ว่านน้ำ
บทความนี้หรือส่วนนี้ของบทความต้องการปรับรูปแบบ ซึ่งอาจหมายถึง ต้องการจัดรูปแบบข้อความ จัดหน้า แบ่งหัวข้อ จัดลิงก์ภายใน และ/หรือการจัดระเบียบอื่น ๆ คุณสามารถช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้โดยการกดที่ปุ่ม แก้ไข ด้านบน จากนั้นปรับปรุงหรือจัดรูปแบบอื่น ๆ ในบทความให้เหมาะสม |
ว่านน้ำ | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | พืช Plantae |
เคลด: | พืชมีท่อลำเลียง Tracheophytes |
เคลด: | พืชดอก Angiosperms |
เคลด: | พืชใบเลี้ยงเดี่ยว Monocots |
อันดับ: | Acorales Acorales |
วงศ์: | Acoraceae Acoraceae |
สกุล: | Acorus Acorus L., 1753 |
สปีชีส์: | Acorus calamus |
ชื่อทวินาม | |
Acorus calamus L., 1753 | |
ชื่อพ้อง[2] | |
Calamus aromaticus Garsault |
ว่านน้ำ เป็นพืชสมุนไพรที่มีพลังร้อน มีลำต้นเป็นเหง้าอยู่ใต้ดินเป็นแท่งค่อนข้างแบน ใบมีลักษณะแข็งตั้งตรง ปลายใบจะแหลม ใบเรียงสลับกันซ้ายขวาเป็นแผง ดอกมีสีเขียวขนาดเล็กจะออกดอกเป็นช่อ มีจำนวนมากอัดกันแน่นเป็นแท่งรูปทรงกระบอก ชอบขึ้นตามที่น้ำขัง หรือที่ชื้นแฉะส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ได้เช่น
- ราก ถ้านำมารับประทานมากๆ จะทำให้อาเจียน แต่ว่ามีกลิ่นหอม รับประทานน้อยๆ สามารถใช้เป็นยาแก้ปวดท้อง บำรุงธาตุ แก้จุก ขับลมในลำไส้ ปรุงลงในยาขมต่างๆ ทำให้ระงับอาการปวดท้องได้เพราะในว่านน้ำมีสารชนิดหนึ่งเรียกว่า อาโกริน ที่มีรสขมและแอลคาลอยด์ คาลาไมท์ เป็นยาแก้บิด เป็นยารักษาบิดของเด็ก (คือมูกเลือด) และหวัดลงคอ (หลอดลมอักเสบ) ได้เป็นอย่างดี เป็นยาขับเสมหะอย่างดี และรากยังใช้เป็นยาเบื่อแมลงต่างๆ เช่น แมลงวัน เป็นยาแก้เส้นกระตุก แก้หืด ขับเสมหะ แก้ปวดศีรษะ แก้ปวดกล้ามและข้อ แก้โรคผิวหนัง
- เหง้า นำมาใช้ขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้โรคผิวหนัง เป็นยาหอมได้
- น้ำมันหอมระเหยจากต้น สามารถแก้โรคชัก เป็นยาขมหอม ขับแก๊สในท้อง ทำให้เจริญอาหาร ช่วยการย่อยอาหารได้ดี
นอกจากนี้ว่านน้ำยังมีสรรพคุณ ในการช่วยเสริมสร้างสติปัญญาและช่วยพัฒนาความจำให้มีความจำดี ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ อีกทั้งช่วยให้นมมารดาบริสุทธิ์ ในตำราของอินเดีย ใช้ว่านน้ำผสมกับยารักษาโรค รักษาเกี่ยวกับโรคสมอง ท้องร่วง โรคตา แก้หอบหืด โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เป็นต้น
วิธีการปลูกและดูแลรักษา
ว่านน้ำปลูกได้ดีในที่ชื้นแฉะ มีน้ำท่วม ริมบ่อน้ำ ปลูกโดยการตัดต้นพันธุ์หรือเหง้าให้มีข้ออย่างน้อย 1 ข้อ ปักชำในกระบะทรายก่อน พอเริ่มงอกจึงย้ายไปปลูก หรือนำท่อนพันธุ์ไปปักประมาณ 1 สัปดาห์ จะเป็นใบอ่อนแตกออกมา ขยายพันธุ์โดยการแตกหน่อ
ส่วนการดูแลรักษา ว่านน้ำเป็นพืชที่ชอบแสงแดดรำไร เจริญเติบโตได้ดีในฤดูฝน เมื่อเข้าปลายฤดูฝนเหง้าจะเริ่มมีใบแห้ง เริ่มจากเหง้าข้อที่ 1 ไปเรื่อยๆ ถ้าขาดน้ำในช่วงนี้เป็นเวลานาน เหง้าอาจจะแห้งตายได้แต่ถ้ามีน้ำอยู่ เหง้าก็ยังคงสดอยู่และแตกรากและใบใหม่ต่อไป
สรรพคุณ
- รักษาอาการปวดฟัน เลือดออกตามไรฟัน โดยใช้เหง้าแห้งนำไปบดให้เป็นผงละเอียด ใช้ทา
- รักษาอาการท้องอืด อาหารไม่ย่อย โดยใช้เหง้าแห้ง เมล็ดที่แก่ของหัวผักกาดขาว ซิ่งเข็ก และ หัวแห้วหมู นำมาผสมกันแล้วนำไปต้มน้ำกิน
- รักษาอาการโรคบิด ท้องเสียโดยใช้เหง้าแห้ง บดเป็นผงละเอียด ใช้กินกับน้ำสุกที่ทิ้งไว้ให้เย็นแล้ว
ข้อมูลทางคลินิก
- ใช้รักษาอาการกระจกตาอักเสบ โดยใช้น้ำที่ต้มจากรากแห้ง นำมาใช้หยอดตาหรือใช้ล้างตา
- รักษาอาการลำไส้อักเสบ ใช้รากสดนำไปตากแห้ง แล้วบรรจุเป็นแคปซูล
- รักษาอาการอักเสบเรื้อรัง ใช้ผงของราก นำไปบดแล้วบรรจุแคปซูล
ข้อมูลทางเภสัชวิทยา
- มีฤทธิ์ในการรักษาอาการชัก
- มีฤทธิ์ต่อระบบกาย่อยอาหาร
- มีฤทธิ์ระงับอาการไอและขับเสมหะ
- มีฤทธิ์ต่อระบบการหมุนเวียนของโลหิต
ประโยชน์จากน้ำมันว่านน้ำ
แต่งกลิ่นเครื่องสำอางประเภทสบู่ น้ำหอม ครีม ผงซักฟอก และโลชั่นต่างๆ
ในทางวัฒนธรรม
ชาวจีนภาคใต้ (ตอนใต้ของแม่น้ำแยงซี เช่น มณฑลเจ้อเจียง และเมืองเซึ่ยงไฮ้) ใช้กิ่งเฮียเฮียะกับใบว่านน้ำ แขวนประตูในช่วงเทศกาลไหว้บ๊ะจ่างเพื่อปัดเป่าวิญญาณร้าย
อ้างอิง
- ↑ Lansdown, R.V. (2014). "Acorus calamus". IUCN Red List of Threatened Species. 2014: e.T168639A43116307. doi:10.2305/IUCN.UK.2014-1.RLTS.T168639A43116307.en. สืบค้นเมื่อ 19 November 2021.
- ↑ "Acorus calamus L." Plants of the World Online. Board of Trustees of the Royal Botanic Gardens, Kew. 2017. สืบค้นเมื่อ 17 December 2020.