายวรรธมานได้ตรงเข้าไปหาช้างและจับช้างพากลับไปยังโรงช้างได้ตามเดิม เพราะเหตุที่แสดงความกล้าหาญจับช้างตกมันได้จึงมีนามเกียรติยศว่า "มหาวีระ" แปลว่า ผู้กล้าหาญมาก ซึ่งเป็นชื่อที่เรียกขานกันต่อมาของศาสดาพระองค์นี้
ศาสดามหาวีระมีพี่น้องร่วมพระมารดาเดียวกัน 2 องค์ คือ พระเชษฐภคินี และพระเชษฐภาดา โดยท่านมหาวีระ เป็นพระโอรสองค์สุดท้าย เมื่อมีพระชนมายุได้ 12 พรรษา ทรงได้รับพิธียัชโญปวีตคือพิธีสวมด้ายมงคลแสดงพระองค์เป็นศาสนิกตามคติศาสนาพราหมณ์ หลังจากพระบิดาได้ทรงส่งเจ้าชายไปศึกษาลัทธิของพราหมณาจารย์หลายปี เจ้าชายทรงสนพระทัยในการศึกษาแต่ในพระทัยมีความขัดแย้งกับคำสอนของพราหมณ์ที่ว่า วรรณะพราหมณ์ประเสริฐที่สุดในโลก ส่วนวรรณะอื่นต่ำต้อย แม้วรรณะกษัตริย์ยังต่ำกว่าวรรณะพราหมณ์ แต่แล้วพวกพราหมณ์ได้ประพฤติกาย วาจาและใจ เลวทรามไปตามทิฏฐิของลัทธินั้น ๆ
เมื่อศาสดามหาวีระมีพระชนมายุได้ 19 พรรษา พระบิดาทรงจัดให้อภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงยโสธรา[a] ในซึ่งเวลาต่อมาได้พระธิดาองค์หนึ่งนามว่า อโนชา หรือ เจ้าหญิงปริยทรรศนา จนพระชนมายุได้ 28 พรรษา ได้มีความเศร้าโศกเสียพระทัยอย่างมากจากการสิ้นพระชนม์ของพระบิดาและพระมารดา ด้วยวิธีการอดอาหารตามข้อวัตรปฏิบัตรในศาสนาพราหมณ์ ซึ่งศาสนาพราหมณ์ถือว่าเป็นบุญอย่างหนึ่ง
การสูญเสียพระบิดาและพระมารดาได้ทำให้เจ้าชายทรงเศร้าพระทัยมาก ทรงสละพระชายาและพระธิดา เปลี่ยนผ้าคลุมพระกายเป็นแบบนักพรต เสด็จออกจากพระนครและได้ทรงประกาศมหาปฏิญญาในวันนั้นว่า นับตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป 12 ปี ขอไม่พูดกับใครแม้คำเดียว พระมหาวีระได้ทรงบำเพ็ญตนเป็นนักพรตถือการขอเป็นอาชีพ ได้เสด็จเที่ยวไปตามคามนิคมต่าง ๆ โดยมิได้พูดอะไรกับใครเป็นเวลา 12 ปี ได้บรรลุความรู้ขั้นสูงสุดเรียกว่า "เกวลญาณ" ถือเป็นผู้หลุดพ้นกิเลสทั้งปวง เป็นพระอรหันต์และเป็นผู้ชนะโดยสิ้นเชิง
เมื่อพระมหาวีระได้ทรงบรรลุเกวลญาณแล้ว จึงทรงพิจารณาเห็นว่ามีความจำเป็นต้องละปฏิญญานั้นเสียกลับมาสู่ภาวะเดิมคือต้องพูดกับคนทั้งหลาย เพื่อช่วยกันปฏิรูปความคิดและความประพฤติของคนในสังคมเสียใหม่ แล้วได้เริ่มเที่ยวประกาศศาสนาใหม่ อันมีชื่อว่า ศาสนาเชน หรือ ไชนะ แปลว่า ผู้ชนะ
ศาสดามหาวีระได้ทรงใช้เวลาในการสั่งสอนสาวกไปตามนิคมต่าง ๆ เป็นเวลา 30 ปี และได้ทรงเข้าสิทธศิลา (เปรียบได้กับนิพพานของศาสนาพุทธ) หรือมรณภาพ เมื่อมีพระชนมายุได้ 72 พรรษา ในประมาณก่อนปีพุทธศักราชที่ 29 ที่เมืองปาวา หรือสาธารณรัฐมัลละ และเมืองนี้ได้เป็นสถานที่แสวงบุญสำหรับศาสนิกเชนทุกคน
หลักปรัชญา
[แก้]ศาสนาเชนเป็นศาสนาอเทวนิยม กล่าวคือ มองสภาพความจริงว่ามีส่วนประกอบ 2 สิ่งที่มีสภาวะเที่ยงแท้เป็นนิรันดร คือ 1.ชีวะ ได้แก่ วิญญาณ หรือสิ่งมีชีวิต หรือ อาตมันซึ่งเป็นอัตตา จริงแท้ (ตรงข้ามกับศาสนาพุทธที่เป็นอนัตตา) 2. อชีวะ ได้แก่ อวิญญาณ หรือสิ่งไม่มีชีวิต ได้แก่สสารวัตถุต่าง ๆ
สสารประกอบด้วยองค์ประกอบขั้นพื้นฐาน 5 ประการ คือ 1. การเคลื่อนไหว (ธัมมะ) 2. การหยุดนิ่ง (อธัมมะ) 3. อวกาศ (อากาศ) 4. สสาร และ 5. กาลเวลา โดยทั้งหมดเป็นนิรันดรและปราศจากการเริ่มต้น
สรรพสิ่งทั้งหมดยกเว้นชีวะ (วิญญาน) เป็นสิ่งไม่มีชีวิต เวลาและเอกภาพเป็นสิ่งนิรันดร ไม่มีรูป โลกคงมีอยู่ไม่มีวันจบสิ้น เป็นสภาพนิรันดร ไม่สามารถจะเปลี่ยนแปลงได้ แต่สภาวะเปลี่ยนแปลงคงอยู่ตลอดกาล อวกาศเป็นสิ่งขยายไร้รูป เป็นที่รองรับเนื้อที่ทั้งมวลของเอกภาพ และเอกภาพมีรูปร่างเหมือนคนยืนกางขา เอามือเท้าสะเอว รูปร่างเพรียว เอวแบน ตรงกลางเอกภาพมีที่สถิตแห่งดวงวิญญาณ เป็นบริเวณที่สิ่งมีชีวิตทั้งหลายทุกชนดมีอยู่ เหนือบริเวณตอนกลางของเอกภาพขึ้นไป คือ โลกชั้นบน โลกชั้นนี้มีสองส่วน มีสวรรค์ 16 ชั้น มีเขตของท้องฟ้า 14 เขต ชั้นบนที่สุดของเอกภาพเป็นที่ตั้งของ สิทธศิลา ซึ่งเป็นสถานที่มีลักษณะบริเวณโค้ง เป็นที่สถิตของวิญญาณที่หลุดพ้นออกจากกายที่อยู่บนโลกมนุษย์
คัมภีร์
[แก้]คัมภีร์ในศาสนาเชนเรียกว่า อาคม (Agama) ซึ่งดั้งเดิมนั้นถ่ายทอดกันมาผ่านทางมุขปาฐะจากรุ่นสู่รุ่น เช่นเดียวกันกับทั้งพระพุทธศาสนาและศาสนาฮินดู[8] ศาสนาเชนเชื่อกันว่าเป็นศาสนาที่เป็นนิรันดร์ คำสอนจากพระอาทินาถ ตีรถังกรองค์แรกนั้น มีมานานหลายล้านล้านปีมาแล้ว[9] เชื่อกันว่าเมื่อครั้งตีรถังกรได้เอ่ยปากสอนธรรมะใน "สมวสรณะ" (samavasarana) คำสอนนั้นจะได้ยินไปทั่วทั้งจักรวาล ทั้งเหล่าทวยเทพและมนุษย์ โอวาทที่ได้กล่าวนั้นเรียกว่า "ศรุตญาณ" (Śhrut Jnāna) และประกอบด้วย "อังคะ" (Anga) ทั้ง 11 และปุรวะ (purva) ทั้ง 14[10] โอวาทเหล่านั้นจะถูกจดจำและส่งต่อโดย "คณะธร" (Ganadhara) ประกอบด้วย 12 อันกา ซึ่งเทียบด้วยสัญลักษณ์เป็นต้นไม้ที่มีกิ่ง 12 กิ่ง[11] ศาสนาเชนเชื่อว่าเมื่อ อรหะ ได้กล่าวสิ่งใดแล้ว สิ่งนั้นจะกลายเป็น "สูตระ" (sūtra) ซึ่งต่อมาจะกลายเป็นคำสอนในศาสนาเชน การสร้างและส่งต่ออาคมนั้น เป็นหน้าที่ของศาสนิกชน[12]
ข้อปฏิบัติ
[แก้]ส่วนนี้ไม่มีการอ้างอิงจากเอกสารอ้างอิงหรือแหล่งข้อมูล โปรดช่วยพัฒนาส่วนนี้โดยเพิ่มแหล่งข้อมูลน่าเชื่อถือ เนื้อหาที่ไม่มีการอ้างอิงอาจถูกคัดค้านหรือนำออก |
ข้อปฏิบัติของคฤหัสถ์
[แก้]- เว้นจากการฆ่าสัตว์
- เว้นจากการพูดเท็จ
- เว้นจากการลักฉ้อ
- สันโดษในลูกเมียตน
- มีความปรารถนาพอสมควร
- เว้นจากการฆ่าสัตว์เป็นอาหาร
- อยู่ในเขตของตนตามกำหนด
- พอดีในการบริโภค
- เป็นคนตรง
- บำเพ็ญพรตประพฤติวัตรในคราวเทศกาล
- รักษาอุโบสถ
- บริบูรณ์ด้วยปฏิสันถารต่ออาคันตุ
ข้อปฏิบัติของบรรพชิต
[แก้]เพิ่มเติมจากข้อปฏิบัติของผู้ครองเรือนอีก 3 ข้อคือ
- ห้ามประกอบเมถุนธรรม
- ห้ามเรียกสิ่งต่าง ๆ ว่าเป็นของตนเอง
- กินอาหารหลังเที่ยงได้ แต่ห้ามกินยามราตรี
จุดหมายสูงสุด
[แก้]จุดหมายสูงสุดของศาสนาเชนคือการบรรลุเกวลญาณ ด้วยการ "นิรชระ" หรือการทำลายกรรม เพราะการกระทำซึ่งเป็นเหตุให้เกิด "พันธะ" การถูกผูกมัด (เปรียบได้กับอุปาทาน การยึดมั่นถือมั่นของศาสนาพุทธ) เป็นการการบำเพ็ญตนให้หลุดพ้นจากกิเลส หลุดพ้นจากสังสาระ การเวียนว่ายตายเกิด ซึ่งอาจเปรียบได้กับโมกษะของศาสนาพราหมณ์หรือนิพพานของศาสนาพุทธ ในศาสนาพราหมณ์ เมื่อวิญญานหลุดพ้นแล้วจะไปรวมอยู่กับพรหม ส่วนศาสนาเชน เมื่อวิญญานหลุดพ้นแล้ว ก็จะไปอยู่ในส่วนหนึ่งของเอกภาพที่เรียกว่า "สิทธศิลา" ซึ่งเป็นดินแดนแห่งความสุขนิรันดร ไม่ต้องกลับมาเกิดอีก
นิกาย
[แก้]เมื่อพระมหาวีระสิ้นไปแล้วศาสนิกก็แตกแยกกันปฏิบัติหลักธรรม จากหลักธรรมที่เรียบง่ายก็กลายเป็นยุ่งเหยิง พ.ศ. 200 ก็แตกเป็น 2 นิกายคือ[1]
- ทิคัมพร นุ่งลมห่มฟ้า แบ่งแยกออกเป็นนิกายย่อยอีก 5 นิกาย
- เศวตามพร นุ่งขาวห่มขาว แบ่งแยกออกเป็นนิกายย่อยอีก 84 นิกาย
ศาสนสถาน
[แก้]หมายเหตุ
[แก้]- ↑ พระนามคล้ายกันแต่เป็นคนละบุคคลกับพระนางพิมพายโสธราในพุทธประวัติ
เชิงอรรถ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554, หน้า 387
- ↑ Sangave 2001, p. 185: "Jainism is an ancient Indian religion and from ancient times to the present day, it has continued to flourish, along with other religions, in different parts of India."
- ↑ Hartney and Noble, Christopher and Jonathan (2011). Cambridge Studies of Religion 2nd Edition. Cambridge University Press. p. 252. ISBN 9780521279505.
- ↑ Tirthankara: Jainism เก็บถาวร 17 สิงหาคม 2017 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Encyclopedia Britannica
- ↑ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554, หน้า 505
- ↑ Voorst 2015, p. 107.
- ↑ Melton & Baumann 2010, p. lix, 1395.
- ↑ Dundas 2002, pp. 60–61.
- ↑ von Glasenapp 1925, pp. 109–110.
- ↑ Champat Rai Jain 1929b, p. 135.
- ↑ Champat Rai Jain 1929b, p. 136.
- ↑ Dundas 2002, p. 61.
แหล่งที่มา
[แก้]- ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. พิมพ์ครั้งที่ ๒, กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556. 1,544 หน้า. ISBN 978-616-7073-80-4
- Agarwal, M.K. (2012), From Bharata to India (ภาษาอังกฤษ) (Volume 1: Chrysee the Golden ed.), iUniverse, ISBN 978-1-4759-0766-7
- Agarwal, M.K. (2013), The Vedic Core of Human History: And Truth will be the Savior (ภาษาอังกฤษ), iUniverse, ISBN 978-1-4917-1595-6
- Alberts, Wanda (2007), Integrative Religious Education in Europe: A Study-of-Religions Approach (ภาษาอังกฤษ), Walter de Gruyter, ISBN 978-3-11-097134-7
- Appleton, Naomi (2016), Shared Characters in Jain, Buddhist and Hindu Narrative: Gods, Kings and Other Heroes (ภาษาอังกฤษ), Taylor & Francis, ISBN 978-1-317-05574-7
- Arora, Udai Prakash (2007), Udayana, Anamika Publishers & Distributors, ISBN 978-8-179-75168-8
- Arunachalam, M., บ.ก. (1981), Aintām Ulakat Tamil̲ Mānāṭu-Karuttaraṅku Āyvuk Kaṭṭuraikaḷ, International Association of Tamil Research
- Babb, Lawrence A. (1996), Absent Lord: Ascetics and Kings in a Jain Ritual Culture, University of California Press, ISBN 978-0-520-91708-8
- Bailey, William (2012), The Theological Universe, Bailey Publishing, PA, ISBN 978-1-312-23861-9
- Balcerowicz, Piotr (2003), Essays in Jaina Philosophy and Religion, Motilal Banarsidass, ISBN 978-81-208-1977-1
- Balcerowicz, Piotr (2009), Jainism and the definition of religion (ภาษาอังกฤษ) (1st ed.), Mumbai: Hindi Granth Karyalay, ISBN 978-81-88769-29-2
- Balcerowicz, Piotr (2015), Early Asceticism in India: Ājīvikism and Jainism, Routledge, ISBN 978-1-317-53853-0
- Barnett, Lincoln; และคณะ (1957), Welles, Sam (บ.ก.), The World's Great Religions (1st ed.), New York: Time Incorporated
- Bartley, C.J. (2013), The Theology of Rāmānuja: Realism and Religion, Routledge, ISBN 978-1-136-85306-7
- Berger, Peter (2010), The Anthropology of Values: Essays in Honour of Georg Pfeffer, India: Pearson Education, ISBN 978-81-317-2820-8
- Billimoria, P. (1988), Śabdapramāṇa: Word and Knowledge, Studies of Classical India, vol. 10, Springer, ISBN 978-94-010-7810-8
- Boesche, Roger (2003), The First Great Political Realist: Kautilya and His Arthashastra, Lexington Books, ISBN 978-0-7391-0607-5
- Butalia, Tarunjit Singh; Small, Dianne P., บ.ก. (2004), Religion in Ohio: Profiles of Faith Communities, Ohio University Press, ISBN 978-0-8214-1551-1
- Caillat, Colette (2003a), Gleanings from a Comparative Reading of Early Canonical Buddhist and Jaina Texts, vol. 26, Journal of the International Association of Buddhist Studies
- Champat Rai Jain (1917), The Practical Path, The Central Jaina Publishing House
- Charitrapragya, Samani (2004), Sethia, Tara (บ.ก.), Ahimsā, Anekānta, and Jaininsm, Motilal Banarsidass, ISBN 978-81-208-2036-4
- Chatterjee, Asim Kumar (2000), A Comprehensive History of Jainism: From the Earliest Beginnings to AD 1000, Munshiram Manoharlal, ISBN 978-81-215-0931-2
- Clarke, Peter; Beyer, Peter (2009), The World's Religions: Continuities and Transformations, Routledge, ISBN 978-0-203-87212-3
- Cort, John (1987), "Medieval Jaina Goddess Traditions", Numen, 34 (2): 235–255, doi:10.1163/156852787x00047
- Cort, John E. (1995), "The Jain Knowledge Warehouses : Traditional Libraries in India", Journal of the American Oriental Society, 115 (1): 77–87, doi:10.2307/605310, JSTOR 605310
- Cort, John E., บ.ก. (1998), Open Boundaries: Jain Communities and Cultures in Indian History, SUNY Press, ISBN 978-0-7914-3785-8
- Cort, John E. (2001a), Jains in the World : Religious Values and Ideology in India, Oxford University Press, ISBN 978-0-19-513234-2
- Cort, John E (2001b), White, David Gordon (บ.ก.), Tantra in Practice, Motilal Banarsidass, ISBN 978-81-208-1778-4
- Cort, John E. (2010), Framing the Jina: Narratives of Icons and Idols in Jain History, Oxford University Press, ISBN 978-0-19-538502-1
- Dalal, Roshen (2010a) [2006], The Religions of India: A Concise Guide to Nine Major Faiths, Penguin books], ISBN 978-0-14-341517-6
- Dalal, Roshen (2010b), Hinduism: An Alphabetical Guide, Penguin Books, ISBN 978-0-14-341421-6
- Das, Sisir Kumar (2005), A History of Indian Literature, 500–1399: From Courtly to the Popular, Sahitya Akademi, ISBN 978-81-260-2171-0
- Doniger, Wendy, บ.ก. (1999), Encyclopedia of World Religions, Merriam-Webster, ISBN 978-0-87779-044-0
- Dundas, Paul (2002) [1992], The Jains (Second ed.), London and New York: Routledge, ISBN 978-0-415-26605-5
- Dundas, Paul (2003a), "Jainism and Buddhism", ใน Buswell, Robert E. (บ.ก.), Encyclopedia of Buddhism, New York: Macmillan Reference Lib., ISBN 978-0-02-865718-9
- Dundas, Paul (2006), Olivelle, Patrick (บ.ก.), Between the Empires : Society in India 300 BCE to 400 CE, Oxford University Press, ISBN 978-0-19-977507-1
- Fergusson, James (1876), A History of Architecture in All Countries: From the Earliest Times to the Present Day, vol. 3, John Murray
- Finegan, Jack (1989), An Archaeological History of Religions of Indian Asia, Paragon House, ISBN 978-0-913729-43-4
- Florida, Robert E. (2005), Human Rights and the World's Major Religions: The Buddhist tradition, ABC-CLIO, ISBN 978-0-313-31318-9
- Flügel, Peter (2002), "Terapanth Śvētāmbara Jain Tradition", ใน Melton, J.G.; Baumann, G. (บ.ก.), Religions of the World: A Comprehensive Encyclopedia of Beliefs and Practices, ABC-CLIO, ISBN 978-1-57607-223-3
- Flügel, Peter (2005), King, Anna S.; Brockington, John (บ.ก.), "Present Lord: Simandhara Svami and the Akram Vijnan Movement" (PDF), The Intimate Other: Love Divine in the Indic Religions, New Delhi: Orient Longman, ISBN 978-81-250-2801-7
- Flügel, Peter, บ.ก. (2006), Studies in Jaina History and Culture: Disputes and Dialogues, Routledge, ISBN 978-1-134-23552-0
- Fohr, Sherry (2015), Jainism: A Guide for the Perplexed, Bloomsbury Academic, ISBN 978-1-4411-5116-2 PB: ISBN 978-1-4411-6594-7; ePDF: ISBN 978-1-4742-2756-8; ePub: ISBN 978-1-4742-2755-1.
- Gombrich, Richard (2012), Buddhist Precept & Practice, Routledge, ISBN 978-1-136-15623-6
- Gopal, Madan (1990), Gautam, K.S. (บ.ก.), India through the ages, Publication Division, Ministry of Information and Broadcasting, Government of India
- Gough, Ellen (2012), Shades of Enlightenment: A Jain Tantric Diagram and the Colours of the Tirthankaras, International Journal of Jaina Studies, vol. 8, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-01-30, สืบค้นเมื่อ 2022-11-24
- Granoff, Phyllis (1992), "The violence of non-violence: a study of some Jain responses to non-Jain religious practices", The Journal of the International Association of Buddhist Studies, 15 (1)
- Grimes, John (1996), A Concise Dictionary of Indian Philosophy: Sanskrit Terms Defined in English, New York: SUNY Press, ISBN 0-7914-3068-5
- Hackett, Rosalind I. J. (2008), Proselytization Revisited: Rights Talk, Free Markets and Culture Wars, Equinox Academic, ISBN 978-1-84553-227-7
- Harvey, Graham (2016), Religions in Focus: New Approaches to Tradition and Contemporary Practices, Routledge, ISBN 978-1-134-93690-8
- Jacobi, Hermann (1964), Max Muller (The Sacred Books of the East Series, Volume XXII) (บ.ก.), Jaina Sūtras (Translation), Motilal Banarsidass (Original: Oxford University Press)
- Hirakawa, Akira (1993), A History of Indian Buddhism: From Śākyamuni to Early Mahāyāna, Motilal Banarsidass, ISBN 978-81-208-0955-0
- Hiriyanna, M. (1993), Outlines of Indian Philosophy, Motilal Banarsidass, ISBN 978-81-208-1086-0
- Hopkins, Edward Washburn (1902), The Religions of India, Ginn & Company
- Izawa, A. (2008), Empathy for Pain in Vedic Ritual, vol. 12, Journal of the International College for Advanced Buddhist Studies, Kokusai Bukkyōgaku Daigakuin Daigaku
- Jain, Jyotindra; Fischer, Eberhard (1978), Jaina Iconography, vol. 12, Brill, ISBN 978-90-04-05259-8
- Jain, Kailash Chand (1991), Lord Mahāvīra and His Times, Motilal Banarsidass, ISBN 978-81-208-0805-8
- Jain, Shanti Lal (1998), ABC of Jainism, Jnanodaya Vidyapeeth, ISBN 978-81-7628-000-6
- Jaini, Padmanabh (1980), Doniger, Wendy (บ.ก.), Karma and Rebirth in Classical Indian Traditions, University of California Press, ISBN 978-0-520-03923-0
- Jaini, Padmanabh S. (1991), Gender and Salvation: Jaina Debates on the Spiritual Liberation of Women, University of California Press, ISBN 978-0-520-06820-9
- Jaini, Padmanabh S. (1998) [1979], The Jaina Path of Purification, Delhi: Motilal Banarsidass, ISBN 978-81-208-1578-0
- Jaini, Padmanabh S., บ.ก. (2000), Collected Papers On Jaina Studies (First ed.), Delhi: Motilal Banarsidass, ISBN 978-81-208-1691-6
- Jambuvijaya, Muni (2002), Piotr Balcerowicz & Marek Mejor (บ.ก.), Essays in Jaina Philosophy and Religion, Motilal Banarsidass, ISBN 978-81-208-1977-1
- Jansma, Rudi; Jain, Sneh Rani (2006), Introduction to Jainism, Jaipur: Prakrit Bharti Academy, ISBN 978-81-89698-09-6
- Johnson, W.J. (1995), Harmless Souls: Karmic Bondage and Religious Change in Early Jainism with Special Reference to Umāsvāti and Kundakunda, Motilal Banarsidass, ISBN 978-81-208-1309-0
- Johnston, William M. (2000), Encyclopedia of Monasticism: A–L, Routledge, ISBN 978-1-57958-090-2
- Jones, Constance; Ryan, James D. (2007), Encyclopedia of Hinduism, Infobase Publishing, ISBN 978-0-8160-5458-9
- Jones, Lindsay (2005), Encyclopedia of religion, Macmillan Reference, ISBN 978-0-02-865733-2
- Juergensmeyer, Mark (2011), The Oxford Handbook of Global Religions, Oxford University Press, ISBN 978-0-19-976764-9
- Kelting, M. Whitney (2009), Heroic Wives Rituals, Stories and the Virtues of Jain Wifehood, Oxford University Press, ISBN 978-0-19-973679-9
- Keown, Damien; Prebish, Charles S. (2013), Encyclopedia of Buddhism, Routledge, ISBN 978-1-136-98588-1
- Ring, Trudy; Watson, Noelle; Schellinger, Paul, บ.ก. (1996), Asia and Oceania: International Dictionary of Historic Places, Routledge, ISBN 978-1-884964-04-6
- Kishore, Kanika (2015-06-16), "Symbol and Image Worship in Jainism", Indian Historical Review (ภาษาอังกฤษ), 42 (1): 17–43, doi:10.1177/0376983615569814, S2CID 151841865
- Kulke, Hermann; Rothermund, Dietmar (2004), A History of India, Routledge, ISBN 978-0-415-32920-0
- Kumar, Sehdev (2001), A Thousand Petalled Lotus: Jain Temples of Rajasthan: Architecture & Iconography, Abhinav Publications, ISBN 978-81-7017-348-9
- Lochtefeld, James G. (2002a), The Illustrated Encyclopedia of Hinduism: A–M, vol. 1, The Rosen Publishing Group, ISBN 978-0-8239-3179-8
- Lochtefeld, James G. (2002b), The Illustrated Encyclopedia of Hinduism: N–Z, vol. 2, The Rosen Publishing Group, ISBN 978-0-8239-2287-1
- Long, Jeffery D. (2009), Jainism: An Introduction, I.B. Tauris, ISBN 978-0-85773-656-7
- Long, Jeffery D. (2013), Jainism: An Introduction, I.B. Tauris, ISBN 978-0-85771-392-6
- Lorenzen, David N. (1978), "Warrior Ascetics in Indian History", Journal of the American Oriental Society, 98 (1): 61–75, doi:10.2307/600151, JSTOR 600151
- Markham, Ian S.; Lohr, Christy (2009), A World Religions Reader, John Wiley & Sons, ISBN 978-1-4051-7109-0
- Matilal, Bimal Krishna (1990), Logic, Language and Reality: Indian Philosophy and Contemporary Issues, Motilal Banarsidass, ISBN 978-81-208-0717-4
- Matilal, Bimal Krishna (1998), Ganeri, Jonardon; Tiwari, Heeraman (บ.ก.), The Character of Logic in India, State University of New York Press, ISBN 978-0-7914-3739-1
- McFaul, Thomas R. (2006), The Future of Peace and Justice in the Global Village: The Role of the World Religions in the Twenty-first Century, Greenwood Publishing, ISBN 978-0-275-99313-9
- Melton, J. Gordon, บ.ก. (2011), Religious Celebrations: An Encyclopedia of Holidays, Festivals, Solemn Observances, and Spiritual Commemorations, vol. 1, ABC-CLIO, ISBN 978-1-59884-206-7
- Melton, J. Gordon; Baumann, Martin, บ.ก. (2010), Religions of the World: A Comprehensive Encyclopedia of Beliefs and Practices, vol. One: A–B (Second ed.), ABC-CLIO, ISBN 978-1-59884-204-3
- Michell, George l (2014), Temple Architecture and Art of the Early Chalukyas: Badami, Mahakuta, Aihole, Pattadakal, Niyogi Books, ISBN 978-93-83098-33-0
- Miller, Christopher Patrick; Long, Jeffery D.; Reading, Michael (2019). Beacons of Dharma: Spiritual Exemplars for the Modern Age. Rowman & Littlefield. ISBN 978-1-4985-6485-4.
- Mishra, Susan Verma; Ray, Himanshu Prabha (2016), The Archaeology of Sacred Spaces: The temple in western India, 2nd century BCE–8th century CE, Routledge, ISBN 978-1-317-19374-6
- Mookerji, Radha Kumud (1988) [first published in 1966], Chandragupta Maurya and his times (4th ed.), Motilal Banarsidass, ISBN 978-81-208-0433-3
- Mugambi, J.N.K., บ.ก. (2010) [1990], A Comparative Study of Religions (Second ed.), University of Nairobi Press, ISBN 978-9966-846-89-1
- Nayanar (2005), Gāthā 1.29
- Neelis, Jason (2010), Early Buddhist Transmission and Trade Networks: Mobility and Exchange Within and Beyond the Northwestern Borderlands of South Asia, Brill Academic, ISBN 978-90-04-18159-5
- Nemicandra, Acarya; Balbir, Nalini (2010), Dravyasamgrha: Exposition of the Six Substances, (in Prakrit and English) Pandit Nathuram Premi Research Series (vol-19), Mumbai: Hindi Granth Karyalay, ISBN 978-81-88769-30-8
- Nesfield, John Collinson (1885), Brief View of the Caste System of the North-Western Provinces and Oudh, North-Western Provinces and Oudh Government Press
- Olson, Carl (2014), "The conflicting themes of nonviolence and violence in ancient Indian asceticism as evident in the practice of fasting", International Journal of Dharma Studies, 1 (2): 1, doi:10.1186/2196-8802-2-1
- Owen, Lisa (2012a), Carving Devotion in the Jain Caves at Ellora, Brill, ISBN 978-90-04-20629-8
- Owen, Lisa (2012b), Carving Devotion in the Jain Caves at Ellora, Brill Academic, ISBN 978-90-04-20629-8
- Pal, Pratapaditya (1986), Indian Sculpture: Circa 500 B.C.–A.D. 700, vol. 1, Los Angeles Country Museum of Art, University of California Press, ISBN 978-0-87587-129-5
- Pande, Govind (1957), Studies in the Origins of Buddhism, Motilal Banarsidass (Reprint: 1995), ISBN 978-81-208-1016-7
- Pandey, Janardan (1998), Gandhi and 21st Century, ISBN 978-81-7022-672-7
- Pandya, Prashant H. (2014), Indian Philately Digest
- Pechilis, Karen; Raj, Selva J., บ.ก. (2013), South Asian Religions: Tradition and Today, Routledge, ISBN 978-0-203-07993-5
- Pereira, José (1977), Monolithic Jinas, Motilal Banarsidass, ISBN 978-81-208-2397-6
- Perrett, Roy W. (2013), Philosophy of Religion: Indian Philosophy, Routledge, ISBN 978-1-135-70322-6
- Pope, George Uglow (1880), A Text-book of Indian History, W.H. Allen & Company
- Price, Joan (2010), Sacred Scriptures of the World Religions: An Introduction, Bloomsbury Academic, ISBN 978-0-8264-2354-2
- Qvarnström, Olle, บ.ก. (2003), Jainism and Early Buddhism: Essays in Honor of Padmanabh S. Jaini, Jain Publishing Company, ISBN 978-0-89581-956-7
- Rankin, Aidan D.; Mardia, Kantilal (2013), Living Jainism: An Ethical Science, John Hunt Publishing, ISBN 978-1-78099-911-1
- Robinson, Thomas Arthur (2006), World Religions, Hymns Ancient and Modern Ltd, ISBN 978-0-334-04014-9
- Rudolph, Lloyd I.; Rudolph, Susanne Hoeber (1984), The Modernity of Tradition: Political Development in India, University of Chicago Press, ISBN 978-0-226-73137-7
- Salter, Emma (September 2002). Raj Bhakta Marg: the path of devotion to Srimad Rajcandra. A Jain community in the twenty first century (Doctoral thesis). University of Wales. pp. 125–150. สืบค้นเมื่อ 2018-09-21 – โดยทาง University of Huddersfield Repository.
- Salvadori, Cynthia (1989), Through open doors, Kenway, ISBN 978-9966-848-05-5
- Sangave, Vilas Adinath (1980), Jaina Community: A Social Survey (2nd ed.), Bombay: Popular Prakashan, ISBN 978-0-317-12346-3
- Sangave, Vilas Adinath (2001), Facets of Jainology: Selected Research Papers on Jain Society, Religion, and Culture, Mumbai: Popular Prakashan, ISBN 978-81-7154-839-2
- Sangave, Vilas Adinath (2006) [1990], Aspects of Jaina religion (5 ed.), Bharatiya Jnanpith, ISBN 978-81-263-1273-3
- Saraswati, Dayanand (1908), An English translation of Satyarth Prakash (Reprinted in 1970), Lahore : Virganand Press
- Sethia, Tara (2004), Ahiṃsā, Anekānta and Jainism, Motilal Banarsidass, ISBN 978-81-208-2036-4
- Settar, S. (1989), Ishwaran, K. (บ.ก.), Inviting Death: Indian Attitude Towards the Ritual Death, E. J. Brill, ISBN 90-04-08790-7
- Singh, Ram Bhushan Prasad (2008) [1975], Jainism in Early Medieval Karnataka, Motilal Banarsidass, ISBN 978-81-208-3323-4
- Singh, Upinder (2016), A History of Ancient and Early Medieval India: From the Stone Age to the 12th Century, Pearson Education, ISBN 978-93-325-6996-6
- Shah, Natubhai (1998), Jainism: The World of Conquerors, vol. 2, Sussex Academic Press, ISBN 978-1-898723-31-8
- Shah, Natubhai (2004) [First published in 1998], Jainism: The World of Conquerors, vol. I, Motilal Banarsidass, ISBN 978-81-208-1938-2
- Shah, Umakant Premanand (1987), Jaina-rūpa-maṇḍana: Jaina iconography, Abhinav Publications, ISBN 978-81-7017-208-6
- Sharma, Ramesh Chandra; Ghosal, Pranati (2006), Jaina Contribution to Varanasi, Jnanapravaha, ISBN 978-81-246-0341-3
- Shaw, Jeffrey M.; Demy, Timothy J. (2017), War and Religion: An Encyclopedia of Faith and Conflict, ABC-CLIO, ISBN 978-1-61069-517-6
- Sinha, Jadunath (1944), Indian Psychology, Motilal Banarsidass, ISBN 9788120801653
- Solomon, Robert C.; Higgins, Kathleen M. (1998), A Passion for Wisdom: A Very Brief History of Philosophy, Oxford University Press, ISBN 978-0-19-511209-2
- Soni, Jayandra (2000), "Basic Jaina Epistemology", Philosophy East and West, 50 (3): 367–377, JSTOR 1400179
- Sunavala, A.J. (1934), Adarsha Sadhu: An Ideal Monk, Cambridge University Press, ISBN 978-1-001-40429-5
- Sundararajan, K. R.; Mukherji, Bithika, บ.ก. (1997), "20", Hindu spirituality: Postclassical and modern, Motilal Banarsidass, ISBN 978-81-208-1937-5
- Schwartz, William Andrew (2018), The Metaphysics of Paradox: Jainism, Absolute Relativity, and Religious Pluralism, Lexington Books, ISBN 978-1-4985-6392-5, เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 August 2018, สืบค้นเมื่อ 23 August 2018
- Taylor, Bron (2008), Encyclopedia of Religion and Nature, Bloomsbury Academic, ISBN 978-1-4411-2278-0
- Titze, Kurt (1998), Jainism: A Pictorial Guide to the Religion of Non-Violence (2 ed.), Motilal Banarsidass, ISBN 978-81-208-1534-6
- Truschke, Audrey (2015-09-01), "Dangerous Debates: Jain responses to theological challenges at the Mughal court", Modern Asian Studies, 49 (5): 1311–1344, doi:10.1017/S0026749X14000055, ISSN 0026-749X, S2CID 146540567
- Umāsvāti, Umaswami (1994), That which is (Translator: Nathmal Tatia), Rowman & Littlefield, ISBN 978-0-06-068985-8
- Vallely, Anne (2002), Guardians of the Transcendent: An Ethnology of a Jain Ascetic Community, University of Toronto Press, ISBN 978-0-8020-8415-6
- Vallely, Anne (2013), Bullivant, Stephen; Ruse, Michael (บ.ก.), The Oxford Handbook of Atheism, Oxford University Press, ISBN 978-0-19-166739-8
- von Glasenapp, Helmuth (1925), Jainism: An Indian Religion of Salvation [Der Jainismus: Eine Indische Erlosungsreligion], Shridhar B. Shrotri (trans.), Delhi: Motilal Banarsidass (Reprint: 1999), ISBN 978-81-208-1376-2
- Voorst, Robert E. Van (2014), RELG: World (2 ed.), Cengage Learning, ISBN 978-1-285-43468-1
- Voorst, Robert E. Van (2015), RELG: World (Second ed.), Cengage Learning, ISBN 978-1-285-43468-1
- Vyas, Dr. R. T., บ.ก. (1995), Studies in Jaina Art and Iconography and Allied Subjects, The Director, Oriental Institute, on behalf of the Registrar, M.S. University of Baroda, Vadodara, ISBN 81-7017-316-7
- Weber, Thomas (2004). Gandhi as Disciple and Mentor. Cambridge University Press. ISBN 978-1-139-45657-9.
- Wiley, Kristi L. (2004), Historical Dictionary of Jainism, Scarecrow, ISBN 978-0-8108-6558-7
- Wiley, Kristi L. (2009), The A to Z of Jainism, vol. 38, Scarecrow, ISBN 978-0-8108-6337-8
- Williams, Robert (1991), Jaina Yoga: A Survey of the Mediaeval Śrāvakācāras, Motilal Banarsidass, ISBN 978-81-208-0775-4
- Winternitz, Moriz (1993), History of Indian Literature: Buddhist & Jain Literature, Motilal Banarsidass, ISBN 978-81-208-0265-0
- Yandell, Keith E. (1999), Philosophy of Religion A Contemporary Introduction, Routledge, ISBN 9781134827237
- Zimmer, Heinrich (1953) [1952], Campbell, Joseph (บ.ก.), Philosophies Of India, London: Routledge & Kegan Paul Ltd, ISBN 978-81-208-0739-6
Attribution:
- บทความนี้ประกอบด้วยข้อความจากแหล่งข้อมูลนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ: Jain, Champat Rai (1929), The Practical Dharma, The Indian Press
- บทความนี้ประกอบด้วยข้อความจากแหล่งข้อมูลนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ: Jain, S. A. (1992) [First edition 1960], Reality (English Translation of Srimat Pujyapadacharya's Sarvarthasiddhi) (Second ed.), Jwalamalini Trust
- บทความนี้ประกอบด้วยข้อความจากแหล่งข้อมูลนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ: Jain, Vijay K. (2011), Acharya Umasvami's Tattvarthsūtra (1st ed.), Vikalp Printers, ISBN 978-81-903639-2-1
- บทความนี้ประกอบด้วยข้อความจากแหล่งข้อมูลนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ: Jain, Vijay K. (2012), Acharya Amritchandra's Purushartha Siddhyupaya: Realization of the Pure Self, With Hindi and English Translation, Vikalp Printers, ISBN 978-81-903639-4-5
- บทความนี้ประกอบด้วยข้อความจากแหล่งข้อมูลนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ: Jain, Vijay K. (2013), Ācārya Nemichandra's Dravyasaṃgraha
- บทความนี้ประกอบด้วยข้อความจากแหล่งข้อมูลนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ: Jain, Vijay K. (2016), Ācārya Samantabhadra's Ratnakarandaka-śrāvakācāra: The Jewel-casket of Householder's Conduct, Vikalp Printers, ISBN 978-81-903639-9-0
- บทความนี้ประกอบด้วยข้อความจากแหล่งข้อมูลนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ: Tukol, Justice T.K. (1976), Sallekhanā is Not Suicide (1st ed.), Ahmedabad: L.D. Institute of Indology