Nothing Special   »   [go: up one dir, main page]

ข้ามไปเนื้อหา

ณรงค์ พิพัฒนาศัย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ณรงค์ พิพัฒนาศัย
ณรงค์ ในปี พ.ศ. 2557
รองนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
19 สิงหาคม พ.ศ. 2558 – 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
(2 ปี 96 วัน)
นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา
ก่อนหน้าหม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล
ยงยุทธ ยุทธวงศ์
ถัดไปฉัตรชัย สาริกัลยะ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ดำรงตำแหน่ง
30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 – 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558
(0 ปี 354 วัน)
นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา
ก่อนหน้าจาตุรนต์ ฉายแสง
ถัดไปดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ
สมาชิกวุฒิสภา
ดำรงตำแหน่ง
11 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 – 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2567
รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 – 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
หัวหน้าประยุทธ์ จันทร์โอชา
ผู้บัญชาการทหารเรือ
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2556 – 30 กันยายน พ.ศ. 2557
ก่อนหน้าสุรศักดิ์ หรุ่นเริงรมย์
ถัดไปไกรสร จันทร์สุวานิชย์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด7 ตุลาคม พ.ศ. 2496 (71 ปี)
อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
คู่สมรสอัจฉรา พิพัฒนาศัย
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
สังกัดกองทัพเรือไทย
ยศ พลเรือเอก

พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย สมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 12 อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตราชองครักษ์พิเศษ [1] กรรมการในคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง ประธานคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ประธานกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ประธานกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ[2]ประธานกรรมการประสานและกำกับการดำเนินงาน ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์[3]ประธานกรรมการในคณะกรรมการป้องกันเจ้าหน้าที่ของรัฐมิให้เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 401/2558[4] และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา[5]ประธานกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติและรองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติและ อดีต ผู้บัญชาการทหารเรือ ได้รับโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการทหารเรือสืบต่อจาก พล.ร.อ.สุรศักดิ์ หรุ่นเริงรมย์ ที่เกษียณอายุราชการในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2556[6]

ประวัติ

[แก้]

พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย เกิดเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2496 ที่ตำบลเกาะหลัก อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นบุตรของนาวาตรี พิเทศ กับนางมณี พิพัฒนาศัย จบการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 13 (ตท.13) และโรงเรียนนายเรือ รุ่นที่ 70 (นร.70) เคยดำรงตำแหน่งที่สำคัญ ๆ ได้แก่ ผู้บังคับการหมู่เรือที่ 4 กองเรือตรวจอ่าว กองเรือยุทธการ, ผู้อำนวยการกองการศึกษา โรงเรียนเสนาธิการทหารเรือ, ผู้ช่วยฝ่ายทูตทหารเรือ ณ กรุงโรม ประเทศอิตาลี, รองเจ้ากรมยุทธการทหารเรือ, เจ้ากรมยุทธการทหารเรือ, ผู้ช่วยเสนาธิการทหารเรือ, รองเสนาธิการทหารเรือ, ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ และรองผู้บัญชาการทหารเรือก่อนที่จะขึ้นดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารเรือ นับเป็นคนที่ 49 และได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในปี พ.ศ. 2557 ในรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา[7] ต่อมาได้ปรับไปรับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558[8] ดูแลรับผิดชอบงานกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค[9]

พล.ร.อ.ณรงค์ มีชื่อเรียกเล่น ๆ จากเพื่อน ๆ และสื่อมวลชนว่า "บิ๊กเข้" เนื่องจากสมัยเป็นนักเรียนเตรียมทหารนั้นมักไปลอยคอว่ายน้ำหลังเลิกเรียนอยู่เป็นประจำ ความชื่นชอบส่วนตัวชอบถ่ายรูป มักพกกล้องถ่ายรูปไปในที่ต่าง ๆ เสมอ แต่ไม่ชอบที่จะถ่ายรูปตัวเอง[10]

วันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 เขาลงนามในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่อง แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ[11] และ เรื่องแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข[12]ในฐานะปฏิบัติราชการแทน นายกรัฐมนตรี

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. รองนายกรัฐมนตรี อดีตราชองครักษ์พิเศษ
  2. กรรมการในคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศยุทธศาสตร์ชาติ
  3. ประธานกรรมการประสานและกำกับการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
  4. "ประธานกรรมการในคณะกรรมการป้องกันเจ้าหน้าที่ของรัฐมิให้เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-06. สืบค้นเมื่อ 2016-06-22.
  5. ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรีในรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 131 ตอนพิเศษ 164 ง วันที่ 31 สิงหาคม 2557
  6. เมื่อคลื่นลมสงบที่ทัพเรือ 'ณรงค์' ผงาดนั่งเก้าอี้'นาวี1'
  7. พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน 32 ราย)
  8. พระบรมราชโองการ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี
  9. นายกรัฐมนตรี"แบ่งงาน 6 รองนายกรัฐมนตรี....
  10. "รู้จักเจ้ากระทรวงศึกษาธิการ-สาธารณสุข รัฐบาล 'ประยุทธ์ 1'". ไทยรัฐ. 2014-09-01. สืบค้นเมื่อ 2014-09-01.
  11. แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
  12. แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข
  13. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี - ราชกิจจานุเบกษา" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-10-29. สืบค้นเมื่อ 2014-08-07.
  14. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี - ราชกิจจานุเบกษา" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-10-11. สืบค้นเมื่อ 2014-08-07.
  15. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๑ ข หน้า ๕, ๑๒ มกราคม ๒๕๓๙
  16. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษและเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๕๔ - ๒๕๕๕ ชั้นที่ ๑ ชั้นที่ ๒ และชั้นที่ ๓ จำนวน ๒,๖๘๓ ราย เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๔ ข ๒๐ มกราคม ๒๕๕๘ หน้า ๒
ก่อนหน้า ณรงค์ พิพัฒนาศัย ถัดไป
หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล
ยงยุทธ ยุทธวงศ์

รองนายกรัฐมนตรี (ครม. 61)
(19 สิงหาคม พ.ศ. 2558 - 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560)
พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ
จาตุรนต์ ฉายแสง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ครม. 61)
(30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 - 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558)
พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ
พลเรือเอก สุรศักดิ์ หรุ่นเริงรมย์
ผู้บัญชาการทหารเรือ
(1 ตุลาคม พ.ศ. 2556 - 30 กันยายน พ.ศ. 2557)
พลเรือเอก ไกรสร จันทร์สุวานิชย์