Nothing Special   »   [go: up one dir, main page]

ข้ามไปเนื้อหา

จาตุรนต์ ฉายแสง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จาตุรนต์ ฉายแสง
จาตุรนต์ ใน พ.ศ. 2560
รองนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 – 11 มีนาคม พ.ศ. 2548
(2 ปี 160 วัน)
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ดำรงตำแหน่ง
30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 – 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
(0 ปี 326 วัน)
นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ก่อนหน้าพงศ์เทพ เทพกาญจนา
ถัดไปณรงค์ พิพัฒนาศัย
ดำรงตำแหน่ง
11 มีนาคม พ.ศ. 2548 – 19 กันยายน พ.ศ. 2549
(1 ปี 192 วัน)
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
ก่อนหน้าอดิศัย โพธารามิก
ถัดไปวิจิตร ศรีสอ้าน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
ดำรงตำแหน่ง
5 มีนาคม – 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545
(0 ปี 212 วัน)
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
ก่อนหน้าพงศ์เทพ เทพกาญจนา
ถัดไปปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 – 5 มีนาคม พ.ศ. 2545
(1 ปี 16 วัน)
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
รักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย
ดำรงตำแหน่ง
2 ตุลาคม พ.ศ. 2549 – 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2550
(0 ปี 240 วัน)
ก่อนหน้าทักษิณ ชินวัตร
(หัวหน้าพรรค)
ถัดไปสมัคร สุนทรเวช
(หัวหน้าพรรค)
(พรรคพลังประชาชน)
รักษาการหัวหน้าพรรคชาติไทย
ดำรงตำแหน่ง
16 – 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2534
ก่อนหน้าชาติชาย ชุณหะวัณ
(หัวหน้าพรรค)
ถัดไปสมบุญ ระหงษ์
(หัวหน้าพรรค)
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แบบบัญชีรายชื่อ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
(1 ปี 181 วัน)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด1 มกราคม พ.ศ. 2499 (68 ปี)
จังหวัดฉะเชิงเทรา ประเทศไทย
พรรคการเมืองเพื่อไทย (2556–2561, 2564–ปัจจุบัน)[1]
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
ประชาธิปัตย์ (2529–2531)
ประชาชน (2531–2532)
ชาติไทย (2532–2534)
ความหวังใหม่ (2535–2544)
ไทยรักไทย (2544–2550)
ไทยรักษาชาติ (2561–2562)
เส้นทางใหม่ (2564)
คู่สมรสจิราภรณ์ ฉายแสง

จาตุรนต์ ฉายแสง (เกิด 1 มกราคม พ.ศ. 2499) ชื่อเล่น อ๋อย เป็นนักเศรษฐศาสตร์และนักการเมืองชาวไทย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (ชุดที่ 26) สังกัดพรรคเพื่อไทย เคยดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี[2] และรัฐมนตรีหลายกระทรวง

ประวัติ

[แก้]

ภูมิหลังและการศึกษา

[แก้]

เกิดเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2499 ที่ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นบุตรคนโตของอนันต์ ฉายแสง อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฉะเชิงเทรา และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช กับเฉลียว ฉายแสง

จาตุรนต์ศึกษาชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนเซนต์หลุยส์ จบมัธยมศึกษาจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย หลังจากนั้น เข้าเรียนต่อที่คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับการเลือกตั้งเป็นนายกสโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขณะเรียนชั้นปีที่ 4 เกิดเหตุการณ์ 6 ตุลา มีการกวาดล้างผู้นำนักศึกษา ทำให้เขาไปใช้ชีวิตในป่าระยะหนึ่ง โดยใช้ชื่อจัดตั้งว่า "สหายสุภาพ" ภายหลังสถานการณ์คลี่คลายจึงกลับเข้าเมืองและตัดสินใจไปศึกษาต่อจนสำเร็จปริญญาตรี และปริญญาโท ด้านเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแห่งรัฐนิวยอร์ก ที่บัฟฟาโล สหรัฐอเมริกาและได้รับทุน Teaching ของมหาวิทยาลัยอเมริกัน สหรัฐอเมริกา เรียนต่อระดับปริญญาเอก จนสอบประมวลความรู้ (Comprehensive) แต่ไม่ได้ทำวิทยานิพนธ์ เนื่องจากกลับประเทศไทยเพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในปี พ.ศ. 2529 และได้รับการเลือกตั้ง

ครอบครัว

[แก้]

จาตุรนต์ ฉายแสงสมรสกับจิราภรณ์ ฉายแสง (สกุลเดิม "เปี่ยมกมล") อดีตเลขานุการหน้าห้องของพิศาล มูลศาสตร์สาทร ขณะดำรงตำแหน่งเป็นปลัดกระทรวงมหาดไทย โดยพิธีหมั้นระหว่างจาตุรนต์กับจิราภรณ์ มีขึ้นเมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2546 ที่สยามสมาคม

จาตุรนต์มีชื่อจีนว่า หลิว หง อวี่ เมื่อเริ่มศึกษาภาษาจีน และปี พ.ศ. 2551 เขาได้ออกซีดีเพลงจีนที่เขาร้องเอง[3]

บทบาททางการเมือง

[แก้]

จาตุรนต์ ก้าวเข้าสู่การเมืองครั้งแรกจากการชักชวนของผู้เป็นพ่อให้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในปี 2529 ในนาม พรรคประชาธิปัตย์และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. ฉะเชิงเทราสมัยแรก และสมัยที่ 2 ในปี 2531 และได้ย้ายมาร่วมงานกับพรรคประชาชน[4] ซึ่งนำโดยนายเฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์ ต่อมาได้ย้ายมาสังกัดพรรคความหวังใหม่ และได้รับการเลือกตั้งต่อเนื่องกันมาโดยตลอด จนกระทั่งในการเลือกตั้งปี 2544 จาตุรนต์ได้เป็น ส.ส.บัญชีรายชื่อสังกัดพรรคไทยรักไทย จนกระทั่งเกิดรัฐประหารในปี 2549

ภายหลังรัฐประหาร พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ลาออกจากการเป็นหัวหน้าพรรคไทยรักไทย จาตุรนต์ ได้เข้ามาเป็นหัวหน้าพรรครักษาการแทน[5]

หลังตุลาการรัฐธรรมนูญมีมติยุบพรรคไทยรักไทยด้วยมติเอกฉันท์ในวันที่ 30 พฤษภาคม 2550 แล้ว ซึ่งก่อนมีคำตัดสิน จาตุรนต์ รักษาการหัวหน้าพรรค มีท่าทีว่าจะขอน้อมรับมติของศาล แต่หลังจากนั้นแล้ว จาตุรนต์ได้เดินทางไปที่ทำการพรรคและปราศรัยว่า เป็นการตัดสินที่ไม่เป็นธรรม เป็นคำพิพากษาที่มาจากปากกระบอกปืน ทำให้มีการตั้งข้อสังเกตว่าเป็นการปลุกระดมประชาชนให้ต่อต้าน คมช.[6][7]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 39[8]

หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม เขาถูกทหารควบคุมตัวที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศ อาคารมณียาเซ็นเตอร์ ถนนเพลินจิต โดยจาตุรนต์มิได้ขัดขืน ระหว่างการแถลงต่อผู้สื่อข่าว[9]

เขาเป็นบุคคลแรกที่ถูกไต่สวนในศาลทหารเนื่องจากไม่ไปรายงานตัวตามคำสั่ง คสช.[10] เขาถูกตั้ง 3 ข้อหา คือ ขัดคำสั่ง คสช., ยุยงให้เกิดความกระด้างกระเดื่องและให้ทำผิดกฎหมาย (ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116) และความผิดต่อความมั่นคงหรือก่อการร้ายตามพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ รวมมีโทษระวาง 14 ปี[11]เขาถูกจำคุกที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหนคร [12]ก่อนได้รับการปล่อยตัว ในวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคไทยรักษาชาติ ลำดับที่ 2 แต่พรรคไทยรักษาชาติ ถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรคก่อนวันเลือกตั้ง[13]

20 มีนาคม พ.ศ.2564 จาตุรนต์พร้อมกับ เศกสิทธิ์ ไวนิยมพงศ์ ร่วมกันจัดตั้งพรรค พรรคเส้นทางใหม่[14] โดยดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค ก่อนจะกลับไปสังกัดพรรคเพื่อไทยในวันที่ 8 ธันวาคม ในปีเดียวกัน

และในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 ได้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อของพรรค ในลำดับที่ 13[15] และได้รับการเลือกตั้ง

ตำแหน่ง

[แก้]
ตำแหน่งในพรรคการเมือง
  • ปี พ.ศ. 2535 - 2538 ดำรงตำแหน่ง โฆษกพรรคความหวังใหม่
  • ปี พ.ศ. 2540 - 2542 ดำรงตำแหน่งเป็น รองเลขาธิการพรรคความหวังใหม่
  • ปี พ.ศ. 2542 - 2544 ได้รับเลือกเป็น เลขาธิการพรรคความหวังใหม่
  • ปี พ.ศ. 2544 ดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าพรรค สังกัดพรรคไทยรักไทย
  • ปี พ.ศ. 2549 รักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย
  • ปี พ.ศ. 2564 ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค สังกัดพรรคเส้นทางใหม่
รัฐมนตรีว่าการและรัฐมนตรีช่วยว่าการ
  • ปี พ.ศ. 2539 - 2540 ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง โดยเป็นการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีครั้งแรก ของนายจาตุรนต์ ฉายแสงในรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ[16]
  • ปี พ.ศ. 2544 เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  • ปี พ.ศ. 2545
    • เดือนมีนาคม 2545 เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม[17]
    • เดือนตุลาคม 2545 ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี
  • ปี พ.ศ. 2548
อื่น ๆ
  • ประธานกรรมการนโยบายและอำนวยการการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบสืบเนื่องจากสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กยต.)
  • กรรมการในคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ (กอส.)
  • รองประธานกรรมการบริหารองค์การยูเนสโก
  • สมาชิกสมัชชาประชาชนเพื่อประชาธิปไตย

เกียรติรางวัล

[แก้]

จากการทุ่มเททำงานและยึดมั่นในอุดมการณ์เพื่อส่วนรวม ทำให้เขาได้รับรางวัลยกย่องจากองค์กรต่างๆ มากมาย เช่น

  • รางวัล "นักการเมืองมาตรฐานแห่งปี 2542” จากสมัชชา สสร.แห่งประเทศไทย
  • นิตยสารเอเชียวีค (Asia Week) จัดให้เป็น 1 ใน 20 ผู้นำชาติในเอเชีย ที่มีบทบาทในศตวรรษที่ 20 เมื่อปี พ.ศ. 2542
  • นิตยสารต่างประเทศยกย่องให้เป็น 1 ใน 4 ผู้นำรุ่นใหม่ของประเทศไทยในปีเดียวกัน
  • เป็นนักการเมืองคนที่ 4 ของประเทศไทยที่ได้รับเกียรติจากรัฐบาลออสเตรเลีย เชิญเป็นแขกของรัฐบาลในฐานะนักการเมืองรุ่นใหม่ที่มีศักยภาพ และทำประโยชน์ในสังคม เมื่อปี 2543
  • นักศึกษาเก่าดีเด่นจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปีการศึกษา 2544[20]
  • รางวัล “ลี กวน ยิว” จากประเทศสิงคโปร์ในปี พ.ศ. 2545 ซึ่งนับเป็นคนไทยคนที่ 2 ที่ได้รับรางวัลนี้ (คนแรกคือ พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร ในปี 2538)
  • The Asian Forum of Parliamentarians on Population and Development (AFPPD) มอบโล่เกียรติคุณในฐานะผู้ประสานการประชุมร่วมรัฐสภาอาเซียนกับองค์การสหประชาชาติ เมื่อปี 2546
  • รางวัล "บุคคลผู้มีอิทธิพลต่อสังคมไทย" (Thailand key's maker) ปี พ.ศ. 2546 จากการโหวตของประชาชนผ่านคลื่น 101 News Channel ด้วยผลงานการจัดระเบียบโฆษณาเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมแอลกอฮอล์ เมื่อปี 2547

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. จาตุรนต์ ยุติพรรคเส้นทางใหม่ ย้ายครอบครัว “ฉายแสง” กลับเพื่อไทย
  2. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี
  3. ชีวิตครอบครัวและการศึกษาของ จาตุรนต์ ฉายแสง[ลิงก์เสีย]
  4. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พรรคประชาชนเปลี่ยนแปลงชื่อพรรค ภาพเครื่องหมายพรรค และคณะกรรมการบริหารพรรค
  5. ไทยรัฐ, รัฐประหาร 49 จาตุรนต์ ฉายแสง ลาออกย้ายสังกัดพรรค, 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562
  6. ผู้จัดการ, “อ๋อย” โวย! ตัดสินไม่เป็นธรรม-ปลุกระดม ปชช.ต่อต้าน คมช.! เก็บถาวร 2007-06-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 31 พฤษภาคม 2550
  7. แนวหน้า, "จาตุรนต์" ลั่นยุบ ทรท.ไม่เป็นธรรม ชี้ตัดสินจากอำนาจเผด็จการ ลั่นพร้อมร่วมมือประชาชนโค่นระบอบทหาร[ลิงก์เสีย], 31 พฤษภาคม 2550
  8. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
  9. ทหารบุกรวบ"จาตุรนต์" แล้ว - เผยเจ้าตัวไปปาฐกถาที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศฯ ตั้งใจยอมให้จับโดยดี
  10. "Chaturon arrested at FCCT". Bangkok Post. 2014-05-27. สืบค้นเมื่อ 2014-05-27.
  11. "ศาลทหารให้ประกัน 'จาตุรนต์' เจอแจ้งผิดพ.ร.บ.คอมพ์เพิ่มรวม 3 ข้อหา โทษ 14 ปี". มติชน. 2014-06-20. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2014-06-27.
  12. จาตุรนต์ อยู่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ
  13. เปิด 108 รายชื่อผู้สมัครส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ ไทยรักษาชาติ ติดบ่วงยุบพรรค
  14. "'อ๋อย-เศกสิทธิ์'สานฝัน พรรคเส้นทางใหม่". คมชัดลึกออนไลน์. 2021-03-21.
  15. "เลือกตั้ง 2566 : เปิดลำดับบัญชีรายชื่อ 100 คน "พรรคเพื่อไทย"". pptvhd36.com.
  16. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๙ ราย)
  17. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2011-06-13.
  18. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๕ ราย)
  19. พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออก ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี และแต่งตั้งรัฐมนตรี ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 122 ตอนพิเศษ 57ง 2 สิงหาคม 2548
  20. หอประวัติมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นักศึกษาเก่าดีเด่นปีการศึกษา 2544 สืบค้นเมื่อ 31 ธันวาคม 2562 0:30 น.
  21. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔
  22. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๑๐, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
  23. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ และเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๕๓, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๒, ๕ มิถุนายน ๒๕๕๕

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
ก่อนหน้า จาตุรนต์ ฉายแสง ถัดไป
เดช บุญ-หลง
ปองพล อดิเรกสาร
พิทักษ์ อินทรวิทยนันท์
สมคิด จาตุศรีพิทักษ์

รองนายกรัฐมนตรี (ครม. 54)
(3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 – 11 มีนาคม พ.ศ. 2548)
สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ
สุวัจน์ ลิปตพัลลภ
พงศ์เทพ เทพกาญจนา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ครม. 60)
(30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 - 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557)
พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย
อดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ครม. 55)
(11 มีนาคม พ.ศ. 2548 - 19 กันยายน พ.ศ. 2549)
วิจิตร ศรีสอ้าน
พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร
หัวหน้าพรรคไทยรักไทย
(รักษาการ)

(2 ตุลาคม พ.ศ. 2549 - 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2550)
(ถูกตัดสินให้ยุบพรรค)
สมัคร สุนทรเวช
(ในนามพรรคพลังประชาชน)