Nothing Special   »   [go: up one dir, main page]

ข้ามไปเนื้อหา

ฮอร์โมน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ฮอร์โมน (อังกฤษ: hormone มาจากภาษากรีก horman แปลว่า เคลื่อนไหว) คือ ตัวนำส่งสารเคมีจากเซลล์กลุ่มของเซลล์หนึ่งไปยังเซลล์อื่น ๆ สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ (multicellular organism) ทั้งพืชและสัตว์ สามารถผลิตฮอร์โมนได้ที่ ต่อมไร้ท่อ (endocrine gland) โมเลกุลของฮอร์โมนจะถูกปล่อยโดยตรงยังกระแสเลือด ของเหลวในร่างกายอื่นๆ หรือเนื้อเยื่อใกล้เคียงฮอร์โมนมีผลต่อร่างกายดังต่อไปนี้:

ฮอร์โมนมีผลต่อร่างกายดังต่อไปนี้:

1. การกระตุ้นหรือการยับยั้งการเจริญเติบโต

2. วงจรการตื่น-หลับและจังหวะชีวภาพอื่นๆ

3. อารมณ์แปรปรวน

4. การเหนี่ยวนำหรือการยับยั้งอะพอพโทซิส (การตายของเซลล์ตามโปรแกรม)

5. การกระตุ้นหรือการยับยั้งระบบภูมิคุ้มกัน

6. การควบคุมการเผาผลาญ (เมแทบอลิซึม)

7. การเตรียมร่างกายสำหรับการผสมพันธุ์ การรบ การตอบสนองโดยสู้หรือหนี และกิจกรรมอื่นๆ

8. การเตรียมร่างกายสำหรับช่วงใหม่ของชีวิต เช่น วัยแรกรุ่น (วัยเริ่มเจริญพันธุ์) การเลี้ยงดูบุตร และ วัยหมดประจำเดือน

9. การควบคุมวงจรการสืบพันธุ์

10. ความอยากอาหาร

ฮอร์โมนอาจควบคุมการผลิตและการหลั่งฮอร์โมนอื่นๆ ได้ด้วย สัญญาณของฮอร์โมนจะควบคุมสภาพแวดล้อมภายในร่างกายผ่านภาวะธำรงดุล

สรีรวิทยาของฮอร์โมน

[แก้]

อัตราการผลิตฮอร์โมนจะถูกควบคุมโดยระบบ ภาวะธำรงดุล (Homeostasis) ซึ่งจะเป็นแบบผลป้อนกลับทางลบ (negative feedback) ระบบควบคุมภาวะธำรงดุลของฮอร์โมนมีส่วนของการผลิตที่ขึ้นกับ กระบวนการสร้างและสลาย (metabolism) ของฮอร์โมนเป็นตัวกำหนดที่สำคัญ

การหลั่ง ฮอร์โมน ถูกกระตุ้นหรือยับยั้ง โดย

  • ฮอร์โมน อื่น (กระตุ้น หรือ ปล่อย ฮอร์โมน)
  • ความเข็มข้นของไออนในพลาสมา หรือสารอาหาร และการเชื่อมต่อกับ กลอบูลิน (globulin)
  • นิวรอน (Neuron) และบทบาททางจิตใจ
  • การเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม เช่น แสงและอุณหภูมิ

ฮอร์โมนกลุ่มพิเศษได้แก่ โทรฟิกฮอร์โมน (trophic hormone) มีบทบาทกระตุ้นการผลิตฮอร์โมนในต่อมไร้ท่ออื่น เช่น ไทรอยด์ - สติมูเลติ่ง ฮอร์โมน (thyroid-stimulating hormone (TSH)) มีบทบาทเกี่ยวกับการเจริญเติบโต และกระตุ้นฮอร์โมนอื่นของต่อมไทรอยด์

ล่าสุดพบสารประกอบใหม่ที่อยู่ในกลุ่มฮอร์โมน ชื่อ "ฮอร์โมนหิว" ("Hunger Hormones") ซึ่งประกอบด้วย

ประเภท

[แก้]

ฮอร์โมนของสัตว์มีกระดูกสันหลังแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มดังนี้:

  1. ฮอร์โมนอนุพันธ์ของอะมีน (Amine-derived hormone) เป็นอนุพันธ์ของ กรดอะมิโน ไทโรซีน และ ทริปโตแฟน (tryptophan) ตัวอย่าง เช่น แคทีคอลามีน (catecholamine) และ ไทโรซีน (thyroxine)
  2. เพปไทด์ฮอร์โมน (Peptide hormone) ประกอบด้วยโซ่ของ กรดอะมิโน ตัวอย่าง เช่น เพปไทด์ฮอร์โมน เล็กอย่าง TRH และ วาโซเพรสซิน เพปไทด์ประกอบด้วยโซ่ กรดอะมิโน ที่ต่อกันเป็นโมเลกุลของ โปรตีน ตัวอย่าง โปรตีนฮอร์โมน ได้แก่ อินสุลิน และโกรว์ทฮอร์โมน
  3. สเตอรอยด์ฮอร์โมน (Steroid hormone) เป็นอนุพันธ์จาก คอเลสเตอรอล (cholesterol) แหล่งผลิตในร่างกายได้แก่ เปลือกต่อมหมวกไต (adrenal cortex) และ ต่อมบ่งเพศ (gonad) ตัวอย่างเช่น
    1. สเตอรอยด์ฮอร์โมน คือ เทสโตสเตอโรน และ คอร์ติโซน
    2. สเตอรอลฮอร์โมน (Sterol hormone) เช่น แคลซิตริออล
  4. ลิพิด และ ฟอสโฟลิพิด มี ฮอร์โมน ดังนี้
    1. ลิพิดเช่น กรดไลโนเลนิก (linoleic acid)
    2. ฟอสโฟลิพิด เช่น กรดอาแรคคิโดนิก (arachidonic acid)
    3. อีไอโคซานอยด์ (eicosanoid) เช่น โปรสตาแกลนดิน (prostaglandin)

อะมีน ฮอร์โมน(amine hormone)

[แก้]

ฮอร์โมนอนุพันธ์ของอะมีน:

เพปไทด์ ฮอร์โมน (peptide hormone)

[แก้]

เพปไทด์ฮอร์โมน:

สเตอรอยด์ และ สเตอรอล ฮอร์โมน (steroid hormone)

[แก้]

สเตอรอยด์ฮอร์โมน:

สเตอรอล ฮอร์โมน:

ลิพิด ฮอร์โมน (lipid hormone)

[แก้]

ลิพิด และ ฟอสโฟลิพิด ฮอร์โมน (อีไอโคซานอยด์) :

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  • Henderson J. Ernest Starling and 'Hormones': an historical commentary. J Endocrinol 2005;184:5-10. PMID 15642778.