เรือหลวงวอร์สไปท์ (03)
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
เรือหลวงวอร์สไปท์ ขณะแล่นอยู่ในมหาสมุทรอินเดียเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม ค.ศ.1942
| |
ประวัติ | |
---|---|
สหราชอาณาจักร | |
ชื่อ | วอร์สไปท์ |
Ordered | ค.ศ. 1912 |
ปล่อยเรือ | 31 ตุลาคม ค.ศ. 1912 |
เดินเรือแรก | 26 พฤศจิกายน ค.ศ. 1913 |
เข้าประจำการ | 8 มีนาคม ค.ศ. 1915 |
ปลดระวาง | 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1945 |
Stricken | ค.ศ. 1947 |
รหัสระบุ | Pennant number: 03 |
คำขวัญ | "I Despise the Hard Knocks of War" |
ชื่อเล่น | Grand Old Lady |
เกียรติยศ | |
ความเป็นไป | ถูกแยกชิ้นส่วน, 1950–57 |
ลักษณะเฉพาะ | |
ชั้น: | เรือประจัญบานชั้นควีนเอลิซาเบธ |
ขนาด (ระวางขับน้ำ): |
|
ความยาว: | 196.2 เมตร |
ความกว้าง: | 27.6 เมตร |
กินน้ำลึก: | 10.1 เมตร |
ระบบขับเคลื่อน: |
|
ความเร็ว: | 24 นอต (44 กิโลเมตรต่อชั่วโมง; 28 ไมล์ต่อชั่วโมง) |
พิสัยเชื้อเพลิง: | 5,000 nmi (9,260 km; 5,750 mi) at 12 นอต (22 กิโลเมตรต่อชั่วโมง; 14 ไมล์ต่อชั่วโมง) |
อัตราเต็มที่: |
|
ยุทโธปกรณ์: |
|
เกราะ: |
|
อากาศยาน: | 4 × amphibious aircraft |
อุปกรณ์สนับสนุนการบิน: | 1 × aircraft catapult |
เรือหลวงวอร์สไปท์ (HMS Warspite 03) เป็นหนึ่งในห้าของเรือประจัญบานชั้นชั้นควีนอลิซาเบธแห่งราชนาวี เธอได้เข้าร่วมรบในสงครามตั้งแต่เริ่มสงครามโลกครั้งที่ 1 จนจบสงครามโลกครั้งที่ 2 ตลอดช่วงเวลา 30 ปี เธอได้ออกปฏิบัติการทางทะเลมาแล้วนับไม่ถ้วนไม่ว่าจะเป็นใน มหาสมุทรแอตแลนติก, มหาสมุทรอินเดีย, มหาสมุทรอาร์กติกและมหาสมุทรแปซิฟิก เธอล้วนเคยไปมาแล้ว
ในตอนสงครามโลกครั้งที่ 1การปะทะหลักๆที่เหมือนเป็นการเปิดตัววอร์สไปท์ คือ ยุทธนาวีจัตแลนด์ อันดุเดือดระหว่างอังกฤษกับเยอรมนี เธอเป็นหนึ่งในเรือในกองเรือหลวง (Grand Fleet) ของพลเรือเอกเซอร์จอห์น เจลลิโค (John Jellicoe) สังกัดภายใต้กองเรือลาดตระเวนประจันบาญที่บัญชาการโดยพลเรือโทเดวิด เบตตี้ (David Beatty)
และต่อมาระหว่างช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 วอร์สไปท์ได้รับการปรับปรุงเรือใหม่โดยที่ได้รับการพัฒนามากมาย ทั้งระบบขับเคลื่อน เกราะ และยุทโธปกรณ์ รวมถึงเครนขนเครื่องบินน้ำอีกด้วย ทำให้เป็นเรือที่ทันสมัยมากขึ้น
เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองปะทุขึ้น เธอได้เข้าร่วมการทัพนอร์เวเจียน (Norwegian Campaign) ช่วงต้นปีค.ศ. 1940 ก่อนที่เธอจะถูกย้ายไปประจำการในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนช่วงกลางปีเดียวกัน เธอได้รับความเสียหายจากการโจมตีทางอากาศของเยอรมันในยุทธการที่เกาะครีต ใช้เวลาซ่อมบำรุงถึงหกเดือนในสหรัฐอเมริกา หลังจากนั้นจึงเข้าร่วมกองเรือภาคตะวันออก ในช่วงกลางปีค.ศ.1943 เธอได้กลับสู่เมดิเตอร์เรเนียนโดยเป็นส่วนหนึ่งของกองเรือเฉพาะกิจ H (Force H)[1]เพื่อช่วยยิงสนับสนุนในการทัพอิตาลี อีกครั้งที่เธอได้รับความเสียหายจากระเบิด ใช้เวลาซ่อมบำรุงเป็นปี ในการยกพล ณ นอร์มังดี เธอได้มีส่วนร่วมโดยการระดมยิงฐานที่มั่นของเยอรมันทั้งๆที่เธอนั้นยังซ่อมบำรุงไม่เต็มที่ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เธอได้รับเหรียญอิศริยาภรณ์ แบทเทิล ออเนอร์ (Battle Honor)
คำขวัญของเรือ
[แก้]เป็นวลีภาษาละติน “Belli dura Despicio” มีความหมายว่า
“ตัวข้านั้นเกลียดชัง ความยากแค้นของสงคราม”
ชื่อเรือ Warspite เองก็มาจากการสนธิคำว่า War ที่แปลว่าสงคราม กับคำว่า Spite ที่แปลว่า อาฆาต ชื่อเรือจึงมีความหมายใกล้เคียงกับคำขวัญ ซึ่งบ่งบอกถึงความเกลียดชังที่มีต่อความยากแค้นในสงคราม
ยุทธนาวีที่ได้รับรางวัลและเกียรติยศ
[แก้]สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
- จัตแลนด์ 1916
สงครามโลกครั้งที่สอง
- เมดิเตอร์เรเนียน 1940-41-43
- ขบวนคอนวอยมอลต้า 1941
- แหลมมาตาปัน 1941
- ครีต 1941
- ซิซิลี 1943
- ซาเลอร์โน่ 1943
- ช่องแคบอังกฤษ 1944
- นอร์มังดี 1944
- บิสเคย์ 1944
- วัลเชรน 1944
โน้ต
[แก้]- 1.^ Force ในที่นี้เทียบเท่ากับ Task Force ซึ่งหมายถึง กองเรือเฉพาะกิจ
อ้างอิง
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เรือประจัญบานชั้นควีนเอลิซาเบธ
- เรือประจัญบาน
- เรือประจัญบานในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
- เรือประจัญบานในสงครามโลกครั้งที่สอง
- เรือรบสหราชอาณาจักรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
- เรือรบสหราชอาณาจักรในสงครามโลกครั้งที่สอง
- เรือประจัญบานของกองทัพเรือสหราชอาณาจักร
- เรือในสังกัดกองทัพเรือสหราชอาณาจักร
- เรือที่ต่อในอังกฤษ
- ยุทธนาวีที่จัตแลนด์
- อุบัติเหตุทางทะเลใน พ.ศ. 2490