อนุสัญญาบาเซล
อนุสัญญาบาเซลว่าด้วยการควบคุมการเคลื่อนย้ายข้ามแดนของของเสียอันตรายและการกำจัด | |
---|---|
ประเภท | อนุสัญญาสหประชาชาติ |
วันลงนาม | 22 มีนาคม ค.ศ. 1989[1] |
ที่ลงนาม | บาเซิล, สวิตเซอร์แลนด์[1] |
วันมีผล | 5 พฤษภาคม 1992[1] |
เงื่อนไข | 90 วันหลังจากรัฐที่ลงนามแล้วอย่างน้อย 90 รัฐให้สัตยาบัน[1] |
ผู้ลงนาม | 53[1] |
ภาคี | 187[1] |
ผู้เก็บรักษา | เลขาธิการสหประชาชาติ |
ภาษา | |
ข้อความทั้งหมด | |
Basel Convention ที่ วิกิซอร์ซ | |
basel |
อนุสัญญาบาเซล (อังกฤษ: Basel Convention) ชื่อเต็ม อนุสัญญาบาเซลว่าด้วยการควบคุมการเคลื่อนย้ายข้ามแดนของของเสียอันตรายและการกำจัด (Basel Convention on the Control of Transboundary Movements of Hazardous Wastes and Their Disposal) เป็นสนธิสัญญาระหว่างประเทศซึ่งมุ่งหมายจะลดการเคลื่อนย้ายของเสียอันตราย (hazardous waste) จากรัฐหนึ่งไปสู่อีกรัฐหนึ่ง และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อป้องกันการถ่ายโอนของเสียอันตรายจากประเทศพัฒนาแล้วไปยังประเทศด้อยพัฒนา แต่อนุสัญญานี้ไม่ได้ว่าด้วยการเคลื่อนย้ายของเสียกัมมันตรังสี (radioactive waste) อนึ่ง อนุสัญญานี้ประสงค์จะลดปริมาณและความเป็นพิษของของเสียที่ก่อกำเนิดขึ้น (waste generated) กับทั้งสร้างความเชื่อมั่นว่า ของเสียจะได้รับการบริหารจัดการอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมโดยใกล้เคียงสอดคล้องกับแหล่งก่อกำเนิด (source of generation) ของของเสียนั้นให้มากที่สุด ตลอดจนใช้วิธีการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมช่วยเหลือประเทศด้อยพัฒนาในการบริหารจัดการของเสียอันตรายและของเสียอย่างอื่นที่ประเทศเหล่านั้นก่อกำเนิดขึ้นด้วย
อนุสัญญานี้เปิดให้ลงนามเมื่อวันที่ 22 มีนาคม ค.ศ. 1989 ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 5 พฤษภาคม ค.ศ. 1992 และเมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ. 2018 มีภาคีเป็นรัฐ 186 รัฐ และกลุ่มรัฐอีก 1 กลุ่ม คือ สหภาพยุโรป ส่วนเฮติและสหรัฐลงนามแล้วแต่ยังไม่ให้สัตยาบัน[1][2]
อ้างอิง
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์ทางการ
- อนุสัญญาบาเซล (ภาษาอังกฤษ พร้อมคำแปลภาษาไทย) เก็บถาวร 2021-12-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - กรมควบคุมมลพิษ