ว่านน้ำ
ว่านน้ำ | |
---|---|
Sweet flag | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Angiosperms |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Monocots |
อันดับ: | Acorales |
วงศ์: | Acoraceae |
สกุล: | Acorus |
สปีชีส์: | A. calamus |
ชื่อทวินาม | |
Acorus calamus L. |
ว่านน้ำ เป็นพืชสมุนไพรที่มีพลังร้อน มีลำต้นเป็นเหง้าอยู่ใต้ดินเป็นแท่งค่อนข้างแบน ใบมีลักษณะแข็งตั้งตรง ปลายใบจะแหลม ใบเรียงสลับกันซ้ายขวาเป็นแผง ดอกมีสีเขียวขนาดเล็กจะออกดอกเป็นช่อ มีจำนวนมากอัดกันแน่นเป็นแท่งรูปทรงกระบอก ชอบขึ้นตามที่น้ำขัง หรือที่ชื้นแฉะส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ได้เช่น
- ราก ถ้านำมารับประทานมากๆ จะทำให้อาเจียน แต่ว่ามีกลิ่นหอม รับประทานน้อยๆ สามารถใช้เป็นยาแก้ปวดท้อง บำรุงธาตุ แก้จุก ขับลมในลำไส้ ปรุงลงในยาขมต่างๆ ทำให้ระงับอาการปวดท้องได้เพราะในว่านน้ำมีสารชนิดหนึ่งเรียกว่า อาโกริน ที่มีรสขมและแอลคาลอยด์ คาลาไมท์ เป็นยาแก้บิด เป็นยารักษาบิดของเด็ก (คือมูกเลือด) และหวัดลงคอ (หลอดลมอักเสบ) ได้เป็นอย่างดี เป็นยาขับเสมหะอย่างดี และรากยังใช้เป็นยาเบื่อแมลงต่างๆ เช่น แมลงวัน เป็นยาแก้เส้นกระตุก แก้หืด ขับเสมหะ แก้ปวดศีรษะ แก้ปวดกล้ามและข้อ แก้โรคผิวหนัง
- เหง้า นำมาใช้ขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้โรคผิวหนัง เป็นยาหอมได้
- น้ำมันหอมระเหยจากต้น สามารถแก้โรคชัก เป็นยาขมหอม ขับแก๊สในท้อง ทำให้เจริญอาหาร ช่วยการย่อยอาหารได้ดี
นอกจากนี้ว่านน้ำยังมีสรรพคุณ ในการช่วยเสริมสร้างสติปัญญาและช่วยพัฒนาความจำให้มีความจำดี ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ อีกทั้งช่วยให้นมมารดาบริสุทธิ์ ในตำราของอินเดีย ใช้ว่านน้ำผสมกับยารักษาโรค รักษาเกี่ยวกับโรคสมอง ท้องร่วง โรคตา แก้หอบหืด โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เป็นต้น
วิธีการปลูกและดูแลรักษา
ว่านน้ำปลูกได้ดีในที่ชื้นแฉะ มีน้ำท่วม ริมบ่อน้ำ ปลูกโดยการตัดต้นพันธุ์หรือเหง้าให้มีข้ออย่างน้อย 1 ข้อ ปักชำในกระบะทรายก่อน พอเริ่มงอกจึงย้านไปปลูก หรือนำท่อนพันธุ์ไปปักประมาณ 1 สัปดาห์ จะเป็นใบอ่อนแตกออกมา ขยายพันธุ์โดยการแตกหน่อ
ส่วนการดูแลรักษา ว่านน้ำเป็นพืชที่ชอบแสงแดดรำไร เจริญเติบโตได้ดีในฤดูฝน เมื่อเข้าปลายฤดูฝนเหง้าจะเริ่มมีใบแห้ง เริ่มจากเหง้าข้อที่ 1 ไปเรื่อยๆ ถ้าขาดน้ำในช่วงนี้เป็นเวลานาน เหง้าอาจจะแห้งตายได้แต่ถ้ามีน้ำอยู่ เหง้าก็ยังคงสดอยู่และแตกรากและใบใหม่ต่อไป
สรรพคุณ
- รักษาอาการปวดฟัน เลือดออกตามไรฟัน โดยใช้เหง้าแห้งนำไปบดให้เป็นผงละเอียด ใช้ทา
- รักษาอาการท้องอืด อาหารไม่ย่อย โดยใช้เหง้าแห้ง เมล็ดที่แก่ของหัวผักกาดขาว ซิ่งเข็ก และ หัวแห้วหมู นำมาผสมกันแล้วนำไปต้มน้ำกิน
- รักษาอาการโรคบิด ท้องเสียโดยใช้เหง้าแห้ง บดเป็นผงละเอียด ใช้กินกับน้ำสุกที่ทิ้งไว้ให้เย็นแล้ว
ข้อมูลทางคลีนิก
- ใช้รักษาอาการกระจกตาอักเสบ โดยใช้น้ำที่ต้มจากรากแห้ง นำมาใช้หยอดตาหรือใช้ล้างตา
- รักษาอาการลำไส้อักเสบ ใช้รากสดนำไปตากแห้ง แล้วบรรจุเป็นแคปซูล
- รักษาอาการอักเสบเรื้อรัง ใช้ผงของราก นำไปบดแล้วบรรจุแคปซูล
ข้อมูลทางเภสัชวิทยา
- มีฤทธิ์ในการรักษาอาการชัก
- มีฤทธิ์ต่อระบบกาย่อยอาหาร
- มีฤทธิ์ระงับอาการไอและขับเสมหะ
- มีฤทธิ์ต่อระบบการหมุนเวียนของโลหิต
ประโยชน์จากน้ำมันว่านน้ำ
แต่งกลิ่นเครื่องสำอางประเภทสบู่ น้ำหอม ครีม ผงซักฟอก และโลชั่นต่างๆ
อ้างอิง
- http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_06_9.htm
- http://www.khonnaruk.com/html/verandah/herb/h_250.html
- http://srmwww.gov.bc.ca/risc/o_docs/aquatic/029/029tran-26.htm
- http://www.rook.org/earl/bwca/nature/aquatics/acorus.html
- http://www.ibiblio.org/pfaf/cgi-bin/arr_html?Acorus+calamus
- http://fgp.bio.psu.edu/cgi-bin/fgpmine/www/taxa/taxon.cgi?id=4
- http://www.trytodream.com/topic/6658