มนัส บุญจำนงค์
มนัส บุญจำนงค์ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เกิด | 24 มิถุนายน พ.ศ. 2523 อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี ประเทศไทย | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สัญชาติ | ไทย | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ชื่ออื่น | เติ้ล | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อาชีพ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
พรรคการเมือง | ชาติไทยพัฒนา (พ.ศ. 2554) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คู่สมรส | พจนีย์ เกตุสวัสดิ์ (หย่า) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
บุตร | 4 คน | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อาชีพนักมวย | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สัญชาติ | ไทย | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รายการเหรียญรางวัล
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รับใช้ | ไทย | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
แผนก/ | สำนักงานตำรวจแห่งชาติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
มนัส บุญจำนงค์ นักมวยสากลสมัครเล่นเจ้าของเหรียญทองโอลิมปิก จากการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 28 ณ กรุงเอเธนส์ สาธารณรัฐเฮลเลนิก นับเป็นชาวไทยคนที่ 5 ที่ได้รับเหรียญทองโอลิมปิก และเป็นนักมวยสากลสมัครเล่นคนที่ 3 ต่อจากสมรักษ์ คำสิงห์ และวิจารณ์ พลฤทธิ์
มนัสมีสถิติได้เหรียญจากกีฬาโอลิมปิก 1 เหรียญทอง 1 เหรียญเงิน, เอเชียนเกมส์ 1 เหรียญทอง, ซีเกมส์ 2 เหรียญทอง และ 1 เหรียญทองแดงจากการแข่งขัน มวยสากลสมัครเล่นชิงแชมป์โลกที่จัดขึ้นที่กรุงเทพฯ ในปี พ.ศ. 2546[1]
ประวัติ
[แก้]มนัส บุญจำนงค์ มีชื่อเล่นว่า "เติ้ล" เกิดเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2523 ที่ตำบลพงสวาย อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี เป็นบุตรของนายมโนและนางมาลี บุญจำนงค์ มีน้องชายอีก 2 คนคือ มานนท์ (นน บุญจำนงค์) และ พันธนินทร์ ทั้ง 3 พี่น้องหัดชกมวยมาตั้งแต่สมัยเด็ก
โอลิมปิก 2004
[แก้]มนัสลงแข่งขันในรุ่นไลท์เวลเตอร์เวท (64 กิโลกรัม) ในการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2004 ที่เมืองเอเธนส์ ประเทศกรีซ เส้นทางสู่เหรียญทองของมนัสคือ
- รอบแรก : ชนะสไปริดอน ยอนนิดิส ( กรีซ) 28-16 หมัด
- รอบ 16 คนสุดท้าย: ชนะโรมิโอ บริน ( ฟิลิปปินส์) 29-15 หมัด
- รอบ 8 คนสุดท้าย: 22 สิงหาคม พ.ศ. 2547 ชนะวิลลี เบรน ( ฝรั่งเศส) 20-8 หมัด
- รอบรองชนะเลิศ: 27 สิงหาคม พ.ศ. 2547 ชนะไอโอนัท จอร์จี ( โรมาเนีย)
- รอบชิงชนะเลิศ: 28 สิงหาคม พ.ศ. 2547 ชนะยูได เซเดอโน่ จอห์นสัน ( คิวบา) 17-11 หมัด [2]
มนัสเป็นนักกีฬาไทยคนที่สามที่ได้เหรียญทองจากการแข่งขันโอลิมปิกครั้งนี้ โดยก่อนหน้า อุดมพร พลศักดิ์ และ ปวีณา ทองสุก นักยกน้ำหนักหญิงทีมชาติไทยได้คว้าเหรียญทองไปแล้ว
เอเชียนเกมส์ 2006
[แก้]หลังจากมนัสได้เหรียญทองโอลิมปิกเกมส์ ก็ประสบปัญหาครอบครัวและติดการพนัน ทำให้เขาเริ่มมีปัญหาเรื่องระเบียบวินัย ไม่เข้าซ้อมชกมวยบ่อยครั้ง ก่อนจะกลับตัวได้และลงแข่งขันเอเชียนเกมส์ 2006 ที่กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2549 โดยเอาชนะชิน เมียง ฮุน จากเกาหลีใต้ 22-11 หมัด ในรอบชิงชนะเลิศ ซึ่งก่อนหน้านี้ทางสมาคมมวยสากลสมัครเล่นได้ส่งมนัสเดินทางไปเก็บตัวที่ประเทศคิวบาเพียงคนเดียวนานถึง 3 เดือน กับโค้ช ฮวน ฟอนตาเนียล ซึ่งก็ทำให้มนัสได้เป็นนักมวยสากลสมัครเล่นไทยเพียงคนเดียวที่ได้เหรียญทองในการแข่งขันครั้งนี้[3]
โอลิมปิก 2008
[แก้]มนัสกลับมาแข่งขันโอลิมปิกเป็นครั้งที่สอง ในรุ่นเดิม โดยเส้นทางการชกเป็นดังนี้
- รอบ 16 คนสุดท้าย (14 สิงหาคม พ.ศ. 2551) : ชนะ มาซาซึกุ คาวาชิ ( ญี่ปุ่น) 8-1
- รอบ 8 คนสุดท้าย (17 สิงหาคม พ.ศ. 2551) : ชนะ เซริค ซาพิเยฟ ( คาซัคสถาน) 7-5
- รอบรองชนะเลิศ (22 สิงหาคม พ.ศ. 2551) : ชนะ โรเนียล อิกเลเซียส โซโตลองโก ( คิวบา) 10-5
- รอบชิงชนะเลิศ (23 สิงหาคม พ.ศ. 2551) : แพ้ เฟลิกซ์ ดิแอซ ( สาธารณรัฐโดมินิกัน) 4-12
โดยถือมนัสเป็นนักกีฬาไทยคนแรก ที่สามารถคว้าเหรียญจากการแข่งขันโอลิมปิกสองสมัยติดต่อกัน
ซีเกมส์ 2011
[แก้]ในการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ 2011 ที่เมืองปาเล็มบัง ประเทศอินโดนีเซีย มนัสได้เลื่อนขึ้นไปชกในรุ่นมิดเดิลเวท หรือ 75 กิโลกรัม แต่มนัสเป็นฝ่ายแพ้นักมวยมาเลเซีย มูฮาหมัด ฟาร์ข่าน ไป 9-10 หมัด ในรอบรองชนะเลิศ[4]
โอลิมปิก 2012
[แก้]ในช่วงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2555 มนัสมีความพยายามฟิตซ้อมเพื่อที่จะกลับมาติมทีมชาติเพื่อไปแข่งขันกีฬาโอลิมปิกอีกครั้ง ในกลางปีเดียวกัน โดยสามารถเอาชนะ ปิติพงษ์ สำเภาล่อน นักมวยรุ่นน้องไปได้ ด้วยการสนับสนุนจากสมรักษ์ คำสิงห์[5] แต่แล้วก็ได้มีปัญหาเรื่องการฟิตซ้อมกับทางสมาคมมวยสากลสมัครเล่นแห่งประเทศไทย และในท้ายที่สุดก็ได้ตัดสินใจแขวนนวมไปในที่สุด [6]
ผลงาน
[แก้]- เหรียญทองแดงเวิลด์คัพ[7]
- เหรียญทองคิงส์คัพ 2003 ประเทศไทย[7]
- เหรียญทองซีเกมส์ ประเทศเวียดนาม[7]
- เหรียญเงินไชนาโอเพน ประเทศจีน[7]
- เหรียญทองคิงส์คัพ 2004 ประเทศไทย[7]
- เหรียญทองโอลิมปิก 2004 ประเทศกรีซ[7]
- เหรียญทองเอเชียนเกมส์ 2006 ประเทศกาตาร์[7]
- เหรียญทองซีเกมส์ 2007 ประเทศไทย[7]
- เหรียญเงินโอลิมปิก 2008 ประเทศจีน
มวยสากลอาชีพ
[แก้]มนัส ได้ชกมวยสากลอาชีพครั้งแรกเมื่ออายุได้ 35 ปี ในวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2558 ในสังกัดเกียรติกรีรินทร์โปรโมชัน ของ เอกรัตน์ ไชยโชติช่วง โดยชกครั้งแรกที่อินดอร์สเตเดียมหัวหมาก ด้วยการเอาชนะคะแนน ฮาเหม็ด จาลารันเต นักมวยชาวอินโดนีเซีย ในกำหนดการชก 4 ยก ร่วมรายการเดียวกับที่อำนาจ รื่นเริง ป้องกันตำแหน่งแชมป์โลกกับ จอห์นเรียล คาซิเมโร ซึ่งมนัสได้ขึ้นชกด้วยสภาพร่างกายที่อ้วนท้วน น้ำหนักกว่า 80 กิโลกรัม ในรุ่นมิดเดิลเวท โดยก่อนหน้านั้นมนัสได้ขึ้นชกมวยเป็นครั้งสุดท้ายในแบบมวยไทยเมื่อกว่า 5 ปีก่อน และในครั้งนี้ได้ลดน้ำหนักกว่า 15 กิโลกรัมเพียงระยะเวลาแค่เดือนเดียว[8] โดยหลังจากนั้น ในวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2558 มนัสขึ้นชกเป็นไฟต์ที่สอง โดยเริ่มใช้ชื่อว่า "มนัส บุญจำนงค์ ศักดิ์กรีรินทร์" โดยพบกับ มาร์โก ทูฮูมูรี นักมวยชาวอินโดนิเซีย [9]ร่วมรายการ ไมค์ พ.ธวัชชัย ชิงแชมป์แพนแปซิฟิค IBF รุ่นซูเปอรฺ์แบนตั้มเวทที่ว่าง ผลปรากฏว่ามนัสชนะคะแนน 4 ยกไปได้ ที่ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลพลาซา เวสต์เกต อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี
หลังจากชกชนะทูฮูมูรี มนัสตั้งเป้าว่าจะทำน้ำหนักให้ลดลงเหลือ 70 กิโลกรัม และทางเกียรติกรีรินทร์โปรโมชั่นก็วางแผนให้มนัสชกเดือนละครั้ง โดยจะให้ชกกำหนด 6 ยก, 8 ยก, 10 ยก และ 12 ยก ตามลำดับ [10]
ในการชกมวยสากลอาชีพครั้งที่ 6 กับ ไรอัน ฟอร์ด นักมวยชาวแคนาดา ซึ่งเป็นอดีตแชมป์การต่อสู้แบบผสมผสาน (MMA) ที่อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ร่วมรายการเดียวกับฟ้าลั่นจูเนียร์ ศักดิ์กรีรินทร์ ชิงแชมป์สหพันธ์มวยนานาชาติ แพนแปซิฟิกที่ว่าง กับ เลสเตอร์ อาบูตัน นักมวยชาวฟิลิปปินส์ มนัสเป็นฝ่ายแพ้ทีเคโอไปในต้นยกที่ 5 หลังจากถูกหมัดขวาของฟอร์ดเข้าอย่างจังที่เบ้าตาซ้าย ในยกที่ 4 ทำให้เจ็บไม่สามารถชกต่อได้ [11] ทำให้มนัสแพ้ครั้งแรกในการชกมวยสากลอาชีพ
ชีวิตส่วนตัว
[แก้]มนัสเคยมีภรรยาคือ นางพจนีย์ บุญจำนงค์ (เกตุสวัสดิ์) และมีบุตรด้วยกัน 3 คน ภายหลังจากได้เหรียญทองโอลิมปิก 2004 มนัสได้มีปัญหากับภรรยา และแยกทางกันเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2549 หลังจากแยกทางกับนางพจนีย์แล้ว ในวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2551 นางพจนีย์ก็ได้ให้กำเนิดบุตรชายเพิ่มอีก 1 คน ซึ่งมนัส ยอมรับกับผู้สื่อข่าวว่า บุตรที่เกิดมาภายหลังนี้เป็นบุตรที่เกิดจากตนเช่นกัน จากการที่มักมีปัญหาเรื่องผู้หญิงและครอบครัวแบบนี้ซึ่งส่งผลกระทบถึงการชกมวย จึงทำให้สื่อมวลชนให้ฉายามนัสว่า "เพลย์บอยกลับใจ" [12] ในวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ทางกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้มีการอนุมัติให้มนัสเข้าบรรจุเป็นข้าราชการตำรวจเนื่องจากสร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศชาติ โดยจะให้ได้รับยศตามวุฒิการศึกษา[13]
ปัจจุบัน มนัสได้คบหากับพิชยาภา พูนิสสัน (ชื่อเล่น: ปัด) หญิงชาวอำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี ทั้งคู่ร่วมกันทำธุรกิจด้วยกันด้วยการจำหน่ายขนมประเภทซีเรียลผ่านทางเฟซบุกและตามงานจัดเลี้ยงต่าง ๆ นอกจากนี้แล้วมนัสยังมีธุรกิจเดินรถโดยสารวิ่งระหว่างจังหวัดราชบุรี-กรุงเทพมหานคร จำนวน 2 คัน และโต๊ะสนุกเกอร์อีกด้วย โดยให้น้องชายและพ่อเป็นผู้ดูแล อีกทั้งยังได้รับเงินจำนวนกว่า 100,000 บาทต่อเดือน จากทั้งการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.), คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และบริษัท โอสถสภา จำกัด ในฐานะที่เคยสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศมาก่อน จนกระทั่งอายุ 60 ปี [14]
การเมือง
[แก้]ในการเลือกตั้งวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 มนัสได้เข้าสมัครเป็นสมาชิกพรรคชาติไทยพัฒนา พร้อมกับเพื่อนนักมวยอีก 3 คือ เขาทราย แกแล็คซี่, สมรักษ์ คำสิงห์ และเจริญทอง เกียรติบ้านช่อง โดยมนัสได้รับการจัดรายชื่อในบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 18[15][16] แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง[17]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2547 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 3 ตติยดิเรกคุณาภรณ์ (ต.ภ.)[18]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ มนัส บุญจำนงค์ :: นักกีฬาดีเด่น จากเว็บสนุก
- ↑ "BEC News: มนัสสยบคิวบาคว้าทองมวยโอลิมปิค". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-20. สืบค้นเมื่อ 2007-08-28.
- ↑ "Thainews: มนัส บุญจำนงค์ เหรียญทองโดฮาเกมส์ ให้สัญญาเริ่มต้นชีวิตใหม่". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2007-08-28.
- ↑ [ลิงก์เสีย] มนัส บุญจำนงค์ ตกรอบรองชนะเลิศ ศึกซีเกมส์ จากครอบครัวข่าว 3[ลิงก์เสีย]
- ↑ 'มันหลอกผม' สมรักษ์ คำสิงห์ สุดทน! แฉ 'มนัส ติดหญิง ทิ้งทีมชาติ' จากไทยรัฐ
- ↑ 'มนัส'จบแล้ว ยันอำลาแน่ มวยเข้าซ้อมสระบุรี จากไทยรัฐ
- ↑ 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 7.5 7.6 7.7 มนัส บุญจำนงค์ ซูเปอร์ฮีโร่เพลย์บอย[ลิงก์เสีย]
- ↑ [ลิงก์เสีย] "มนัส" ไว้ลาย! ต้อนหมูประเดิมชัยชกอาชีพ จากผู้จัดการออนไลน์
- ↑ เทปการชกแบบสั้นกับ มาร์โก ทูฮูมูรี, โมโน 29 .
- ↑ "มนัส บุญจำนงค์" ชนะนักชกอินโดฯ ตั้งเป้าชิงแชมป์โลกปีหน้า, ไทยพีบีเอส
- ↑ หน้า 19 กีฬา, ฟ้าลั่นจูเนียร์เฮ-มนัสพ่ายทีเคโอ. "ย่อยข่าวกีฬา". เดลินิวส์ฉบับที่ 24,299: วันเสาร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2559 แรม 2 ค่ำ เดือน 5 ปีวอก
- ↑ ไทยรัฐ: 'มนัส' นักชกดัง เตียงหักสะบั้น ขึ้นอำเภอหย่า
- ↑ "ฝันเป็นจริงมนัสติดยศตำรวจ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-18. สืบค้นเมื่อ 2008-11-30.
- ↑ หน้า 8, 'มนัส บุญจำนงค์' จากนักชกเสเพล สู่พ่อค้าขายขนมและรักครั้งใหม่. "คมคิดชีวิตต้องสู้". คมชัดลึกปีที่ 14 ฉบับที่ 4890: วันพุธที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2558
- ↑ เปิดตัว"สมรักษ์-เขาทราย"ลง ส.ส.พรรคชาติไทยพัฒนา จากเนชั่น แชนแนล เก็บถาวร 2011-09-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ เปิดรายชื่อปาร์ตี้ลิสต์ 2 พรรคดัง “ชาติไทยพัฒนา-ชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน”[ลิงก์เสีย]
- ↑ เปิดรายชื่อส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ เพื่อไทย 61 ปชป. 44 ภท. 5 รักประเทศไทย 4 ชทพ.4 ชพน.2 จากมติชนเก็บถาวร 2011-08-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๑๐, ๘ ตุลาคม ๒๕๔๗
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2523
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- นักกีฬาทีมชาติไทย
- นักกีฬาไทยที่ได้เหรียญทองโอลิมปิก
- นักกีฬาไทยที่ได้เหรียญเงินโอลิมปิก
- นักกีฬาเหรียญทองเอเชียนเกมส์ชาวไทย
- นักกีฬาเหรียญทองซีเกมส์ชาวไทย
- นักมวยสากลสมัครเล่นชาวไทยชุดโอลิมปิก 2008
- นักมวยสากลสมัครเล่นชาวไทยชุดโอลิมปิก 2004
- นักมวยไทยชาวไทย
- บุคคลจากอำเภอเมืองราชบุรี
- พรรคชาติไทยพัฒนา
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
- นักมวยสากลชาวไทยรุ่นมิดเดิลเวท
- นักมวยสากลชาวไทยจากค่ายมวยเกียรติกรีรินทร์โปรโมชัน
- นักมวยจากจังหวัดราชบุรี