Nothing Special   »   [go: up one dir, main page]

ข้ามไปเนื้อหา

อุทยานแห่งชาติตะรุเตา

พิกัด: 6°35′43″N 99°38′41″E / 6.59528°N 99.64472°E / 6.59528; 99.64472
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อุทยานแห่งชาติตะรุเตา
แผนที่
ที่ตั้งจังหวัดสตูล ประเทศไทย
เมืองใกล้สุดเทศบาลเมืองสตูล
พิกัด6°35′43″N 99°38′41″E / 6.59528°N 99.64472°E / 6.59528; 99.64472
พื้นที่931,250 ไร่ (1,490 ตร.กม.) [1]
จัดตั้ง19 เมษายน พ.ศ. 2517
ผู้เยี่ยมชม15,708 [2] (2549)
หน่วยราชการกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
อุทยานแห่งชาติตะรุเตา

อุทยานแห่งชาติตะรุเตา เป็นอุทยานแห่งชาติที่อยู่ในช่องแคบมะละกาในเขตจังหวัดสตูล อุทยานประกอบไปด้วยเกาะจำนวน 51 เกาะ มีพื้นที่ประมาณ 931,250 ไร่ หรือ 1,490 ตารางกิโลเมตร มีชื่อเสียงที่โด่งดังทางด้านธรรมชาติ สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาที่มีสภาพเป็นป่าดิบชื้นซึ่งยังมีพรรณไม และสัตว์ป่าที่น่าสนใจจำนวนไม่น้อย และมีพื้นที่ส่วนหนึ่งเป็นป่าชายเลน นอกจากนี้ยังมีอ่าวน้อยใหญ่ที่มีชายหาดสวยงามอยู่หลายแห่ง และในท้องทะเลของเกาะตะรุเตายังมีพันธุ์ปลามากมายหลายชนิดรวมทั้งเต่าทะเลที่ใกล้สูญพันธุ์ 4 ชนิด คำว่า ตะรุเตา นี้ เพี้ยนมาจากคำว่า ตะโละเตรา ในภาษามลายู แปลว่า "มีอ่าวมาก"[3]

ลักษณะภูมิประเทศ

[แก้]

อุทยานแห่งชาติตะรุเตา ประกอบด้วยเกาะใหญ่น้อย มีเกาะที่มีขนาดใหญ่ 7 เกาะด้วยกัน คือ เกาะตะรุเตา เกาะอาดัง เกาะราวี เกาะหลีเป๊ะ เกาะกลาง เกาะบาตวง และเกาะบิสสี โดยจัดแบ่งออกเป็นหมู่เกาะใหญ่ๆ ได้ 2 หมู่เกาะ คือ หมู่เกาะ ตะรุเตา และหมู่เกาะอาดัง-ราวี

  • เกาะตะรุเตา เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุด มีเนื้อที่ 152.01 ตารางกิโลเมตร หรือ 95,000 ไร่ สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขามีความลาดชันสูง ยอดเขาที่สูงที่สุด สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 708 เมตร ส่วนชายฝั่งทางด้านตะวันออกของเกาะส่วนมากจะเป็นหน้าผาสูงชันสลับกับอ่าวและหาดทรายโคลน ทางด้านตะวันตกจะมีหน้าผาแต่เฉพาะทางด้านเหนือบริเวณแหลมตันหยงมะระ (ด้านหัวเกาะ) มีที่ราบอยู่เป็นหย่อมๆ ทางเทือกเขาหลังอ่าว อ่าวที่สำคัญได้แก่ อ่าวพันเตมะละกา อ่าวสน อ่าวมะขาม อ่าวตะโละอุดัง และอ่าวตะโละวาว เป็นต้น อ่าวต่างๆ เหล่านี้มีคลองและลำธารไหล่ผ่านออกสู่ทะเล
  • เกาะอาดัง-ราวี อยู่ห่างจากเกาะตะรุเตาไปทางทิศตะวันตกประมาณ 40 กิโลเมตร เกาะอาดัง เกาะราวี เกาะบาตวง และเกาะหลีเป๊ะ เทือกเขาส่วนใหญ่เป็นหินแกรนิต และมีหิน ควอร์ตไซต์และหินดินดานประกอบอยู่ประปราย เกิดในยุค Cretacious โดยเกาะอาดังมีเนื้อที่ 29.78 ตารางกิโลเมตร สภาพพื้นที่เป็นเทือกเขาสูงครอบคลุมเนื้อที่เกือบทั้งหมดของเกาะ ยอดเขาสูงสุดมีความสูงจากระดับน้ำทะเล 703 เมตร บริเวณโดยรอบริมเกาะเป็นหน้าผาสูงชัน มีที่ราบเฉพาะบริเวณเหนือชายหาดต่างๆ เพียงเล็กน้อยเท่านั้น สำหรับเกาะราวีมีเนื้อที่ 28.44 ตารางกิโลเมตร สภาพพื้นที่เป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน มีความสูงเฉลี่ยจากระดับน้ำทะเลประมาณ 460 เมตร พื้นที่มีความลาดชันสูง มีที่ราบน้อย

ลักษณะภูมิอากาศ

[แก้]

ข้อมูลภูมิอากาศของอุทยานแห่งชาติตะรุเตาในรอบปีที่ผ่านมา (มกราคม – ธันวาคม 2544) พบว่า ฝนจะตกมากที่สุดในเดือนกันยายน 594 มิลลิเมตร รองลงมาในเดือนตุลาคม 478 มิลลิเมตร และตกน้อยที่สุดในเดือนกุมภาพันธ์ 15 มิลลิเมตร ปริมาณน้ำฝนรายปี 2,908 มิลลิเมตร อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุด 39oC อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุด 19oC โดยอุณหภูมิสูงสุดในเดือนเมษายนและต่ำสุดในเดือนมิถุนายน ในฤดูฝนเป็นช่วงที่ได้รับอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ นอกจากจะทำให้ฝนตกหนักแล้ว ท้องทะเลยังมีคลื่นลมแรง ทำให้การเดินทางไปท่องเที่ยวที่อุทยานแห่งชาติตะรุเตาในช่วงนี้ไม่ปลอดภัยสำหรับนักท่องเที่ยว จึงกำหนดปิด-เปิดฤดูการท่องเที่ยวประจำปี เฉพาะบริเวณหมู่เกาะอาดัง - ราวี ดังนี้ ปิดฤดูการท่องเที่ยว ตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม - 15 พฤศจิกายน ของทุกปี เปิดฤดูการท่องเที่ยว ตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน - 15 พฤษภาคม ของทุกปี

ทรัพยากรป่าไม้

[แก้]

สภาพป่าของอุทยานแห่งชาติตะรุเตาสามารถจำแนกออกได้เป็น 7 ประเภท ได้แก่

ทรัพยากรสัตว์ป่า

[แก้]

สัตว์ป่าที่พบในอุทยานแห่งชาติตะรุเตาสามารถจำแนกออกได้เป็น

ทรัพยากรใต้ทะเล

[แก้]

จุดท่องเที่ยวที่น่าสนใจ

[แก้]
  • อ่าวพันเตมะละกา
  • อ่าวสน
  • น้ำตกลูดู
  • อ่าวพันเตมะละกา
  • อ่าวสน
  • ถ้ำจระเข้

การเดินทาง

[แก้]

เครื่องบิน จากกรุงเทพฯเดินทางมาสนามบินหาดใหญ่ การเดินทางเดินทาง 1. สามารถเดินทางโดยรถสองแถวออกมาที่ตลาดเกษตรค่าโดยสารประมาณ 20 บาท/คน เมื่อถึงตลาดเกษตรก็เดินทางโดยรถตู้ประจำทาง สายหาดใหญ่ - ปากบารา อัตราค่าโดยสาร 100 บาท/คน 2. เดินทางโดยเหมารถแท็กซี่ อัตราค่าโดยสารประมาณ 1,500 - 1,800 บาท/ คัน การเดินทางใช้เวลาประมาณ 1 - 2 ชม.

เรือ การเดินทางโดยเรือโดยสารไปอุทยานแห่งชาติตะรุเตา คือ 1. เส้นทางท่าเรือปากบาราไปเกาะตะรุเตา (ขึ้นเกาะบริเวณท่าเรือพันเตมะละกา ซึ่งเป็นที่ตั้งที่ทำการอุทยานแห่งชาติ) หรือไปเกาะอาดัง-หลีเป๊ะ มีตารางการเดินเรือ ดังนี้

ท่าเรือปากบาราเดินทางไปเกาะตะรุเตา เรือออกจากท่าเรือปากบารา เวลา 11.30 น. และ 13.00 น. ค่าเรือ 700 บาท ไปกลับ

เกาะตะรุเตาเดินทางไปเกาะอาดัง-หลีเป๊ะ เรือออกจากเกาะตะรุเตา เวลา 11.45 น. ค่าเรือ 700 บาท ไปกลับ

เกาะอาดัง-หลีเป๊ะเดินทางไปเกาะตะรุเตา เรือออกจากเกาะอาดัง-หลีเป๊ะ เวลา 09.00 น.

เกาะตะรุเตาเดินทางไปท่าเรือปากบารา เรือออกจากเกาะตะรุเตา เวลา 10.00 น. และ 12.00 น. (ค่าเรือ จากปากบารา ถึง เกาะอาดัง 1200 บาท ไปกลับ)

รถไฟ การเดินทางโดยรถไฟ จากกรุงเทพฯ ถึงหาดใหญ่ จากนั้นต้องเดินทางต่อจากหาดใหญ่ไปท่าเทียบเรือปากบารา จังหวัดสตูล เดินทางได้โดย 1) รถโดยสารประจำทางสายหาดใหญ่-ปากบารา หรือ 2) รถแท็กซี่ สายหาดใหญ่-ละงู ลงที่อำเภอละงู จากนั้นเดินทางต่อด้วยรถสองแถวมายังท่าเทียบเรือปากบารา หรือ 3) รถตู้ปรับอากาศ สายหาดใหญ่-ปากบารา

เมื่อเดินทางถึงท่าเทียบเรือปากบารา ต้องเดินทางต่อโดยเรือ เพื่อเดินทางไปเกาะตะรุเตา ซึ่งเป็นที่ตั้งที่ทำการอุทยานแห่งชาติ อยู่บริเวณอ่าวพันเตมะละกา หรือจะเดินทางไปเกาะอาดัง ซึ่งเป็นที่ตั้งหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ อยู่บริเวณหาดแหลมสน

รถโดยสารประจำทาง มุ่งสู่ปลายทาง "ท่าเรือปากบารา" เพื่อเดินทางต่อโดยเรือมุ่งสู่อุทยานแห่งชาติตะรุเตา 1) เริ่มต้นที่กรุงเทพฯ เดินทางโดยรถโดยสารประจำทางสายกรุงเทพฯ-สตูล ลงที่อำเภอละงู เดินทางต่อด้วยรถสองแถวมายังท่าเทียบเรือปากบารา หรือ 2) เริ่มต้นที่จังหวัดตรัง เดินทางโดยรถโดยสารประจำทางสายตรัง-สตูล ลงที่อำเภอละงู เดินทางต่อด้วยรถสองแถวมายังท่าเทียบเรือปากบารา หรือ 3) เริ่มต้นที่อำเภอหาดใหญ่ เดินทางโดย รถโดยสารประจำทางสายหาดใหญ่-ปากบารา หรือ รถแท็กซี่ สายหาดใหญ่-ละงู ลงที่อำเภอละงู เดินทางต่อด้วยรถสองแถวมายังท่าเทียบเรือปากบารา หรือ รถตู้ปรับอากาศ สายหาดใหญ่-ปากบารา

อ้างอิง

[แก้]
  1. อุทยานแห่งชาติ จากธรรมชาติสู่เขตอนุรักษ์, สำนักอุทยานแห่งชาติ, กรุงเทพฯ, 2545, 48
  2. สถิติข้อมูลนักท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติ
  3. ตะรุเตา กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช, สำนักอุทยานแห่งชาติ สืบค้นวันที่ 26 มิถุนายน 2555

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  • คู่มือการท่องเที่ยว Ko Tarutao จากวิกิท่องเที่ยว (ในภาษาอังกฤษ)
  • คู่มือการท่องเที่ยว Ko Lipe จากวิกิท่องเที่ยว (ในภาษาอังกฤษ)