Nothing Special   »   [go: up one dir, main page]

ข้ามไปเนื้อหา

พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์

พิกัด: 36°00′00″N 40°00′00″E / 36.0000°N 40.0000°E / 36.0000; 40.0000
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แผนที่แสดงเขตพระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์เป็นสีแดง

เขต พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์ (อังกฤษ: Fertile Crescent) ที่รู้จักกันโดยเป็นอู่อารยธรรม เป็นบริเวณรูปจันทร์เสี้ยวที่รวมแผ่นดินที่ชื้นและอุดมสมบูรณ์โดยเทียบกับบริเวณข้างเคียงในเอเชียตะวันตกที่เป็นเขตกึ่งแห้งแล้ง และรวมบริเวณรอบ ๆ ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำและลุ่มแม่น้ำไนล์ เป็นบริเวณอยู่ติดกับเขตเอเชียน้อยหรือที่เรียกว่าอานาโตเลีย คำนี้เริ่มใช้ในการศึกษาประวัติศาสตร์โบราณ แล้วต่อมาจึงกลายมาเป็นคำที่นิยมใช้ในโลกตะวันตกแม้ในสาขาภูมิรัฐศาสตร์ (geopolitics) และในเรื่องความสัมพันธ์ทางการทูต

ความหมายทั้งหมดที่มีของคำนี้ ล้วนรวมเขตเมโสโปเตเมีย คือผืนแผ่นดินรอบ ๆ แม่น้ำไทกริสและแม่น้ำยูเฟรทีส และรวมเขตลิแวนต์ คือฝั่งทิศตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ประเทศต่าง ๆ ปัจจุบันที่มีดินแดนร่วมอยู่ในเขตนี้รวมทั้งประเทศอิรัก คูเวต ซีเรีย เลบานอน จอร์แดน อิสราเอล และปาเลสไตน์ โดยอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศตุรกีและทางทิศตะวันตกของอิหร่าน[1][2]

เขตนี้บ่อยครั้งเรียกว่าอู่อารยธรรม (cradle of civilization) เพราะเป็นเขตที่เกิดพัฒนาการเป็นอารยธรรมมนุษย์แรก ๆ สุด ซึ่งเจริญรุ่งเรืองโดยอาศัยทรัพยากรน้ำและเกษตรกรรมที่มีอยู่ในเขต ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นในเขตนี้รวมทั้งการพัฒนาภาษาเขียน การทำแก้ว ล้อ และระบบชลประทาน

ประวัติศาสตร์

[แก้]

ศาสตราจารย์นักมานุษยวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยชิคาโกได้สร้างความนิยมกับคำว่า "พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์" เริ่มตั้งแต่หนังสือเรียนระดับไฮสกูลที่เขาเขียนในปี 1914 และ 1916[3] นี่เป็นคำพรรณนาเขตนี้ในหนังสือปี 1916[3]

ในที่สุดแห่งทิศตะวันตกของเอเชีย มีเขตที่มีรูปร่างไม่สมมาตร ซึ่งโดยทั่วไปแล้วรวมอยู่ในวงน้ำติดกับทะเลแคสเปียนกับทะเลดำทางทิศเหนือ ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียนกับทะเลแดงทางทิศตะวันตก และติดกับมหาสมุทรอินเดียกับอ่าวเปอร์เซียทางทิศใต้และตะวันออก โดยมากเป็นเขตภูเขาทางทิศเหนือและเขตทะเลทรายทางทิศใต้ ที่อยู่มนุษย์ที่เก่าแก่ที่สุดในสนามใหญ่แห่งเอเชียตะวันตกนี้ เป็นแผ่นดินชายแดนระหว่างเขตทะเลทรายและเขตภูเขา เป็นเขตสุดติดกับทะเลทรายที่เพาะปลูกได้ เป็นแผ่นดินวงจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์ที่มีภูเขาทางด้านหนึ่งและทะเลทรายอีกด้านหหนึ่ง

แผ่นดินวงจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์นี้ มีรูปคล้ายกับครึ่งวงกลม โดยมีด้านเปิดอยู่ทางทิศใต้ (ดูแผนที่) มีส่วนสุดทิศตะวันตกที่มุมตะวันออกเฉียงใต้ของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ตรงกลางอยู่เหนือคาบสมุทรอาหรับ มีส่วนสุดทิศตะวันออกเหนืออ่าวเปอร์เซีย ตั้งอยู่เหมือนกับกองทัพหันไปทางทิศใต้ โดยมีปีกหนึ่งยาวไปทางฝั่งตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และอีกปีกหนึ่งยืดไปทางอ่าวเปอร์เซีย และตรงกลางมีด้านหลังชนกับเทือกเขาทางทิศเหนือ ที่สุดของปีกตะวันตกคือปาเลสไตน์ จักรวรรดิอัสซีเรียเป็นส่วนใหญ่ของตรงกลาง ในขณะที่ส่วนสุดของปีกตะวันออกคืออาณาจักรบาบิโลเนีย

ครึ่งวงกลมของแผ่นดินใหญ่นี้ เพราะว่ายังไม่มีชื่อ อาจเรียกได้ว่า พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์1 มันสามารถอุปมาเหมือนกับชายหาดของอ่าวทะเลทราย โดยมีภูเขาข้างหลังค้ำอยู่เหนือชายหาด เป็นอ่าวไม่ใช่ของน้ำแต่เป็นของทะเลทรายอันแห้งแล้ง อันกว้างประมาณ 500 ไมล์ เป็นชายหาดส่วนสุดด้านเหนือของทะเลทรายอาหรับและกว้างยืดไปทางทิศเหนือจนถึงละติจูดมุมทิศตะวันออกเฉียงเหนือแห่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน อ่าวทะเลทรายนี้เป็นที่ราบสูงหินปูน ซึ่งจริง ๆ สูงเกินกว่าที่จะได้น้ำจากแม่น้ำไทกริสและยูเฟรทีส ซึ่งวิ่งตัดเป็นหุบเขาเป็นแนวเฉียงผ่านมัน อย่างไรก็ดี หลังจากแม้จะได้ฝนหน้าหนาวอย่างขาดแคลน แผ่นดินเป็นแถบกว้างของอ่าวทะเลทรายด้านเหนือก็จะปกคลุมไปด้วยหญ้าบาง ๆ และดังนั้นฤดูใบไม้ผลิก็จะเปลี่ยนบริเวณนี้เป็นระยะเวลาสั้น ๆ ให้เป็นทุ่งหญ้า ประวัติของเอเชียตะวันตกสามารถกล่าวได้ว่า เป็นการต่อสู้กันที่เป็นไปนานแล้วระหว่างกลุ่มชนภูเขาทางทิศเหนือและนักเร่ร่อนชาวทะเลทรายแห่งเขตทุ่งหญ้าเหล่านี้ และก็ยังเป็นการต่อสู้ที่ยังเป็นไปอยู่ในปัจจุบัน เพื่อจะได้เป็นเจ้าของพระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์ซึ่งเป็นฝั่งของอ่าวทะเลทราย

1 ไม่มีชื่อทั้งทางภูมิศาสตร์ทั้งทางการเมือง ที่รวมแผ่นดินทั้งหมดของครึ่งวงกลมใหญ่นี้ ดังนั้น เราจำต้องบัญญัติคำแล้วเรียกมันว่า พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์

ความหมายของคำตามที่ใช้ในปัจจุบันรวมทั้งประเทศอิรัก คูเวต ส่วนรอบ ๆ อิหร่านและตุรกี และชายฝั่งของเขตลิแวนต์ที่ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ซีเรีย จอร์แดน ปาเลสไตน์ และเลบานอน ทรัพยากรน้ำที่มีรวมแม่น้ำจอร์แดนด้วย แต่ถ้าใช้คำอย่างครอบคลุมกว้างไกลที่สุด เขตนี้อาจจะรวมบางส่วนของประเทศอียิปต์ทางทิศใต้ กับลุ่มแม่น้ำกับดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ที่อยู่ในอียิปต์ และประเทศไซปรัสที่เป็นเกาะ[ต้องการอ้างอิง] ขอบเขตด้านในครึ่งวงกลมแบ่งโดยภูมิอากาศที่แห้งแล้งของทะเลทรายซีเรียทางทิศใต้ ส่วนของเขตด้านนอกเป็นแผ่นดินที่แห้งแล้งและกึ่งแห้งแล้งของเทือกเขาคอเคซัสทางทิศเหนือ ที่สูงของอานาโตเลียและทะเลทรายสะฮาราทางทิศตะวันตก

ภาษาที่ใช้

[แก้]

พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์เป็นเขตที่มีความหลายหลากทางภาษา โดยทั่วไปในประวัติศาสตร์ กลุ่มภาษาเซมิติก (Semitic) มักจะกระจายทั่วไปในที่ราบต่ำ ในขณะเขตภูเขาทางทิศตะวันออกและทิศเหนือจะใช้กลุ่มภาษาที่โดยทั่วไปไม่เกี่ยวข้องกันรวมทั้ง Elamite, Kassite, และ Hurro-Urartian ความเกี่ยวข้องกันและการมาถึงเขตนี้ ของภาษาเหล่านี้ ยังเป็นประเด็นปัญหาที่ถกเถียงกันในหมู่นักวิชาการ แต่ว่า เพราะไม่มีหลักฐานทางภาษาเขียนในยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุด ข้อถกเถียงเหล่านี้คงจะไม่ยุติลงได้อย่างง่าย ๆ

แต่หลักฐานที่มีแสดงนัยว่า โดย 3,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช และล้ำเข้าไปในพันปีต่อไป ก็ได้มีกลุ่มภาษาหลายกลุ่มอยู่แล้ว ซึ่งรวมทั้ง[4][5]

มักจะเสนอกันบ่อย ๆ ว่า ภาษาคอเคซัสต่าง ๆ เชื่อมโยงกับภาษา Hurro-Urartian และภาษาฮิตไทต์ แต่ว่านี่ยังไม่ใช่มติส่วนใหญ่

ภูมิประเทศ

[แก้]

แม้ว่า แม่น้ำและลุ่มน้ำจะเป็นทรัพยากรที่ขาดไม่ได้สำหรับการเกิดขึ้นของอารยธรรม แต่ก็ไม่ใช่ปัจจัยเดียวแห่งการพัฒนาได้เร็วของเขตนี้ คือ บริเวณนี้เป็นจุดเชื่อมสำคัญระหว่างแอฟริกากับยูเรเชีย ซึ่งทำให้เขตนี้มีความหลากหลายทางชีวภาพมากกว่าทั้งยุโรปและแอฟริกาเหนือ ซึ่งล้วนแต่เป็นที่ที่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในช่วงยุคน้ำแข็ง ทำให้เกิดเหตุการณ์สูญพันธุ์ซ้ำ ๆ เมื่อระบบนิเวศหดเล็กลงมาชิดกับชายฝั่งของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เมื่อควบคู่กับเหตุการณ์ที่อธิบายโดยทฤษฎี Saharan pump theory จุดเชื่อมในตะวันออกกลางนี้จะสำคัญมากต่อการกระจายพันธุ์ของพฤกษชาติและพรรณสัตว์ในโลกเก่าดังที่พบในปัจจุบัน รวมทั้งมนุษย์ด้วย เขตนี้ยังเป็นแนวแผ่นเปลือกโลกแยกตัวระหว่างแผ่นธรณีภาคแอฟริกาและอาหรับ และแนวแผ่นเปลือกโลกรวมตัวระหว่างแผ่นธรณีภาคอาหรับและยูเรเชีย ซึ่งมีผลให้กลายเป็นเขตสูงต่ำมียอดเขาปกคลุมด้วยหิมะมากมาย

ภูมิอากาศและความหลากหลายทางชีวภาพ

[แก้]

เขตนี้มีภูมิอากาศที่หลากหลาย และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่สำคัญ ๆ ได้สนับสนุนให้เกิดวิวัฒนาการของพืชฤดูเดียวที่สืบพันธุ์ด้วยกลยุทธ์แบบ "r" ตามทฤษฎี "r/K strategy" ซึ่งผลิตเมล็ดที่รับประทานได้มากกว่าพืชหลายปีที่เป็นแบบ "K" ความต่าง ๆ กันของความสูง ทำให้เกิดสปีชีส์มากมายของพืชที่รับประทานได้ ซึ่งสามารถนำมาทดลองเพาะปลูกในยุคต้น ๆ ได้ ที่สำคัญที่สุดก็คือ เขตนี้เป็นแหล่งของพืชผลต้นกำเนิดยุคหินใหม่ (Neolithic founder crop) ถึง 8 ชนิดที่สำคัญต่อเกษตรกรรมในยุคต้น ๆ รวมทั้งบรรพบุรุษพันธุ์ป่าของข้าวสาลีทั้งประเภท Triticum dicoccum (emmer) และ Triticum monococcum (einkorn) ข้าวบาร์ลีย์ ฝ้าย ถั่วหัวช้าง ถั่วลันเตา ถั่วสกุล Lens culinaris (lentil) และสกุล Vicia ervilia (ervil หรือ bitter vetch) และเป็นแหล่งกำเนิดสัตว์เลี้ยงที่สำคัญที่สุด 5 อย่าง คือ วัว แพะ แกะ และหมู โดยมีม้าเกิดจากแหล่งข้างเคียง[6]

ประวัติ

[แก้]

เขตนี้มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์มนุษย์ที่น่าทึ่งใจที่สุดที่หนึ่ง นอกจากจะมีโบราณสถานที่มีซากกระดูกและซากหลักฐานทางวัฒนธรรมทั้งของมนุษย์พันธุ์ก่อนปัจจุบัน ของมนุษย์พันธุ์ปัจจุบันในยุคต้น ๆ (เช่นที่ถ้ำ Kebara ในปาเลสไตน์) ของมนุษย์ที่ทำกินเป็นนักล่า-เก็บพืชผลในสมัยไพลสโตซีนเบื้องปลาย และของมนุษย์นักล่า-เก็บพืชผลที่กึ่งอยู่เป็นที่ (คนกลุ่ม Natufian) ในสมัย Epipalaeolithic แล้ว เขตนี้ยังรู้จักกันดีที่สุดในฐานะเป็นแหล่งกำเนิดเกษตรกรรม คือ เขตตะวันตกใกล้ ๆ จอร์แดนและเขตแม่น้ำยูเฟรทีสตอนบน เป็นแหล่งกำเนิดของชุมชนเกษตรกรยุคหินใหม่ที่เก่าแก่ที่สุด (ที่เรียกว่า Pre-Pottery Neolithic A ตัวย่อ PPNA) ราว 9,543 ปีก่อนพุทธศักราช (รวมทั้งโบราณสถาน Jericho)

เขตนี้ พร้อมกับเมโสโปเตเมีย (ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของเขต ระหว่างแม่น้ำไทกริสและแม่น้ำยูเฟรทีส) ก็ยังเป็นแหล่งกำเนิดสังคมแบบซับซ้อน (complex society) ต้น ๆ ในยุคสัมฤทธิ์ต่อมา และก็ยังมีหลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดเกี่ยวกับภาษาเขียน และการเกิดสังคมทีแบ่งชนชั้นโดยเป็นรัฐ ทำให้เขตนี้มีชื่อว่า แหล่งกำเนิดอารยธรม (The Cradle of Civilization)

ทั้งแม่น้ำไทกริสและแม่น้ำยูเฟรทีสมีต้นน้ำอยู่ที่เทือกเขาทอรัส ซึ่งปัจจุบันอยู่ในประเทศตุรกี เกษตรกรในเมโสโปเตเมียด้านใต้ต้องทำการป้องกันน้ำท่วมไร่นาทุก ๆ ปี โดยยกเว้นด้านเหนือที่จะมีฝนตกเพียงแค่พอที่จะทำเกษตรได้เท่านั้น และเพื่อจะป้องกันน้ำท่วม ชนเหล่านี้จึงต้องสร้างคันกั้นน้ำ[7]

เริ่มตั้งแต่ยุคสัมฤทธิ์ ชนในเขตนี้ได้เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติโดยสร้างระบบชลประทาน ซึ่งก็ยังจำเป็นต่อเกษตรกรรมตราบเท่าทุกวันนี้ แต่ในสองพันปีที่ผ่านมา ก็จะมีวงจรความเสื่อมความเจริญเมื่อสิ่งก่อสร้างที่ทำเกิดการละเลย แล้วจึงสร้างใหม่ต่อมาโดยรัฐที่มายึดครองพื้นที่ต่อ ๆ มา ปัญหาที่ยังเป็นไปตราบเท่าทุกวันนี้อีกอย่างหนึ่งก็คือ ดินเค็ม ซึ่งเป็นการเพิ่มระดับความเข้มข้นของเกลือและแร่ธาตุอื่น ๆ ในดินที่มีประวัติชลประทานเป็นเวลายาวนาน

การแพร่กระจายของวัฒนธรรมเกษตร

[แก้]

มีการปลูกธัญพืชในซีเรียเริ่มตั้งแต่ 9,000 ปีก่อน มีการพบลูกมะเดื่อที่ไม่มีเมล็ดในลุ่มแม่น้ำในจอร์แดน ซึ่งแสดงนัยว่า ต้นมะเดื่อได้เริ่มปลูกตั้งแต่ 11,300 ปีก่อน[8]

งานวิเคราะห์ปี 2006 และ 2008[9][10] เปรียบเทียบการวัดกะโหลกและใบหน้า 24 อย่างแสดงว่า ประชากรเขตนี้ในยุคก่อนหินใหม่ ยุคหินใหม่ และยุคสัมฤทธิ์ มีความหลายหลาก[9] โดยเฉพาะหลักฐานที่แสดงอิทธิพลจากแอฟริกาใต้สะฮาราในเขตนี้ โดยเฉพาะต่อคนกลุ่ม Natufian สมัย Epipalaeolithic ในอิสราเอล[9][11][12][13][14] แต่ว่าไม่สามารถกล่าวอย่างเดียวกันต่อชาวบาสก์และคนในกานาเรียส เพราะว่างานเหล่านี้แสดงว่า คนโบราณเหล่านี้ "สัมพันธ์กับคนยุโรปปัจจุบันอย่างชัดเจน"[9] นอกจากนั้นแล้ว ยังไม่มีหลักฐานที่แสดงอิทธิพลของคน Cro-Magnon ในเขตนี้ ซึ่งต่างจากความคิดที่มีมาก่อน ๆ[9]

งานศึกษาเหล่านี้ยังแสดงนัยถึงการแพร่กระจายของคนหลายหลากกลุ่มนี้ไปจากเขตนี้ โดยมีผู้ย้ายถิ่นยุคต้น ๆ ออกไปจากเขตตะวันออกใกล้ ทางทิศตะวันตกไปทางยุโรปและแอฟริกาเหนือ ทางทิศเหนือไปยังเขตไครเมีย และทางทิศตะวันออกไปยังมองโกเลีย[9] โดยเอาข้อปฏิบัติทางเกษตรกรรมไปด้วย และต่อมาได้จับคู่อยู่ร่วมกับชนนักล่า-เก็บพืชผลที่ออกไปพบ ในขณะที่สามารถธำรงความเป็นเกษตรกรต่อไป ซึ่งสนับสนุนงานศึกษาทางพันธุกรรม[15][16][17][18][19] ทางโบราณคดี[9][20][21][22][23][24] ที่ทำมาก่อน ๆ ซึ่งล้วนแต่มีข้อสรุปเดียวกัน

ดังนั้น คนที่มีอยู่ในที่ต่าง ๆ ในปัจจุบันได้สืบทอดวิถีชีวิตเกษตรกรจากบุคคลที่อพยพออกจากเขตนี้ในยุคต้น ๆ ซึ่งต่างจากสมมติฐานที่ว่า การแพร่กระจายของวิธีทางเกษตรกรรมจากเขตนี้ เป็นไปโดยการแชร์ความรู้[9] และบัดนี้จึงมีหลักฐานที่เหนือกว่าว่า เกิดจากการอพยพของชนจากเขตนี้ โดยมีลูกหลานกับคนพื้นที่อื่น ๆ ที่ออกไปประสบ[9]

แต่งานศึกษาก็แสดงด้วยว่า คนยุโรปปัจจุบันไม่ใช่ทั้งหมดมีกรรมพันธุ์ที่ใกล้ชิดกับคนที่อยู่ในเขตนี้ในยุคหินใหม่และยุคสัมฤทธิ์[9] กลุ่มชนที่ใกล้ชิดที่สุดคือคนยุโรปใต้[9] และคนยุโรปทั้งหมดในปัจจุบันมีสายเลือดใกล้ชิดกัน[9]

เชิงอรรถและอ้างอิง

[แก้]
  1. Haviland, William A. และคณะ (2013). The Essence of Anthropology (3rd ed.). Belmont, California: Wadsworth. p. 104. ISBN 1111833443.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  2. Ancient Mesopotamia/India. Culver City, California: Social Studies School Service. 2004. p. 4. ISBN 1560041668.
  3. 3.0 3.1 Abt, Jeffrey (2011). American Egyptologist: the life of James Henry Breasted and the creation of his Oriental Institute. Chicago: University of Chicago Press. pp. 193-194, 436. ISBN 978-0-226-0011-04.
    Goodspeed, George Stephen (1904). A History of the ancient world: for high schools and academies. New York: Charles Scribner's Sons. pp. 5-6.
    Breasted, James Henry (1914). "Earliest man, the Orient, Greece, and Rome". ใน Robinson, James Harvey; Breasted, James Henry; Beard, Charles A. (บ.ก.). Outlines of European history (PDF). Vol. 1. Boston: Ginn. pp. 56–57. "The Ancient Orient" map is inserted between pages 56 and 57.
    Breasted, James Henry (1916). Ancient times, a history of the early world: an introduction to the study of ancient history and the career of early man (PDF). Boston: Ginn. pp. 100–101. "The Ancient Oriental World" map is inserted between pages 100 and 101.
    Clay, Albert T. (1924). "The so-called Fertile Crescent and desert bay". Journal of the American Oriental Society. 44: 186–201. doi:10.2307/593554. JSTOR 593554.
    Kuklick, Bruce (1996). "Essay on methods and sources". Puritans in Babylon: the ancient Near East and American intellectual life, 1880-1930. Princeton: Princeton University Press. p. 241. ISBN 978-0-691-02582-7. Textbooks...The true texts brought all of these strands together, the most important being James Henry Breasted, Ancient Times: A History of the Early World (Boston, 1916), but a predecessor, George Stephen Goodspeed, A History of the Ancient World (New York, 1904), is outstanding. Goodspeed, who taught at Chicago with Breasted, antedated him in the conception of a 'crescent' of civilization.
  4. Steadman; McMahon, บ.ก. (2011). Oxford Handbook of Ancient Anatolia. pp. 233, 522, 556.
  5. Potts, T (2012). Potts, T (บ.ก.). A Companion to the Archaeology of the Ancient Near East. pp. 28, 570, 584.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  6. Diamond, Jared. (Mar 1997). Guns, Germs, and Steel: The Fates of Human Societies. W.W. Norton & Company. ISBN 0-393-03891-2.
  7. Beck, Roger B.; Black, Linda; Krieger, Larry S; Naylor, Phillip C; Shabaka, Dahia Ibo (1999). World History: Patterns of Interaction. Evanston, IL: McDougal Littell. ISBN 0-395-87274-X.
  8. "Genographic Project / The Development of Agriculture". nationalgeographic.com.
  9. 9.00 9.01 9.02 9.03 9.04 9.05 9.06 9.07 9.08 9.09 9.10 9.11 Brace, C. Loring; Seguchi, Noriko; Quintyn, Conrad B.; Fox, Sherry C.; Nelson, A. Russell; Manolis, Sotiris K.; Qifeng, Pan (2006). "The questionable contribution of the Neolithic and the Bronze Age to European craniofacial form". Proceedings of the National Academy of Sciences of the USA. 103 (1): 242–247. doi:10.1073/pnas.0509801102. PMC 1325007. PMID 16371462.
  10. Ricaut, F. X.; Waelkens, M. (Aug 2008). "Cranial Discrete Traits in a Byzantine Population and Eastern Mediterranean Population Movements". Human Biology. 80 (5): 535–564. doi:10.3378/1534-6617-80.5.535. PMID 19341322.
  11. Barker, G (2002). Bellwood, P; Renfrew, C (บ.ก.). Transitions to farming and pastoralism in North Africa. Examining the Farming/Language Dispersal Hypothesis. pp. 151–161.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  12. Bar-Yosef, O (1987). "Pleistocene connections between Africa and SouthWest Asia: an archaeological perspective". The African Archaeological Review: 29–38.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  13. Kislev, ME; Hartmann, A; Bar-Yosef, O (2006). "Early domesticated fig in the Jordan Valley". Science. 312 (5778): 1372–1374. doi:10.1126/science.1125910. PMID 16741119.
  14. Lancaster, Andrew (2009). "Y Haplogroups, Archaeological Cultures and Language Families: a Review of the Multidisciplinary Comparisons using the case of E-M35" (PDF). Journal of Genetic Genealogy. 5 (1). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-05-06. สืบค้นเมื่อ 2016-03-28.
  15. Chicki, L; Nichols, RA; Barbujani, G; Beaumont, MA (2002). "Y genetic data support the Neolithic demic diffusion model". Proc. Natl. Acad. Sci. USA. 99 (17): 11008–11013. doi:10.1073/pnas.162158799.
  16. Dupanloup; และคณะ (2004). "Estimating the Impact of Prehistoric Admixture on the Genome of Europeans".
  17. "Origin, Diffusion, and Differentiation of Y-Chromosome Haplogroups E and J: Inferences on the Neolithization of Europe and Later Migratory Events in the Mediterranean Area". Am. J. Hum. Genet. 74: 1023–34. May 2004. doi:10.1086/386295. PMC 1181965. PMID 15069642.
  18. Cavalli-Sforza (1997). "Paleolithic and Neolithic lineages in the European mitochondrial gene pool".{{cite web}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  19. Chikhi (1997). "Clines of nuclear DNA markers suggest a largely Neolithic ancestry of the European gene".{{cite web}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  20. Zvelebil, M (1986). 'Hunters in Transition: Mesolithic Societies and the Transition to Farming. Cambridge, UK: Cambridge University Press. pp. 5–15, 167–188.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  21. Bellwood, P (2005). First Farmers: The Origins of Agricultural Societies. Malden, MA: Blackwell.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  22. Dokládal, M.; Brožek, J. (1961). "Physical Anthropology in Czechoslovakia: Recent Developments". Curr. Anthropol. 2: 455–477. doi:10.1086/200228.
  23. Bar-Yosef, O. (1998). "The Natufian culture in the Levant, threshold to the origins of agriculture". Evol. Anthropol. 6: 159–177. doi:10.1002/(sici)1520-6505(1998)6:5<159::aid-evan4>3.0.co;2-7.
  24. Zvelebil, M. (1989). "On the transition to farming in Europe, or what was spreading with the Neolithic: a reply to Ammerman (1989)". Antiquity. 63 (239): 379–383. doi:10.1017/s0003598x00076110. S2CID 162882505.

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

36°00′00″N 40°00′00″E / 36.0000°N 40.0000°E / 36.0000; 40.0000