Nothing Special   »   [go: up one dir, main page]

ข้ามไปเนื้อหา

อิศวร จันทระ วิทยาสาคร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อิศวร จันทระ วิทยาสาคร
อิศวร จันทระ วิทยาสาคร
อิศวร จันทระ วิทยาสาคร
เกิดอิศวร จันทระ พันทปัธยัย (Ishwar Chandra Bandopadhyay)
26 กันยายน ค.ศ. 1820(1820-09-26)
พิรสิงห์, รัฐปกครองเบงกอล, บริติชอินเดีย
(ปัจจุบันคือรัฐเบงกอลตะวันตก, อินเดีย)
เสียชีวิต1891 29 กรกฎาคม ค.ศ. 1891(1891-07-29) (70 ปี)
กัลกัตตา, รัฐปกครองเบงกอล, บริติชอินเดีย
(ปัจจุบันอยู่ในโกลกาตา, รัฐเบงกอลตะวันตก, อินเดีย)
อาชีพนักการศึกษา, นักปฏิรูปสังคม และนักเขียน
ภาษาภาษาเบงกอล
สัญชาติอินเดีย
จบจากวิทยาลัยสันสกฤต (1828-1839)
แนวร่วมในทางวรรณคดียุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการเบงกอล
ผลงานที่สำคัญวิโดว์ รีแมริจ
คู่สมรสทินมยี เทวี (Dinamayee Devi)
บุตร1

อิศวร จันทระ วิทยาสาคร (อังกฤษ: Ishwar Chandra Vidyasagar CIE, 26 กันยายน 1820 – 29 กรกฎาคม 1891)[1] ชื่อเมื่อเกิด อิศวร จันทระ บันทโยปัธยัย (Ishwar Chandra Bandyopadhyay) เป็นนักการศึกษา และ นักปฏิรูปสังคม[2] เขาเป็นผู้ทุ่มเทให้กับการทำร้อยแก้วภาษาเบงกอลให้ง่ายขึ้น (simplify) และทันสมัยขึ้น (modernise) เขายังเป็นผู้สร้างเหตุผล (rationalised) และทำให้อักษรและตัวพิมพ์อักษรเบงกอลง่ายขึ้นและเป็นระบบมากชึ้น หลังจากไม่มีการปรับเลยตั้งแต่ยุคที่ชาลส์ วิลคินส์ และ ปัญจนัน กรรมกร ได้แกะตัวพิมพ์อักษรเบงกอลไว้เมื่อปี 1780 วิทยาสาครได้รับการขนานนามว่าเป็น "บิดาของร้อยแก้วภาษาเบงกอล"[3]

เขาเป็นหนึ่งในผู้รณรงค์คนสำคัญที่สุดต่อการอนุญาตให้มีการสมรสใหม่สำหรับสตรีฮินดูหม้าย รวมถึงร้องเรียนเรื่องนี้ต่อสภานิติบัญญัติท่ามกลางเสียงคัดค้านอย่างหนักจากฝั่งตรงข้ามที่ซึ่งรวบรวมรายชื่อได้มากกว่าของเขาถึงสี่เท่าโดยรัธกันตะ เทพและจากธรรมสภา[4][5] อย่างไรก็ตาม ลอร์ดดอลฮูสซีได้ช่วยเหลือเป็นการส่วนตัว จนท้ายที่สุดได้มีการออกใช้รัฐบัญญัติการสมรสใหม่สำหรับสตรีฮินดูที่เป็นหม้าย (Hindu Widows' Remarriage Act) ในปี 1856[6][7]

เขาได้รับชื่อ "วิทยาสาคร" (จากภาษาสันสกฤต วิทยา คือความรู้ และ สาคร คือท้องสมุทร รวมกันจึงแปลว่า ห้วงธารแห่งความรู้) จากวิทยาลัยสันสกฤต กัลกัตตา ที่ซึ่งเขาจบการศึกษา จากความสามารถอันโดดเด่นของเขาในสันสกฤตศึกษาและปรัชญา นักคณิตศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ อนิล กุมาร ไกน์ ต่อมาได้ก่อตั้ง มหาวิทยาลัยวิทยาสาคร เพื่อเป็นเกียรติแด่เขา[8]

สิ่งสืบเนื่อง

[แก้]

ไม่นานหลังเขาเสียชีวิต รพินทรนาถ ฐากุร ได้เขียนชื่นชมเขาว่า "ใคร ๆ ต่างสงสัยว่าเหตุใดพระเจ้าจึงได้สร้างบุรุษ [อย่างเขา] ขึ้นมาในบรรดาชาวเบงกอลกว่าสี่ล้านคน [ที่ทรงสร้างขึ้นมา]"[9][10]

ในปี 2004 เขาได้รับจัดอันดับเป็นที่ 9 ในผลสำรวจ ขาวเบงกอลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล ของบีบีซี[11]

สิ่งสืบเนื่องจากชื่อ

[แก้]
สะพานวิทยาสาครเสตุ ในกัลกัตตา ที่ซึ่งตั้งชื่อตามเขา

อ้างอิง

[แก้]
  1. "29 July 1891: Social Reformer Ishwar Chandra Vidyasagar Passes Away". www.mapsofindia.com. 29 July 2013.
  2. "Ishwar Chandra Vidyasagar: A Profile of the Philanthropic Protagonist". americanchronicle.com. สืบค้นเมื่อ 20 December 2008.
  3. "Isvar Chandra Vidyasagar". Encyclopaedia Britannica. สืบค้นเมื่อ 4 September 2018.
  4. H. R. Ghosal (1957). "The Revolution Behind the Revolt (A comparative study of the causes of the 1857 uprising)". Proceedings of the Indian History Congress. 20: 293–305. JSTOR 44304480.
  5. Pratima Asthana (1974). Women's Movement in India. Vikas Publishing House. p. 22. ISBN 978-0-7069-0333-1.
  6. Amit Kumar Gupta (2015). Nineteenth-Century Colonialism and the Great Indian Revolt. Taylor & Francis. p. 30. ISBN 978-1-317-38668-1.
  7. Belkacem Belmekki (2008). "A Wind of Change: The New British Colonial Policy in Post-Revolt India". AEDEAN: Asociación Española de Estudios Anglo-americanos. 2 (2): 111–124. JSTOR 41055330.
  8. Lal, Mohan (2006). "Ishwarchandra Vidyasagar". The Encyclopaedia of Indian Literature. Sahitya Akademi. pp. 4567–4569. ISBN 978-81-260-1221-3.
  9. "Iswar Chandra Vidyasagar". WBCHSE. West Bengal Council for Higher Secondary Education. สืบค้นเมื่อ 15 September 2018.
  10. The Life And Times of Ramakrishna Parmahamsa (1st ed.). Prabhat Prakashan. 1 August 2013. p. 53. ISBN 978-8184302301.
  11. "Listeners name 'greatest Bengali'". BBC. 14 April 2004. สืบค้นเมื่อ 16 April 2018.
    Habib, Haroon (17 April 2004). "International : Mujib, Tagore, Bose among 'greatest Bengalis of all time'". The Hindu.
    "Bangabandhu judged greatest Bangali of all time". The Daily Star. 16 April 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-25. สืบค้นเมื่อ 2020-11-30.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

แม่แบบ:Americana Poster