วิกิพีเดีย:วันนี้ในอดีต/สิงหาคม
1 สิงหาคม: วันชาติในสวิตเซอร์แลนด์
- พ.ศ. 1030 (ค.ศ. 527) – หลังจักรพรรดิยุสตีนุสที่ 1 เสด็จสวรรคต ยุสตินิอานุสมหาราชได้เป็นผู้ปกครองจักรวรรดิไบแซนไทน์แต่ผู้เดียว
- พ.ศ. 2257 (ค.ศ. 1714) – เกออร์ก ลูทวิช เจ้าผู้คัดเลือกแห่งฮันโนเฟอร์ เฉลิมพระนามเป็นพระเจ้าจอร์จที่ 1 แห่งบริเตนใหญ่ เป็นจุดเริ่มต้นของยุคสมัยจอร์เจียนในประวัติศาสตร์บริเตน
- พ.ศ. 2317 (ค.ศ. 1774) – โจเซฟ พริสต์ลีย์ (ในภาพ) นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ค้นพบแก๊สออกซิเจน เป็นการยืนยันการค้นพบธาตุนี้โดยคาร์ล วิลเฮ็ล์ม เชเลอ นักเคมีชาวเยอรมัน-สวิส
- พ.ศ. 2470 (ค.ศ. 1927) – ในการก่อการกำเริบหนานชาง ยุทธนาการหลักครั้งแรกในสงครามกลางเมืองจีน กำลังคอมมิวนิสต์ยึดนครหนานชางจากพรรคก๊กมินตั๋งได้ทั้งนคร
- พ.ศ. 2487 (ค.ศ. 1944) – สงครามโลกครั้งที่สอง: ขบวนการรัฐใต้ดินโปแลนด์เริ่มการก่อการกำเริบวอร์ซอในกรุงวอร์ซอ ต่อต้านการยึดครองโปแลนด์ของนาซีนาน 63 วันก่อนถูกปราบปราม
ดูเพิ่ม: 31 กรกฎาคม – 1 สิงหาคม – 2 สิงหาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
- พ.ศ. 327 (216 ปีก่อน ค.ศ.) – สงครามพิวนิกครั้งที่สอง: กองทัพคาร์เธจอันมีแฮนนิบัลเป็นผู้นำรบชนะกองทัพโรมันที่มีจำนวนมากกว่า ใกล้เมืองกันไน แคว้นปุลยา ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศอิตาลีปัจจุบัน
- พ.ศ. 2153 (ค.ศ. 1610) – เฮนรี ฮัดสัน นักสำรวจทะเลชาวอังกฤษ แล่นเรือเข้าสู่บริเวณซึ่งปัจจุบันเรียก อ่าวฮัดสัน โดยคิดว่าเขาแล่นผ่านเส้นทางตะวันตกเฉียงเหนือถึงมหาสมุทรแปซิฟิกแล้ว
- พ.ศ. 2466 (ค.ศ. 1923) – แคลวิน คูลิดจ์ ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐคนที่ 30 หลังวาร์เรน จี. ฮาร์ดิง ถึงแก่อสัญกรรมด้วยอาการหัวใจวาย
- พ.ศ. 2413 (ค.ศ. 1870) – ทาวเวอร์ซับเวย์ (ในภาพ) ใต้แม่น้ำเทมส์ ทางรถไฟใต้ดินสายแรกของโลก เปิดใช้งานในกรุงลอนดอน
- พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) – ประเทศอิรักบุกครองคูเวต โดยมีชัยในเวลาสองวัน สุดท้ายกลายเป็นชนวนสงครามอ่าวในอีกเจ็ดเดือนถัดมา
ดูเพิ่ม: 1 สิงหาคม – 2 สิงหาคม – 3 สิงหาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
3 สิงหาคม: วันประกาศเอกราชในไนเจอร์ (พ.ศ. 2503); วันธงในเวเนซุเอลา
- พ.ศ. 2459 (ค.ศ. 1916) – เซอร์โรเจอร์ เคสเมนต์ นักชาตินิยมไอร์แลนด์ ถูกแขวนคอฐานเป็นกบฏ จากบทบาทของเขาในกบฏอีสเตอร์ ซึ่งพยายามประกาศอิสรภาพไอร์แลนด์จากสหราชอาณาจักร
- พ.ศ. 2479 (ค.ศ. 1936) – เจสซี โอเวนส์ นักกรีฑาชาวแอฟริกันอเมริกัน คว้าเหรียญทองเหรียญแรกจากสี่เหรียญในโอลิมปิกฤดูร้อนเบอร์ลิน
- พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) – สมาคมบาสเกตบอลแห่งอเมริกาตกลงรวมกับสันนิบาตบาสเกตบอลแห่งชาติ ก่อตั้งสมาคมบาสเกตบอลแห่งชาติ
- พ.ศ. 2503 (ค.ศ. 1960) – ประเทศไนเจอร์ได้รับเอกราชจากฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการ เป็นส่วนหนึ่งของการปลดปล่อยอาณานิคมประชาคมฝรั่งเศส
- พ.ศ. 2548 (ค.ศ. 2005) – แมฮ์มูด แอฮ์แมดีเนฌอด (ในภาพ) อดีตนายกเทศมนตรีกรุงเตหะราน เริ่มวาระเป็นประธานาธิบดีอิหร่านคนที่หก
ดูเพิ่ม: 2 สิงหาคม – 3 สิงหาคม – 4 สิงหาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
4 สิงหาคม: วันรัฐธรรมนูญในหมู่เกาะคุก (พ.ศ. 2508)
- พ.ศ. 2326 (ค.ศ. 1783) – การปะทุของภูเขาไฟอาซามะ (ในภาพ) ภูเขาไฟที่มีพลังที่สุดในประเทศญี่ปุ่น ทำให้ทุพภิกขภัยใหญ่ยุคเท็มเมทวีความรุนแรงขึ้น มีผู้เสียชีวิตรวมกันหลายพันคน
- พ.ศ. 2457 (ค.ศ. 1914) – สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง: สหราชอาณาจักรประกาศสงครามต่อเยอรมนี หลังเยอรมนีบุกครองเบลเยียม โดยยึดข้อความในสนธิสัญญาลอนดอน ค.ศ. 1839
- พ.ศ. 2507 (ค.ศ. 1964) – สงครามเวียดนาม: สำนักงานความมั่นคงแห่งชาติจัดทำรายงานเท็จว่ากำลังเวียดนามเหนือโจมตีเรือพิฆาตของกองทัพเรือสหรัฐเป็นลำที่สองในอ่าวตังเกี๋ย ทำให้รัฐสภาอนุญาตให้ใช้กำลังทหาร
- พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) – สมรักษ์ คำสิงห์คว้าเหรียญทองจากกีฬามวยสากลสมัครเล่น รุ่นเฟเธอร์เวท ในโอลิมปิกฤดูร้อน ครั้งที่ 26 ณ แอตแลนตา รัฐจอร์เจีย สหรัฐ นับเป็นนักกีฬาทีมชาติไทยคนแรกที่ได้เหรียญทองโอลิมปิก
- พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) – แอมโมเนียมไนเตรตปริมาณมากที่เก็บไว้ ณ ท่าเรือเบรุตในประเทศเลบานอน ระเบิด ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 218 คน และมีมูลค่าความเสียหาย 15,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ดูเพิ่ม: 3 สิงหาคม – 4 สิงหาคม – 5 สิงหาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
5 สิงหาคม: วันประกาศเอกราชในบูร์กินาฟาโซ (พ.ศ. 2503)
- พ.ศ. 568 (ค.ศ. 25) – จักรพรรดิฮั่นกวังอู่ (ในภาพ) ขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิแห่งราชวงศ์ฮั่นหลังหวัง หมั่งถูกสังหารขณะชาวนาก่อกบฎในฉางอาน
- พ.ศ. 1643 (ค.ศ. 1100) – พระเจ้าเฮนรีที่ 1 ราชาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์อังกฤษ ณ เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์
- พ.ศ. 1848 (ค.ศ. 1305) – วิลเลียม วอลเลซ ชาวสกอตแลนด์ผู้นำการต่อต้านอังกฤษ ถูกจับได้ใกล้กลาสโกว์ แล้วถูกพิพากษาประหารชีวิตในกรุงลอนดอน
- พ.ศ. 2457 (ค.ศ. 1914) – ไฟจราจรระบบอิเล็กทรอนิกส์ถูกติดตั้งครั้งแรกในคลีฟแลนด์ รัฐโอไฮโอ สหรัฐ
- พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) – มาริลิน มอนโร นักแสดงและนางแบบชาวอเมริกัน ถูกพบเสียชีวิต ในบ้านพักที่ลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย
ดูเพิ่ม: 4 สิงหาคม – 5 สิงหาคม – 6 สิงหาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
6 สิงหาคม: วันประกาศเอกราชในจาเมกา (พ.ศ. 2505) และโบลิเวีย (พ.ศ. 2368)
- พ.ศ. 2081 (ค.ศ. 1538) – กอนซาโล คีเมเนซ เด เกซาดา กองกิสตาดอร์สเปน ตั้งนิคมเมืองยุโรป ณ ที่ซึ่งปัจจุบันคือ กรุงโบโกตา ประเทศโคลอมเบีย
- พ.ศ. 2349 (ค.ศ. 1806) – จักรพรรดิฟรันทซ์ที่ 2 ทรงยุบจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ หลังสงครามสหสัมพันธมิตรครั้งที่สาม
- พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) – สงครามโลกครั้งที่สอง: อีโนลาเกย์ เครื่องบินทิ้งระเบิดของกองทัพอากาศสหรัฐ ทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ชื่อ ลิตเติลบอย ถล่มนครฮิโรชิมะ จักรวรรดิญี่ปุ่น ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากถึง 140,000 คน
- พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) – ทิม เบอร์เนิร์ส-ลี โพสต์แฟ้มอธิบายความคิดของเขาเป็นครั้งแรกสำหรับระบบเอกสารข้อความหลายมิติเชื่อมโยงกันที่เข้าถึงได้ผ่านอินเทอร์เน็ต เรียก "เวิลด์ไวด์เว็บ"
- พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) – นาซาประกาศว่า อุกกาบาตชื่อ เอแอลเอช 84001 (ในภาพ) ซึ่งพบในแอนตาร์กติกา อาจมีหลักฐานสิ่งมีชีวิตบนดาวอังคาร แต่การทดสอบเพิ่มเติมไม่ได้ข้อสรุป
ดูเพิ่ม: 5 สิงหาคม – 6 สิงหาคม – 7 สิงหาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
7 สิงหาคม: วันเอกราชในโกตดิวัวร์ (พ.ศ. 2503); วันรพีในไทย
- พ.ศ. 2112 (ค.ศ. 1569) – กรุงศรีอยุธยาตกเป็นประเทศราชของอาณาจักรพม่าในรัชกาลพระเจ้าบุเรงนอง หลังถูกล้อมนาน 9 เดือน
- พ.ศ. 2470 (ค.ศ. 1927) – เปิดใช้งาน สะพานพีซ (ในภาพ) เชื่อมระหว่างฟอร์ตอีรี รัฐออนแทรีโอ ประเทศแคนาดา กับบัฟฟาโล รัฐนิวยอร์ก สหรัฐ
- พ.ศ. 2489 (ค.ศ. 1946) – สหภาพโซเวียตแจ้งประเทศตุรกีว่าตุรกีจัดการช่องแคบตุรกีโดยไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ความมั่นคงของชาติทะเลดำ ทำให้วิกฤตการณ์ช่องแคบตุรกีบานปลาย
- พ.ศ. 2508 (ค.ศ. 1965) – กองทัพปลดแอกประชาชนแห่งประเทศไทยใช้อาวุธโจมตีกำลังรัฐบาลเป็นครั้งแรก ณ บ้านนาบัว ตำบลโคกหินแฮ่ อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม เป็นจุดเริ่มต้นของการก่อการกำเริบนาน 18 ปี
- พ.ศ. 2551 (ค.ศ. 2008) – ประเทศจอร์เจียเปิดฉากปฏิบัติการทางทหารขนานใหญ่ต่อเซาท์ออสซีเชียเพื่อยึดพื้นที่คืน เป็นชนวนสงครามรัสเซีย-จอร์เจีย
ดูเพิ่ม: 6 สิงหาคม – 7 สิงหาคม – 8 สิงหาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
- พ.ศ. 2329 (ค.ศ. 1786) – มิเชล กาเบรียล แพกการ์ด และชาก บัลมา พิชิตยอดเขามงบล็องบนเทือกเขาแอลป์ ได้สำเร็จเป็นครั้งแรก
- พ.ศ. 2419 (ค.ศ. 1876) – ทอมัส เอดิสันจดสิทธิบัตรเครื่องพิมพ์ปรุไข เป็นหนึ่งในอุปกรณ์การพิมพ์ซึ่งนำมาสู่เครื่องถ่ายเอกสาร
- พ.ศ. 2461 (ค.ศ. 1918) – สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง: เปิดฉากยุทธการที่อาเมียงในอาเมียง ประเทศฝรั่งเศส เป็นจุดเริ่มต้นของการรุกร้อยวันของฝ่ายสัมพันธมิตรผ่านแนวรบเยอรมันในช่วงปลายสงคราม
- พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) – สงครามโลกครั้งที่สอง: สหภาพโซเวียตประกาศสงครามต่อจักรวรรดิญี่ปุ่น และเริ่มต้นปฏิบัติการพายุสิงหาคม
- พ.ศ. 2510 (ค.ศ. 1967) – ประเทศอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ มาเลเซีย และไทยก่อตั้งสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ตราในภาพ)
- พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) – เริ่มการเดินขบวน การประท้วงและจลาจลหลายครั้งต่อรัฐบาลพรรคโครงการสังคมนิยมพม่าในประเทศพม่า เรียก การก่อการกำเริบ 8888
ดูเพิ่ม: 7 สิงหาคม – 8 สิงหาคม – 9 สิงหาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
9 สิงหาคม: วันชาติในสิงคโปร์ (พ.ศ. 2508); วันสากลว่าด้วยชนพื้นเมืองดั้งเดิมของโลก
- พ.ศ. 1716 (ค.ศ. 1173) – เริ่มการก่อสร้างหอระฆัง ซึ่งสุดท้ายเป็นหอเอนปิซา
- พ.ศ. 2026 (ค.ศ. 1486) – มีการจัดพิธีมิสซาที่โบสถ์น้อยซิสทีน ในนครรัฐวาติกัน เป็นครั้งแรก
- พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) – สงครามโลกครั้งที่สอง: บ็อกสการ์ เครื่องบินทิ้งระเบิดของกองทัพอากาศสหรัฐ ทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ชื่อ แฟตแมน ใส่นางาซากิ จักรวรรดิญี่ปุ่น
- พ.ศ. 2508 (ค.ศ. 1965) – ประเทศมาเลเซียขับรัฐสิงคโปร์ (ธงชาติในภาพ) ออกจากสหพันธ์เนื่องจากความขัดแย้งทางอุดมการณ์อย่างรุนแรงระหว่างผู้ปกครองทั้งสองฝ่าย
- พ.ศ. 2517 (ค.ศ. 1974) – ริชาร์ด นิกสัน ลาออกจากตำแหน่งเนื่องจากเรื่องอื้อฉาววอเตอร์เกต ถือเป็นประธานาธิบดีสหรัฐคนเดียวที่ลาออกจากตำแหน่ง
ดูเพิ่ม: 8 สิงหาคม – 9 สิงหาคม – 10 สิงหาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
10 สิงหาคม: วันเอกราชในเอกวาดอร์ (พ.ศ. 2352)
- พ.ศ. 2218 (ค.ศ. 1675) – วางศิลาฤกษ์หอดูดาวหลวงเกรนิช ในเกรนิช กรุงลอนดอน ปัจจุบันเป็นฐานของเมริเดียนแรก
- พ.ศ. 2336 (ค.ศ. 1793) – ลูฟวร์ พิพิธภัณฑ์ศิลปะที่มีผู้เยี่ยมชมมากที่สุดในโลก เปิดอย่างเป็นทางการในกรุงปารีส
- พ.ศ. 2389 (ค.ศ. 1846) – รัฐสภาสหรัฐจัดตั้งสถาบันสมิธโซเนียน สถาบันการศึกษาและการวิจัย พร้อมพิพิธภัณฑ์อื่นที่เกี่ยวข้อง ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี.
- พ.ศ. 2456 (ค.ศ. 1913) – ผู้แทนจากบัลแกเรีย โรมาเนีย เซอร์เบีย มอนเตเนโกร และกรีซ ลงนามสนธิสัญญาบูคาเรสต์ ยุติสงครามบอลข่านครั้งที่สอง
- พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) – ธรรมนูญ เทียนเงิน (ในภาพ) ได้รับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในการเลือกตั้งครั้งแรก
ดูเพิ่ม: 9 สิงหาคม – 10 สิงหาคม – 11 สิงหาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
11 สิงหาคม: วันเอกราชในชาด (พ.ศ. 2503)
- พ.ศ. 2329 (ค.ศ. 1786) – ฟรานซิส ไลต์ ก่อตั้งเมือง จอร์จทาวน์ เป็นนิคมอังกฤษแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และปัจจุบันเป็นเมืองหลวงของรัฐปีนัง ประเทศมาเลเซีย
- พ.ศ. 2462 (ค.ศ. 1919) – สาธารณรัฐไวมาร์ลงมติยอมรับรัฐธรรมนูญและสถาปนารัฐประชาธิปไตยเสรีนิยมขึ้นในเยอรมนี
- พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) – เครื่องบินโดยสารของสายการบินแอโรฟลอตสองลำชนกันกลางอากาศใกล้กับเมืองดนีปรอดแซร์ฌึนสก์ในโซเวียตยูเครน เป็นผลให้ผู้โดยสารและลูกเรือรวม 178 รายบนทั้งสองอากาศยานเสียชีวิต
- พ.ศ. 2495 (ค.ศ. 1952) – สมเด็จพระราชาธิบดีฮุสเซน (ในภาพ) ขึ้นสืบราชบัลลังก์จอร์แดนต่อจากพระบิดา สมเด็จพระเจ้าเฏาะลาล ซึ่งทรงถูกบังคับสละราชบัลลังก์เพราะประชวรด้วยโรคทางจิตเวช
- พ.ศ. 2555 (ค.ศ. 2012) – มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 306 ราย และบาดเจ็บมากกว่า 3,000 คนในเหตุแผ่นดินไหวสองครั้งต่อกันใกล้กับแทบรีซ ประเทศอิหร่าน
ดูเพิ่ม: 10 สิงหาคม – 11 สิงหาคม – 12 สิงหาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
12 สิงหาคม: วันแม่แห่งชาติในไทย
- พ.ศ. 513 (30 ปีก่อน ค.ศ.) – คลีโอพัตรา พระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์ทอเลมีแห่งอียิปต์ ทรงปลงพระชนม์พระองค์เอง
- พ.ศ. 2394 (ค.ศ. 1851) – ไอแซก ซิงเกอร์ นักประดิษฐ์ชาวอเมริกัน ได้รับสิทธิบัตรจักรเย็บผ้า
- พ.ศ. 2426 (ค.ศ. 1883) – ควากกา (ในภาพ) ซึ่งเป็นสปีชีส์ย่อยของม้าลายธรรมดา ตัวสุดท้ายของโลกเท่าที่ทราบล้มในสวนสัตว์อาร์ติส มากิสตรา ในอัมสเตอร์ดัม
- พ.ศ. 2528 (ค.ศ. 1985) – เจแปนแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 123 บรรทุกผู้โดยสาร 524 คน ชนสันเขาทะกะมะงะฮะระในจังหวัดกุมมะ ประเทศญี่ปุ่น ทำให้มีผู้เสียชีวิต 520 คน นับเป็นพิบัติภัยทางการบินที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดในอากาศยานลำเดียว
- พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) – ซู เฮนดริกสัน นักบรรพชีวินวิทยาชาวอเมริกัน ค้นพบซากดึกดำบรรพ์ที่สมบูรณ์ที่สุดของไทแรนโนซอรัสในรัฐเซาท์ดาโคตา
ดูเพิ่ม: 11 สิงหาคม – 12 สิงหาคม – 13 สิงหาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
13 สิงหาคม: วันเอกราชในสาธารณรัฐแอฟริกากลาง (พ.ศ. 2503)
- พ.ศ. 2456 (ค.ศ. 1913) – แฮร์รี เบรียร์ลีย์ นักประดิษฐ์ชาวอังกฤษ ใช้เตาเผาอุตสาหกรรมพัฒนาเหล็กกล้าไร้สนิม
- พ.ศ. 2480 (ค.ศ. 1937) – เริ่มยุทธการที่เซี่ยงไฮ้ ซึ่งกลายเป็นหนึ่งในยุทธการครั้งนองเลือดและยาวนานที่สุดในสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง
- พ.ศ. 2485 (ค.ศ. 1942) – พลตรี ยูจีน เรย์โบลด์ เสนาธิการเหล่าทหารช่าง กองทัพบกสหรัฐ อนุมัติการก่อสร้างอาคารซึ่งต่อมาใช้เป็นที่พัฒนาโครงการแมนฮัตตัน
- พ.ศ. 2497 (ค.ศ. 1954) – มีการแพร่สัญญาณ "ควอมี ตารานาห์" เพลงชาติปากีสถาน ฉบับสมบูรณ์ครั้งแรกทางวิทยุปากีสถาน
- พ.ศ. 2504 (ค.ศ. 1961) – เริ่มก่อสร้างกำแพงเบอร์ลิน (ในภาพ) เพื่อแยกเบอร์ลินตะวันตกกับเบอร์ลินตะวันออกและดินแดนเยอรมนีตะวันออกที่ล้อมอยู่
ดูเพิ่ม: 12 สิงหาคม – 13 สิงหาคม – 14 สิงหาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
14 สิงหาคม: วันเอกราชในปากีสถาน (พ.ศ. 2490)
- พ.ศ. 2429 (ค.ศ. 1880) – อาสนวิหารโคโลญ (ในภาพ) ก่อสร้างแล้วเสร็จหลังใช้เวลา 632 ปี
- พ.ศ. 2484 (ค.ศ. 1941) – หลังการประชุมลับบนเรือรบที่ทอดสมออยู่ใกล้กับนิวฟันด์แลนด์ นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร วินสตัน เชอร์ชิล และประธานาธิบดีสหรัฐ แฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ ร่วมกันตรากฎบัตรแอตแลนติก อันกำหนดวิสัยทัศน์แก่โลกหลังสงครามโลกครั้งที่สอง แม้ว่าสหรัฐอเมริกายังไม่เข้าสู่สงครามในขณะนั้น
- พ.ศ. 2537 (ค.ศ. 1994) – ทางการซูดานส่งมอบตัวผู้หลบหนีความผิดระหว่างประเทศ อิลลิช รามิเรซ ซันเชซ ซึ่งเป็นที่ต้องการตัวจากการก่อการร้ายหลายครั้งในทวีปยุโรป ให้เจ้าหน้าที่ฝรั่งเศส
- พ.ศ. 2549 (ค.ศ. 2006) – สหประชาชาติเป็นตัวแทนเจรจาหยุดยิงในสงครามเลบานอนระหว่างประเทศเลบานอนและอิสราเอล
- พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2010) – มีการจัดกีฬาโอลิมปิกเยาวชนครั้งแรกในประเทศสิงคโปร์สำหรับนักกีฬาอายุระหว่าง 14 ถึง 18 ปี
ดูเพิ่ม: 13 สิงหาคม – 14 สิงหาคม – 15 สิงหาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
15 สิงหาคม: วันเอกราชในอินเดีย (พ.ศ. 2490)
- พ.ศ. 2457 (ค.ศ. 1914) – คลองปานามา เส้นทางลัดระหว่างมหาสมุทรแอตแลนติกกับมหาสมุทรแปซิฟิกผ่านคอคอดปานามา เปิดการจราจร
- พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) – มีการแพร่สัญญาณพระราชดำรัสเกียวกุองโฮโซในจักรวรรดิญี่ปุ่น เนื้อหาประกาศยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไข
- พ.ศ. 2490 (ค.ศ. 1947) – ชวาหะร์ลาล เนห์รูขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอินเดียคนแรก
- พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948) – มีการสถาปนาสาธารณรัฐเกาหลีโดยมีอี ซึง-มันเป็นประธานาธิบดีคนแรก
- พ.ศ. 2520 (ค.ศ. 1977) – กล้องโทรทรรศน์วิทยุ เดอะบิ๊กเอียร์ ดำเนินการโดยโครงการค้นหาสิ่งมีชีวิตทรงภูมิปัญญาต่างดาวของมหาวิทยาลัยโอไฮโอสเตต ได้รับสัญญาณวิทยุความเข้มสูงมาก ซึ่งต่อมาเป็นที่รู้จักกันว่า สัญญาณว้าว! (ในภาพ)
ดูเพิ่ม: 14 สิงหาคม – 15 สิงหาคม – 16 สิงหาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
16 สิงหาคม: วันเอกราชในประเทศไซปรัส (พ.ศ. 2503); วันสันติภาพไทย; วัยเด็กในปารากวัย
- พ.ศ. 2362 (ค.ศ. 1819) – ในแมนเชสเตอร์ ประเทศอังกฤษ มีผู้เสียชีวิตราว 15 คน และได้รับบาดเจ็บอีก 400 ถึง 700 คนหลังกองทหารม้าบุกเข้าใส่ฝูงชนที่เรียกร้องให้ปฏิรูปการมีผู้แทนราษฎรในรัฐสภา
- พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) – ปรีดี พนมยงค์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ออกประกาศให้การประกาศสงครามของไทยต่อสหรัฐและสหราชอาณาจักรเป็นโมฆะ หลังจักรวรรดิญี่ปุ่นยอมจำนนได้หนึ่งวัน
- พ.ศ. 2503 (ค.ศ. 1960) – โจเซฟ คิททินเจอร์กระโดดร่มลงมาจากบอลลูนเหนือรัฐนิวเม็กซิโกที่ระดับความสูง 31,330 เมตร เป็นสถิติโลกของการกระโดดจากที่สูงโดยตกอย่างอิสระ และเป็นอัตราเร็วที่สูงที่สุดของมนุษย์โดยไม่ใช้เครื่องบิน
- พ.ศ. 2520 (ค.ศ. 1977) – เอลวิส เพรสลีย์ (ในภาพ) "ราชาร็อกแอนด์โรล" ถูกพบว่าเสียชีวิตในบ้านพัก ณ เมมฟิส รัฐเทนเนสซี สหรัฐ
- พ.ศ. 2552 (ค.ศ. 2009) – ยัง ยง-อึนชนะพีจีเอแชมเปียนชิพปี 2552 เป็นนักกอล์ฟชาวเอเชียคนแรกที่ชนะการแข่งขันกอล์ฟรายการเมเจอร์ชาย
ดูเพิ่ม: 15 สิงหาคม – 16 สิงหาคม – 17 สิงหาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
17 สิงหาคม: วันเอกราชในอินโดนีเซีย (พ.ศ. 2488) และกาบอง (พ.ศ. 2512)
- พ.ศ. 2426 (ค.ศ. 1883) – มีการบรรเลงเพลงอิมโน นาเซียวนัล โดมีนีกาโนต่อสาธารณะครั้งแรกที่อาคารเอสเปรันซาหมายเลข 9 เป็นเพลงชาติของสาธารณรัฐโดมินิกันซึ่งใช้มาจนถึงปัจจุบัน
- พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) – แอนิมัลฟาร์ม นวนิยายของจอร์จ ออร์เวลล์ มีการพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรก (ปกในภาพ)
- พ.ศ. 2502 (ค.ศ. 1959) – ไคด์ออฟบลู โดย ไมลส์ เดวิส บันทึกเสียงแจ๊สขายดีที่สุดอย่างหนึ่งตลอดกาล เปิดตัววันแรก
- พ.ศ. 2541 (ค.ศ. 1998) – บิล คลินตัน ประธานาธิบดีสหรัฐ ให้การยอมรับว่าตน "มีความสัมพันธ์ทางกายไม่เหมาะสม" กับโมนิกา ลูวินสกี เจ้าหน้าที่ฝึกงานทำเนียบขาว
- พ.ศ. 2551 (ค.ศ. 2008) – ไมเคิล เฟ็ลปส์ สร้างสถิติเป็นบุคคลผู้คว้าเหรียญทองมากที่สุดในกีฬาโอลิมปิกครั้งหนึ่ง (8) และคว้าเหรียญทองอาชีพรวมมากที่สุด (14) ในประวัติศาสตร์กีฬาโอลิมปิกสมัยใหม่ หลังคว้าชัยในการแข่งขันท่าผสม 4×100 เมตรในโอลิมปิกฤดูร้อน 2008
ดูเพิ่ม: 16 สิงหาคม – 17 สิงหาคม – 18 สิงหาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
18 สิงหาคม: วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติในไทย
- พ.ศ. 2215 (ค.ศ. 1572) – สงครามศาสนาของฝรั่งเศส: มาร์เกอริตแห่งวาลัวทรงเสกสมรสกับพระเจ้าอ็องรีที่ 4 แห่งฝรั่งเศส ผู้นำฝ่ายอูว์เกอโน ในความพยายามสร้างความปรองดองระหว่างนิกายโปรเตสแตนต์กับโรมันคาทอลิก
- พ.ศ. 2411 (ค.ศ. 1868) – พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวงที่บ้านหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (ในภาพ)
- พ.ศ. 2420 (ค.ศ. 1877) – แอซัฟ ฮอลล์ ค้นพบโฟบอส ดาวบริวารหนึ่งในสองดวงของดาวอังคารที่มีขนาดใหญ่กว่า หกวันหลังค้นพบดีมอส ดาวบริวารอีกดวงหนึ่ง
- พ.ศ. 2507 (ค.ศ. 1964) – คณะกรรมการโอลิมปิกสากลประกาศห้ามประเทศแอฟริกาใต้เข้าร่วมการแข่งขัน โอลิมปิกฤดูร้อน 1964 ที่จะจัดขึ้นในเดือนตุลาคม ปีนั้น ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เนื่องจากการถือผิว
ดูเพิ่ม: 17 สิงหาคม – 18 สิงหาคม – 19 สิงหาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
19 สิงหาคม: วันเอกราชในอัฟกานิสถาน (พ.ศ. 2462)
- พ.ศ. 2485 (ค.ศ. 1942) – กองกำลังฝ่ายสัมพันธมิตรสูญเสียทหารมากกว่า 3,000 นาย หลังการตีโฉบฉวยที่เดียป ประเทศฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ไม่ประสบผลสำเร็จ
- พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) – ระหว่างการปฏิวัติเดือนสิงหาคมต่อต้านการปกครองอาณานิคมฝรั่งเศส เหวียตมิญซึ่งมีโฮจิมินห์ (ในภาพ) เป็นผู้นำ ได้เข้าควบคุมกรุงฮานอยในเวียดนามเหนือสำเร็จ
- พ.ศ. 2521 (ค.ศ. 1978) – กลุ่มก่อการร้ายก่อเหตุวางเพลิงโรงภาพยนตร์ในออบอดอน ประเทศอิหร่าน ถือเป็นการก่อการร้ายที่เลวร้ายที่สุดในเวลานั้น และเป็นชนวนไปสู่การปฏิวัติอิหร่าน
- พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) – มีการประกาศต่อสาธารณะว่าประธานาธิบดี มีฮาอิล กอร์บาชอฟ ถูกปลดจากตำแหน่ง "เนื่องจากอาการป่วย" ระหว่างความพยายามรัฐประหารในสหภาพโซเวียต นำโดย เกนนาดี ยานาเยฟ และข้าราชการระดับสูงคนอื่น ๆ
- พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003) – เกิดเหตุระเบิดรถยนต์ที่ทำลายสำนักงานของสหประชาชาติในแบกแดด มีผู้เสียชีวิต 22 ราย ซึ่งรวมถึงทูตบราซิล เซอร์จิโอ วิเอียรา เดอ เมลโล
ดูเพิ่ม: 18 สิงหาคม – 19 สิงหาคม – 20 สิงหาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
20 สิงหาคม: วันนักบุญอิชต์วานในฮังการี
- พ.ศ. 1179 (ค.ศ. 636) – กองทัพเคาะลีฟะฮ์รอชิดีน นำโดย คอลิด อิบน์ อัลวะลีด เข้ายึดครองซีเรียและปาเลสไตน์ในยุทธการที่ยาร์มุก เป็นจุดเริ่มต้นของการพิชิตดินแดนโดยมุสลิมครั้งใหญ่ครั้งแรก หลังนบีมุฮัมมัดเสียชีวิต
- พ.ศ. 2425 (ค.ศ. 1883) – 1812 โอเวอร์เชอร์ ของปิออตร์ อิลิช ไชคอฟสกี นักแต่งเพลงชาวรัสเซีย ออกแสดงครั้งแรกในอาสนวิหารพระคริสต์ผู้ช่วยให้รอดในกรุงมอสโก
- พ.ศ. 2483 (ค.ศ. 1940) – ระหว่างยุทธเวหาที่บริเตน วินสตัน เชอร์ชิล นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร กล่าวสุนทรพจน์ขอบคุณกองทัพอากาศอังกฤษ โดยประกาศว่า "คนส่วนมากไม่เคยเป็นหนี้คนส่วนน้อยมากเท่านี้"
- พ.ศ. 2520 (ค.ศ. 1977) – วอยเอจเจอร์ 2 ของนาซา (ในภาพ) ถูกปล่อยขึ้นจากสถานีกองทัพอากาศแหลมเคเนเวอรอล รัฐฟลอริดา ในภารกิจเพื่อสำรวจดาวเคราะห์ชั้นนอกของระบบสุริยะ
ดูเพิ่ม: 19 สิงหาคม – 20 สิงหาคม – 21 สิงหาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
- พ.ศ. 2454 (ค.ศ. 1911) – ลูกจ้างพิพิธภัณฑ์คนหนึ่งขโมยโมนาลิซา (ในภาพ) ของเลโอนาร์โด ดา วินชี ไปจากพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ก่อนถูกพบอีกสองปีต่อมา
- พ.ศ. 2487 (ค.ศ. 1944) – ผู้แทนจากสาธารณรัฐจีน สหภาพโซเวียต สหราชอาณาจักรและสหรัฐประชุมกันที่ดัมบาร์ตันโอ๊คส์ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เพื่ออภิปรายการตั้งสหประชาชาติ
- พ.ศ. 2502 (ค.ศ. 1959) – สหรัฐผนวกดินแดนฮาวายเป็นรัฐที่ 50
- พ.ศ. 2511 (ค.ศ. 1968) – ปรากสปริง สมัยการเปิดเสรีการเมืองในเชโกสโลวาเกีย พลันยุติหลังทหารฝ่ายกติกาวอร์ซอบุกครองประเทศ ฆ่าชาวเชโกสโลวักจำนวน 72 คนและจับผู้นำ อเล็กซานเดอร์ ดุปเชค
- พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969) – นักท่องเที่ยวชาวออสเตรเลียจุดไฟเผามัสยิดอัลอักศอในเยรูซาเลม เป็นชนวนสำคัญต่อการตั้งองค์การความร่วมมืออิสลาม
ดูเพิ่ม: 20 สิงหาคม – 21 สิงหาคม – 22 สิงหาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
- พ.ศ. 2028 (ค.ศ. 1485) – กองกำลังแลงคัสเตอร์ อันมีเฮนรี ทิวเดอร์ เอิร์ลแห่งริชมอนด์เป็นผู้นำ พิชิตกองกำลังยอร์ก อันมีพระเจ้าริชาร์ดที่ 3 เป็นผู้นำ ในยุทธการที่บอสเวิร์ธฟิลด์ ซึ่งยุติสงครามดอกกุหลาบลงอย่างเด็ดขาด
- พ.ศ. 2182 (ค.ศ. 1639) – บริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษซื้อที่ดินผืนเล็ก ๆ ของพื้นที่ซึ่งปัจจุบันคือ เจนไน เมืองหลวงของรัฐทมิฬนาฑู จากพระมหากษัตริย์จักรวรรดิวิชัยนคร
- พ.ศ. 2407 (ค.ศ. 1864) – ขบวนการกาชาดอันมีอ็องรี ดูว์น็อง (ในภาพ) เป็นผู้นำ เริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อสิบสองชาติยุโรปลงนามอนุสัญญาเจนีวาฉบับที่หนึ่ง ซึ่งสถาปนาคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ
- พ.ศ. 2453 (ค.ศ. 1910) – เกาหลีและญี่ปุ่นลงนามสนธิสัญญาผนวกดินแดนญี่ปุ่น–เกาหลี ทำให้เกาหลีมีสถานะเป็นอาณานิคมของจักรวรรดิญี่ปุ่น ซึ่งกินเวลาจนสงครามโลกครั้งที่สองยุติ
ดูเพิ่ม: 21 สิงหาคม – 22 สิงหาคม – 23 สิงหาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
23 สิงหาคม: วันระลึกการค้าทาสและการเลิกทาสสากล
- พ.ศ. 1848 (ค.ศ. 1305) – หลังมีการพิจารณาจำอวด วิลเลียม วอลเลซ ผู้นำการต่อต้านอังกฤษชาวสกอตระหว่างสงครามประกาศอิสรภาพสกอตแลนด์ ถูกประหารชีวิต ณ ตลาดสมิทฟีลด์ ในกรุงลอนดอน
- พ.ศ. 2486 (ค.ศ. 1943) – สงครามโลกครั้งที่สอง: กองทัพโซเวียตชนะเยอรมันได้อย่างเด็ดขาดในยุทธการที่คูสค์ ทำให้กองทัพแดงครองการริเริ่มทางยุทธศาสตร์ได้จนสงครามยุติ
- พ.ศ. 2509 (ค.ศ. 1966) – ยานอวกาศลูนาร์ออร์บิเตอร์ 1 ของนาซา ถ่ายภาพโลกภาพแรกขณะโคจรรอบดวงจันทร์ (ในภาพ)
- พ.ศ. 2550 (ค.ศ. 2007) – พบโครงกระดูกของพระราชวงศ์โรมานอฟ 2 พระองค์ ได้แก่ อะเลคเซย์ นีโคลาเยวิช ซาเรวิชแห่งรัสเซีย และอะนัสตาซียา ในเยคาเตรินบุร์ก ประเทศรัสเซีย
- พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2010) – อดีตนายตำรวจแห่งชาติฟิลิปปินส์จี้รถโดยสารนักท่องเที่ยวในกรุงมะนิลาและจับผู้โดยสารเป็นตัวประกันเกือบ 11 ชั่วโมงก่อนถูกตำรวจวิสามัญฆาตกรรม
ดูเพิ่ม: 22 สิงหาคม – 23 สิงหาคม – 24 สิงหาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
24 สิงหาคม: วันประกาศเอกราชในยูเครน
- พ.ศ. 622 (ค.ศ. 79) – ตามการประมาณโดยอาศัยโคเด็กซ์ละอุเรนทิอะนัสเมดิเซอัส ภูเขาไฟวิซุเวียสปะทุ ฝังเมืองปอมเปอี เฮอร์คิวเลเนียมและสตาเบียในประเทศอิตาลีใต้กองหินและเถ้าถ่าน
- พ.ศ. 1999 (ค.ศ. 1456) – คัมภีร์ไบเบิลกูเทนแบร์ก หนังสือสำคัญเล่มแรกที่ผลิตด้วยแท่นพิมพ์ ฉบับเก่าที่สุดเท่าที่ทราบพิมพ์เสร็จสิ้น
- พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) – ไมโครซอฟท์ บริษัทผู้พัฒนาซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ วางจำหน่ายระบบปฏิบัติการ วินโดวส์ 95
- พ.ศ. 2549 (ค.ศ. 2006) – สหพันธ์ดาราศาสตร์สากลนิยามคำว่า "ดาวเคราะห์" ใหม่ และจัดดาวพลูโต (ในภาพ) ให้เป็นดาวเคราะห์แคระ
- พ.ศ. 2555 (ค.ศ. 2012) – แลนซ์ อาร์มสตรอง นักปั่นจักรยานชาวอเมริกัน ถูกห้ามลงแข่งขันทุกรายการและริบตำแหน่งแชมป์ตูร์เดอฟร็องส์เจ็ดสมัยเพราะใช้สารต้องห้าม
ดูเพิ่ม: 23 สิงหาคม – 24 สิงหาคม – 25 สิงหาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
25 สิงหาคม: วันประกาศเอกราชในอุรุกวัย
- พ.ศ. 2152 (ค.ศ. 1609) – กาลิเลโอ กาลิเลอี นักดาราศาสตร์ชาวอิตาลี (ในภาพ) สาธิตกล้องโทรทรรศน์ตัวแรก อุปกรณ์ซึ่งต่อมาเรียก กล้องโทรทรรศน์หักเหแสง ให้กับผู้ออกกฎหมายชาวเวนิส
- พ.ศ. 2378 (ค.ศ. 1835) – หนังสือพิมพ์ นิวยอร์กซัน รายงานข่าวหลอกลวงเรื่องดวงจันทร์ โดยตีพิมพ์บทความเกี่ยวกับการค้นพบสิ่งมีชีวิตบนดวงจันทร์ ซึ่งทึกทักว่าเป็นจริง
- พ.ศ. 2455 (ค.ศ. 1912) – ซ่ง เจี้ยวเหรินและซุน ยัดเซ็นก่อตั้งพรรคก๊กมินตั๋งในมณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน
- พ.ศ. 2475 (ค.ศ. 1932) – คณะราษฎรจดทะเบียนตั้งสมาคมคณะราษฎร ซึ่งอาจถือได้ว่าเป็นพรรคการเมืองพรรคแรกของประเทศไทย
- พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) – วอยเอจเจอร์ 2 เข้าใกล้ดาวเนปจูนที่สุด และพบหลักฐานของวงแหวนของดาวเนปจูนอย่างชัดเจน
ดูเพิ่ม: 24 สิงหาคม – 25 สิงหาคม – 26 สิงหาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
- พ.ศ. 1889 (ค.ศ. 1346) – สงครามร้อยปี: กองทัพอังกฤษสถาปนาความเหนือกว่าทางทหารของธนูยาวอังกฤษเหนือกองทัพฝรั่งเศส อันประกอบด้วยพลหน้าไม้และอัศวินสวมเกราะในยุทธการที่เครซี
- พ.ศ. 2311 (ค.ศ. 1768) – เรือหลวง เอนเดวอร์ ออกจากเมืองท่าพลีมัธ ประเทศอังกฤษ ในการเดินเรือครั้งแรกของนักสำรวจ เจมส์ คุก
- พ.ศ. 2332 (ค.ศ. 1789) – การปฏิวัติฝรั่งเศส: สภาร่างรัฐธรรมนูญแห่งชาติ ณ พระราชวังแวร์ซาย อนุมัติคำประกาศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและสิทธิพลเมือง ซึ่งบัญญัติสิทธิปัจเจกบุคคลและกลุ่มบุคคล
- พ.ศ. 2426 (ค.ศ. 1883) – ภูเขาไฟกรากะตัวในประเทศอินโดนีเซียปะทุอย่างรุนแรง (ในภาพ) ทำลายเกาะนั้น และปล่อยเถ้าธุลีขึ้นสู่บรรยากาศมากเสียจนอุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกลดมากที่สุดถึง 1.2 องศาเซลเซียสในปีต่อมา
- พ.ศ. 2521 (ค.ศ. 1978) – ซิกมุนด์ แยนโดยสารยานอวกาศโซยุซ 31 ของโซเวียต เป็นชาวเยอรมันคนแรกในอวกาศ
ดูเพิ่ม: 25 สิงหาคม – 26 สิงหาคม – 27 สิงหาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
27 สิงหาคม: วันประกาศเอกราชในมอลโดวา (พ.ศ. 2534)
- พ.ศ. 2439 (ค.ศ. 1896) – เกิดสงครามระหว่างสหราชอาณาจักรและแซนซิบาร์ โดยแซนซิบาร์ยอมจำนนไม่เกินหนึ่งชั่วโมงหลังสงครามเริ่มขึ้น (ความเสียหายในภาพ) เป็นสงครามสั้นที่สุดในประวัติศาสตร์
- พ.ศ. 2471 (ค.ศ. 1928) – กว่า 60 ประเทศลงนามสนธิสัญญาเคลลอก–บริยอง มีใจความสำคัญห้ามทำสงครามในฐานะเครื่องมือของนโยบายแห่งชาติ
- พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003) – ดาวอังคารเคลื่อนเข้าใกล้โลกมากที่สุดในรอบเกือบ 60,000 ปี ด้วยระยะห่างประมาณ 55,758,000 กิโลเมตร
- พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003) – เปิดการเจรจาหกฝ่ายเพื่อหามติสันติต่อความกังวลความมั่นคงอันเนื่องจากโครงการอาวุธนิวเคลียร์เกาหลีเหนือรอบแรก
- พ.ศ. 2552 (ค.ศ. 2009) – คณะทหารผู้ยึดอำนาจปกครองพม่าและกองทัพชาติพันธุ์เริ่มการปะทะกันอย่างรุนแรงในพื้นที่ปกครองตนเองโกก้าง
ดูเพิ่ม: 26 สิงหาคม – 27 สิงหาคม – 28 สิงหาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
- พ.ศ. 2332 (ค.ศ. 1789) – วิลเลียม เฮอร์เชลค้นพบดาวบริวารของดาวเสาร์ ซึ่งต่อมาชื่อ เอนเซลาดัส
- พ.ศ. 2393 (ค.ศ. 1850) – โลเฮ็นกริน อุปรากรจินตนิยมโดยริชาร์ด วากเนอร์ คีตกวีชาวเยอรมัน เปิดแสดงรอบปฐมทัศน์ในไวมาร์ ภายใต้การกำกับการแสดงของฟรานซ์ ลิซท์ คีตกวีชาวฮังการี
- พ.ศ. 2480 (ค.ศ. 1937) – ก่อตั้งโตโยต้ามอเตอร์ ปัจจุบันเป็นบริษัทผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่สุดของประเทศญี่ปุ่น
- พ.ศ. 2506 (ค.ศ. 1963) – มาร์ติน ลูเทอร์ คิง จูเนียร์ ผู้นำสิทธิพลเมืองชาวอเมริกัน (ในภาพ) กล่าวสุนทรพจน์ "ผมมีฝัน" ใจความว่าเขาปรารถนาให้คนผิวขาวและผิวดำอยู่ร่วมกันอย่างเสมอภาค
- พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004) – ในกีฬามวยระหว่างโอลิมปิกฤดูร้อน 2004 ซึ่งจัดที่กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ มนัส บุญจำนงค์ชนะคะแนนยูได จอห์นสัน ชาวคิวบา เป็นนักมวยชาวไทยคนที่ 3 ที่ได้เหรียญทองโอลิมปิก
ดูเพิ่ม: 27 สิงหาคม – 28 สิงหาคม – 29 สิงหาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
- พ.ศ. 2299 (ค.ศ. 1756) – พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซีย ยกทัพบุกซัคเซิน เป็นการเปิดฉากสงครามเจ็ดปี เพราะประเทศเพื่อนบ้านเริ่มคบคิดต่อต้านพระองค์
- พ.ศ. 2374 (ค.ศ. 1831) – ไมเคิล ฟาราเดย์ค้นพบการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้า นำไปสู่การตั้งกฎการเหนี่ยวนำของฟาราเดย์
- พ.ศ. 2385 (ค.ศ. 1842) – การลงนามสนธิสัญญานานกิง สนธิสัญญาไม่เป็นธรรมซึ่งยุติสงครามฝิ่นครั้งที่หนึ่ง บังคับให้ราชวงศ์ชิงต้องยกการควบคุมเกาะซึ่งปัจจุบันเป็นที่ตั้งของฮ่องกง และสัมปทานอื่นแก่อังกฤษ
- พ.ศ. 2548 (ค.ศ. 2005) – พายุเฮอร์ริเคนแคทรีนา (ในภาพ) เข้าถล่มชายฝั่งสหรัฐอเมริกา ทำให้ฝนตกหนักและมหาอุทกภัยในรัฐลุยเซียนา โดยเฉพาะนิวออร์ลีนส์ที่ส่วนใหญ่ของเมืองจมน้ำ
ดูเพิ่ม: 28 สิงหาคม – 29 สิงหาคม – 30 สิงหาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
30 สิงหาคม: วันเอกราชในตาตาร์สถาน (พ.ศ. 2533) และอาเซอร์ไบจาน (พ.ศ. 2534)
- พ.ศ. 2378 (ค.ศ. 1835) – ผู้ตั้งถิ่นฐานชาวยุโรปขึ้นฝั่งทางเหนือของแม่น้ำยาร์รา ซึ่งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของออสเตรเลีย และก่อตั้งนครเมลเบิร์น
- พ.ศ. 2457 (ค.ศ. 1914) – สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง: ยุทธการที่ทันเนนแบร์กสิ้นสุดลงโดยฝ่ายเยอรมันชนะรัสเซีย
- พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1984) – กระสวยอวกาศ ดัสคัฟเวอรี (ในภาพ) ขึ้นบินครั้งแรกในภารกิจส่งดาวเทียมสื่อสาร 2 ดวงขึ้นสู่อวกาศ
- พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) – มิคาเอล ชูมัคเกอร์ นักแข่งรถสูตรหนึ่งชาวเยอรมัน ชนะเลิศการแข่งขันครั้งแรกในรายการเบลเยียมกรังด์ปรีซ์
- พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) – มีการลงประชามติในติมอร์ตะวันออก ว่าด้วยการแยกตัวเป็นเอกราชจากประเทศอินโดนีเซีย ภายใต้การกำกับดูแลของสหประชาชาติ
ดูเพิ่ม: 29 สิงหาคม – 30 สิงหาคม – 31 สิงหาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
31 สิงหาคม: วันประกาศเอกราชในมาเลเซีย (พ.ศ. 2500) ตรินิแดดและโตเบโก (พ.ศ. 2505) และคีร์กีซสถาน (พ.ศ. 2534)
- พ.ศ. 1965 (ค.ศ. 1422) – พระเจ้าเฮนรีที่ 6 ทรงสืบราชบัลลังก์อังกฤษ ขณะมีพระชนมายุเพียง 8 เดือน ด้วยทรงเป็นรัชทายาทพระองค์เดียวในพระเจ้าเฮนรีที่ 5
- พ.ศ. 2431 (ค.ศ. 1888) – ศพของแมรี แอนน์ นิโคลส์ถูกพบหน้าประตูคอกม้าแห่งหนึ่งบนถนนบัคส์โรว์ กรุงลอนดอน คาดว่าเป็นเหยื่อรายแรกของฆาตกรต่อเนื่อง ซึ่งขนานนามว่า แจ็กเดอะริปเปอร์ (ภาพวาดในภาพ)
- พ.ศ. 2450 (ค.ศ. 1907) – รัสเซียและสหราชอาณาจักรลงนามภาคีอังกฤษ-รัสเซีย ซึ่งกำหนดเขตอิทธิพลระหว่างทั้งสองในเปอร์เซีย อัฟกานิสถาน และทิเบต
- พ.ศ. 2482 (ค.ศ. 1939) – กองทัพเยอรมันจัดฉากการโจมตีสถานีวิทยุแห่งหนึ่งในเมืองกลีวิซ ยกเป็นข้ออ้างในการบุกครองโปแลนด์ อันเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่สอง
- พ.ศ. 2540 (ค.ศ. 1997) – ไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์ สิ้นพระชนม์ในอุบัติเหตุรถยนต์พร้อมกับโดดี อัลฟาเยด์ คนรัก และเฮนรี ปอล คนขับรถ ในอุโมงค์ถนนปองเดอลามา กรุงปารีส
ดูเพิ่ม: 30 สิงหาคม – 31 สิงหาคม – 1 กันยายน
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ