อุซามะฮ์ บิน ลาดิน
อุซามะฮ์ บิน ลาดิน أسامة بن لادن | |
---|---|
บิน ลาดิน ป. ค.ศ. 1997–98 | |
นายพลเอมีร์คนแรกของอัลกออิดะฮ์ | |
ดำรงตำแหน่ง 11 สิงหาคม ค.ศ. 1988 – 2 พฤษภาคม ค.ศ. 2011 | |
ก่อนหน้า | ก่อตั้งตำแหน่ง |
ถัดไป | อัยมัน อัซเซาะวาฮิรี |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | อุซามะฮ์ บิน มุฮัมมัด บิน อะวัฎ บิน ลาดิน[1] 10 มีนาคม ค.ศ. 1957 ริยาด ประเทศซาอุดีอาระเบีย |
เสียชีวิต | 2 พฤษภาคม ค.ศ. 2011 เอบเฏอบอด, แคว้นแคบาร์ปัคตูนควา, ประเทศปากีสถาน | (54 ปี)
สาเหตุการเสียชีวิต | แผลจากการถูกยิง |
สัญชาติ | ซาอุดีอาระเบีย (ค.ศ. 1957–1994) |
ความสูง | 1.95 เมตร (6 ฟุต 5 นิ้ว)[6] |
คู่สมรส | นัจวา ฆอนิม (สมรส 1974; หย่า 2001) Khadijah Sharif (สมรส 1983; หย่า 1990) Khairiah Sabar (สมรส 1985) Siham Sabar (สมรส 1987) Amal Ahmed al-Sadah (สมรส 2000) |
บุตร | 20–26 คน; รวมอับดุลลอฮ์, ซะอัด, อุมัร และฮัมซะฮ์ |
บุพการี | มุฮัมมัด บิน อะวัฎ บิน ลาดิน ฮะมีดะฮ์ อัลอะฏอส |
ความสัมพันธ์ | ครอบครัวบิน ลาดิน |
ศาสนา | อิสลาม (วะฮาบีย์/ซะละฟี)[2][3][4][5] |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | มักตะบุลคิดมาต (ค.ศ. 1984–1988) อัลกออิดะฮ์ (1988–2011) |
ประจำการ | ค.ศ. 1984–2011 |
ยศ | นายพลเอมีร์คนแรกของอัลกออิดะฮ์ |
ผ่านศึก | สงครามโซเวียต–อัฟกานิสถาน |
วินาศกรรม 11 กันยายน 2544 |
---|
เครื่องบินในเหตุการณ์ |
ที่เกิดเหตุในเหตุการณ์ |
ผู้ก่อการร้ายในเหตุการณ์ |
|
อุซามะฮ์ บิน มุฮัมมัด บิน อะวัฎ บิน ลาดิน (อาหรับ: أسامة بن محمد بن عوض بن لادن; 10 มีนาคม ค.ศ. 1957[7] – 2 พฤษภาคม ค.ศ. 2011)[8] เป็นผู้ก่อตั้งองค์กรทหารรวมอิสลาม อัลกออิดะฮ์ ซึ่งคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ เนโท สหภาพยุโรป และอีกหลายประเทศที่ประกาศว่าเป็นกลุ่มก่อการร้าย
เขาเคยเป็นพลเมืองซาอุดีอาระเบียจนถึง ค.ศ. 1994 และเป็นสมาชิกของครอบครัวบิน ลาดินที่ร่ำรวย[9] มุฮัมมัด บิน อะวัฎ บิน ลาดิน พ่อของบิน ลาดิน เป็นเศรษฐีพันล้านชาวซาอุดีจากฮัฎเราะเมาต์ ประเทศเยเมน และเป็นผู้ก่อตั้งบริษัทก่อสร้าง ซาอุดีบินลาดินกรุ๊ป[10] ส่วนอาลิยะฮ์ ฆอนิม แม่ของเขา เป็นฆราวาสจากครอบครัวชนชั้นกลางในอัลลาษิกียะฮ์ ประเทศซีเรีย[11] เขาเกิดในประเทศซาอุดีอาระเบียและศึกษาที่มหาวิทยาลัยในประเทศจนถึง ค.ศ. 1979 เมื่อเขาไปเข้าร่วมกองกำลังมุญาฮิดีนที่ปากีสถานสู้รบกับสหภาพโซเวียตที่อัฟกานิสถาน เขาช่วยเหลือพวกมุญาฮิดีนด้วยการส่งอาวุธ เงิน และนักสู้จากโลกอาหรับไปยังอัฟกานิสถาน ทำให้ได้รับความนิยมในชาวอาหรับ[12] ใน ค.ศ. 1988 เขาก่อตั้งกลุ่มอัลกออิดะฮ์[13] จากนั้นจึงถูกเนรเทศออกจากประเทศซาอุดีอาระเบียใน ค.ศ. 1992 และย้ายฐานไปที่ประเทศซูดาน จนกระทั่งสหรัฐบังคับให้เข้าออกจากซูดานใน ค.ศ. 1996 หลังตั้งฐานทัพใหม่ที่อัฟกานิสถาน เขาประกาศสงครามต่อสหรัฐ และเริ่มภารกิจระเบิดกับการโจมตีที่คล้าย ๆ กัน[14] บิน ลาดินอยู่ในรายชื่อสิบผู้หลบหนีที่ต้องการตัวมากที่สุดและผู้ก่อการร้ายที่ต้องการตัวมากที่สุดของสำนักงานสอบสวนกลาง (เอฟบีไอ) จากการระเบิดสถานทูตสหรัฐใน ค.ศ. 1998[15][16][17]
บิน ลาดินเป็นที่รู้จักจากการเป็นผู้ก่อเหตุวินาศกรรม 11 กันยายน ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตเกือบ 300,000 คน และทำให้ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุชเริ่มต้นสงครามต่อต้านการก่อการร้าย ตั้งแต่ ค.ศ. 2001 ถึง 2011 บิน ลาดินกลายเป็นเป้าหมายหลักของสหรัฐ เพราะทางเอฟบีไอประกาศนำจับด้วยเงิน 25 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[18] ในวันที่ 2 พฤษภาคม ค.ศ. 2011[19] เนวีซีลของสหรัฐยิงบิน ลาดินจนเสียชีวิต[20]ที่บ้านพักส่วนตัวในเอบเฏอบอด ประเทศปากีสถาน ปฏิบัติการนี้ควบคุมตามคำสั่งของประธานาธิบดีบารัก โอบามา[21] ภายใต้การนำของบิน ลาดิน องค์กรอัลกออิดะฮ์มีส่วนในการโจมตีทั่วโลก[22][23][24]
ชีวิตช่วงต้นและการศึกษา
[แก้]อุซามะฮ์ บิน มุฮัมมัด บิน อะวัฎ บิน ลาดิน[1][25]เกิดที่ริยาด ประเทศซาอุดีอาระเบีย เป็นบุตรของมุฮัมมัด บิน อะวัฎ บิน ลาดิน เจ้าสัวโครงการก่อสร้างมหาเศรษฐีชาวเยเมนที่มีความใกล้ชิดกับราชวงศ์ซะอูด[26] กับฮะมีดะฮ์ อัลอะฏอส (ตอนนั้นมีชื่อว่าอาลิยะฮ์ ฆอนิม) ภรรยาคนที่ 10 ของมุฮัมมัด บิน ลาดินที่เป็นชาวซีเรีย[27] ในการสัมภาษณ์ ค.ศ. 1998 บิน ลาดินกล่าวว่าตนเกิดในวันที่ 10 มีนาคม ค.ศ. 1957[28]
หลังจากที่เขาถือกำเนิด มุฮัมมัด บิน ลาดินหย่ากับฮามิดะฮ์ทันที แล้วแนะนำให้ไปแต่งงานกับมุฮัมมัด อัลอะฏอส ทั้งคู่แต่งงานในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1950 หรือต้นคริสต์ทศวรรษ 1960 ปัจจุบันยังคงอยู่ด้วยกัน[29] ทั้งคู่มีลูก 4 คน และบิน ลาดินกลายเป็นสมาชิกใหม่ที่มีกึ่งพี่/น้องชาย 3 คนและกึ่งพี่/น้องสาวคนเดียว[27] ครอบครัวของบิน ลาดินมีรายได้ 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในธุรกิจก่อสร้าง ต่อมาอุซามะฮ์ได้รับมรดกกว่า 25-30 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[30]
บิน ลาดินถูกเลี้ยงมาให้นับถือศาสนาอิสลามนิกายซุนนี[31] จาก ค.ศ. 1968 ถึง 1976 เขาเข้าศึกษาที่สถานศึกษาต้นแบบอัษษะฆิร[27][32] แล้วศึกษาต่อในด้านเศรษฐศาสตร์และปริญญาบริหารธุรกิจบัณฑิต[33]ที่มหาวิทยาลัยสมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลอะซีซ บางรายงานกล่าวแนะว่า เขาได้รับปริญญาสาขาวิศวกรรมโยธาใน ค.ศ. 1979[34] หรือปริญญาในด้านการบริหารรัฐกิจใน ค.ศ. 1981[35] บิน ลาดินเคยเข้าเรียนภาษาอังกฤษที่ออกซ์ฟอร์ด ประเทศอังกฤษใน ค.ศ. 1971[36] ข้อมูลหนึ่งกล่าวถึงเขาว่า "ทำงานหนัก"[37] บางส่วนกล่าวว่า เขาลาออกจากมหาวิทยาลัยในปี 3 โดยไม่ได้รับปริญญาใด ๆ[38] ตอนศึกษาที่มหาวิทยาลัย สิ่งที่บิน ลาดินสนใจคือศาสนา ซึ่งเขามีส่วนร่วมทั้ง "แปลอัลกุรอานกับญิฮาด" และทำงานจิตอาสา[39] ความสนใจอื่น ๆ ของเขาคือ การแต่งกวี[40] การอ่าน และเขาติดตามสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอล[41]
ชีวิตส่วนตัว
[แก้]ใน ค.ศ. 1974 ตอนอายุ 17 บิน ลาดินแต่งงานกับนัจวา ฆอนิมทีอัลลาษิกียะฮ์ ประเทศซีเรีย[42] ทั้งคู่แยกกันก่อนเกิดเหตุการณ์วันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001 ภรรยาหลายคนเท่าที่รู้จักคือเคาะดีญะฮ์ ชะรีฟ (แต่งงาน ค.ศ. 1983, หย่าในคริสต์ทศวรรษ 1990); Khairiah Sabar (แต่งงานใน ค.ศ. 1985); Siham Sabar (แต่งงานใน ค.ศ. 1987) และ Amal al-Sadah (แต่งงานใน ค.ศ. 2000) บางรายงานกล่าวถึงภรรยาคนที่หก ซึ่งไม่ทราบชื่อ ผู้ที่แต่งงานกับบิน ลาดินจะถูกหย่าหลังพิธี[43] บิน ลาดินเป็นพ่อของลูก ๆ ระหว่าง 20 ถึง 26 คนจากภรรยาของเขา[44][45] หลังจากเหตุการณ์ 11 กันยา ลูก ๆ ของบิน ลาดินหลายคนหนีไปยังประเทศอิหร่าน และข้อมูลเมื่อ 2010[update] เจ้าหน้าที่อิหร่านยังคงรายงานการเคลื่อนไหวของคนเหล่านี้อยู่ตลอด[46]
นาศิร อัลบะห์รี ผู้เป็นคนคุ้มกันประจำตัวของบิน ลาดินใน ค.ศ. 1997–2001 กล่าวถึงบิน ลาดินในบันทึกว่า เขาเป็นคนประหยัด และเป็นพ่อที่เข้มงวด เขาชอบที่จะพาครอบครัวที่ใหญ่โตของเขาออกเดินทางไปยิงปืนและปิกนิกในทะเลทราย[47]
มุฮัมมัด พ่อของบิน ลาดินเสียชีวิตใน ค.ศ. 1967 จากเหตุการณ์เครื่องบินตกที่ซาอุดีอาระเบีย เมื่อจิม แฮร์ริงตัน นักบินชาวอเมริกัน[48]ตัดสินใจผิดพลาดขณะลงจอด[49] ซาลิม บิน ลาดิน กึ่งพี่ชายคนโตของบิน ลาดิน ซึ่งเป็นหัวหน้าครอบครัวคนต่อมาได้เสียชีวิตในปี ค.ศ. 1988 ใกล้เมืองแซนแอนโทนีโอ รัฐเท็กซัส สหรัฐอเมริกา ในอุบัติเหตุขณะขับเครื่องบินไปชนสายไฟ[50]
ทางเอฟบีไอบรรยายถึงบิน ลาดินว่า เขาเป็นผู้ใหญ่ที่สูงและผอม มีส่วนสูงระหว่าง 1.93 เมตร (6 ฟุต 4 นิ้ว) ถึง 1.98 เมตร (6 ฟุต 6 นิ้ว) และน้ำหนักประมาณ 73 กิโลกรัม (160 ปอนด์) ถึงแม้ว่าลอว์เรนซ์ ไรต์ ผู้แต่งหนังสือเกี่ยวกับอัลกออิดะฮ์ในเดอะลูมมิงทาวเวอร์ ซึ่งชนะรางวัลพูลิตเซอร์ บันทึกจากข้อมูลคนใกล้ชิดกับบิน ลาดินว่า "เขาสูงมากกว่า 6 ฟุต (1.8 เมตร)"[51] หลังเสียชีวิต มีการวัดว่าเขาสูงประมาณ 1.93 เมตร (6 ฟุต 4 นิ้ว)[52] บิน ลาดินมีผิวสีมะกอกและถนัดมือข้างซ้าย ส่วนใหญ่มักเดินพร้อมกับไม้เท้า และสวมกูฟียะฮ์ขาว[53] มีการกล่าวถึงบิน ลาดินว่าพูดจาไพเราะอ่อนน้อมถ่อมตน[54]
บทบาททางการทหารและการเมือง
[แก้]หลังสหภาพโซเวียตเข้ารุกรานอัฟกานิสถานในปี 1979[55][56] ได้ไม่นาน บิน ลาดิน ได้เดินทางไปพบกับผู้นำกลุ่มติดอาวุธชาวอัฟกันและช่วยหาเงินอุดหนุนการต่อต้านการยึดครองของสหภาพโซเวียต นับแต่ปี 1984 บิน ลาดิน ดำเนินกิจกรรมส่วนใหญ่ในอัฟกานิสถานและปากีสถาน มีส่วนสำคัญในการหาอาสาสมัครชาวอาหรับเพื่อต่อสู้กับทหารโซเวียต ด้วยเงินทุนและชื่อเสียงในความเคร่งศาสนา และความกล้าหาญในสนามรบช่วยเสริมสถานะของเขาในฐานะผู้นำทางทหาร ในปี 1988 เขาได้สร้างฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์รวบรวมรายชื่ออาสาสมัครผู้ร่วมรบในสงครามอัฟกานิสถาน ซึ่งกลายมาเป็นฐานข้อมูลของเครือข่ายทางทหารกลุ่มใหม่ในชื่อ “อัลกออิดะฮ์” (al-Qaeda, ในภาษาอาหรับแปลว่า ฐาน)[57] แม้ว่ากลุ่มติดอาวุธกลุ่มนี้จะยังไม่มีวัตถุประสงค์หรือวาระในการปฏิบัติการที่ชัดเจนเป็นเวลาหลายปีก็ตาม[58]
ในปี 1989 หลังสหภาพโซเวียตถอนทัพออกจากอัฟกานิสถาน บิน ลาดิน เดินทางกลับซาอุดีอาระเบียในฐานะวีรบุรุษ แต่ไม่นานก็ถูกรัฐบาลหมายหัวในฐานะพวกหัวรุนแรงและอาจเป็นภัยต่อความมั่นคง ในปี 1990 รัฐบาลซาอุดีอาระเบียปฏิเสธคำร้องขอให้เครือข่ายนักรบของเขาร่วมปกป้องซาอุดีอาระเบียจากภัยคุกคามของ ซัดดัม ฮุสเซน ผู้นำอิรักในสมัยนั้น เนื่องจากซาอุดีอาระเบียหวังพึ่งกองทัพสหรัฐฯ เป็นกำลังหลัก คำปฏิเสธสร้างความไม่พอใจให้กับ บิน ลาดินอย่างรุนแรง และนั่นเป็นสาเหตุหลักที่เขาหันหน้าให้กับประเทศบ้านเกิด เนื่องจากผิดหวังในความอ่อนแอของรัฐบาลซาอุดีอาระเบีย เขาเดินทางออกจากซาอุดีอาระเบียไปตั้งหลักอยู่ที่ซูดานในปี 1991[59]
ช่วงต้นทศวรรษที่ 1990 เขาและเครือข่ายอัลกออิดะฮ์เริ่มวางรูปแบบการต่อต้านด้วยความรุนแรงต่อภัยคุกคามจากอิทธิพลของสหรัฐฯ ในโลกมุสลิม เขาออกมาแสดงความชื่นชมอย่างเปิดเผยต่อการโจมตีสหรัฐฯของกลุ่มหัวรุนแรงต่าง ๆ รวมถึงเหตุโจมตีด้วยระเบิดต่ออาคารเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ในนครนิวยอร์กเมื่อปี 1993[60][61] ปีถัดมา บิน ลาดิน เริ่มขยายโครงสร้างของกลุ่มในซูดานเพื่อรองรับการฝึกฝนนักรบอิสลามเพื่อเข้าไปมีส่วนร่วมในความขัดแย้งทั่วโลก ไม่นานซาอุดีอาระเบียก็ประกาศถอนสัญชาติและยึดทรัพย์สินของเขาทำให้เขาจำเป็นต้องอาศัยแหล่งเงินทุนจากภายนอก[62]
ในปี 1996 หลังถูกกดดันจากนานาชาติอย่างหนัก ซูดานมีคำสั่งเนรเทศบิน ลาดิน[63] เขาจึงเดินทางไปยังอัฟกานิสถานอีกครั้งโดยได้รับความคุ้มครองจากรัฐบาลตอลิบาน ในปีเดียวกันเขาออก ฟัตวา (คำวินิจฉัยทางศาสนา) ชุดแรก ประกาศสงครามศักดิ์สิทธิ์ต่อสหรัฐฯ กล่าวหาว่าสหรัฐฯ ปล้นทรัพยากรธรรมชาติจากโลกมุสลิม ยึดครองคาบสมุทรอาหรับ ซึ่งรวมถึงศาสนสถานศักดิ์สิทธิ์ของชาวมุสลิม เป้าหมายของบิน ลาดิน ค่อนข้างชัดเจนว่าต้องการยกระดับการทำสงครามของสหรัฐฯกับโลกมุสลิมและหวังให้ประเทศมุสลิมรวมตัวเป็นรัฐอิสลามหนึ่งเดียว[64][65][66] (รัฐเคาะลีฟะฮ์, Caliphate)
นับแต่นั้นมา บิน ลาดิน และอัลกออิดะฮ์ ได้ฝึกฝนนักรบและให้ทุนสนับสนุนการโจมตีในวงกว้างอย่างต่อเนื่อง พวกเขาถูกกล่าวหาว่าอยู่เบื้องหลังการโจมตีสถานทูตสหรัฐฯหลายแห่ง ถึงปี 2001 กลุ่มติดอาวุธ 19 คน ซึ่งเชื่อว่ามีความเชื่อมโยงกับกลุ่มอัลกออิดะฮ์ได้วางแผนโจมตี “11 กันยายน” (การยึดเครื่องบินพานิชย์พุ่งชนอาคารเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์และเพนตากอน) ทำให้สหรัฐฯและชาติพันธมิตรตัดสินใจใช้กำลังเข้าล้มล้างรัฐบาลตาลีบันพร้อมกับตามล่าบิน ลาดิน
นับแต่ปลายปี 2001 บิน ลาดิน ได้หลบหนีการจับกุมของสหรัฐฯ และหายหน้าหายตาไปจากสาธารณะ จนถึงเดือนตุลาคม 2004 ก่อนหน้าการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯเพียงสัปดาห์เดียว เขาได้ปรากฏตัวในบันทึกวิดีโออ้างตัวว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังวินาศกรรม 11 กันยายน อันนำไปสู่ สงครามต่อต้านการก่อการร้าย หลังจากนั้นเขาก็ได้ออกบันทึกเสียงและคลิปวิดีโอเพื่อปลุกใจเพื่อนร่วมอุดมการณ์เป็นระยะ ๆ[67] เป็นเวลาหลายปีที่มีข่าวลือต่าง ๆ นา ๆ ว่าเขาหลบซ่อนอยู่ที่สถานที่ลับตาในประเทศต่าง ๆ และได้รับการคุ้มครองอย่างดี อาทิ หมู่บ้านโทรา โบรา ซึ่งเป็นพื้นที่อันห่างไกลในหุบเขาของอัฟกานิสถาน รวมถึงบ้านพักในปากีสถาน หรือแม้แต่ข่าวลือว่าเขาใช้ชีวิตในถ้ำ กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐและสำนักงานสอบสวนกลางประกาศนำจับเขาด้วยเงิน 25 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
เสียชีวิตและผลที่ตามมา
[แก้]หน่วยปฏิบัติการพิเศษทางทหารของสหรัฐได้ฆ่าอุซามะฮ์ บิน ลาดินที่เอบเฏอบอด ประเทศปากีสถานในวันที่ 2 พฤษภาคม ค.ศ. 2011 เวลา 1:00 นาฬิกาตามเวลาท้องถิ่น (16:00 นาฬิกาตามเขตเวลาตะวันออก)[note 1][68][69]
ปฏิบัติการนี้ มีชื่อรหัสว่าปฏิวัติการเนปจูนสเปียร์ เริ่มต้นตามคำสั่งของประธานาธิบดีบารัก โอบามา กับดำเนินการในสำนักข่าวกรองกลางสหรัฐ (CIA) ด้วยทีมเนวีซีลสหรัฐจากกองพัฒนาสงครามพิเศษกองทัพเรือ (มีอีกชื่อว่าเดฟกรู (DEVGRU) หรือชื่ออย่างไม่เป็นทางการว่า ซีลทีมซิกซ์) ของกองบัญชาการร่วมปฏิบัติการพิเศษ[70]ด้วยการสนับสนุนจากปฏิบัติการซีไอเอในบริเวณนี้[71][72] แล้วเริ่มโจมตีที่หลบซ่อนของบิน ลาดินที่เอบเฏอบอดจากอัฟกานิสถาน[73] หลังการโจมตี มีรายงานว่ากองทัพสหรัฐนำร่างกายของบิน ลาดินไปอัฟกานิสถานเพื่อไประบุตัว (positive identification) แล้วนำไปฝังในทะเล ซึ่งตามกฎหมายอิสลาม จะต้องฝังภายใน 24 ชั่วโมงหลังเสียชีวิต[74] การรายงานที่ตามมาได้เรียกข้อมูลนี้ว่าเป็นปัญหา เช่น ไม่มีหลักฐานที่ว่ามีอิหม่ามอยู่บนเรือยูเอสเอส คาร์ลวินสัน ซึ่งเป็นบริเวณที่มีการฝังศพ[75]
ต่อมาเจ้าหน้าที่ปากีสถานจึงทำลายสิ่งก่อสร้างในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2012[76] เพื่อไม่ให้มันกลายเป็นอนุสรณ์ของพวกลัทธินีโออิสลาม[77][78][79][80][81][82] ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2013 ในปากีสถานมีการวางแผนสร้างสวนสนุกในบริเวณนี้ ซึ่งรวมถึงที่หลบซ่อนในอดีต ด้วยเงิน 265 ล้านรูปีปากีสถาน (30 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)[83]
ในการสัมภาษณ์ใน ค.ศ. 2019 อิมราน ข่าน นายกรัฐมนตรีปากีสถานอ้างว่าหน่วยสืบราชการลับของปากีสถานเป็นกลุ่มที่นำซีไอเอไปหาอุซามะฮ์ บิน ลาดิน[84][85][86][87][88][89][90]
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ ขึ้นอยู่กับว่าอยู่ในเขตเวลาไหน วันที่เขาเสียชีวิตอาจแตกต่างกันตามพื้นที่
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Davies, William D.; Dubinsky, Stanley (2018). Language Conflict and Language Rights: Ethnolinguistic Perspectives on Human Conflict. Cambridge University Press. p. 74. ISBN 978-1-107-02209-6.
- ↑ Fair, C. Christine; Watson, Sarah J. (February 18, 2015). Pakistan's Enduring Challenges. University of Pennsylvania Press. p. 246. ISBN 978-0-8122-4690-2. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 31, 2016.
Osama bin Laden was a hard-core Salafi who openly espoused violence against the United States in order to achieve Salafi goals.
- ↑ Brown, Amy Benson; Poremski, Karen M. (December 18, 2014). Roads to Reconciliation: Conflict and Dialogue in the Twenty-first Century. Routledge. p. 81. ISBN 978-1-317-46076-3. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 31, 2016.
- ↑ Osama Bin Laden (2007) Suzanne J. Murdico
- ↑ Armstrong, Karen (July 11, 2005). "The label of Catholic terror was never used about the IRA". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 26, 2016.
- ↑ "Usama BIN LADEN". FBI.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 26, 2016. สืบค้นเมื่อ October 5, 2015.
- ↑ "Usama Bin Laden". Rewards for Justice. December 29, 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 29, 2006.
- ↑ "FBI – USAMA BIN LADEN". September 25, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 25, 2012.
- ↑ Scheuer, Michael (February 7, 2008). "Yemen still close to al Qaeda's heart". Asia Times Online. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 2, 2016. สืบค้นเมื่อ May 6, 2011.
{{cite news}}
: CS1 maint: unfit URL (ลิงก์) - ↑ Strozier, Charles B.; Offer, Daniel; Abdyli, Oliger (May 24, 2011). The Leader: Psychological Essays. Springer Science & Business Media. ISBN 978-1-4419-8387-9.
- ↑ Scheuer, Michael (February 17, 2011). Osama Bin Laden. Oxford University Press, USA. ISBN 978-0-19-973866-3.
- ↑ Fisk, Robert (2005). The Great War for Civilisation. p. 4.
- ↑ United States v. Usama bin Laden et al., S (7) 98 Cr. 1023, Testimony of Jamal Ahmed Mohamed al-Fadl (SDNY February 6, 2001).
- ↑ Fisk, Robert (2005). The Great War for Civilisation. p. 22.
- ↑ "FBI Ten Most Wanted Fugitives". FBI.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 3, 2008. สืบค้นเมื่อ May 26, 2010.
- ↑ Eggen, Dan (August 28, 2006). "Bin Laden, Most Wanted For Embassy Bombings?". The Washington Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 15, 2010. สืบค้นเมื่อ May 26, 2010.
- ↑ "'Most wanted terrorists' list released". CNN. October 10, 2001. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 10, 2005. สืบค้นเมื่อ March 2, 2018.
- ↑ "Fbi – Usama Bin Laden". Fbi.gov. August 7, 1998. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 15, 2011. สืบค้นเมื่อ May 15, 2011.
- ↑ "Ten Most Wanted Fugitives 401 to 500". Federal Bureau of Investigation. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 1, 2019. สืบค้นเมื่อ October 10, 2019.
- ↑ "The Navy SEAL Who Shot Bin Laden Is: Rob O'Neill From Butte Montana". Soldier of Fortune Magazine. November 6, 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 3, 2014. สืบค้นเมื่อ July 8, 2015.
- ↑ "USS Carl Vinson: Osama Bin Laden's Burial at Sea". USA: ABC News. May 1, 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 4, 2011. สืบค้นเมื่อ May 1, 2011.
- ↑ "Death of Osama bin Ladin". Pakistani Ministry of Foreign Affairs. May 1, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 4, 2011. สืบค้นเมื่อ January 9, 2012.
- ↑ Baker, Peter; Cooper, Helene; Mazzetti, Mark (May 1, 2011). "Bin Laden Dead, US Officials Say". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 5, 2011.
- ↑ Maqbool, Aleem (May 1, 2011). "Osama Bin Laden, al Qaeda leader, dead – Barack Obama". BBC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 4, 2015. สืบค้นเมื่อ January 12, 2015.
- ↑ "Frontline: Hunting Bin Laden: Who is Bin Laden?: Chronology". PBS. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 10, 2006. สืบค้นเมื่อ May 26, 2010.
- ↑ Johnson, David. "Osama bin Laden". infoplease. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 20, 2008. สืบค้นเมื่อ May 26, 2010.
- ↑ 27.0 27.1 27.2 Coll, Steve (December 12, 2005). "Letter From Jedda: Young Osama- How he learned radicalism, and may have seen America". The New Yorker. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 17, 2010. สืบค้นเมื่อ May 26, 2010.
- ↑ "Osama bin Laden". GlobalSecurity.org. January 11, 2006. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 29, 2010. สืบค้นเมื่อ May 26, 2010.
- ↑ "The Mysterious Death of Osama Bin Laden". August 3, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 25, 2012. สืบค้นเมื่อ November 4, 2011.
- ↑ "Osama bin Laden เก็บถาวร พฤษภาคม 20, 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน", The Economist, May 5, 2011, p. 93.
- ↑ Beyer, Lisa (September 24, 2001). "The Most Wanted Man in the World". Time. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 16, 2001. สืบค้นเมื่อ May 26, 2010.
- ↑ Bergen 2006, p. 52
- ↑ Messages to the World: The Statements of Osama bin Laden, Verso, 2005, p. xii.
- ↑ Encyclopedia of World Biography Supplement, vol. 22, Gale Group, 2002, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 18, 2008
- ↑ "A Biography of Osama Bin Laden". PBS Frontline. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 29, 2010. สืบค้นเมื่อ May 26, 2010.
- ↑ "Bin Laden's Oxford days". BBC News. October 12, 2001. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 4, 2017. in, Burke, Jason; Kareem, Shaheen. "This article is more than 2 years old Bin Laden's disdain for the west grew in Shakespeare's birthplace, journal shows". The Guardian 1 November 2017 20.50 GMT. Guardian News & Media Limited. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 2, 2017. สืบค้นเมื่อ March 9, 2020.
- ↑ Hug, Aziz (January 19, 2006). "The Real Osama". The American Prospect. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 30, 2008. สืบค้นเมื่อ January 6, 2012.
- ↑ Gunaratna, Rohan (2003). Inside Al Qaeda (3rd ed.). Berkley Books. p. 22. ISBN 0-231-12692-1.
- ↑ Wright 2006, p. 79
- ↑ Hirst, Michael (September 24, 2008). "Analysing Osama's jihadi poetry". BBC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 30, 2009. สืบค้นเมื่อ May 26, 2010.
- ↑ "Osama bin Laden's bodyguard: I had orders to kill him if the Americans tried to take him alive". Daily Mirror. May 4, 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 10, 2012. สืบค้นเมื่อ April 20, 2012.
- ↑ Slackman, Michael (November 13, 2001). "Osama Kin Wait and Worry". Los Angeles Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 26, 2009. สืบค้นเมื่อ May 26, 2010.
- ↑ Todd, Brian; Lister, Tim (May 5, 2011). "Bin Laden's wives – and daughter who would 'kill enemies of Islam'". CNN Edition: International. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 6, 2011. สืบค้นเมื่อ May 5, 2011.
- ↑ "Osama's Women". CNN. March 12, 2002. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 5, 2011. สืบค้นเมื่อ May 26, 2010.
- ↑ Zalman, Amy. "Profile: Osama bin Laden". About.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 7, 2011. สืบค้นเมื่อ May 26, 2010.
- ↑ "Osama bin Laden's family 'stranded' in Iran, son says". The Daily Telegraph. July 19, 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 12, 2011.
- ↑ Al-Bahri, Nasser (June 2013). Guarding bin Laden: My Life in al-Qaeda. London: Thin Man Press. pp. 150–160. ISBN 978-0-9562473-6-0.
- ↑ "Blood Brothers: Could Osama Have Been Tamed?". ABC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 1, 2016.
- ↑ "Interview with US Author Steve Coll: 'Osama bin Laden is Planning Something for the US Election'". Der Spiegel. April 2, 2008. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 13, 2011. สืบค้นเมื่อ January 26, 2011.
- ↑ "Best of the Web: Osama's Brother Died in San Antonio, Red Velvet Onion Rings-WOAI: San Antonio News". January 13, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 13, 2012.
- ↑ Wright 2006, p. 83
- ↑ Mangan, Dan (August 2, 2011). "Wanted: dead – not alive!". New York Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 29, 2017.
- ↑ "Most Wanted Terrorist – Usama Bin Laden". FBI. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 10, 2006. สืบค้นเมื่อ June 8, 2006.
- ↑ "I met Osama Bin Laden". BBC News. March 26, 2004. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 16, 2006. สืบค้นเมื่อ May 15, 2006.
- ↑ Editors, History com. "Soviet Union invades Afghanistan". HISTORY (ภาษาอังกฤษ).
{{cite web}}
:|last=
มีชื่อเรียกทั่วไป (help) - ↑ "Soviet invasion of Afghanistan | Summary & Facts". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "What is the origin of the name al-Qaida?". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2002-08-24.
- ↑ "al-Qaeda | History, Meaning, Terrorist Attacks, & Facts". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "In the War against Terrorism, Where Goes Sudan?". The Washington Institute (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Pruitt, Sarah. "7 Facts About the 1993 World Trade Center Bombing". HISTORY (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "World Trade Center History | National September 11 Memorial & Museum". www.911memorial.org.
- ↑ "Saudi Arabia revokes citizenship of Hamza bin Laden". AP NEWS (ภาษาอังกฤษ). 2021-04-20.
- ↑ "James Astill on Bin Laden's Sudan years". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2001-10-17.
- ↑ "Osama had warned against premature declaration of 'Islamic caliphate'". Hindustan Times (ภาษาอังกฤษ). 2016-03-03.
- ↑ Lahoud, Nelly (2021-10-05). "Bin Laden's Catastrophic Success" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0015-7120. สืบค้นเมื่อ 2021-10-06.
- ↑ Cassandra Vinograd. "Islamic State Declares Caliphate, Seizes Osama Bin Laden's Dream". NBC News (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Analyst, Opinion by Peter Bergen, CNN National Security. "Opinion: Osama bin Laden changed history on 9/11, but not in the ways he expected". CNN.
- ↑ Miller, Greg (May 5, 2011). "CIA spied on bin Laden from safe house". The Washington Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 10, 2011. สืบค้นเมื่อ May 6, 2011.
- ↑ Cooper, Helene (May 1, 2011). "Obama Announces Killing of Osama bin Laden". The New York Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 2, 2011. สืบค้นเมื่อ May 1, 2011.
- ↑ Finkel, Gal Perl (November 8, 2015). "Back to the ground?". Israel Hayom. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 17, 2016.
- ↑ Sherwell, Philip (May 7, 2011). "Osama bin Laden killed: Behind the scenes of the deadly raid". The Daily Telegraph. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 10, 2011. สืบค้นเมื่อ May 9, 2011.
- ↑ Dilanian, Ken (May 2, 2011). "CIA led U.S. special forces mission against Osama bin Laden". Los Angeles Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 24, 2011. สืบค้นเมื่อ May 14, 2011.
- ↑ Fair, C. Christine (May 4, 2011). "The bin Laden aftermath: The U.S. shouldn't hold Pakistan's military against Pakistan's civilians". Foreign Policy. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 9, 2011. สืบค้นเมื่อ May 10, 2011.
- ↑ "Osama Bin Laden, al-Qaeda leader, dead – Barack Obama". BBC News. May 1, 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 2, 2011. สืบค้นเมื่อ May 2, 2011.
- ↑ Hersh, Seymour M. (May 21, 2015). "The Killing of Osama bin Laden". London Review of Books. pp. 3–12. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 10, 2015. สืบค้นเมื่อ May 3, 2016.
- ↑ Walsh, Declan (February 25, 2012). "Pakistan Razing House Where Bin Laden Lived". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 22, 2017. สืบค้นเมื่อ February 25, 2012.
- ↑ Chamkhi, Tarek. "Neo Islamism and the Quest for Islamisation: Case Studies from Turkey, Tunisia, Egypt and Morocco". International Political Science Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 30, 2018. สืบค้นเมื่อ August 29, 2018.
- ↑ "Bin Laden's Compound in Pakistan Demolished". RIA Novosti. February 25, 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 28, 2012. สืบค้นเมื่อ April 28, 2012.
- ↑ "Osama Bin Laden's Pakistan compound demolished". BBC News. February 26, 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 22, 2012. สืบค้นเมื่อ April 28, 2012.
- ↑ "4 reasons Pakistan demolished bin Laden's compound". The Week. February 27, 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 18, 2012. สืบค้นเมื่อ April 28, 2012.
- ↑ "4 reasons Pakistan demolished bin Laden's compound". BBC News. February 27, 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 18, 2012. สืบค้นเมื่อ April 28, 2012.
- ↑ Ladd, Trevor J. (February 27, 2012). "Osama Bin Laden's Pakistani Compound Demolished". ABC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 14, 2012. สืบค้นเมื่อ April 28, 2012.
- ↑ "Bin Laden hideout to become theme park". News 24. February 6, 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 27, 2019. สืบค้นเมื่อ February 11, 2013.
- ↑ "Imran Khan claims Pakistani intelligence led CIA to bin Laden". France 24 (ภาษาอังกฤษ). 2019-07-23. สืบค้นเมื่อ 2021-05-04.
- ↑ "Pakistani intelligence led CIA to bin Laden — Imran Khan". Arab News (ภาษาอังกฤษ). 2019-07-23. สืบค้นเมื่อ 2021-05-04.
- ↑ hermesauto (2019-07-23). "Pakistani intelligence led CIA to Osama bin Laden: PM Khan". The Straits Times (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-05-04.
- ↑ "Pakistani intelligence led CIA to bin Laden: Imran Khan". Pakistani intelligence led CIA to bin Laden: Imran Khan (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-05-04.
- ↑ "Pakistani intelligence led CIA to Bin Laden: Imran Khan". gulfnews.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-05-04.
- ↑ Scroll Staff. "Pakistan PM Imran Khan claims ISI helped the United States kill Osama Bin Laden". Scroll.in (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-05-04.
- ↑ "Pakistani intelligence led CIA to bin Laden: Imran Khan". news.yahoo.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-05-04.
บรรณานุกรม
[แก้]- Bergen, Peter (2006). The Osama Bin Laden I Know: An Oral History of Al Qaeda's Leader. Simon & Schuster. ISBN 0-7432-9592-7. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 2, 2020. สืบค้นเมื่อ November 18, 2020.
- Bergen, Peter (2008). "Al Qaeda, the Organization: A Five-Year Forecast". Annals of the American Academy of Political and Social Science. 618: 14–30. doi:10.1177/0002716208317599. ISSN 0002-7162. JSTOR 40375772. S2CID 145566133.
- Gutman, Roy (2008). How We Missed the Story: Osama Bin Laden, the Taliban, and the Hijacking of Afghanistan. US Institute of Peace Press. ISBN 978-1-60127-024-5. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 24, 2019. สืบค้นเมื่อ December 28, 2017.
- Scheuer, Michael (2002). Through Our Enemies' Eyes. Washington, D.C.: Brassey's. ISBN 1-57488-553-7.
- Stern, Jessica (2003). Terror in the Name of God (1 ed.). New York: HarperCollins. ISBN 0-06-050533-8.
- Wright, Lawrence (2006). The Looming Tower: Al-Qaeda and the Road to 9/11. New York: Knopf. ISBN 1-4000-3084-6.
อ่านเพิ่ม
[แก้]- Al-Bahri, Nasser (2013). Guarding bin Laden: My Life in Al-Qaeda. Thin Man Press. ISBN 978-0-9562473-6-0.
- Atwan, Abdel Bari (2012). After Bin Laden: Al-Qaeda, the Next Generation. Saqi. ISBN 978-0-86356-419-2.
- Atwan, Abdel Bari (2006). The Secret History of Al-Qaeda. Saqi. ISBN 978-0-86356-760-5. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 19, 2020. สืบค้นเมื่อ May 14, 2020.
- Berner, Brad K. (2007). Quotations from Osama Bin Laden. Peacock Books. ISBN 978-81-248-0113-0. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 2, 2020. สืบค้นเมื่อ November 18, 2020.
- Bin Laden, Osama (2005). Lawrence, Bruce (บ.ก.). Messages to the World: the Statements of Osama Bin Laden. แปลโดย Howarth, James. Verso. ISBN 1-84467-045-7.
- Burke, Jason (2007). Al-Qaeda: The True Story of Radical Islam (2nd ed.). London: Penguin. ISBN 978-0-141-03136-1.
- Foreign Broadcast Information Service (2006) – Compilation of Usama Bin Laden Statements 1994 – January 2004 เก็บถาวร กรกฎาคม 11, 2015 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Mura, Andrea (2015). The Symbolic Scenarios of Islamism: A Study in Islamic Political Thought. London: Routledge. ISBN 978-1-317-01450-8. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 7, 2020. สืบค้นเมื่อ August 22, 2017.
- Ibrahim, Raymond (2007). The Al Qaeda Reader. Broadway Books. p. 318. ISBN 978-0-7679-2262-3. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 2, 2020. สืบค้นเมื่อ November 18, 2020.
- Scheuer, Michael (2011). Osama Bin Laden. Oxford University Press. ISBN 978-0-19-973866-3. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 2, 2020. สืบค้นเมื่อ November 18, 2020.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Osama bin Laden collected news and commentary at Dawn
- Full text: bin Laden's 'letter to America', The Observer, November 24, 2002
- Hunting Bin Laden, PBS Frontline, (November 2002)
- "5 Facts You Probably Didn't Know About Osama bin Laden", Dainik Bhaskar, (May 2016)
- Young Osama, Steve Coll, The New Yorker, December 12, 2005
- How the World Sees Osama bin Laden, slideshow by Life
- The Osama bin Laden File from the National Security Archive, posted May 2, 2011
- Letters from Abbottabad from Combating Terrorism Center
- FBI Records: The Vault - Osama Bin Laden
- CS1 maint: unfit URL
- บทความที่มีข้อความที่อาจล้าสมัยตั้งแต่ 2010
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2500
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2554
- อับดุลลอฮ์ ยูซุฟ อัซซาม
- สงครามในอัฟกานิสถาน (พ.ศ. 2521–ปัจจุบัน)
- ผู้ก่อตั้งอัลกออิดะฮ์
- ครอบครัวบิน ลาดิน
- บุคคลที่ถูกฝังในทะเล
- วิศวกรโยธา
- วิสามัญฆาตกรรม
- ผู้หลบหนี
- บุคคลที่รัฐบาลสหรัฐประกาศเป็นผู้ก่อการร้าย
- ผู้นำกลุ่มก่อการร้ายอิสลาม
- สมาชิกมุญาฮิดีนในสงครามโซเวียต–อัฟกัน
- อุซามะฮ์ บิน ลาดิน
- บุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับวินาศกรรม 11 กันยายน
- บุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสงครามในอัฟกานิสถาน (ค.ศ. 2001–ปัจจุบัน)
- สงครามต่อต้านการก่อการร้าย
- วิศวกรชาวซาอุดีระเบีย
- มุสลิมชาวซาอุดีอาระเบีย
- มุสลิมชาวปากีสถาน
- ผู้พลีชีพ
- ชาวซาอุดีอาระเบียเชื้อสายเยเมน
- ชาวซาอุดีอาระเบียเชื้อสายซีเรีย
- อัลกออิดะฮ์
- ผู้ก่อการร้ายที่เอฟบีไอต้องการมากที่สุด
- การก่อการร้ายอิสลาม
- บุคคลจากรียาด
- เสียชีวิตจากอาวุธปืน
- ผู้นำอัลกออิดะฮ์
- ลัทธิต่อต้านอเมริกา