โดเนพีซิล
ข้อมูลทางคลินิก | |
---|---|
ชื่อทางการค้า | อะริเซ็ปต์เป็นต้น |
AHFS/Drugs.com | โมโนกราฟ |
MedlinePlus | a697032 |
ระดับความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์ | |
ช่องทางการรับยา | ทางปาก (ยาเม็ด) |
รหัส ATC | |
กฏหมาย | |
สถานะตามกฏหมาย | |
ข้อมูลเภสัชจลนศาสตร์ | |
ชีวประสิทธิผล | 100% |
การจับกับโปรตีน | 96% |
ครึ่งชีวิตทางชีวภาพ | 70 ชม.[1] |
การขับออก | 0.11-0.13 (L/h/kg) |
ตัวบ่งชี้ | |
| |
เลขทะเบียน CAS | |
PubChem CID | |
IUPHAR/BPS | |
DrugBank | |
ChemSpider | |
UNII | |
KEGG | |
ChEBI | |
ChEMBL | |
PDB ligand | |
ECHA InfoCard | 100.125.198 |
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี | |
สูตร | C24H29NO3 |
มวลต่อโมล | 379.500 g·mol−1 |
แบบจำลอง 3D (JSmol) | |
ไครัลลิตี | ของผสมแรซีมิก |
| |
| |
(verify) | |
ยา โดเนพีซิล (อังกฤษ: Donepezil) มีชื่อการค้าเป็นต้นว่า อะริเซ็ปต์ (อังกฤษ: Aricept) เป็นยารักษาโรคอัลไซเมอร์[2] โดยดูจะมีประโยชน์เล็กน้อยทางจิตใจและการดำเนินชีวิต[3] แต่ไม่มีหลักฐานว่าเปลี่ยนการดำเนินของโรค[4] ควรเลิกใช้ถ้าไม่ปรากฏประโยชน์[5] เป็นยากินทางปาก[2]
ผลข้างเคียงสามัญรวมความคลื่นไส้ นอนไม่หลับ ความก้าวร้าว ท้องร่วง เหนื่อย และตะคริว[2][5] ผลข้างเคียงรุนแรงอาจรวมหัวใจเต้นผิดจังหวะ ปัญหาถ่ายปัสสาวะ และการชัก[2] ยามีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์อะซีทิลโคลิเนสเทเรสแบบผันกลับได้ (reversible acetylcholinesterase inhibitor)[2]
ยาได้รับอนุมัติให้ใช้ทางการแพทย์ในสหรัฐปี 1996[2] ปัจจุบันมีขายเป็นยาสามัญ[5] ในสหราชอาณาจักร กระทรวงสาธารณสุขอังกฤษเสียค่าใช้จ่ายประมาณ 0.52 ปอนด์สเตอร์ลิง (ประมาณ 21 บาท) สำหรับยากินเดือนหนึ่ง[5] ส่วนราคาขายส่งของยาประมาณเดียวกันในสหรัฐอยู่ที่ 1.38 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 44 บาท)[6] ในปี 2019 เป็นยาที่แพทย์จ่ายมากที่สุดเป็นอันดับ 98 ในสหรัฐ[7]
การแพทย์
[แก้]โรคอัลไซเมอร์
[แก้]ไม่มีหลักฐานว่าโดเนพีซิลหรือยาที่คล้ายกันอื่น ๆ สามารถเปลี่ยนการดำเนินของโรคอัลไซเมอร์ งานศึกษามีกลุ่มควบคุมระยะ 6-12 เดือน แสดงประโยชน์พอควรทางประชานและพฤติกรรม[8] สถาบันไนซ์ (NICE) แห่งสหราชอาณาจักรแนะนำให้เป็นยาทางเลือกเพื่อรักษาโรคอัลไซเมอร์ที่เป็นอ่อน ๆ จนถึงปานกลาง[9] แต่ควรติดตามคนไข้บ่อย ๆ แล้วเมื่อไม่ได้ประโยชน์อย่างสำคัญ ก็ควรเลิกยา[9] ในปี 2006 องค์การอาหารและยาสหรัฐอนุมัติให้ใช้ยารักษาภาวะสมองเสื่อมตั้งแต่อ่อน ปานกลาง ไปจนถึงรุนแรงสำหรับคนไข้โรคอัลไซเมอร์[10]
ผลไม่พึงประสงค์
[แก้]ในการทดลองทางคลินิก อาการไม่พึงประสงค์จากยาที่ทำให้คนไข้เลิกกินยารวมความคลื่นไส้ ท้องร่วง และอาเจียน[11][12] ผลข้างเคียงอื่น ๆ รวมการนอนไม่หลับ ตะคริว และไม่อยากอาหาร ผลข้างเคียงโดยมากพบในคนไข้ที่กินยาขนาด 23 มก. เทียบกับ 10 มก. ผลข้างเคียงจะดีขึ้นเมื่ออดทนใช้ยาต่อ[13]
ข้อควรระวัง
[แก้]ยาควรใช้อย่างระวังในคนไข้ที่มีโรคหัวใจ ปัญหาการนำไฟฟ้าของหัวใจ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหืด หัวใจเต้นผิดจังหวะรุนแรง และกลุ่มอาการซิคไซนัส[13] คนไข้แผลเปื่อยเพปติก (PUD) หรือผู้กำลังกินยายาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์ (NSAIDS) ควรระวังเพราะมีโอกาสเลือดออกในกระเพาะลำไส้สูงขึ้น[13] หัวใจเต้นช้าและการเป็นลมก็พบด้วยในคนไข้ที่มีปัญหาหัวใจ อาการเหล่านี้มีโอกาสสูงกว่าเมื่อเริ่มรักษาหรือพึ่งเพิ่มขนาดยา แม้การชักจะมีน้อย แต่คนเสี่ยงชักก็ควรระวัง[13]
ถ้ากินยาทุกวันแล้วพัก 7 วันหรือน้อยกว่านั้น เมื่อกลับกินยาใหม่ แนะนำให้กินขนาดเดิม แต่ถ้าพักเกิน 7 วัน แนะนำให้เริ่มที่ 5 มก./วัน[14][15]
กลไกการทำงาน
[แก้]ยาจะเชื่อมกับเอนไซม์โคลิเนสเทเรส (cholinesterase) โดยระงับฤทธิ์ของเอนไซม์อย่างผันกลับได้ เป็นการห้ามการแยกสลายด้วยน้ำ (hydrolysis) ของสารสื่อประสาทอะซีทิลโคลีน (acetylcholine) แล้วเพิ่มความเข้มข้นของอะซีทิลโคลีนที่ไซแนปส์ประสาทแบบโคลิเนอร์จิก (cholinergic คือมีอะซีทิลโคลีนเป็นสารสื่อประสาท)
กลไกการทำงานอย่างละเอียดของยาในคนไข้โรคอัลไซเมอร์ยังไม่ชัดเจน แน่นอนว่า โรคอัลไซเมอร์เกี่ยวกับความเสียหายอย่างสำคัญของระบบประสาทแบบโคลิเนอร์จิก ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า อาการของโรคสัมพันธ์กับความบกพร่องของระบบโคลิเนอร์จิกเช่นนี้ โดยเฉพาะในเปลือกสมองและส่วนสมองอื่น ๆ[16][17] มีข้อสังเกตว่า hippocampal formation[A] มีบทบาทสำคัญในการควบคุมการใส่ใจ ความจำ และการเรียนรู้ ประสาทโคลิเนอร์จิกในระบบประสาทกลางที่เสียหายรุนแรงพบว่า มีสหสัมพันธ์กับความรุนแรงของความพิการทางประชาน
นอกจากฤทธิ์ยับยั้งอะซีทิลโคลิเนสเทเรสแล้ว ยายังเป็นตัวทำการที่มีกำลังต่อหน่วยรับ σ1 (sigma-1 receptor โดยมี Ki = 14.6 nM) และพบว่า มีผลระงับการเสียความจำของสัตว์โดยอาศัยกลไกนี้[21]
สเตอริโอเคมิสตรี
[แก้]ยาเป็นของผสมแรซีมิก (racemic mixture หรือ racemate)[22]
Enantiomers | |
---|---|
(R)-Donepezil |
(S)-Donepezil |
ประวัติ
[แก้]ในปี 1983 บริษัทญี่ปุ่น (Eisai) ได้เริ่มงานวิจัยที่นำไปสู่การพัฒนายา ในปี 1996 บริษัทได้รับอนุมัติจากองค์การอาหารและยาสหรัฐให้ขายยาในชื่อการค้าอะริเซ็ปต์ (Aricept) ซึ่งบริษัทร่วมวางตลาดกับบริษัทไฟเซอร์[24]
ในปี 2011 นี่เป็นยารักษาโรคอัลไซเมอร์ซึ่งขายดีที่สุดในโลก[25] ยาสามัญแรกเริ่มขายในเดือนพฤศจิกายน 2010 เมื่อองค์การอาหารและยาสหรัฐอนุมัติสูตรยาของบริษัทแรนแบ็กซี่แล็บ (Ranbaxy Labs)[26] ในเดือนเมษายน 2011 องค์กรอนุมัติให้วางตลาดยาสามัญสูตรที่สองจากบริษัทว็อกฮาร์ดต (Wockhardt)[27]
งานวิจัย
[แก้]ยาได้ทดสอบกับความผิดปกติทางประชาน (cognitive disorder) อื่น ๆ รวมทั้งภาวะสมองเสื่อมเหตุลิวอี้บอดี้ (รวมที่เกิดจากโรคพาร์คินสัน)[28] และภาวะสมองเสื่อมเหตุหลอดเลือด (vascular dementia)[29] แต่ก็ไม่ได้รับอนุมัติให้ใช้รักษาโรคเหล่านี้ ยาพบว่า ช่วยปรับปรุงการหยุดหายใจเมื่อหลับ (sleep apnea) สำหรับคนไข้โรคอัลไซเมอร์[30] และยังช่วยปรับปรุงการเดินด้วย[31]
ยายังได้ศึกษาในคนไข้ที่พิการทางประชานแบบอ่อน ๆ โรคจิตเภท โรคสมาธิสั้น คนไข้หลังการผ่าตัดบายพาสหัวใจที่พิการทางประชาน[32] คนไข้พิการทางประชานที่สัมพันธ์กับโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง, CADASIL และกลุ่มอาการดาวน์ งานทดลอง 3 ปีของสถาบันสุขภาพแห่งชาติ (สหรัฐอเมริกา) กับผู้ที่พิการทางประชานแบบอ่อน ๆ พบว่า ยาดีกว่ายาหลอกเพื่อชะลอการแย่ลงของภาวะสมองเสื่อมในระยะ 18 เดือนแรกของงาน แต่ก็พบว่าไม่คงยืนเช่นนั้นเมื่อถึง 36 เดือน[33] ในงานวิเคราะห์ทุติยภูมิ กลุ่มย่อยที่มีจีโนไทป์ apolipoprotein E4 พบว่า ได้ประโยชน์จากยาอย่างคงยืนตลอดงานศึกษา[34] อย่างไรก็ดีในปัจจุบัน ยังไม่มีข้อบ่งให้ใช้ยาป้องกันภาวะสมองเสื่อม
โรคสมาธิสั้น
[แก้]การเพิ่มยานี้กับยารักษาโรคสมาธิสั้นที่มีอยู่แล้วพบว่า ได้ผลไม่สม่ำเสมอ[35] ในคนไข้กลุ่มอาการทูเร็ต (Tourette syndrome) และมีโรคสมาธิสั้น ยาอาจลดอาการกล้ามเนื้อกระตุก (tic) แม้จะไม่มีผลต่ออาการของโรคสมาธิสั้น[35]
ความผิดปกติทางพัฒนาการแบบกระจายไปทั่ว
[แก้]ยานี้พร้อมกับยาที่มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์โคลิเนสเทเรสอื่น ๆ เสนอว่า มีโอกาสช่วยแก้พฤติกรรมที่มีปัญหา ความหงุดหงิด ดำเนินกิจกรรมมากเกิน (hyperactivity) และปัญหาการสื่อสารทางสังคมซึ่งปกติพบในคนไข้ที่มีความผิดปกติทางพัฒนาการแบบกระจายไปทั่ว (ทั้ง PDD และ PDD-NOS) หรือออทิซึมสเปกตรัม[35]
เชิงอรรถ
[แก้]- ↑ hippocampal formation เป็นโครงสร้างประกอบในสมองกลีบขมับส่วนใน (medial temporal lobe) ไม่มีความเห็นพ้องว่าสมองส่วนไหนรวมอยู่ในคำที่ว่านี้ มีผู้เขียนบางท่านนิยามว่ารวม dentate gyrus, ฮิปโปแคมปัส และ subiculum[18] ส่วนผู้เขียนอื่นรวมส่วน presubiculum, parasubiculum และ entorhinal cortex[19] hippocampal formation เชื่อว่ามีบทบาทในความจำ การนำทางในปริภูมิ (spatial navigation) และการควบคุมความใส่ใจ รูปแบบและวิถีประสาทภายใน hippocampal formation คล้ายกันมากในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั้งหมด[20]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Asiri, Yousif A.; Mostafa, Gamal A.E. (2010). "Donepezil". Profiles of Drug Substances, Excipients and Related Methodology. Elsevier. pp. 117–150. doi:10.1016/s1871-5125(10)35003-5. ISBN 978-0-12-380884-4. ISSN 1871-5125.
Plasma donepezil concentrations decline with a half-life of approximately 70 h. Sex, race, and smoking history have no clinically significant influence on plasma concentrations of donepezil [46-51].
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 "Donepezil Hydrochloride Monograph for Professionals". Drugs.com (ภาษาอังกฤษ). American Society of Health-System Pharmacists. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-26. สืบค้นเมื่อ 2019-02-04.
- ↑ Birks, JS; Harvey, RJ (June 2018). "Donepezil for dementia due to Alzheimer's disease". The Cochrane Database of Systematic Reviews. 6: CD001190. doi:10.1002/14651858.CD001190.pub3. PMC 6513124. PMID 29923184.
- ↑ Swedish Council on Health Technology Assessment (June 2008). "Dementia -- Caring, Ethics, Ethnical and Economical Aspects: A Systematic Review". PMID 28876770.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 British national formulary : BNF 76 (76 ed.). Pharmaceutical Press. 2018. p. 300. ISBN 9780857113382.
- ↑ "NADAC as of 2019-01-30". Centers for Medicare and Medicaid Services (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-27. สืบค้นเมื่อ 2019-02-04.
- ↑ "The Top 300 of 2019". clincalc.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-26. สืบค้นเมื่อ 2018-12-22.
- ↑ Steele, LS; Glazier, RH (April 1999). "Is donepezil effective for treating Alzheimer's disease?". Canadian Family Physician. 45: 917–9. PMC 2328349. PMID 10216789.
- ↑ 9.0 9.1 "Donepezil, galantamine, rivastigmine and memantine for the treatment of Alzheimer's disease | Guidance and guidelines | NICE". www.nice.org.uk. 2011-03-23. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-31. สืบค้นเมื่อ 2019-02-04.
- ↑ "FDA Approves Expanded Use of Treatment for Patients With Severe Alzheimer's Disease". FDA. 2006-10-13. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-07-10.
- ↑ "www.accessdata.fda.gov" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-12-22.
- ↑ Noetzli, M; Eap, CB (April 2013). "Pharmacodynamic, pharmacokinetic and pharmacogenetic aspects of drugs used in the treatment of Alzheimer's disease". Clinical Pharmacokinetics. 52 (4): 225–41. doi:10.1007/s40262-013-0038-9. PMID 23408070.
- ↑ 13.0 13.1 13.2 13.3 Aricept (donepezil hydrochloride) package insert. Woodcliff Lake, NJ: Eisai Co., Ltd.; 2010 Nov.
- ↑
"Donepezil: MedlinePlus Drug Information". MedlinePlus. 2019-12-22. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-27. สืบค้นเมื่อ 2019-12-31.
If you forget to take a dose of donepezil, skip the missed dose and continue your regular dosing schedule. Do not take a double dose to make up for a missed one. If you do not take donepezil, for 1 week or longer, you should call your doctor before starting to take this medication again.
- ↑
"Table 4. NHS Guideline" (PDF). p. 6 of 11. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-12-31.
Re-titration following AChEI missed doses or planned treatment breaks
- ↑ Davies, P; Maloney, AJ (December 1976). "Selective loss of central cholinergic neurons in Alzheimer's disease". Lancet. 2 (8000): 1403. doi:10.1016/s0140-6736(76)91936-x. PMID 63862.
- ↑ Kása, P; Rakonczay, Z; Gulya, K (August 1997). "The cholinergic system in Alzheimer's disease". Progress in Neurobiology. 52 (6): 511–35. doi:10.1016/s0301-0082(97)00028-2. PMID 9316159.
- ↑ Martin, JH (2003). Lymbic system and cerebral circuits for emotions, learning, and memory. Neuroanatomy: text and atlas (3rd ed.). McGraw-Hill. p. 382. ISBN 0-07-121237-X.
{{cite book}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Amaral, D; Lavenex, P (2007). Anderson, P; Morris, R; Amaral, D; Bliss, T; I'Keefe (บ.ก.). Hippocampal neuroanatomy. The hippocampus book (1st ed.). New York: Oxford University Press. p. 37. ISBN 9780195100273.
{{cite book}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Anderson, P; Morris, R; Amaral, D; Bliss, T; O'Keefe, J (2007). Anderson, P; Morris, R; Amaral, D; Bliss, T; I'Keefe (บ.ก.). The hippocampal formation. The hippocampus book (1st ed.). New York: Oxford University Press. p. 3. ISBN 9780195100273.
{{cite book}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Maurice, T; Su, TP (November 2009). "The pharmacology of sigma-1 receptors". Pharmacology & Therapeutics. 124 (2): 195–206. doi:10.1016/j.pharmthera.2009.07.001. PMC 2785038. PMID 19619582.
- ↑ Rote Liste Service GmbH (Hrsg.): Rote Liste 2017 - Arzneimittelverzeichnis für Deutschland (einschließlich EU-Zulassungen und bestimmter Medizinprodukte). Rote Liste Service GmbH, Frankfurt/Main, 2017, Aufl. 57, ISBN 978-3-946057-10-9, S. 178.
- ↑ Proteopedia 1eve
- ↑ MC, Rodrigues Simões; FP, Dias Viegas; Moreira, MS; de Freitas Silva, M; Riquiel, MM; da Rosa, PM; และคณะ (January 2014). "Donepezil: an important prototype to the design of new drug candidates for Alzheimer's disease". Mini Reviews in Medicinal Chemistry. 14 (1): 2–19. doi:10.2174/1389557513666131119201353. PMID 24251806.
- ↑ Matsuyama, Kanoko (2011-04-25). "Eisai Aricept Patch for Alzheimer's Isn't Ready for Approval". Bloomberg. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-05. สืบค้นเมื่อ 2011-04-25.
- ↑ "Ranbaxy gets FDA nod for Alzheimer's drug". The Indian Express. New Delhi, India: Indian Express Group. 2010-11-30. IndianExpress.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-01-02. สืบค้นเมื่อ 2011-04-25.
- ↑ "Wockhardt Obtains US FDA Nod For Generic Version Of Aricept Tablets". RTTNews. 2011-04-25. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-01-02. สืบค้นเมื่อ 2011-04-25.
- ↑ Rojas-Fernandez, CH (February 2001). "Successful use of donepezil for the treatment of dementia with Lewy bodies". The Annals of Pharmacotherapy. 35 (2): 202–5. doi:10.1345/aph.10192. PMID 11215841.
- ↑ Malouf, R; Birks, J (2004). Malouf, Reem (บ.ก.). "Donepezil for vascular cognitive impairment". The Cochrane Database of Systematic Reviews (1): CD004395. doi:10.1002/14651858.CD004395.pub2. PMID 14974068.
- ↑ Moraes, W; Poyares, D; Sukys-Claudino, L; Guilleminault, C; Tufik, S (March 2008). "Donepezil improves obstructive sleep apnea in Alzheimer disease: a double-blind, placebo-controlled study". Chest. 133 (3): 677–83. doi:10.1378/chest.07-1446. PMID 18198262. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-04-14.
- ↑ Montero-Odasso, M; Muir-Hunter, SW; Oteng-Amoako, A; Gopaul, K; Islam, A; Borrie, M; และคณะ (2015-01-01). "Donepezil improves gait performance in older adults with mild Alzheimer's disease: a phase II clinical trial". Journal of Alzheimer's Disease. 43 (1): 193–9. doi:10.3233/JAD-140759. PMID 25079803.
- ↑ Doraiswamy, PM; Babyak, MA; Hennig, T; Trivedi, R; White, WD; Mathew, JP; และคณะ (2007). "Donepezil for cognitive decline following coronary artery bypass surgery: a pilot randomized controlled trial". Psychopharmacology Bulletin. 40 (2): 54–62. PMID 17514186.
- ↑ Jelic, V; Kivipelto, M; Winblad, B (April 2006). "Clinical trials in mild cognitive impairment: lessons for the future". Journal of Neurology, Neurosurgery, and Psychiatry. 77 (4): 429–38. doi:10.1136/jnnp.2005.072926. PMC 2077499. PMID 16306154.
- ↑ Petersen, RC; Thomas, RG; Grundman, M; Bennett, D; Doody, R; Ferris, S; และคณะ (June 2005). "Vitamin E and donepezil for the treatment of mild cognitive impairment". The New England Journal of Medicine. 352 (23): 2379–88. doi:10.1056/nejmoa050151. PMID 15829527.
- ↑ 35.0 35.1 35.2 Elbe, Dean (2019). Clinical handbook of psychotropic drugs for children and adolescents. Boston, MA: Hogrefe. p. 366-369. ISBN 978-1-61676-550-7. OCLC 1063705924.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Brenner, George D.; George M. Brenner (2000). Pharmacology. Philadelphia: W. B. Saunders. ISBN 978-0-7216-7757-6.
- Louise Welbanks (2000). Compendium of Pharmaceuticals and Specialities, 2000 (25th ed.). Canadian Pharmaceutical Assn. ISBN 978-0-919115-76-7.
- Aricept entry at Drugs.com
- 3D Molecular structure of Donepezil
- Acetylcholinesterase: A gorge-ous enzyme Article describing structure of target enzyme acetylcholinesterase at PDBe