ไทป์ 69/79
บทบาท | รถถังหลัก |
---|---|
สัญชาติ | สาธารณรัฐประชาชนจีน |
สงคราม | สงครามอิรัก-อิหร่าน สงครามอ่าว สงครามอิรัก |
น้ำหนัก | 36.7 ตัน[1] |
ความยาว | 6.24 เมตร[1] |
ความกว้าง | 3.3 เมตร[1] |
ความสูง | 2.80 เมตร |
ลูกเรือ | 4 นาย |
เกราะ | 203 ม.ม. |
อาวุธหลัก | ปืนใหญ่รถถังขนาด 100/105 ม.ม. |
อาวุธรอง | ปืนกลรองและปืนกลขนาด 7.62 ม.ม. ปืนกลต่อต้านอากาศยาน 12.7 ม.ม. |
เครื่องยนต์ | ดีเซล ให้กำลัง 580 แรงม้า[1] |
ระบบช่วงล่าง | ทอชั่น-บาร์ |
พิสัย | 440 กิโลเมตรต่อชั่วโมง[1] |
ความเร็ว | 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง[1] |
ไทป์ 69 และไทป์ 79 เป็นรถถังหลักที่พัฒนามาจากไทป์ 59 (ซึ่งมีพื้นฐานมาจากที-54เอของโซเวียต) และเป็นรถถังหลักแบบแรกที่จีนพัฒนาเพียงลำพัง[2] การพัฒนานั้นมีทั้งเครื่องยนต์ คอมพิวเตอร์ และเลเซอร์หาระยะ ไทป์ 79 ที่ก้าวหน้ากว่าจะมีปืนใหญ่ขนาด 105 ม.ม.[1] ซึ่งต่อมาไทป์ 88 ก็ใช้เช่นเดียวกัน
ประวัติการใช้งาน
[แก้]หลังจากการแตกแยกระหว่างจีนกับโซเวียต สหภาพโซเวียตก็ถอนเจ้าหน้าที่ด้านเทคนิคออกจากอุตสาหกรรมของกองทัพจีน โรงงาน 617 ของจีนได้รับมอบหมายให้พัฒนาการออกแบบที-54เอ (ไทป์ 59) ในปีพ.ศ. 2506 ซึ่งกลายมาเป็นไทป์ 69 การพัฒนานั้นมีทั้งปืนขนาด 100 ม.ม. เครื่องยนต์ใหม่ที่ให้กำลัง 580 แรงม้า และไฟค้นหาอินฟราเรด อย่างไรก็ตามกองทัพก็ยังไม่พอใจและไม่ได้นำมันเข้าสู่การผลิต นักประเมินชาวตะวันตกบางคนมักเข้าใจผิดว่าไทป์ 69 เป็นการเลียนแบบที-55 ของโซเวียต ซึ่งจริงๆ แล้วไทป์ 69 เป็นการลอกแบบมาจากที-54เอ
ในความขัดแย้งที่ชายแดนจีน-โซเวียต กองทัพจีนนั้นสามารถยึดที-62 ของโซเวียตมาได้หนึ่งคัน มันถูกตรวจสอบและชิ้นส่วนบางชิ้นก็ถูกเลียนแบบเพื่อนำไปใช้กับไทป์ 69 ทั้งไทป์ 69 และ 79 ได้กลายมาเป็นรถถังหลักแบบแรกที่พัฒนาขึ้นเองโดยจีน [3] อย่างไรก็ตามไทป์ 69 ก็ไม่ได้เข้าประจำการจนถึงปีพ.ศ. 2525 และจากนั้นมันก็มีจำนวนที่จำกัด กองทัพจีนไม่พอใจกับการทำงานของไทป์ 69 แต่มันก็กลายมาเป็นหนึ่งในรถถังที่ดีที่สุดในการส่งออกของจีน มีรถถังมากกว่า 2 พันคันถูกขายไปทั่วโลกในทศวรรษที่ 2523
ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับตะวันตกเริ่มดีขึ้นในทศวรรษที่ 2523 และจีนก็สามารถนำเข้าเทคโนโลยีจากตะวันตกเข้ามาเพื่อพัฒนาระบบอาวุธ ไทป์ 69 ถูกพัฒนาด้วยระบบอย่างบริติช มาร์โคนี เอฟซีเอสและปืนขนาด 105 ม.ม. มันได้รับชื่อใหม่ว่าไทป์ 79
ด้วยความเรียบง่าย ทนทาน และราคาต่ำให้มันน่าสนใจในการตลาด จีนจึงขายมันได้มากมายในสงครามอิรัก-อิหร่าน (Gelbart 1996:18) มีพวกมันจำนวนมากที่ต่อมาถูกใช้โดยซัมดัม ฮุสเซนในสงครามอ่าวและสงครามอิรักเมื่อปีพ.ศ. 2546
ทั้งไทป์ 69 และ 79 มีส่วนตัวถังและป้อมปืนที่คล้ายกับไทป์ 59 ความแตกต่างเดียวคือทั้งสองแบบนั้นได้รับการพัฒนาด้วยเทคโนโลยีที่ดีกว่าซึ่งซื้อมาจากตะวันตก (Gelbart 1996:17-19) ไทป์ 59 69 และ 79 ของจีนจึงดูเหมือนกันมาก มันเป็นตระกุลรถถังที่พัฒนาเหมือนกับที-54 -55 และ -62 ของโซเวียต จนกระทั่งในปีพ.ศ. 2523 ที่จีนเริ่มทำการทดลองเพื่อสร้างรถถังรุ่นใหม่ขึ้นมา เป็นการออกแบบที่ไม่ได้แตกต่างไปจากไทป์ 59/69/79 และในปีพ.ศ. 2531 จีนจึงเริ่มสร้างรถถังยุคใหม่ของตนอย่างแท้จริง (Gelbart 1996:20-24)
ปัจจุบันมีไทป์ 69 และ 79 เพียงไม่กี่ร้อยคันในคลังแสงของกองทัพจีน ส่วนใหญ่ถูกใช้เพื่อการฝึกหรือกำลังสำรอง ไทป์ 69 และ 79 นั้นกำลังถูกแทนที่โดยไทป์ 96 และไทป์ 99 ที่ใหม่กว่า
ในอิรัก
[แก้]ในปีพ.ศ. 2543 จีนได้รายงานว่าตนได้ขายไทป์ 59 และ 69 ไปหลายร้อยคันให้กับอิรัก ในสงครามอ่าวมื่อปีพ.ศ. 2534 นักประเมินชาวตะวันตกอ้างว่าอิรักได้พัฒนาไทป์ 69 ให้มีปืนขนาด 105 ม.ม. ปินครกขนาด 160 ม.ม. และ ปืนขนาด 125 ม.ม. ทั้งหมดมีกำลังเสริมเป็นเกราะแผ่นกลาซิส [4] มันมีชื่อใหม่ว่าไทป์ 69-คิวเอ็ม ในสงครามอ่าวมีการรายงานว่าไทป์ 69 ของอิรักนั้นทำงานหนักกว่ารีพับลิกันการ์ดที่ใช้ที-72 เสียอีก อีกคำอธิบายหนึ่งคือซัดดัมได้สั่งให้กองกำลังป้องกันสาธารณรัฐของเขาคงความแข็งแกร่งเอาไว้ ในขณะที่ส่งกองทัพที่เหลือที่มีไทป์ 69 เข้าสู่แนวหน้า
จากการรายงานในการบุกอิรักเมื่อปีพ.ศ. 2546 ไทป์ 69-คิวเอ็มถูกใช้โดยกองทัพบกอิรักเพื่อป้องกันเมื่อนาซิรายาห์ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2546 พวกมันส่วนใหญ่ถูกใช้เป็นรังปืนใหญ่ พวกมันยังเป็นกุญแจสำคัญในการโจมตีซึ่งสร้างความเสียหายอย่างมากให้กับกองร้อยซ่อมบำรุงที่ 507 ของกองทัพบกและกองร้อยชาร์ลีของนาวิกโยธินสหรัฐ ก่อนที่เอเอช-1 คอบราจะเข้ามาทำลายพวกมัน ไทป์ 69 สองคันได้ทำลายพาหนะของกองร้อยที่ 507 ไปอย่างน้อยสี่คัน นอกจากนนี้ยังมีไทป์ 69 ประมาณสี่คันที่ซ่อนอยู่ในตกและกระหน่ำยิงเข้าใส่เอเอวีหลายคันของกองร้อยชาร์ลีอีกด้วย[5] ไทป์ 59 และ 69 บางคันที่ไม่สามารถทำงานได้ถูกนำมาใช้เป็นเป้าล่อหรือเครื่องกัดขวาง
รุ่นต่างๆ
[แก้]ต้นแบบ
[แก้]- ไทป์ 69 เป็นต้นแบบที่มีพื้นฐานมาจากไทป์ 59 โดยใส่เครื่องยนต์ใหม่เข้าไปซึ่งให้กำลัง 580 แรงม้า มีปืนขนาด 100 ม.ม. ไฟตรวจหาอินฟราเรด และเลเซอร์หาระยะ
- ไทป์ 69-I เป็นต้นแบบที่ใช้เทคโนโลยีของที-62 ของโซเวียต อย่าง ไฟตรวจหาอินฟราเรดแบบลูนาร์และการป้องกันอาวุธเคมีชีวภาพที่ดีขึ้น -
แบบผลิต
[แก้]- ไทป์ 69-IIเอ เป็นรุ่นแรกที่เข้าสู่การผลิตเมื่อปีพ.ศ. 2525 มันมี
- ปืนขนาด 100 ม.ม. ของไทป์ 69-II
- ระบบต่อสู้ในอนาคตที่ประกอบด้วย
- ตัวสร้างความเสถียรให้กับปืน
- เป้าเล็งของพลปืนจากไทป์ 70
- เลเซอร์หาระยะ
- คอมพิวเตอร์
- วิทยุไทป์ 889
- ขอบตีนตะขาบที่เป็นยาง
- ชึ้นเก็บของบนป้อมปืน
- เครื่องยิงลูกระเบิดควัน
ในรุ่นนี้ได้รับการส่งออกอย่างกว้างขวางและผลิตโดยบริษัทของปากีสถานภายใต้ใบอนุญาต ไทป์ 69-II ถูกเรียกว่าไทป์ 30 ในกองทัพบกไทย[6]
- ไทป์ 69-IIบี/ซี เป็นรุ่นบัญชาการที่มีอุปกรณ์สื่อสารเพิ่มเติมและแพ็คพลังงานสำรอง จุดเด่นของมันคือเสาอากาศวิทยุระยะไกลและกล่องบรรทุกสองกล่องที่ด้านหลัง บรรจุสายเคเบิลและโทรศัทพ์สนาม
- ไทป์ 69-III (ไทป์79) เป็นไทป์ 69-II ที่ได้รับการพัฒนาโดยเทคโนโลยีจากฝั่งตะวันตก มันเข้าประจำการในกองทัพบกจีนด้วยชื่อไทป์ 79 การพัฒนานั้นได้แก่
- ตีนตะขาบแบบใหม่
- ฝาครอบที่ทำการปิดอัตโนมัติเมื่อตรวจจับอาวุธเคมีชีวภาพได้
- ปืนขนาด 105 ม.ม.ของไทป์ 83-I
- ระบบมองอินฟราเรดหรือตราจหาความร้อน
- ระบบที่มาจากของบริติช มาร์โคนีได้แก่
- เลเซอร์หาระยะ
- คอมพิวเตอร์
- เป้าเล็งของพลปืน
- เครื่องยนต์ดีเซลระบายความร้อนด้วยของเหลวของไทป์ 79
รุ่นส่งของต่างประเทศ
[แก้]อิรัก
[แก้]- ไทป์ 69-คิวเอ็ม หรือที-55บีของกองทัพอิรัก เป็นไทป์ 69-II ที่มีปืนขนาด 100 ม.ม. เกราะโครงที่ส่วนหน้า และปืนครกขนาด 160 ม.ม. ในคันบัญชาการจะติดตั้งเกราะช่องว่างที่คล้ายคลึงกับอิรัก ที-55 ผลิตตั้งแต่ปีพ.ศ. 2529-2531
- ไทป์ 69-คิวเอ็ม1 เป็นไทป์ 69-II ที่พัฒนาด้วยปืนขนาด 105 ม.ม.แบบนาโต้และเลเซอร์หาระยะ ผลิตตั้งแต่ปีพ.ศ. 2527-2531
- ไทป์ 69-คิวเอ็ม2 เป็นไทป์ 69-II ที่พัฒนาด้วยปืนขนาด 125 ม.ม.แบบสนธิสัญญาวอร์ซอและเลเซอร์หาระยะ ผลิตตั้งแต่ปีพ.ศ. 2529-2534
บังกลาเทศ
[แก้]- ไทป์ 69-IIจี เป็นรุ่นพัฒนาของบังกลาเทศโดยมีการดัดแปลงดังนี้
- ปืนขนาด 120 ม.ม.ที่เทียบได้กับของนาโต้ ใช้การบรรจุกระสุนแบบกึ่งอัตโนมัติ
- ระบควบคุมการยิงแบบใหม่ เลเซอร์หาระยะ กล้องจับความร้อน ระบบเชื่อมโยงข้อมูล เครื่องเตือนเลเซอร์จับเป้า
- เครื่องยนต์ดีเซลที่ให้กำลัง 1,200 แรงม้า
- เกราะระเบิดปฏิกิริยา ระบบลดแรงถีบของปืน ชุดป้องกันอาวุธเคมีชีวภาพ
- อุปกรณ์สื่อสารและนำร่องแบบใหม่ รวมทั้งระบบจีพีเอส
การใช้งานที่ไม่ใช้ของกองทัพ
[แก้]ไทป์ 69 และ 79 ของพลเรือนถูกใช้เพื่อพัฒนารถถังดับเพลิงของจีน ปัจจุบันมีเพียง 3 คันเท่านั้นในจีน
ประเทศผู้ใช้งาน
[แก้]ปัจจุบัน
[แก้]- บังกลาเทศ: มีไทป์ 69-II มากกว่า 310 คัน ส่วนไทป์ 79 ยังไม่ทราบจำนวนที่แน่ชัด [7]
- อิหร่าน: 200 คัน
- พม่า: 60 คัน
- ไทย: 5 คัน ใช้งานโดยกองพันรถถัง กองพลนาวิกโยธิน
- ศรีลังกา: 20 คัน
- ซิมบับเว: 10 คัน
- ซูดาน: ทำการผลิตเองภายใต้ใบอนุญาต
อดีต
[แก้]- อิรัก: มีไทป์ 59 และไทป์ 69 ประมาณ 1,500 คันในปีพ.ศ. 2533 ต่อมาทั้งหมดถูกทำลายหรือแยกชิ้นส่วน
- ปากีสถาน: 250 คัน (ถูกปลดประจำการ)
- แอลเบเนีย: มีไทป์ 69-IIซีมากกว่า 150 คัน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 Gelbart, Marsh (1996). Tanks main battle and light tanks. Brassey’s UK Ltd. pp. 18–19. ISBN 185753168X.
- ↑ http://www.sinodefence.com/army/tank/type69.asp
- ↑ http://www.sinodefence.com/army/tank/type69.asp
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-11. สืบค้นเมื่อ 2009-11-01.
- ↑ http://www.jsonline.com/news/gen/mar03/128022.asp
- ↑ Jane's Armour and Artillery 1997-98 ISBN 0-7106-1542-6
- ↑ http://www.bdmilitary.com/index.php?option=com_content&view=article&id=126&Itemid=97[ลิงก์เสีย]
ดูเพิ่ม
[แก้]- ไทป์ 59/62
- ไทป์ 80/85/88
- ไทป์ 90/96
- รถถังอัล-คาห์ลิด
- ไทป์ 98/99
- ที-72
- เอ็ม-84
- เอ็ม-95 เดกแมน
- เอ็ม-84เอเอส
- พีที-91 ทวาร์ดี
- ที-80
- ที-84
- ที-90
- ที-95