Nothing Special   »   [go: up one dir, main page]

ข้ามไปเนื้อหา

โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

พิกัด: 13°44′46.77″N 100°33′9.49″E / 13.7463250°N 100.5526361°E / 13.7463250; 100.5526361
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล
แผนที่
ภูมิศาสตร์
ที่ตั้ง33 สุขุมวิท ซอย 3 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110
พิกัด13°44′46.77″N 100°33′9.49″E / 13.7463250°N 100.5526361°E / 13.7463250; 100.5526361
หน่วยงาน
ประเภทเอกชน
บริการสุขภาพ
จำนวนเตียง538 เตียง[1]
ประวัติ
เปิดให้บริการ17 กันยายน พ.ศ. 2523; 44 ปีก่อน (2523-09-17)
บริษัท
ชื่อทางการค้า
บริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน)
ประเภทบริษัทมหาชน
การซื้อขาย
SET:BH
อุตสาหกรรมบริการ
รูปแบบการแพทย์
ก่อตั้ง17 กันยายน พ.ศ. 2523 จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัด[ต้องการอ้างอิง]
และจดทะเบียนแปลงเป็นบริษัทมหาชน 8 กันยายน พ.ศ. 2536[ต้องการอ้างอิง]
บุคลากรหลักนายกองโท[2][3] ชัย โสภณพนิช ประธานคณะกรรมการ
ศ.นพ. ชาญวิทย์ ตันติ์พิพัฒน์ รองประธานกรรมการ
ลินดา ลีสหะปัญญา กรรมการผู้จัดการ
[4]ภญ. อาทิรัตน์ จารุกิจพิพัฒน์ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
รายได้9,337.86 ล้านบาท[5] (2552)
รายได้สุทธิ
1,245.65 ล้านบาท[6] (2552)
เว็บไซต์www.bumrungrad.com

โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล (อังกฤษ: Bumrungrad International Hospital) หรือชื่อย่อ BH เป็นโรงพยาบาลเอกชน และได้ดำเนินการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2532 โดยมีบริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) กับตระกูลโสภณพนิชเป็นผู้ถือหุ้นหลัก[1] มีนายกองโทชัย โสภณพนิช เป็นประธานกรรมการ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ชาญวิทย์ ตันติ์พิพัฒน์ เป็นรองประธานกรรมการ นาง ลินดา ลีสหะปัญญา เป็นกรรมการผู้จัดการ เภสัชกรหญิง อาทิรัตน์ จารุกิจพิพัฒน์ เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร[7]

ประวัติ

[แก้]

โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์เริ่มเปิดให้บริการรักษาผู้ป่วยในลักษณะของโรงพยาบาลเอกชน 200 เตียงในวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2523 ก่อนที่จะทำการจดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์ในวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2532 และจดทะเบียนแปลงสภาพเป็นบริษัทมหาชนจํากัดเมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2536[ต้องการอ้างอิง]

ต่อมา ได้ทำการเปิดอาคารโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2540 และโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ได้รับการรับรองคุณภาพระดับสากลครั้งแรกวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 ก่อนทำการเปิดอาคารผู้ป่วยนอกบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล คลินิก ใน พ.ศ. 2551[1]

ผู้ถือหุ้นรายใหญ่

[แก้]
  • ข้อมูล ณ วันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2556[8]
ผู้ถือหุ้นรายย่อย ณ วันที่ 08/03/2556
จำนวนผู้ถือหุ้นรายย่อย (Free float) 6,130
% การถือหุ้นของผู้ถือหุ้นรายย่อย (% Free float) 37.06
ลำดับที่ รายชื่อผู้ถือหุ้น จำนวนหุ้นสามัญ สัดส่วนการถือหุ้น
1 บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) 174,350,200 23.93%
2 บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) 106,760,417 14.65%
3 บริษัท บริหารสินทรัพย์ทวี จำกัด 63,258,514 8.68%
4 UOB KAY HIAN (HONG KONG) LIMITED - Client Account 60,413,690 8.40%
5 BNP PARIBAS SECURITIES SERVICES LUXEMBOURG 26,804,560 3.45%

กิจกรรมเพื่อสังคม

[แก้]

มูลนิธิโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ก่อตั้งปีพ.ศ. 2533 เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตชาวไทยให้ดีขึ้น ตลอดจนกิจกรรมการกุศลเพื่อช่วยเหลือชาวไทยผู้ด้อยโอกาส อาทิ การมอบทุนการศึกษา การตรวจสุขภาพและผ่าตัดหัวใจให้เด็กผู้ยากไร้โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย[1][9]

รางวัลที่ได้รับ

[แก้]
  • พ.ศ. 2551 - รางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศ (Thailand Quality Class – TQC)
  • พ.ศ. 2551 - รางวัลยอดเยี่ยม ประเภทสถานพยาบาลที่ส่งเสริมสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ จากการประกาศรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย ครั้งที่ 7
  • พ.ศ. 2551 - รางวัลบริษัทที่มีนวัตกรรมยอดเยี่ยมแห่งประเทศไทย จากกลุ่มธุรกิจบริการ
  • พ.ศ. 2551 - รางวัลชนะเลิศ ประเภท "Best Website for Internaional Medical Travel" จากงานประกาศผลรางวัล Consumer Health World Awards
  • พ.ศ. 2552 - ได้รับรางวัล “สถานประกอบกิจการดีเด่นด้านแรงงานสัมพันธ์และสวัสดิการแรงงาน” ประเภทสถานประกอบกิจการขนาดใหญ่ที่ไม่มีสหภาพแรงงาน (Thailand Best Employer) จากกระทรวงแรงงาน (และรับรางวัลอีกครั้งในปี พ.ศ. 2553)
  • พ.ศ. 2553 - ได้รับรางวัลผู้ส่งออกสินค้าและบริการดีเด่น (Prime Minister’s Export Award) ประเภท Best Service Provider 2010
  • รับรางวัลสถานพยาบาลดีเด่นด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Medical Tourism) อีกครั้งจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้รับเลือกจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมกับหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจให้เป็น 1 ใน 10 องค์กรที่มีนวัตกรรมยอดเยี่ยมแห่งประเทศไทยเป็นครั้งที่ 3[ต้องการอ้างอิง]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 ข้อมูลโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
  2. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดน, เล่ม ๑๓๙ ตอน ๓๔ ข หน้า ๓, ๒๖ สิงหาคม ๒๕๖๕" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-03-31. สืบค้นเมื่อ 2023-03-31.
  3. โปรดเกล้าฯ พระราชทานยศ 'กองอาสารักษาดินแดน' จํานวน 2,202 ราย นายชัย โสภณพนิช รายชื่อที่ 321
  4. http://investor-th.bumrungrad.com/directors.html
  5. [http://www.set.or.th/set/companyhighlight.do?symbol=BH&language=th&country=TH BH : บริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน) ] (เรียกข้อมูล 14 สิงหาคม 2553)
  6. [http://www.set.or.th/set/companyhighlight.do?symbol=BH&language=th&country=TH BH : บริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน)] (เรียกข้อมูล 14 สิงหาคม 2553)
  7. "ผู้บริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหารโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-03-31. สืบค้นเมื่อ 2023-03-31.
  8. http://www.settrade.com/C04_05_stock_majorshareholder_p1.jsp?txtSymbol=BEC&selectPage=5
  9. "มูลนิธิโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-08-20. สืบค้นเมื่อ 2010-07-25.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]