Nothing Special   »   [go: up one dir, main page]

ข้ามไปเนื้อหา

อากวีเลยา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พื้นที่โบราณคดีและ
มหาวิหารอากวีเลยา *
  แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
มหาวิหารอากวีเลยา
ประเทศธงของประเทศอิตาลี อิตาลี
ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม
เกณฑ์พิจารณา(iii) (iv) (vi)
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน2543 (คณะกรรมการสมัยที่ 24)
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก

อากวีเลยา หรือ อากวีเลจา (อิตาลี: Aquileia หรือ Aquilegia) เป็นที่ตั้งถิ่นฐานโบราณของเมืองโรมันที่ในปัจจุบันอยู่ในประเทศอิตาลีตรงส่วนบนสุดของทะเลเอเดรียติกริมทะเลสาบน้ำเค็มประมาณ 10 กิโลเมตรจากทะเลบนฝั่งแม่น้ำนาตีโซ (ปัจจุบันนาตีโซเน) ที่เปลี่ยนเส้นทางไปบ้างตั้งแต่สมัยโรมัน อากวีเลยาเป็นที่ตั้งของมรดกโลกพื้นที่โบราณคดีและมหาวิหารอากวีเลยา

ประวัติ

[แก้]

อากวีเลยาก่อตั้งเป็นอาณานิคมของโรมันโบราณราว 180/181 ปีก่อนคริสต์ศกราชตามลำแม่น้ำนาทิสสาบนดินแดนทางไต้ของเทือกเขาจูเลียนแอลป์ (Julian Alps) ราว 8 ไมล์เหนือบริเวณลากูน ชื่อบริเวณมาจากภาษาท้องถิ่น “Akylis” อาณานิคมใช้เป็นป้อมพรมแดนทางตะวันออกเฉียงเหนือของอิตาลีและใช้ในการป้องกันเวเนตีผู้เป็นพันธมิตรกับโรมระหว่างสงครามอิลลิเรียน (Illyrian Wars) และเป็นที่ใช้เป็นที่สังเกตการณ์ของผู้ที่อาจจะมาเป็นศัตรูของชนเผ่าที่ไม่เป็นมิตรเช่นกลุ่มคาร์นิ หรืออิสตริ ตามความเป็นจริงแล้วที่ตั้งของอากวีเลยาไม่ไกลจากที่ที่ชนผู้รุกรานชาวกอลที่พยายามเข้ามาตั้งถิ่นฐานราว 183 ก่อนคริสต์ศกราช

สถานที่สำคัญ

[แก้]

มหาวิหาร

[แก้]

มหาวิหารอากวีเลยาเป็นสถานที่ที่สำคํญที่สุดแห่งหนึ่งของคริสต์ศาสนา ลักษณะการก่อสร้างเป็นหลังคาแบนแบบบาซิลิกา ที่ก่อสร้างโดยพาทริอาร์คพ็อพโพในปี ค.ศ. 1031 บนที่ตั้งของวัดเดิม และมาสร้างใหม่อีกครั้งราวปี ค.ศ. 1379 เป็นสถาปัตยกรรมกอธิคโดยพาทริอาร์คมาร์ควัด

อากวีเลยาได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโกในปี ค.ศ. 2000 เพราะเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดเมืองหนึ่งของจักรวรรดิโรมันสมัยแรกที่ยังอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ซึ่งทำให้มีความสำคัญทางโบราณคดี นอกจากนั้นก็ยังเป็นที่ตั้งของมหาวิหารอากวีเลยาซึ่งเป็นมหาวิหารที่มีความสำคัญในการเผยแพร่คริสต์ศาสนาไปยังทวีปยุโรปตอนกลางในสมัยต้นยุคกลาง[1]

อ้างอิง

[แก้]
  1. UNESCO: Archaeological Area and the Patriarchal Basilica of Aquileia (Aquileia)[1]

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ อากวีเลยา