Nothing Special   »   [go: up one dir, main page]

ข้ามไปเนื้อหา

อะซิติลโคเอนไซม์ เอ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อะซิติลโคเอนไซม์ เอ
เลขทะเบียน
3D model (JSmol)
ChEBI
เคมสไปเดอร์
ECHA InfoCard 100.000.719 แก้ไขสิ่งนี้ที่วิกิสนเทศ
MeSH Acetyl+Coenzyme+A
  • InChI=1S/C23H38N7O17P3S/c1-12(31)51-7-6-25-14(32)4-5-26-21(35)18(34)23(2,3)9-44-50(41,42)47-49(39,40)43-8-13-17(46-48(36,37)38)16(33)22(45-13)30-11-29-15-19(24)27-10-28-20(15)30/h10-11,13,16-18,22,33-34H,4-9H2,1-3H3,(H,25,32)(H,26,35)(H,39,40)(H,41,42)(H2,24,27,28)(H2,36,37,38)/t13-,16-,17-,18+,22-/m1/s1 checkY
    Key: ZSLZBFCDCINBPY-ZSJPKINUSA-N checkY
  • InChI=1/C23H38N7O17P3S/c1-12(31)51-7-6-25-14(32)4-5-26-21(35)18(34)23(2,3)9-44-50(41,42)47-49(39,40)43-8-13-17(46-48(36,37)38)16(33)22(45-13)30-11-29-15-19(24)27-10-28-20(15)30/h10-11,13,16-18,22,33-34H,4-9H2,1-3H3,(H,25,32)(H,26,35)(H,39,40)(H,41,42)(H2,24,27,28)(H2,36,37,38)/t13-,16-,17-,18+,22-/m1/s1
    Key: ZSLZBFCDCINBPY-ZSJPKINUBJ
  • O=C(SCCNC(=O)CCNC(=O)[C@H](O)C(C)(C)COP(=O)(O)OP(=O)(O)OC[C@H]3O[C@@H](n2cnc1c(ncnc12)N)[C@H](O)[C@@H]3OP(=O)(O)O)C
  • CC(=O)SCCNC(=O)CCNC(=O)[C@@H](C(C)(C)COP(=O)(O)OP(=O)(O)OC[C@@H]1[C@H]([C@H]([C@@H](O1)n2cnc3c2ncnc3N)O)OP(=O)(O)O)O
คุณสมบัติ
C23H38N7O17P3S
มวลโมเลกุล 809.57 g/mol
หากมิได้ระบุเป็นอื่น ข้อมูลข้างต้นนี้คือข้อมูลสาร ณ ภาวะมาตรฐานที่ 25 °C, 100 kPa

อะซิติลโคเอนไซม์ เอ หรืออะซิติลโค เอ เป็นโมเลกุลที่สำคัญในเมแทบอลิซึม ใช้ในปฏิกิริยาทางชีวเคมีหลายปฏิกิริยา หน้าที่หลักของมันคือ การถ่ายทอดอะตอมคาร์บอนในหมู่อะซิติลไปยังวัฏจักรเครปส์เพื่อให้ถูกออกซิไดซ์ (oxidize) และสร้างพลังงาน ในโครงสร้างเคมี อะซิติลโค เอ เป็นไธโอเอสเทอร์ระหว่างโคเอนไซม์ เอ (ไธออล) กับกรดอะซิติก (ตัวพาหมู่เอซิล) อะซิติลโค เอ ถูกผลิตระหว่างขั้นที่สองของการหายใจระดับเซลล์ที่ใช้ออกซิเจน การขจัดหมู่คาร์บอกซิล (decarboxylation) ของไพรูเวต ซึ่งเกิดขึ้นในเมทริกซ์ของไมโทคอนเดรีย จากนั้น อะซิติลโค เอ จะเข้าสู่วัฏจักรเครปส์ต่อไป

อะซิติลโค เอ เป็นองค์ประกอบสำคัญในการสังเคราะห์ชีวภาพของสารสื่อประสาท อะซิติลโคลีน โคลีน เมื่อรวมกับอะซิติลโค เอ จะถูกเร่งโดยเอนไซม์ โคลีนอะซิติลทรานสเฟอเรส (choline acetyltransferase) เพื่อผลิตอะซิติลโคลีนและได้โคเอนไซม์เป็นผลพลอยได้

คอนราด บลอชและเฟโอดอร์ ลือเนนได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ใน ค.ศ. 1964 สำหรับการค้นพบความเชื่อมโยงระหว่างอะซิติลโค เอ กับเมแทบอลิซึมของกรดไขมัน