Nothing Special   »   [go: up one dir, main page]

ข้ามไปเนื้อหา

ไอคอม อินคอร์ปอเรเต็ด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไอคอม อินคอร์ปอเรเต็ด
ชื่อท้องถิ่น
アイコム株式会社
ประเภทมหาชน ร่วมทุน (ญี่ปุ่น)
การซื้อขาย
TYO: 6820
ISIN[https://isin.toolforge.org/?language=en&isin=JP3101400004 JP3101400004]
อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
ก่อตั้งเมษายน พ.ศ. 2497; 70 ปีที่แล้ว (2497-04)
ผู้ก่อตั้งโทกูโซ อิโนอูเอะ
สำนักงานใหญ่,
ญี่ปุ่น
พื้นที่ให้บริการทั่วโลก
บุคลากรหลักโทกูโซ อิโนอูเอะ
(ประธานกรรมการ และ ซีอีโอ)
มาซาทากะ ฮาริมะ
(ประธานกรรมการบริหาร)
ผลิตภัณฑ์
  • อุปกรณ์สื่อสารทางวิทยุ
  • อุปกรณ์ LAN ไร้สายและโทรศัพท์ SIP
รายได้เพิ่มขึ้น 24.8 พันล้านเยน (FY 2017) (234 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) (FY 2017)
รายได้สุทธิ
เพิ่มขึ้น 626 ล้านเยน (FY 2017) (5.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) (FY 2017)
พนักงาน
1,080 (ณ วันที่ 31 มีนาคม 2561)
เว็บไซต์เว็บไซต์ทางการ
เชิงอรรถ / อ้างอิง
[1]

ไอคอม อินคอร์ปอเรเต็ด[2] (อังกฤษ: Icom Incorporated: Icom Inc. ญี่ปุ่น: アイコム株式会社โรมาจิAikomu Kabushiki-gaisha) เป็นผู้ผลิตในระดับอุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์รับส่งวิทยุ[3]ของญี่ปุ่น[4] ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2497 โดย โทกูโซ อิโนอูเอะ (Tokuzo Inoue) เดิมบริษัทใช้ชื่อว่า "อิโนอูเอะ"[5] ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ของบริษัทประกอบไปด้วยอุปกรณ์สำหรับนักวิทยุสมัครเล่น, นักบิน, การใช้งานทางทะเล, การใช้งานเคลื่อนที่ทางบกแบบมืออาชีพ และผู้ที่สนใจเครื่องสแกนวิทยุ

บริษัทมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในนครโอซากะ ประเทศญี่ปุ่น[5] และมีสำนักงานสาขาในสหรัฐ (เคิร์กแลนด์, วอชิงตัน), แคนาดา (เดลตา, บริติชโคลัมเบีย), ออสเตรเลีย (เมลเบิร์น, รัฐวิกทอเรีย), นิวซีแลนด์ (ออกแลนด์), สหราชอาณาจักร (เคนต์, ประเทศอังกฤษ), ฝรั่งเศส (ตูลูซ), เยอรมนี (แบด โซเดน), สเปน (บาร์เซโลนา), และสาธารณรัฐประชาชนจีน (ปักกิ่ง)

โพรโทคอล

[แก้]

IDAS

[แก้]

IDAS คือการนำโพรโทคอล NXDN มาพัฒนาต่อในรูปแบบของไอคอม[6] สำหรับผลิตภัณฑ์วิทยุสื่อสารสองทางแบบดิจิทัล เพื่อใช้งานทางการค้าเป็นวิทยุเคลื่อนที่ภาคพื้นดินแบบส่วนตัว (Private Land Mobile Radio: PLMR) และระบบการสื่อสารเพื่อความปลอดภัยสาธารณะระดับล่าง โพรโทคอล NXDN เป็นมาตรฐานทางเทคนิคของคอมมอนแอร์อินเตอร์เฟซ (Common Air Interface: CAI) สำหรับการสื่อสารเคลื่อนที่ มันถูกพัฒนาร่วมกันระหว่างไอคอมและเคนวูด คอร์ปอเรชัน

D-STAR

[แก้]

ระบบวิทยุแบบเปิด D-STAR ที่ได้รับการพัฒนาโดยไอคอมโดยใช้โพรโทคอลวิทยุดิจิทัลที่พัฒนาโดยสมาคมวิทยุสมัครเล่นญี่ปุ่นและได้รับเงินทุนจากกระทรวงไปรษณีย์และโทรคมนาคม[7] ระบบนี้ถูกออกแบบมาเพื่อการสื่อสารด้วยเสียงและข้อมูลชั้นสูงผ่านวิทยุสมัครเล่นโดยใช้มาตรฐานแบบเปิด

ผลิตภัณฑ์

[แก้]
สถานีวิทยุสมัครเล่นที่ประกอบด้วยวิทยุไอคอมสามเครื่อง

ไอคอม ผลิตวิทยุสื่อสารสองทางและเครื่องรับสำหรับการใช้งานทางทะเล, ย่านความถี่อากาศยาน, การใช้งานวิทยุสมัครเล่น, การใช้งานเคลื่อนที่ทางบก[8] และการใช้งานกิจการวิทยุครอบครัว / กิจการวิทยุคมนาคมเคลื่อนที่ทั่วไป วิทยุบางรุ่นที่ผลิตโดยไอคอมสามารถใช้งานร่วมกับระบบทรังก์ของโมโตโรลา และสมาร์ทรังก์

เครื่องรับส่งวิทยุมือถือรุ่น IC-V82

[แก้]

ไอคอม IC-V82 เป็นเครื่องรับส่งสัญญาณวิทยุแบบพกพาในย่านความถี่ VHF (144–146 MHz) ที่มีกำลังส่งออกอากาศสูงสุด 7 วัตต์[9] ซึ่งไอคอมได้ผลิตและจำหน่ายตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 ถึง 2557[10][11][12] หลังจากหยุดจำหน่าย บริษัทไอคอมได้ออกคำเตือนเกี่ยวกับวิทยุปลอม รวมถึงรุ่น IC-V82[13][14] ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2561 บริษัทได้ออกคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษรไปยังผู้ผลิตในประเทศจีนให้หยุดดำเนินการจากเหตุต้องสงสัยว่าทำการผลิตสินค้าไอคอมปลอม บริษัทยังระบุด้วยว่านี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่บริษัทดำเนินการในลักษณะดังกล่าว[15]

ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2565 องค์กร United Against Nuclear Iran ซึ่งเป็นองค์กรล็อบบี้นโยบายต่างประเทศของรัฐบาลในสหรัฐ ได้ระบุว่าเครื่องวิทยุ ไอคอม IC-V82 นั้นถูกใช้โดยกลุ่มฮิซบุลลอฮ์ ซึ่งสหรัฐได้ขึ้นบัญชีเป็นองค์กรก่อการร้ายต่างชาติ และได้ส่งจดหมายถึงบริษัทไอคอมเพื่อชี้แจงข้อกังวลดังกล่าว และเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางธุรกิจที่มีของบริษัทไอคอมกับ Power Group (ตัวแทนของไอคอมในประเทศเลบานอน) และ Faza Gostrar ซึ่งอ้างว่าเป็น "ตัวแทนอย่างเป็นทางการของไอคอมในประเทศอิหร่าน"[16][17]

อุปกรณ์จำนวนมากที่กลุ่มฮิซบุลลอฮ์ซื้อมาซึ่งต่อมาเกิดระเบิดขึ้นในเหตุระเบิดเครื่องวิทยุในประเทศเลบานอน พ.ศ. 2567 ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 25 ราย และบาดเจ็บอีกกว่า 708 คน ได้รับรายงานว่าเป็นเครื่องรุ่น IC-V82[17][18] ไอคอมได้ทำการสอบสวนในกรณีนี้เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2567[19][12] ในขณะที่ผู้บริหารฝ่ายขายของบริษัทในเครือในสหรัฐกล่าวว่า เครื่องวิทยุที่เกี่ยวข้องในเหตุการณ์ดูเหมือนจะเป็นของปลอม[20]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Company outline". ICOM Inc. สืบค้นเมื่อ November 21, 2018.
  2. dsi.go.th. ""DSI เข้าตรวจค้นร้านค้าจำหน่ายสินค้าละเมิดเครื่องหมายการค้าประเภทวิทยุสื่อสาร ย่านการค้าบ้านหม้อพลาซ่า มูลค่าความเสียหายกว่า 50 ล้านบาท"". dsi.go.th (ภาษาอังกฤษ).
  3. "FIS - Suppliers - Company Details". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 18, 2011.
  4. "About us".
  5. 5.0 5.1 Vigil, Sam (August 2001). ""Mr. ICOM," Tokuzo Inoue, JA3FA". CQ Amateur Radio. CQ Communications, Inc.: 22–26. ISSN 0007-893X.
  6. Progri, Ilir (January 15, 2011). Geolocation of RF Signals: Principles and Simulations. Springer Science & Business Media. p. 116. ISBN 978-1-4419-7952-0.
  7. Ford, Steve (2008). ARRL's VHF Digital Handbook. American Radio Relay League. p. 41. ISBN 978-0-87259-122-6.
  8. "Land Mobile".
  9. "Icom IC-V82". rigpix.com. สืบค้นเมื่อ 19 กันยายน 2024.
  10. Bassam, Laila; Gebeily, Maya (18 กันยายน 2024). "Hezbollah hand-held radios detonate across Lebanon in second day of explosions". Reuters. สืบค้นเมื่อ 18 กันยายน 2024.
  11. "Japan firm says it stopped making walkie-talkies used in Lebanon blasts". BBC News. 19 กันยายน 2024. สืบค้นเมื่อ 19 กันยายน 2024.
  12. 12.0 12.1 "Regarding Current Media Reports (follow-up)". Icom Japan. 19 กันยายน 2024. สืบค้นเมื่อ 19 กันยายน 2024.
  13. Madani, Doha (18 กันยายน 2024). "A wave of deadly walkie-talkie explosions sweeps Lebanon day after widespread pager attack". NBC News. สืบค้นเมื่อ 18 กันยายน 2024.
  14. "Countermeasures against Counterfeit Products". Icom Japan. สืบค้นเมื่อ 19 กันยายน 2024.
  15. "Icom Incorporated Actions Regarding Counterfeit Product Manufacturers". Icom Japan. 10 ตุลาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 19 กันยายน 2024.
  16. "Risky Business: Icom's Two-Way Radios Landing In The Hands Of Hezbollah", United Against Nuclear Iran, 11 กรกฎาคม 2022.
  17. 17.0 17.1 Christiaan Triebert and Aric Toler (18 กันยายน 2024). "The device blasts on Wednesday may have involved more explosives than Tuesday's, a Times analysis suggests", The New York Times.
  18. Chao-Fong, Léonie; Sedghi, Amy; Belam, Martin; Yerushalmy, Jonathan; Sedghi, Léonie Chao-Fong (now); Amy; Yerushalmy (earlier), Jonathan (18 กันยายน 2024). "Dozens reported injured as new wave of explosions across Lebanon targets Hezbollah walkie-talkies – Middle East live". the Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 18 กันยายน 2024.
  19. "Japan's Icom investigating radio devices carrying its logo after Lebanon blasts". Reuters. 18 กันยายน 2024. สืบค้นเมื่อ 19 กันยายน 2024.
  20. O'Brien, Matt (18 กันยายน 2024). "Walkie-talkie maker says exploded devices appear to have been knockoffs". Associated Press. สืบค้นเมื่อ 19 กันยายน 2024.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]