สกุลช้างเอเชีย
สกุลช้างเอเชีย ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: Pliocene to present | |
---|---|
ช้างเอเชียตัวผู้ (ช้างพลาย) | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Mammalia |
อันดับ: | Proboscidea |
วงศ์: | Elephantidae |
สกุล: | Elephas Linnaeus, 1758[1] |
ชนิดต้นแบบ | |
Elephas maximus Linnaeus, 1758 | |
ชนิด | |
| |
ชื่อพ้อง[2] | |
|
ช้างเอเชีย หรือ ช้างยูเรเชีย (อังกฤษ: Asian elephant, Eurasian elephant) เป็นสกุลของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ในอันดับ Proboscidea หรืออันดับช้าง ใช้ชื่อสกุลว่า Elephas (/อี-เล-ฟาส/) จัดอยู่ในวงศ์ Elephantidae
วิวัฒนาการ
[แก้]เชื่อว่า ช้างเอเชียถือกำเนิดขึ้นมาในทวีปแอฟริกา แต่ด้วยความไม่ทราบสาเหตุ เมื่อประมาณ 200,000 ปีที่แล้ว ก็ได้พากันอพยพหนีมาอยู่ทวีปเอเชียกันหมด จากนั้นช้างเอเชียที่ยังอยู่ในทวีปแอฟริกาก็ได้สูญพันธุ์ไปอย่างกระทันหัน ช้างเอเชียตัวสุดท้ายในทวีปแอฟริกาเชื่อว่าน่าจะตายไปเมื่อประมาณ 35,000 ปีที่แล้ว และจากการที่มีช้างเอเชียอาศัยอยู่ในทวีปแอฟริกา เป็นสาเหตุให้ประชากรช้างแอฟริกาแท้ ๆ ต้องแยกสายวิวัฒนาการกันจนกระทั่งมี 2 ชนิด อย่างในปัจจุบัน [3]
และหลังจากที่ช้างเอเชียได้แยกสายวิวัฒนาการจากช้างแอฟริกาแล้ว แมมมอธซึ่งเป็นช้างที่สูญพันธุ์ไปแล้วอีกสกุลหนึ่งในยุคก่อนประวัติศาสตร์ก็ได้แยกสายวิวัฒนาการของตัวเองมาจากช้างเอเชีย จึงมีความเชื่อของนักวิทยาศาสตร์ว่า ช้างเอเชียตัวเมียสามารถที่จะผสมข้ามพันธุ์กับช้างแอฟริกาและแมมมอธได้[4]
หรือมีสายสัมพันธ์กับสเตโกดอน ที่ได้อพยพมาจากไซบีเรียที่หนาวเย็นมาสู่ทางใต้ของทวีปเอเชียที่อากาศอบอุ่นกว่า เมื่อราว 20,000 ปีก่อน[5][6]
ช้างเอเชีย ถือเป็นสัตว์จำพวกช้างเพียง 1 ใน 2 สกุลเท่านั้นที่ยังหลงเหลือมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งอีกสกุลที่เหลือนั้น คือ Loxodonta หรือช้างแอฟริกา ที่พบเฉพาะในทวีปแอฟริกาเท่านั้น
ความแตกต่างของช้าง 2 สกุล
[แก้]ช้างเอเชีย | ช้างแอฟริกา |
ส่วนหัวแบ่งออกได้เป็น 2 โหนก | ส่วนหัวไม่มีโหนก และหน้าผากลาดชันกว่า |
ปลายงวงมีเพียงจะงอยเดียว | ปลายงวงมี 2 จะงอย |
เท้าหน้ามี 4 เล็บ เท้าหลังมี 5 เล็บ | เท้าหน้ามี 4 เล็บ เท้าหลังมี 5 เล็บ ขณะที่ช้างป่าแอฟริกาจะมีเท่ากับช้างเอเชีย |
ใบหูมีขนาดเล็กกว่า | ใบหูใหญ่และกางออกมากกว่า |
จะงอยปากล่างแคบและยาว | จะงอยปากล่างกว้างและสั้น |
มีงาเฉพาะตัวผู้ ตัวเมียบางตัวอาจมีแต่สั้น | มีงาทั้ง 2 เพศ |
ลำตัวเล็กกว่าและมีสีผิวคล้ำกว่า | ลำตัวใหญ่ ล่ำสันกว่า สีผิวสว่างกว่า |
อายุโดยเฉลี่ย 60 ปี | อายุโดยเฉลี่ย 50 ปี |
อุปนิสัยอ่อนโยนกว่า ฝึกให้เชื่องได้ | อุปนิสัยดุร้าย ก้าวร้าวกว่า[7] [8] |
การจำแนก
[แก้]ปัจจุบัน ช้างในสกุลนี้เหลือเพียงแค่ชนิดเดียวเท่านั้น คือ ช้างเอเชีย ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 4 ชนิดย่อย และก็มีอีกหลายชนิดและหลายชนิดย่อยที่ได้สูญพันธุ์ไปหมดแล้ว ทั้งหมดพบกระจายพันธุ์แต่ในทวีปเอเชีย ซึ่งในอดีตพบได้จนถึงภูมิภาคตะวันออกกลางและยูเรเชีย แต่ปัจจุบันพบได้เพียงอนุทวีปอินเดีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
- Elephantidae
- สกุล Elephas
- ชนิด Elephas maximus (ช้างเอเชีย)
- ชนิดย่อย Elephas maximus indicus (ช้างอินเดีย)
- ชนิดย่อย Elephas maximus maximus (ช้างศรีลังกา)
- ชนิดย่อย Elephas maximus sumatranus (ช้างสุมาตรา)
- ชนิดย่อย Elephas maximus borneensis (ช้างบอร์เนียว) — ถูกจัดให้อยู่ในชนิดนี้ แต่ยังไม่รับรองความถูกต้อง[9]
- ชนิดย่อย Elephas maximus rubridens (ช้างจีน) † — สูญพันธุ์เมื่อ 3,500 ปีก่อน[10]
- ชนิดย่อย Elephas maximus asurus (ช้างซีเรีย) †
- ชนิด Elephas beyeri †
- ชนิด Elephas celebensis (ช้างแคระซูลาเวซี) †
- ชนิด Elephas hysudricus †
- ชนิด Elephas hysudrindicus (ช้างชวา) †
- ชนิด Elephas iolensis †
- ชนิด Elephas planifrons †
- ชนิด Elephas platycephalus †
- ชนิด Elephas recki †
- ชนิดย่อย Elephas recki atavus †
- ชนิดย่อย Elephas recki brumpti †
- ชนิดย่อย Elephas recki ileretensis †
- ชนิดย่อย Elephas recki illertensis †
- ชนิดย่อย Elephas recki recki †
- ชนิดย่อย Elephas recki shungurensis †
- สกุลย่อย Palaeoloxodon †
- ชนิด Elephas (Palaeoloxodon) antiquus (ช้างงาตรง) †
- ชนิด Elephas (Palaeoloxodon) tiliensis †
- ชนิด Elephas (Palaeoloxodon) creutzburgi †
- ชนิด Elephas (Palaeoloxodon) chaniensis †
- ชนิด Elephas (Palaeoloxodon) cypriotes (ช้างแคระไซปรัส) †[11]
- ชนิด Elephas (Palaeoloxodon) ekorensis †
- ชนิด Elephas (Palaeoloxodon) falconeri (ช้างแคระซิซิเลียน) †
- ชนิด Elephas (Palaeoloxodon) mnaidriensis †
- ชนิด Elephas (Palaeoloxodon) melitensis †
- ชนิด Elephas (Palaeoloxodon) namadicus †
- ชนิด Elephas (Palaeoloxodon) naumanni (ช้างแคระนูแมนน์) †
- ชนิด Elephas maximus (ช้างเอเชีย)
- สกุล Elephas
อ้างอิง
[แก้]- ↑ จาก itis.gov
- ↑ Linnaeus, C. 1758: Systema Naturae per regna tria naturæ, secundum classes, ordines, genera, species, cum characteribus, differentiis, synonymis, locis, Tomus I. Editio decima, reformata. Holmiæ: impensis direct. Laurentii Salvii. i–ii, 1–824 pp
- ↑ "จบการโต้เถียงอันยาวนาน สรุปแล้วช้างแอฟริกามี 2 สปีชีส์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-07. สืบค้นเมื่อ 2014-04-17.
- ↑ "สักวันเราคงโคลน "แมมมอธ" สำเร็จด้วยแม่อุ้มบุญ "ช้างเอเชีย" จากผู้จัดการออนไลน์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-02. สืบค้นเมื่อ 2014-04-17.
- ↑ Elephants
- ↑ Mammoth or Elephant? World’s Largest Asian Elephant, "biggest & baddest". สารคดีช่องอนิมอลพลาเน็ต ทางทรูวิชั่นส์: อังคารที่ 25 ธันวาคม 2555
- ↑ Asian elephant
- ↑ หน้า 91-94, สัตว์สวยป่างาม โดย ชมรมนิเวศวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล (สิงหาคม, 2518)
- ↑ Fernando, P., Vidya, T.N.C., Payne, J., Stuewe, M., Davison, G., et al. (2003) DNA Analysis Indicates That Asian Elephants Are Native to Borneo and Are Therefore a High Priority for Conservation. PLoS Biol 1(1): e6
- ↑ China's Last Elephants, "China Uncovered" สารคดีทางอนิมอลพลาเน็ต ทางทรูวิชั่นส์: เสาร์ที่ 26 มกราคม 2556
- ↑ Bate, D.M.A. 1905. Further note on the remains of Elephas cypriotes from a cave-deposit in Cyprus, Philosophical Transactions of the Royal Society London, Series B 197: 347–360
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Elephas ที่วิกิสปีชีส์