สมเสร็จมลายู
สมเสร็จมลายู | |
---|---|
สมเสร็จมลายูที่สวนสัตว์เนือร์นแบร์คที่เนือร์นแบร์ค ประเทศเยอรมนี | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอต Eukaryota |
อาณาจักร: | สัตว์ Animalia |
ไฟลัม: | สัตว์มีแกนสันหลัง Chordata |
ชั้น: | สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม Mammalia |
อันดับ: | อันดับสัตว์กีบคี่ Perissodactyla |
วงศ์: | Tapiridae Tapiridae |
สกุล: | สกุลสมเสร็จ Tapirus (Desmarest, 1819)[2] |
สปีชีส์: | Tapirus indicus |
ชื่อทวินาม | |
Tapirus indicus (Desmarest, 1819)[2] | |
ชนิดย่อย[3] | |
| |
ขอบเขตของสมเสร็จมลายู | |
ชื่อพ้อง | |
Acrocodia indica |
สมเสร็จมลายู หรือ สมเสร็จเอเชีย (อังกฤษ: Malayan tapir, Asian tapir) บ้างเรียก ผสมเสร็จ[4] เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กีบคี่ นับเป็นสมเสร็จชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเป็นชนิดเดียวที่พบในทวีปเอเชีย มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tapirus indicus
ลักษณะ
[แก้]สมเสร็จมลายูเป็นสัตว์มีหน้าตาประหลาด คือ มีลักษณะของสัตว์หลายชนิดผสมอยู่ในตัวเดียวกัน มีจมูกที่ยื่นยาวออกมาคล้ายงวงของช้าง รูปร่างหน้าตาคล้ายหมูที่มีขายาว หางสั้นคล้ายหมีและมีกีบเท้าคล้ายแรด ลักษณะเด่น คือ บริเวณส่วนหัวไหล่และขาทั้งสี่ข้างมีสีดำ ส่วนกลางลำตัวเป็นสีขาว ใบหูกลม ขนปลายหูและริมฝีปากมีสีขาว มีแผ่นหนังหนาบริเวณสันก้านคอเพื่อป้องกันการโจมตีของเสือโคร่ง ที่จะตะปบกัดบริเวณก้านคอ ลูกที่เกิดใหม่จะมีลวดลายคล้ายแตงไทยและขนยาว และลายนี้จะค่อย ๆ จางลงเมื่ออายุได้ 6-8 เดือน ตัวผู้จะมีขนาดเล็กกว่าตัวเมีย โตเต็มที่ความยาวลำตัวและหัว 220-240 เซนติเมตร ความยาวหาง 5-10 เซนติเมตร ความสูงจากพื้นดินถึงหัวไหล่ 100 เซนติเมตร มีน้ำหนัก 250-300 กิโลกรัม
แหล่งอาศัย
[แก้]มีการกระจายพันธุ์อยู่ในภาคใต้ของพม่า, ภาคใต้และภาคตะวันตกของไทย, มาเลเซีย และเกาะสุมาตรา
ถิ่นที่อยู่และแหล่งอาหาร
[แก้]อาศัยและหากินอยู่ตามลำพัง มักอาศัยในป่าที่มีความชื้นสูงและอยู่ไม่ไกลจากแหล่งน้ำ เนื่องจากชอบแช่น้ำ เมื่อหลบภัยก็จะหลบไปหนีแช่ในน้ำจนกว่าแน่ใจว่าปลอดภัยแล้วจึงขึ้นมา รวมทั้งผสมพันธุ์ในน้ำด้วย มีความสามารถว่ายน้ำได้เก่ง อาหารของสมเสร็จได้แก่ ยอดไม้อ่อน, ยอดหวาย, หน่อไม้ นอกจากนี้ยังกินดินโป่งเพื่อเพิ่มแร่ธาตุให้แก่ร่างกาย ออกหากินในเวลากลางคืน มีนิสัยชอบถ่ายมูลซ้ำในที่เดิมจนเป็นกองใหญ่ มีสายตาไม่ดีนัก แต่มีระบบประสาทดมกลิ่นและฟังเสียงที่ดีมาก มักใช้จมูกที่ยาวเหมือนงวงช้างช่วยในการดมกลิ่นหาอาหาร และใช้คอที่หนาดันตัวเองเข้าพุ่มไม้ มีการเคลื่อนไหวตัวที่เงียบมาก
ปัจจุบัน เป็นสัตว์ป่าสงวนตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535
รูปภาพ
[แก้]-
โครงกระดูก
-
สมเสร็จมลายูคู่แช่โคลน ที่สวนสัตว์ดุสิต
-
สมเสร็จมลายูในวัยอ่อนที่ยังลายตามลำตัวเหมือนแตงไทย
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Traeholt, C.; Novarino, W.; bin Saaban, S.; Shwe, N.M.; Lynam, A.; Zainuddin, Z.; Simpson, B. & bin Mohd, S. (2016). "Tapirus indicus". IUCN Red List of Threatened Species. 2016: e.T21472A45173636. สืบค้นเมื่อ 16 January 2022.
- ↑ Desmarest, A.G. (1819). "Tapir l'inde, Tapirus indicus". Nouveau dictionnaire d'histoire naturelle, appliquée aux arts, à l'agriculture, à l'économie rurale et domestique, à la médecine. Vol. 32. Paris: Deterville. p. 458. doi:10.5962/bhl.title.20211.
- ↑ Grubb, P. (2005). "Species Tapirus indicus". ใน Wilson, D.E.; Reeder, D.M (บ.ก.). Mammal Species of the World: A Taxonomic and Geographic Reference (3rd ed.). Johns Hopkins University Press. p. 633. ISBN 978-0-8018-8221-0. OCLC 62265494.
- ↑ "ระบบสืบค้นตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-03. สืบค้นเมื่อ 2013-04-24.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ARKive - images and movies of the Asian tapir (Tapirus indicus) เก็บถาวร 2006-04-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Tapir Specialist Group - Malayan Tapir เก็บถาวร 2007-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- National Geographic - Malayan tapir introduced by San Diego Zoo
ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Tapirus indicus ที่วิกิสปีชีส์