Nothing Special   »   [go: up one dir, main page]

นางเสือง

พระอัครมเหสีสุโขทัย

พระนางเสือง เป็นพระอัครมเหสีในพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ และเป็นพระราชมารดาของพระมหากษัตริย์อีกสองพระองค์คือ พ่อขุนบานเมืองและพ่อขุนรามคำแหง แต่อย่างไรก็ตามก็ยังมีความกังขาเกี่ยวกับตัวตนของพระนางว่ามีจริงหรือเป็นเพียงเรื่องที่แต่งขึ้นในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์[1]

เทวรูปพระแม่ย่า ที่แท้จริงแล้วเป็นเทวรูปของพระนารายณ์

พระราชประวัติ

พระนางเสือง มีพระราชประวัติประวัติค่อนข้างน้อยนัก พระราชสมภพเมื่อใดที่ไหนหรือสวรรคตเมื่อใดไม่ทราบความ ปรากฏพระองค์ครั้งแรกและครั้งเดียวจากเนื้อความในจารึกพ่อขุนรามคำแหง ความว่า "พ่อกูชื่อศรีอินทราทิตย์ แม่กูชื่อนางเสือง พี่กูชื่อบานเมือง กูพี่น้องท้องเดียวห้าคน ผู้ชายสาม ผู้หญิงสอง พี่เผือผู้อ้ายตายจากเผือเตียมแต่ยังเล็ก..." แสดงให้เห็นว่าพระนางมีพระราชโอรส-ธิดา 5 พระองค์ เป็นพระราชโอรสสามพระองค์ กับพระราชธิดาอีกสองพระองค์[2][3][4] และปรากฏอีกครั้งว่า "เมื่อชั่วพ่อกู กูบำเรอแก่พ่อกู กูบำเรอแก่แม่กู..."[5] แสดงให้เห็นว่าพระองค์ได้รับการปรนนิบัติพัดวีอย่างดีจากพระราชโอรสคือ พ่อขุนรามคำแหงนั่นเอง

ส่วนพระนาม "เสือง" นั้น เป็นภาษาลาว แปลว่า "รุ่งอรุณ" สอดคล้องกับพระนามพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ที่มีความว่า "ผู้ทรงไว้ซึ่งความสว่าง"[1] ทั้งนี้มีการสันนิษฐานกันว่า พระนางเสือง อาจจะเป็นพระราชภคินีของพ่อขุนผาเมืองก็เป็นได้[6]

ส่วนเทวรูปที่พบที่โซกพระแม่ย่านั้น แท้จริงแล้วเป็นเทวรูปพระนารายณ์ เพียงแต่ได้รับการนับถือที่เปลี่ยนไปตามความเชื่อของชาวเมือง[7] ส่วนที่ชาวเมืองเรียกเทวรูปดังกล่าวว่าพระแม่ย่านั้น ทองเจือ สืบชมภู สันนิษฐานว่าคงเป็นนางกษัตริย์องค์ใดองค์หนึ่ง ซึ่งก็คือพระนางเสือง ผู้เป็นพระราชมารดาของพ่อขุนรามคำแหง และเป็นพระราชอัยยิกา (ย่า) ของพระมหาธรรมราชาที่ 1[8]

ในวัฒนธรรมร่วมสมัย

เรื่องราวที่มีอยู่น้อยนิดของพระนาง ถูกนำมาดัดแปลงเป็นละครเวทีอิงประวัติศาสตร์เรื่อง "นางเสือง" ด้วยถือว่าเป็น "พระราชินีไทยที่ปรากฏพระนามเป็นพระองค์แรกในประวัติศาสตร์" ละครเวทีดังกล่าวออกแสดงในปี พ.ศ. 2511, พ.ศ. 2547 และ พ.ศ. 2556 เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ[9][10] บทประพันธ์โดยสมภพ จันทรประภา กำกับการแสดงโดยหม่อมหลวงจุลลา งอนรถ[11] เนื้อเรื่องจะปลุกใจให้มีความรักชาติ[12]

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 สุจิตต์ วงษ์เทศ (25 มกราคม พ.ศ. 2556). ""นางเสือง" เป็นนิยาย ประวัติศาสตร์การเมือง". มติชนออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  2. พ่อขุนรามคำแหง (พ.ศ. 1835). "ศิลาจารึก". ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. สืบค้นเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  3. "พ่อกูชื่อศรีอินทราทิตย์". สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง. สืบค้นเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. ธวัช ปุณโณทก. อักษรไทยโบราณ ลายสือไทย และวิวัฒนาการของชนชาติไทย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549, หน้า 97
  5. มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา (2554). นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย (PDF). กรุงเทพฯ: มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา. p. 25.
  6. มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา (2554). นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย (PDF). กรุงเทพฯ: มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา. p. 19.
  7. กนกวรรณ โสภณวิจิตร. ประวัติศาสตร์สุโขทัย. กรุงเทพฯ:สารคดี, 2554, หน้า 113
  8. "ศาลพระแม่ย่า". จังหวัดสุโขทัย. สืบค้นเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. "อีกครั้งละคร "นางเสือง" "ม.ล.จุลลา งอนรถ" กำกับเวที". ประชาชาติธุรกิจ. 14 มกราคม 2556. สืบค้นเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  10. "จากเชื้อพระวงศ์สู่นางเสือง". กรุงเทพธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  11. ""นางเสือง" ละครเวทีอิงประวัติศาสตร์ ฉาก แสง สี เสียง ตระการตา". แนวหน้า. สืบค้นเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  12. "ปลุกความรักชาติผ่านนางเสือง". คมชัดลึก. 21 มกราคม 2556. สืบค้นเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)