พ.ศ. 2485
หน้าตา
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
ศตวรรษ: | |
---|---|
ปี: |
ปฏิทินสุริยคติไทย | 2485 |
ปฏิทินกริกอเรียน | 1942 MCMXLII |
Ab urbe condita | 2695 |
ปฏิทินอาร์มีเนีย | 1391 ԹՎ ՌՅՂԱ |
ปฏิทินอัสซีเรีย | 6692 |
ปฏิทินบาไฮ | 98–99 |
ปฏิทินเบงกอล | 1349 |
ปฏิทินเบอร์เบอร์ | 2892 |
ปีในรัชกาลอังกฤษ | 6 Geo. 6 – 7 Geo. 6 |
พุทธศักราช | 2486 |
ปฏิทินพม่า | 1304 |
ปฏิทินไบแซนไทน์ | 7450–7451 |
ปฏิทินจีน | 辛巳年 (มะเส็งธาตุโลหะ) 4638 หรือ 4578 — ถึง — 壬午年 (มะเมียธาตุน้ำ) 4639 หรือ 4579 |
ปฏิทินคอปติก | 1658–1659 |
ปฏิทินดิสคอร์เดีย | 3108 |
ปฏิทินเอธิโอเปีย | 1934–1935 |
ปฏิทินฮีบรู | 5702–5703 |
ปฏิทินฮินดู | |
- วิกรมสมวัต | 1998–1999 |
- ศกสมวัต | 1864–1865 |
- กลียุค | 5043–5044 |
ปฏิทินโฮโลซีน | 11942 |
ปฏิทินอิกโบ | 942–943 |
ปฏิทินอิหร่าน | 1320–1321 |
ปฏิทินอิสลาม | 1360–1361 |
ปฏิทินญี่ปุ่น | ศักราชโชวะ 17 (昭和17年) |
ปฏิทินจูเช | 31 |
ปฏิทินจูเลียน | กริกอเรียนลบ 13 วัน |
ปฏิทินเกาหลี | 4275 |
ปฏิทินหมินกั๋ว | ROC 31 民國31年 |
พุทธศักราช 2485 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1942 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดีตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น
ผู้นำ
[แก้]- พระมหากษัตริย์: พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร (2 มีนาคม พ.ศ. 2478 – 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489)
- เจ้าประเทศราช:
- เจ้าผู้ครองนครลำพูน: เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ (พ.ศ. 2454 – 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2486)
- เจ้าประเทศราช:
- นายกรัฐมนตรี: จอมพล แปลก พิบูลสงคราม (16 ธันวาคม พ.ศ. 2481 – 1 สิงหาคม พ.ศ. 2487)
เหตุการณ์
[แก้]มกราคม-มีนาคม
[แก้]- 1 มกราคม - สงครามโลกครั้งที่สอง : เริ่มใช้คำว่า "United Nations" หรือสหประชาชาติ สำหรับกล่าวถึงกลุ่มพันธมิตรในสงคราม
- 6 มกราคม - ญี่ปุ่นยึดอ่าวบรูไนสำเร็จ
- 23 มกราคม - ญี่ปุ่นบุกยึดลาบวนสำเร็จ
- 25 มกราคม - สงครามมหาเอเชียบูรพา : ประเทศไทยประกาศสงครามต่อสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ
- 20 มกราคม - ผลการประชุมของพรรคนาซี ณ เบอร์ลิน เพื่อหาทางออกปัญหาชาวยิว นำไปสู่ปฏิบัติการการล้างชาติพันธุ์โดยนาซี
- 7 กุมภาพันธ์ - ทีมฟุตบอลทีมชาติอุรุกวัยชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอเมริกาใต้ ครั้งที่ 17 ณ สนามกีฬาเซนเตนาเรียว กรุงมอนเตวิเดโอ ประเทศอุรุกวัย
- 8 กุมภาพันธ์ - ญี่ปุ่นยึดครองหมู่เกาะเซลีเบสสำเร็จ
- 10 กุมภาพันธ์ - ญี่ปุ่นยึดครองเกาะนิวไอร์แลนด์และเกาะนิวบริเตนตะวันตก
- 13 กุมภาพันธ์ - ญี่ปุ่นเริ่มเข้ายึดเมืองปาเล็มบังบนเกาะสุมาตราและยึดได้สำเร็จในอีกสามวันต่อมา
- 15 กุมภาพันธ์ - สงครามโลกครั้งที่สอง : สิงคโปร์ยอมจำนนต่อกองกำลังญี่ปุ่น ทหารชาวอินเดีย ออสเตรเลีย มลายู และอังกฤษกว่า 130,000 นาย ตกเป็นเชลยศึก
- 16 กุมภาพันธ์ - ญี่ปุ่นยึดบอร์เนียวภาคใต้สำเร็จ
- 18 กุมภาพันธ์ - ญี่ปุ่นยึดเกาะบาหลี
- 19 กุมภาพันธ์ - กองทัพญี่ปุ่นเข้าโจมตีดาร์วิน เมืองหลวงในนอร์เทิร์นเทร์ริทอรีของประเทศออสเตรเลียทางอากาศ ด้วยเครื่องบินทิ้งระเบิดและเครื่องบินขับไล่ 242 ลำ
- 21 กุมภาพันธ์ - ทหารสหรัฐเข้ายึดหมู่เกาะรัสเซลล์
- 24 กุมภาพันธ์ - ญี่ปุ่นยึดเกาะติมอร์
- 8 มีนาคม -
- สงครามโลกครั้งที่สอง : ชาวดัตช์ยอมจำนนต่อกองกำลังญี่ปุ่นในชวา
- 10 มีนาคม - สถาปนากระทรวงสาธารณสุขของไทย
- สงครามโลกครั้งที่สอง : ญี่ปุ่นเข้ายึดครองย่างกุ้ง ประเทศพม่า
- 16 มีนาคม - นิวซีแลนด์ประกาศสงครามกับไทย โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 25 มกราคม 2485
- 21 มีนาคม - การประกอบพิธีปลุกเสกเหรียญพระมงคลบพิตรและแหวนยันต์มงคลโดยพระเกจิอาจารย์ 99 องค์ ที่พระอุโบสถ วัดราชบพิตร เวลา 21.08 น. อันเป็นปฐมฤกษ์ปลุกเสก และบริกรรมบรรจุพระคาถาศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ จนถึงเวลา 04.00 น. วันที่ 22 มีนาคม 2485
เมษายน-มิถุนายน
[แก้]- 18 เมษายน - สงครามโลกครั้งที่สอง : เครื่องบินทิ้งระเบิด บี-25 มิตเชลล์ 16 ลำ จากเรือบรรทุกเครื่องบิน ยูเอสเอส ฮอร์เน็ต ของสหรัฐ เข้าจู่โจมกรุงโตเกียว ในปฏิบัติการการจู่โจมดูลิตเติลเรด
- 5 พฤษภาคม -
- ประกาศใช้พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรม ถือเป็นวันสถาปนากระทรวงอุตสาหกรรมของไทย
- สถาปนา กรมการสนเทศ สังกัดกระทรวงเศรษฐการ ในสมัยนั้น ซึ่งภายหลังในปี 2518 เปลี่ยนชื่อเป็น กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ และ เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2545 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
- 8 พฤษภาคม - เรือบรรทุกอากาศยาน ยูเอสเอส เลกซิงตัน ถูกทำลายขณะสิ้นสุดสงครามในยุทธภูมิทะเลคอรัล
- 29 พฤษภาคม - รัฐบาลประกาศปรับปรุงอักษรไทยซึ่งมีผู้เรียกว่า "หนังสือจอมพล" โดยตัดสระและพยัญชนะที่เห็นว่าไม่จำเป็นออก ใช้ถึงปี พ.ศ. 2487 จึงยกเลิกไป
- 30 พฤษภาคม - สงครามโลกครั้งที่สอง : กองทัพอังกฤษทิ้งระเบิด 1,000 ลูกโจมตีเมืองโคโลญในประเทศเยอรมนีเป็นเวลา 1 ชั่วโมงครึ่ง
- 31 พฤษภาคม - สงครามโลกครั้งที่สอง: กองทัพอากาศลุฟท์วัฟเฟอร์ของประเทศเยอรมนีได้ทิ้งระเบิดใส่เมืองโคเวนทรี ประเทศอังกฤษ
- 4 มิถุนายน - ยุทธภูมิมิดเวย์เริ่มขึ้น เมื่อจักรวรรดิญี่ปุ่นโจมตีเกาะปะการังวงแหวนมิดเวย์
- 24 มิถุนายน - มีพิธีเปิดอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ที่บริเวณต้นทางหลวงประชาธิปัตย์ กรุงเทพมหานคร (ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นถนนพหลโยธิน)
- 28 มิถุนายน - ญี่ปุ่นปักหลักกิโลเมตรที่ 0 ของทางรถไฟสายมรณะที่สถานีทันบูซายัตในพม่า
กรกฎาคม-กันยายน
[แก้]- 6 กรกฎาคม - ญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกที่เกาะคัลคะแนล
- 24 กรกฎาคม - ญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกทางด้านเหนือของปาปัวนิวกินีเพื่อเข้ายึดพอร์ต มอสบี
- 19 สิงหาคม - กองกำลังสัมพันธมิตรเข้าโจมตีกองทัพเยอรมัน ณ เมืองเดียป ประเทศฝรั่งเศส ในเหตุการณ์การจู่โจมเดียป
- 23 สิงหาคม - จุดเริ่มต้นของยุทธการสตาลินกราด: เมื่อกองกำลังทหารเยอรมันเดินทางมาถึงชานเมืองของสตาลินกราด
- 24 สิงหาคม - ยุทธนาวีแห่งหมู่เกาะโซโลมอนตะวันออกได้เริ่มต้นขึ้นใน 2 วัน: เครื่องบินทิ้งระเบิดจากเรือบรรทุกเครื่องบินยูเอ็สเอ็ส ซาราโทกาได้จมเรือบรรทุกเครื่องบินญี่ปุ่น Ryūjō นำไปสู่ชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร
- 12 กันยายน - เรือดำน้ำเยอรมันยิงตอร์ปิโดถล่มเรือลาโคเนียของอังกฤษที่บรรทุกพลเรือน 80 คน ทหารอังกฤษ 268 นาย เชลยศึกชาวอิตาลี 1,800 คน และทหารยามชาวโปแลนด์ 160 นาย อับปางลงนอกชายฝั่งแอฟริกาตะวันตก
- 16 กันยายน - ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของไทยกับผู้แทนกองทัพญี่ปุ่นประจำประเทศไทย ลงนามในข้อตกลงสร้างทางรถไฟสายมรณะ
- ปลายเดือนกันยายน-พฤศจิกายน - เกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ในกรุงเทพมหานคร เนื่องจากฝนตกหนักลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำสูงมาก ไหลล้นคันกั้นน้ำทั้งสองฝั่งแม่น้ำตลอดแนว วัดระดับน้ำที่สะพานสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้ 2.27 เมตร เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง
- 28 กันยายน - รัฐบาลประกาศพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2485 จัดตั้งสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ
ตุลาคม-ธันวาคม
[แก้]- 1 ตุลาคม - ก่อตั้งโรงเรียนเชิงชุมราษฎร์นุกูล
- 19 พฤศจิกายน - กองทัพโซเวียตภายใต้การนำของพลเอก เกออร์กี จูคอฟ เริ่มการโจมตีด้วยยุทธการยูเรนัสในยุทธภูมิสตาลินกราด ทำให้โซเวียตได้เปรียบในสงคราม
- 1 ธันวาคม - ก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย
- 2 ธันวาคม - โครงการแมนฮัตตัน : นักวิทยาศาสตร์นำโดยเอนรีโก แฟร์มี ประสบความสำเร็จในการทดลองปฏิกิริยาลูกโซ่ ด้วยเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ณ มหาวิทยาลัยชิคาโก
- 10 ธันวาคม - ธนาคารแห่งประเทศไทย เปิดดำเนินการในฐานะธนาคารกลางแห่งประเทศไทย
- 18 ธันวาคม - เกิดเหตุการณ์บ้านโป่ง เมื่อทหารญี่ปุ่นตบหน้าสามเณรชาวไทย จนเกิดการลุกฮือขึ้นต่อต้านทหารญี่ปุ่น
เหตุการณ์ที่กำลังดำเนินอยู่
[แก้]วันเกิด
[แก้]มกราคม-มีนาคม
[แก้]- 1 มกราคม -
- วิชัย บุญแสง นักวิจัยชาวไทย
- อาลาซาน วาตารา นักการเมืองชาวโกตดิวัวร์
- 4 มกราคม - จอห์น แมคลาฟลิน นักกีตาร์ นักแต่งเพลงแจ๊ซชาวอังกฤษ
- 5 มกราคม - ชัยชนะ บุญนะโชติ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นักร้องเพลงลูกทุ่ง)
- 8 มกราคม -
- จุนอิชิโร โคะอิซุมิ นายกรัฐมนตรีคนที่ 87 ของประเทศญี่ปุ่น
- สตีเฟน ฮอว์คิง นักฟิสิกส์และนักคณิตศาสตร์ คนสำคัญของโลก (ถึงแก่กรรม 14 มีนาคม พ.ศ. 2561)
- สุรพงษ์ ราชมุกดา อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปัตตานี (ถึงแก่กรรม 5 สิงหาคม พ.ศ. 2558)
- 9 มกราคม - จุก เบี้ยวสกุล นักเขียนการ์ตูน (ถึงแก่กรรม 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2547)
- 12 มกราคม - มิเชล เมเยอร์ นักดาราศาสตร์ชาวสวิส
- 15 มกราคม - เจ้าหญิงไมเคิลแห่งเคนต์
- 17 มกราคม - มูฮัมหมัด อาลี นักมวยสากลชายชาวอเมริกัน (ถึงแก่กรรม 3 มิถุนายน พ.ศ. 2559)
- 21 มกราคม - เอดวิน สตาร์ นักร้องชาวอเมริกัน (ถึงแก่กรรม 2 เมษายน พ.ศ. 2546)
- 25 มกราคม -
- 1 กุมภาพันธ์ -
- คะสึโตะชิ เนะโกะดะ นักกีฬาวอลเลย์บอลชายชาวญี่ปุ่น (ถึงแก่กรรม 4 กันยายน พ.ศ. 2526)
- เทรี โจนส์ นักแสดงชาวเวลส์
- 9 กุมภาพันธ์ - คาโรล คิง นักร้อง นักแต่งเพลง ชาวอเมริกัน
- 10 กุมภาพันธ์ - สุรางค์ เปรมปรีดิ์ ประธานกรรมการมูลนิธิเรวดี
- 16 กุมภาพันธ์ - คิม จ็อง-อิล ประธานาธิบดีเกาหลีเหนือ คนที่ 2 (ถึงแก่อสัญกรรม 17 ธันวาคม พ.ศ. 2554)
- 19 กุมภาพันธ์ -
- บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ อดีตตุลาการศาลทหารสูงสุด และประธานองค์การพิทักษ์สยาม (อพส.)
- โฮเวิร์ด สตริงเกอร์ บริษัท บริษัท โซนี่ คอร์เปอเรชัน
- 20 กุมภาพันธ์ - มิตช์ แมคคอนเนลล์ นักการเมืองชาวอเมริกัน
- 22 กุมภาพันธ์ -
- ทะดะชิ นะกะมุระ (นักคาราเต้) นักคาราเต้ชาวญี่ปุ่น
- สวีทนุช นักร้องชาวไทย
- 23 กุมภาพันธ์ - พูลทรัพย์ ปิยะอนันต์ ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา และอดีตผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ
- 28 กุมภาพันธ์ -
- ดีโน ซอฟฟ์ อดีตผู้รักษาประตูชาวอิตาลี
- สจวร์ต เอ อารอนสัน นักชีววิทยาโรคมะเร็งชาวอเมริกัน
- 2 มีนาคม -
- ลู รีด นักดนตรีร็อก และนักแต่งเพลงชาวอเมริกัน (ถึงแก่กรรม 27 ตุลาคม พ.ศ. 2556)
- วิทย์ รายนานนท์ อดีตเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
- 7 มีนาคม - ไวพจน์ เพชรสุพรรณ นักร้องเพลงลูกทุ่ง (ถึงแก่กรรม 12 มกราคม พ.ศ. 2565)
- 8 มีนาคม - สันติ ทักราล อดีตองคมนตรี อดีตประธานศาลฎีกา (ถึงแก่กรรม 29 เมษายน พ.ศ. 2554)
- 9 มีนาคม - จอห์น เคล นักดนตรี นักประพันธ์เพลง โปรดิวเซอร์เพลง ชาวเวลส์
- 10 มีนาคม -
- เริงชัย มะระกานนท์ อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
- พิทักษ์ รังสีธรรม อดีตนักธุรกิจชาวไทย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตรัง (ถึงแก่กรรม 3 ธันวาคม พ.ศ. 2550)
- 12 มีนาคม - รัตโก มลาดิช อาชญากรสงคราม
- 13 มีนาคม - สแคตแมน จอห์น นักดนตรีชาวอเมริกัน (ถึงแก่กรรม 3 ธันวาคม พ.ศ. 2542)
- 15 มีนาคม - ไอรอน ชีก นักแสดงและนักมวยปล้ำอาชีพชาวอิหร่าน
- 17 มีนาคม - เทะรุฮิซะ โมะริยะมะ นักกีฬาวอลเลย์บอลชายชาวญี่ปุ่น
- 18 มีนาคม - ปอง มณีศิลป์ อดีตผู้บัญชาการทหารอากาศ
- 22 มีนาคม - พลอากาศตรี อาวุธ เงินชูกลิ่น ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะสถาปัตยกรรม (ถึงแก่กรรม 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556)
- 23 มีนาคม - ปองพล อดิเรกสาร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร รองนายกรัฐมนตรี
- 25 มีนาคม - อารีธา แฟรงคลิน นักร้องชาวอเมริกัน
- 28 มีนาคม -
- คอนรัด ชูมันน์ อดีตทหารเยอรมนีตะวันออก (ถึงแก่กรรม 20 มิถุนายน พ.ศ. 2541)
- ไมค์ นิวเวลล์ ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวอังกฤษ
- 29 มีนาคม - หม่อมราชวงศ์บุตรี วีระไวทยะ อดีตรองราชเลขาธิการ สำนักราชเลขาธิการ
เมษายน-มิถุนายน
[แก้]- 1 เมษายน -
- วัลลภ โพทะยะ อดีตนักกีฬายิงธนูชาวไทย
- วิสุทธิ์ ใบไม้ นักชีววิทยาชาวไทย
- 2 เมษายน - โรชาน เซธ นักแสดงชาวอังกฤษ
- 6 เมษายน - ยู บู นักเขียนชาวกัมพูชา
- 10 เมษายน - เล็ก วงศ์สว่าง นักจัดรายการวิทยุ และบรรณาธิการนิตยสารชาวไทย (ถึงแก่กรรม 28 ตุลาคม พ.ศ. 2553)
- 17 เมษายน - มารีโอ เบรนตา ผู้กำกับภาพยนตร์และนักเขียนบทชาวอิตาลี
- 20 เมษายน - สวนิต คงสิริ นักการทูตชาวไทย อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- 21 เมษายน - ไรน่าน อรุณรังษี อดีตนักการเมืองและนักเขียน, นักแปลชาวไทย มุสลิมชาวไทย (ถึงแก่กรรม 5 สิงหาคม พ.ศ. 2552)
- 22 เมษายน - เคนเนธ บิกลีย์ วิศวกรโยธาชาวอังกฤษ (ถึงแก่กรรม 7 ตุลาคม พ.ศ. 2547)
- 24 เมษายน -
- บาร์บรา สไตรแซนด์ นักร้อง/นักแสดงหญิงชาวอเมริกัน
- ยูโซ นะกะมุระ นักกีฬาวอลเลย์บอลชายชาวญี่ปุ่น
- 30 เมษายน - หม่อมราชวงศ์อรฉัตร ซองทอง
- 2 พฤษภาคม - ฌัก โรคเคอ ประธานคณะกรรมการโอลิมปิกสากลคนที่ 8
- 5 พฤษภาคม - ทะเกะโอะ ชิอิ นักแสดงชายชาวญี่ปุ่น (ถึงแก่กรรม 29 มิถุนายน พ.ศ. 2555)
- 6 พฤษภาคม - หลิน ไห่เฟิง นักกีฬาหมากล้อมระดับอาชีพชาวจีน
- 9 พฤษภาคม - คาริน คีวุส นักกวีชาวเยอรมัน
- 10 พฤษภาคม - คาร์ล ดักลาส นักร้องชาวจาเมกา
- 11 พฤษภาคม -
- เจ้าหญิงไอรีนแห่งกรีซและเดนมาร์ก พระขนิษฐาใน สมเด็จพระราชินีโซเฟียแห่งสเปน และ สมเด็จพระราชาธิบดีคอนสแตนตินที่ 2 แห่งกรีซ
- สาโรจน์ ชวนะวิรัช อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- 12 พฤษภาคม - เฮนเรียตตา คลาร์ก โฮร์น โดนัลด์สัน พระราชมารดาใน เจ้าหญิงแมรี มกุฎราชกุมารีแห่งเดนมาร์ก (เสียชีวิต 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540)
- 13 พฤษภาคม - คิม ซู-แด อดีตนักวอลเลย์บอลหญิงชาวเกาหลีเหนือ
- 15 พฤษภาคม - บาร์นาบัส ซีบูซีโซ ดลามีนี นายกรัฐมนตรีเอสวาตินี
- 18 พฤษภาคม - ประชา พรหมนอก อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
- 20 พฤษภาคม - รุ่งเพชร แหลมสิงห์ นักร้องลูกทุ่งชาวไทย
- 24 พฤษภาคม - อิชิโร โอะซะวะ นักการเมืองชาวญี่ปุ่น
- 28 พฤษภาคม -
- เจมส์ เทียน นักแสดงชาวฮ่องกง
- เจ้าหญิงมารี ซิซิลแห่งปรัสเซีย
- สุโข วุฑฒิโชติ อดีตสมาชิกวุฒิสภา จังหวัดสมุทรปราการ ผู้อำนวยการโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย สมุทรปราการ อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี
- 3 มิถุนายน -
- เคอร์ทิส เมย์ฟิลด์ นักร้อง นักแต่งเพลงชาวอเมริกัน
- ประกอบ สังข์โต อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนนทบุรี (ถึงแก่กรรม พ.ศ. 2560)
- 5 มิถุนายน - เตโอโดโร โอเบียง อึงเกมา อึมบาโซโก ประธานาธิบดีอิเควทอเรียลกินี
- 7 มิถุนายน - มูอัมมาร์ กัดดาฟี ผู้นำประเทศลิเบีย (ถึงแก่กรรม 20 ตุลาคม พ.ศ. 2554)
- 8 มิถุนายน - ทัศนา บุญทอง อดีตรองประธานวุฒิสภา คนที่ 2 อดีตสมาชิกวุฒิสภาแบบสรรหา อดีตนายกสภาการพยาบาล
- 10 มิถุนายน - รุ่งกานดา เบญจมาภรณ์ นักแสดงชาวไทย
- 11 มิถุนายน - เลียงชัย ลิ้มล้อมวงศ์ นักวิทยาศาสตร์ด้านกายวิภาคและสรีรวิทยา
- 15 มิถุนายน - พระธรรมไตรโลกาจารย์ (พูนศักดิ์ วรภทฺทโก) เจ้าอาวาสวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร
- 16 มิถุนายน - พอล โจนส์ (นักมวยปล้ำ) นักมวยปล้ำอาชีพชาวอเมริกัน (ถึงแก่กรรม 18 เมษายน พ.ศ. 2561)
- 17 มิถุนายน - มุฮัมมัด อัลบะรอดะอี ผู้อำนวยการสำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ
- 18 มิถุนายน -
- ทาบอ อึมแบกี นักการเมืองชาวแอฟริกาใต้
- พอล แม็กคาร์ตนีย์ นักร้องและนักแต่งเพลงแห่งวงเดอะ บีทเทิล
- โรเจอร์ อีเบิร์ต นักวิจารณ์ภาพยนตร์ นักประวัติศาสตร์ นักข่าว นักเขียนบท และนักเขียนชาวอเมริกัน (ถึงแก่กรรม 4 เมษายน พ.ศ. 2556)
- 28 มิถุนายน - สมศักดิ์ รุจิรวัฒน์ นักวิทยาศาสตร์ชาวไทย นักวิจัย
กรกฎาคม-กันยายน
[แก้]- 4 กรกฎาคม - เจ้าชายไมเคิลแห่งเคนต์
- 9 กรกฎาคม -
- ศรีเมือง เจริญศิริ อดีตสมาชิกวุฒิสภา จังหวัดมหาสารคาม อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
- อุไรวรรณ เทียนทอง อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
- 10 กรกฎาคม - รอนนี เจมส์ ดิโอ นักร้องและนักประพันธ์เพลงชาวอเมริกัน (ถึงแก่กรรม 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2553)
- 11 กรกฎาคม - มานะ แพรสกุล อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่
- 13 กรกฎาคม - แฮร์ริสัน ฟอร์ด นักแสดงชาวอเมริกัน
- 15 กรกฎาคม - ยงยุทธ วิชัยดิษฐ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ระบบบัญชีรายชื่อ อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
- 18 กรกฎาคม - เจ้าชายอาแล็กซ็องดร์แห่งเบลเยียม (ถึงแก่กรรม 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552)
- 23 กรกฎาคม - พิชาญ พิบูลย์วัฒนวงษ์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดหนองบัวลำภู และ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ รวม 2 สมัย
- 25 กรกฎาคม - สนิท จันทรวงศ์ นักการเมืองชาวไทย
- 28 กรกฎาคม -
- มนตรี จุฬาวัฒนฑล นักชีวเคมี ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- เสรี สาระนันท์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสกลนคร 4 สมัย
- 1 สิงหาคม - ชาลี กางอิ่ม นายกเทศมนตรีเทศบาลนครตรัง
- 7 สิงหาคม -
- คาร์ลอส มอนซอน แชมป์โลกนักมวยสากลชาวอาร์เจนตินา (ถึงแก่กรรม 8 มกราคม พ.ศ. 2538)
- ซิกกี เฮลด์ นักฟุตบอลและผู้ฝึกสอนฟุตบอลชายชาวอเมริกัน
- 10 สิงหาคม - เมธี ครองแก้ว กรรมการ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)
- 21 สิงหาคม - เอะอิชิ คิกุชิ นักแสดงชายชาวญี่ปุ่น
- 24 สิงหาคม - คาเรน อูห์เลนเบ็ค นักคณิตศาสตร์ชาวอเมริกัน
- 25 สิงหาคม -
- วรรณไว พัธโนทัย อดีตสมาชิกวุฒิสภา
- สุวิทย์ ยอดมณี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- อีแวน โคลอฟฟ์ นักมวยปล้ำอาชีพชาวแคนาดา (ถึงแก่กรรม 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560)
- 28 สิงหาคม - ฌูแซ เอดัวร์ดู ดุช ซังตุช นักการเมืองชาวแองโกลาและประธานาธิบดีแห่งแองโกลา
- 3 กันยายน - ราวี เดชาชัย นักมวยไทยชาวไทย
- 5 กันยายน - เจ้าหญิงมาจดา ราอัดแห่งจอร์แดน
- 7 กันยายน - บัญญัติ บรรทัดฐาน อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย, อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
- 15 กันยายน - เวิน เจียเป่า นายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
- 18 กันยายน - จรัล บูรณพันธุ์ศรี ผู้พิพากษาและกรรมการการเลือกตั้ง (ถึงแก่กรรม 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548)
- 22 กันยายน -
- สุธี สุทธิสมบูรณ์ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
- อู๋ หม่า นักแสดงและผู้กำกับภาพยนตร์ชาวจีนและฮ่องกง
- 23 กันยายน - แก่นใจ มีนะกนิษฐ์ อดีตนักแสดงชาวไทย
- 27 กันยายน - ดิธ ปราน ช่างภาพและนักข่าวชายชาวกัมพูชา-อเมริกัน (ถึงแก่กรรม 30 มีนาคม พ.ศ. 2551)
ตุลาคม-ธันวาคม
[แก้]- 1 ตุลาคม - ฟริต เซอร์เวต นักมวยสากลชาวสวิตเซอร์แลนด์
- 2 ตุลาคม - มันเฟรด ซาพัทคา นักแสดงชายชาวเยอรมัน
- 7 ตุลาคม - นิคม แสนเจริญ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี (ถึงแก่กรรม 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535)
- 8 ตุลาคม - เหงียน มิญ เจี๊ยต อดีตประธานาธิบดีเวียดนาม
- 9 ตุลาคม - สุจิต บุญบงการ อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
- 10 ตุลาคม - ชาติชาย เชี่ยวน้อย แชมป์โลกมวยสากลชายชาวไทยคนที่ 2 (ถึงแก่กรรม 21 มกราคม พ.ศ. 2561)
- 11 ตุลาคม - อมิตาภ พัจจัน นักแสดงชาวอินเดีย
- 12 ตุลาคม - วิชัย ริ้วตระกูล ราชบัณฑิตสาขาเคมี
- 13 ตุลาคม - วอลเตอร์ แม็คโกแวน แชมป์โลกมวยสากลชาวอังกฤษ
- 18 ตุลาคม - ทวีศักดิ์ โสมาภา อดีตผู้บัญชาการทหารเรือ แห่งกองทัพเรือไทย
- 22 ตุลาคม - เปโดร มอราเลส นักมวยปล้ำอาชีพชาวเปอร์โตริโก หอเกียรติยศดับเบิลยูดับเบิลยูอี
- 23 ตุลาคม -
- ไมเคิล ไครช์ตัน นักเขียนชาวอเมริกัน (ถึงแก่กรรม 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551)
- ศุภสิธ เตชะตานนท์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดขอนแก่น
- 25 ตุลาคม - อาร์ชดยุกเลโอปอลด์ ฟรันซ์แห่งออสเตรีย
- 30 ตุลาคม - จำเนียร สันติสุขนิรันดร์ อดีตประธานสภาประมุขแห่งบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย
- 1 พฤศจิกายน - แลร์รี ฟลินต์ นักธุรกิจผู้จัดพิมพ์ชาวอเมริกัน
- 17 พฤศจิกายน -
- สมเด็จพระพุฒาจารย์ (สนิท ชวนปญฺโญ) เจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก
- มาร์ติน สกอร์เซซี ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวอเมริกัน นักเขียนบทภาพยนตร์
- 19 พฤศจิกายน - รย็อม ชุน-จา อดีตนักวอลเลย์บอลหญิงชาวเกาหลีเหนือ
- 20 พฤศจิกายน -
- โจ ไบเดิน นักการเมืองชาวอเมริกัน รองประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกาคนที่ 47
- ชะเอม แก้วคล้าย นักภาษาศาสตร์ชาวไทย
- อุดมศิลป์ ศรีแสงนาม อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร
- 26 พฤศจิกายน - แบล็กแจ็ก มูลลิแกน นักมวยปล้ำอาชีพชาวอเมริกัน (ถึงแก่กรรม 7 เมษายน พ.ศ. 2559)
- 27 พฤศจิกายน -
- จิมิ เฮนดริกซ์ นักกีตาร์ นักร้อง นักแต่งเพลงชาวอเมริกัน (ถึงแก่กรรม 18 กันยายน พ.ศ. 2513)
- วิจารณ์ พานิช ผู้ก่อตั้งและอดีตประธานสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
- 29 พฤศจิกายน - หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล ผู้กำกับภาพยนตร์
- 7 ธันวาคม - แฮร์รี แชพิน นักแต่งเพลงและนักดนตรีชาวอเมริกัน (ถึงแก่กรรม 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2524)
- 8 ธันวาคม - พิเชษฐ สถิรชวาล อดีต ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีทำหน้าที่ผู้แทนการค้าไทย อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมและอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม อดีตเลขาธิการคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย และอดีตผู้อำนวยการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ(ขสมก.)
- 9 ธันวาคม - สัมพันธ์ ทองสมัคร ส.ส. จังหวัดนครศรีธรรมราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
- 11 ธันวาคม - อะเซลิโอ อะรันดา แชมป์นักมวยสากลชาวฟิลิปปินส์
- 12 ธันวาคม - พันดวงจิด วงสา นักการเมืองชาวลาว
- 15 ธันวาคม - เมตตา รุ่งรัตน์ นักแสดงหญิงชาวไทย
- 17 ธันวาคม - มูฮัมมาดู บูฮารี นักการเมืองชาวไนจีเรีย ประธานาธิบดีไนจีเรีย
- 18 ธันวาคม -
- ก้องไพร ลูกเพชร นักร้องชาวไทย (ถึงแก่กรรม 18 เมษายน พ.ศ. 2554)
- สุรินทร์ ภาคศิริ นักแต่งเพลงลูกทุ่งชาวไทย (ถึงแก่กรรม 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565)
- 19 ธันวาคม - จีน ออคเคอร์ลันด์ นักมวยปล้ำอาชีพชาวอเมริกัน หอเกียรติยศดับเบิลยูดับเบิลยูอี
- 20 ธันวาคม -
- ภาวนา ชนะจิต นักแสดงภาพยนตร์ชาวไทย (ถึงแก่กรรม 10 กันยายน พ.ศ. 2555)
- อาคม ตุลาดิลก อดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดเชียงใหม่
- 21 ธันวาคม - หู จิ่นเทา ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
- 22 ธันวาคม - เคานต์คริสเตียนแห่งโรเซินบอร์ก (ถึงแก่กรรม 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2556)
- 24 ธันวาคม - สุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ นักเคลื่อนไหว แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ
- 29 ธันวาคม - ราเชศ ขันนา อดีตนักแสดงชาวอินเดีย (ถึงแก่กรรม 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2555)
ไม่ทราบวัน
[แก้]- คีรีศักดิ์ บาร์โบส แชมป์นักมวยชาวจังหวัดสุพรรณบุรี
- ซวน กวิ่ญ นามปากกา นักเขียนชาวเวียดนาม
- เด่น ดอกประดู่ นักแสดง นักแสดงตลก พิธีกรชาวไทย
- แยน แฮร์มันสัน นักไอกิโดชาวสวีเดน
- อันทอน ไฟชท์เนอร์ นักแสดงชายชาวเยอรมัน
- ฮง อิล-ช็อน อดีตผู้นำชาวเกาหลีเหนือ
- ศักดิ์ชาย วันชัย นักร้องลูกทุ่งชาวไทย (ถึงแก่กรรม 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2530)
- อุษา พงษ์ทัต นักร้องลูกทุ่งชาวไทย
วันถึงแก่กรรม
[แก้]- 4 มีนาคม - ก้าน พึ่งบุญ ณ อยุธยา (ไม้ เมืองเดิม) นักประพันธ์ (เกิด พ.ศ. 2448)
- 16 เมษายน - เจ้าหญิงอเล็กซานดราแห่งซัคเซิน-โคบวร์คและโกทา (ประสูติ 1 กันยายน พ.ศ. 2421)
- 27 เมษายน - ชิต บุรทัต กวีสมัยรัชกาลที่ 6 ผู้แต่งสามัคคีเภทคำฉันท์ (เกิด 6 กันยายน พ.ศ. 2435)
- 8 กันยายน - ขุนปฏิภาคพิมพ์ลิขิต (เปล่ง ไตรปิ่น) นักเขียนการ์ตูน
- 11 มีนาคม - พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าผ่องประไพ พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ประสูติ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2410)
รางวัล
[แก้]รางวัลโนเบล
[แก้]- สาขาเคมี – ไม่มีการมอบรางวัล
- สาขาวรรณกรรม – ไม่มีการมอบรางวัล
- สาขาสันติภาพ – ไม่มีการมอบรางวัล
- สาขาฟิสิกส์ – ไม่มีการมอบรางวัล
- สาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ – ไม่มีการมอบรางวัล
วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ พ.ศ. 2485