Nothing Special   »   [go: up one dir, main page]

ข้ามไปเนื้อหา

เทศกาลไหว้พระจันทร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เทศกาลไหว้พระจันทร์
เทศกาลในปักกิ่ง
ชื่ออื่นเทศกาลกลางฤดูใบไม้ร่วง, เทศกาลขนมไหว้พระจันทร์
จัดขึ้นโดยจีนแผ่นดินใหญ่ ฮ่องกง มาเก๊า และไต้หวัน (วันหยุดที่คล้ายกันมีการเฉลิมฉลองในญี่ปุ่น เกาหลี และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้)
ประเภทวัฒนธรรม ศาสนา
ความสำคัญเฉลิมฉลองการสิ้นสุดของการเก็บเกี่ยวในฤดูใบไม้ร่วง
การเฉลิมฉลองการจุดโคม, การทำและมอบขนมไหว้พระจันทร์, การหาคู่, ดอกไม้ไฟ, การรวมตัวของครอบครัว, ระบำมังกร, มื้ออาหารครอบครัว, การเยี่ยมเพื่อนและญาติ,. การมอบของขวัญ
การถือปฏิบัติการกินขนมไหว้พระจันทร์
การดื่มสุราหอมหมื่นลี้ (桂花)
วันที่ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ตามปฏิทินจันทรคติ
วันที่ในปี 202329 กันยายน[1]
วันที่ในปี 202417 กันยายน[1]
วันที่ในปี 20256 ตุลาคม[1]
ความถี่ทุกปี
ส่วนเกี่ยวข้องชูซ็อก (เกาหลี), ทสึคิมิ (ญี่ปุ่น), เต๊ดจุงทู (เวียดนาม), วันอุโบสถของเดือนอาศฺวิน หรือเดือนการฺติก (กัมพูชา ลาว พม่า ศรีลังกา และไทย)
เทศกาลไหว้พระจันทร์
"เทศกาลไหว้พระจันทร์" อักษรจีนตัวเต็ม (บน) และตัวย่อ (ล่าง)
ชื่อภาษาจีน
อักษรจีนตัวเต็ม中秋節
อักษรจีนตัวย่อ中秋节
ความหมายตามตัวอักษร"เทศกาลกลางฤดูใบไม้ร่วง"
ชื่อภาษาหมิ่น
อักษรจีนตัวเต็ม八月節
ความหมายตามตัวอักษร"เทศกาลเดือนแปด"
ชื่อภาษาเวียดนาม
ภาษาเวียดนามTết Trung thu, Tết thiếu nhi, Tết trông Trăng, Tết hoa đăng
ชื่อมลายู
มลายูPerayaan Kuih Bulan, Perayaan Pertengahan Musim Luruh
ชื่ออินโดนีเซีย
อินโดนีเซียFestival Pertengahan Musim Gugur, Festival Kue Bulan

เทศกาลไหว้พระจันทร์ หรือ เทศกาลกลางฤดูใบไม้ร่วง (อังกฤษ: Moon Festival, Mid-Autumn Festival; จีนตัวย่อ: 中秋节; จีนตัวเต็ม: 中秋節; พินอิน: zhōngqiū jié; เวียดนาม: Tết Trung Thu) เป็นเทศกาลตามวัฒนธรรมจีนที่มีขึ้นในกลางฤดูใบไม้ร่วง เพื่อเฉลิมฉลองการเก็บเกี่ยว จะมีขึ้นในคืนวันเพ็ญเดือน 8 ตามปฏิทินจันทรคติ (กันยายนตามปฏิทินสากล)

ในเทศกาลนี้ ชาวจีนจะเฉลิมฉลองด้วยการไหว้ดวงจันทร์ในเวลากลางคืน ในบางประเทศ เช่น สิงคโปร์ หรือเวียดนาม[2] จะจัดเป็นประเพณีใหญ่ มีการเฉลิมฉลองด้วยโคมไฟสีแดง[3] เป็นสีสันยามค่ำคืน หรือบางแห่งอาจมีการเชิดมังกร[4] ทั้งนี้จะมีชื่อเรียกต่างกันออกไปตามแต่ท้องถิ่น ส่วนในประเทศไทย พื้นที่ที่มีการจัดเทศกาลนี้อย่างยิ่งใหญ่ และปฏิบัติตามประเพณีดั้งเดิม นั่นก็คือ อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง ในตำบลทุ่งยาว และถือได้ว่าเป็นชุมชนเพียงแห่งเดียวของประเทศไทยในขณะนี้ ที่ยังคงยึดถือธรรมเนียมดังกล่าวนี้อย่างต่อเนื่อง[5]

นอกจากนี้แล้ว ยังมีขนมชนิดหนึ่ง เรียกว่า "ขนมไหว้พระจันทร์" (月饼) ที่มีสันฐานกลมคล้ายขนมเค้ก ทำจากแป้ง มีไส้ต่าง ๆ เป็นธัญพืช ใช้เซ่นไหว้และรับประทานกันจนเป็นเอกลักษณ์สำหรับเทศกาลนี้

พิธีไหว้พระจันทร์

[แก้]

การไหว้พระจันทร์เป็นหนึ่งในพระราชพิธีประจำปีสำคัญ ตามคติศาสนาขงจื๊อ ลัทธิเต๋าและศาสนาพื้นบ้านจีน สำหรับจักรพรรดิเป็นตัวแทนของราษฎรทรงต้องเสร็จประกอบพิธีบวงสรวงเป็นประจำทุกปีควบคู่กับการบวงสรวงฟ้า (ทีกง) ดิน (พระแม่ธรณี) พระอาทิตย์ และเทพเจ้าแห่งการเกษตรทุกปีเพื่อความอุดมสมบูรณ์ของแผ่นดิน โดยเป็นพระราชพิธีสำคัญที่จะต้องประกอบพระราชพิธีทุกปี ในสมัยรัชกาลหมิงซื่อจงแห่งราชวงศ์หมิง ทรงมีพระราชศรัทธาพิเศษอย่างยิ่งยวดในลัทธิเต๋า โดยโปรดให้สร้างเย่วถาน (จีน: 月坛) ขึ้นทางทิศตะวันตก ณ ตรงประตู ฟู่เฉิงเหมิน (จีน: 阜成门) เพื่อใช้ในการพระราชพิธีพิธีไหว้พระจันทร์โดยเฉพาะ คู่กับวิหารแห่งพระอาทิตย์ (จีน: 日坛) ขึ้นทางทิศตะวันออกของปักกิ่ง และวิหารแห่งโลก (จีน: 地坛) ทางทิศเหนือ และโปรดให้ทำการต่อเติมหอสักการะแผ่นดินและฟ้า (เทียนตี้ถัน) และให้เปลี่ยนชื่อเป็น "หอสักการะฟ้า" (เทียนถัน)[6] โดยเย่วถาน (จีน: 月坛) แห่งนี้ได้ใช้ในพระราชพิธีไหว้พระจันทร์ตลอดมาในสมัยราชวงศ์ชิงจนระบบราชสำนักจีนโบราณสิ้นสุด[7][8]ในปัจจุบันเย่วถาน (จีน: 月坛) ได้กลายเป็นสวนสาธารณะประจำนครปักกิ่งแล้วแต่โดยรวมยังคงสภาพความเป็นโบราณสถานไว้อยู่

ในพระราชพิธีไหว้พระจันทร์จักรพรรดิจะทรงฉลองพระองค์สีขาวนวล ทรงพระประคำรอบพระศอ เข็มขัดรัดพระองค์เป็นหยกขาว โดยการบูชาพระจันทร์นั้นจะเสด็จพระราชดำเนินไปยามค่ำ ประมาณหกโมงเย็น ถึงหนึ่งทุ่ม โดยเน้นสิ่งสำคัญที่สุดในพิธีคือขนมไหว้พระจันทร์จำนวนมากและหลังจากเสร็จพระราชพิธีบวงสรวงแล้วจะทรงพระราชทานขนมไหว้พระจันทร์แด่พระมเหสีและพระบรมวงศ์ทั้งปวง จนนางข้าหลวงและขันทีชั้นล่างและเฉลิมฉลองอย่างเป็นพิเศษ และในพระพุทธศาสนาแบบจีนนับถือเป็นพระจันทรประภาโพธิสัตว์ (จีน: 月光菩薩; พินอิน: Yuèguāng púsà; ญี่ปุ่น: Gekkō bosatsu) เป็นพระโพธิสัตว์เป็นสาวกของพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้า คู่กับพระสุริยประภาโพธิสัตว์ (จีน: 日光菩薩; พินอิน: Rìguāng púsà; ญี่ปุ่น: Nikkō bosatsu) และเป็นหนึ่งในยี่สิบสี่เทพธรรมบาลจีนของพระพุทธศาสนาแบบจีน[9]

โดยทั่วไป

[แก้]

ที่มาของเทศกาลแบ่งเป็นสองส่วนคือ ในส่วนของราชสำนักและส่วนของชาวบ้านนี้ ในส่วนของราชสำนักถือเป็นพระราชพิธีหลวงที่จักรพรรดิจีนโบราณ จะทรงประกอบพระราชพิธีบวงสรวงสักการะบูชาพระจันทรเทวี (เทพธิดารักษาพระจันทร์) ซึ่งต้องกระทำเป็นทางราชการประจำปี ณ ที่บูชาด้านทิศตะวันตกของกรุงปักกิ่งคือ เย่วถาน (จีน: 月坛) ประมาณวันที่ยี่สิบสองหรือยี่สิบสิบสามกันยายนตามปฏิทินจีน โดยถือเป็นพระราชพิธีหลักของราชสำนักจีนโบราณรวมกับพิธีบูชาฟ้า (ทีกง) ดิน (พระแม่ธรณี) พระอาทิตย์ และเทพเจ้าแห่งการเกษตร โดยพิธีดังกล่าวมีมานานก่อนสมัยของขงจื๊อ แต่ขงจื๊อเล็งเห็นคุณประโยชน์ต่อจิตใจ จึงรวบรวมประเพณีพิธีกรรมเหล่านี้ไว้ในตำราของท่าน กลายเป็นส่วนหนึ่งของศาสนาขงจื๊อไปด้วย โดยถึงแม้จะระบบราชสำนักจีนโบราณจะสิ้นสุดแล้ว แต่ธรรมเนียมประเพณีการไหว้พระจันทร์แบบราชสำนักยังคงต่อมาและรักษาด้วยลัทธิเต๋าและศาสนาพื้นบ้านจีนในปัจจุบัน [10] [11]และเป็นพื้นฐานของหยินหยางในโหราศาสตร์จีนและดวงจีน[12] ในส่วนของชาวบ้านเกี่ยวกับเทพปกรณัมจีนที่เล่าถึง เทพธิดาแห่งดวงจันทร์ นามว่า "ฉางเอ๋อ" (嫦娥) ซึ่งเป็นหญิงคนรักของโฮวอี้ นักยิงธนูแห่งสวรรค์ ที่ใช้ธนูยิงดวงอาทิตย์ตกลงไปถึง 9 ดวงจากทั้งหมด 10 ดวง ซึ่งเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนบัญชาสวรรค์ จึงโดนลงทัณฑ์ให้ไปใช้ชีวิตธรรมดาเช่นมนุษย์ทั่วไปบนโลกมนุษย์กับฉางเอ๋อ แต่แล้วโฮวอี้ก็ถูกคนสนิททรยศฆ่าตาย ส่วนฉางเอ๋อนางได้ดื่มน้ำอมฤตเพื่อที่จะมีชีวิตอมตะ แล้วเหาะกลับไปยังดวงจันทร์อีกครั้งตามลำพังด้วยความเศร้าสร้อย ในยุคของฮั่นเหวินตี้ (漢文帝) แห่งราชวงศ์ฮั่น ได้ทรงพระสุบินว่า พระองค์ลอยขึ้นไปเที่ยวชมพระราชวังบนดวงจันทร์ และได้พบกับฉางเอ๋อกำลังร่ายรำอยู่อย่างงดงาม ในสุบินนั้น พระองค์ทรงเพลิดเพลินและเกษมสำราญเป็นอย่างยิ่ง กระทั่งเมื่อตื่นพระบรรทมและโปรดให้สุบินนั้นเป็นความจริง จึงมีรับสั่งให้นางสนมแต่งตัวและร่ายรำเลียนแบบเทพธิดาฉางเอ๋อที่พระองค์ได้พบเจอมา จนแพร่หลายไปสู่ราษฎรและเป็นประเพณีมา ซึ่งในอดีต ชาวจีนโดยเฉพาะหญิงสาวจะสวดขอพรจากฉางเอ๋อเพื่อที่ขอให้มีความเยาว์วัยและงดงามตลอดไปดุจดั่งนาง[4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 https://www.timeanddate.com/holidays/china/mid-autumn-festival
  2. "เทศกาลกลางฤดูใบไม้ร่วงเวียดนาม". Diamond Shine Holiday. 9 กุมภาพันธ์ 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 เมษายน 2012. สืบค้นเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2012.
  3. "เทศกาลฉลองกลางฤดูใบไม้ร่วง". การท่องเที่ยวฮ่องกง. 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 เมษายน 2012. สืบค้นเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2012.
  4. 4.0 4.1 "เกร็ดตำนานวันไหว้พระจันทร์". ผู้จัดการออนไลน์. 12 กันยายน 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 มีนาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2012.
  5. "องค์ความรู้ทางวัฒนธรรม, ประเพณีท้องถิ่น, เทศกาลไหว้พระจันทร์". สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดตรัง. 15 ตุลาคม 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 ตุลาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2022.
  6. "นายกคาถาเขียว". ไทยรัฐ. 3 มิถุนายน 2016. สืบค้นเมื่อ 3 มิถุนายน 2016.
  7. "北京月坛". 中国文化网. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 ธันวาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 14 กรกฎาคม 2009.
  8. 月坛公园完成改造正式开放. 北京西城报. 1 ธันวาคม 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 เมษายน 2015. สืบค้นเมื่อ 14 กรกฎาคม 2009.
  9. 帛尸梨蜜多羅譯. "卷十二". 佛說灌頂經. 大正藏 (密教部). 此藥師琉璃光如來國土清淨。無五濁無愛欲無意垢。以白銀琉璃為地。宮殿樓閣悉用七寶。亦如西方無量壽國無有異也。有二菩薩一名日曜二名月淨。是二菩薩次補佛處。
  10. ฟื้น ดอกบัว (2012). ศาสนาเปรียบเทียบ. กรุงเทพฯ: ศิลปบรรณาคาร. ISBN 978-974-255-730-0.
  11. Craig 1998, p. 550.
  12. Guo Pu (26 กรกฎาคม 2009). "The Zangshu, or Book of Burial". Fengshui Gate. แปลโดย Field, Stephen L.

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Craig, Edward (1998). Routledge Encyclopedia of Philosophy. Vol. 7. Taylor & Francis. ISBN 978-0-415-07310-3.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]