ยูแซฟ ปอญาตอฟสกี
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
เจ้าชาย ยูแซฟ ปอญาตอฟสกี | |
---|---|
ภาพวาดโดยJosef Grassi ประมาณ ค.ศ. 1810 | |
ชื่อเล่น | The Polish Bayard |
เกิด | 7 พฤษภาคม ค.ศ. 1763 เวียนนา, ราชอาณาจักรฮาพส์บวร์ค |
เสียชีวิต | 19 ตุลาคม ค.ศ. 1813 (50 ปี) แม่น้ำไวต์เอลสเตอร์, ซัคเซิน |
รับใช้ | ราชาธิปไตยฮาพส์บวร์ค แม่แบบ:Country data Polish-Lithuanian Commonwealth ฝรั่งเศส ดัชชีวอร์ซอ |
ประจำการ | 1780–1813 |
ชั้นยศ | จอมพลแห่งจักรวรรดิ |
บำเหน็จ | |
คู่สมรส | Zelia Sitańska |
ลายมือชื่อ |
ยูแซฟ อันตอญี ปอญาตอฟสกี (โปแลนด์: Józef Antoni Poniatowski; เสียงอ่านภาษาโปแลนด์: [ˈjuzɛf anˈtɔɲi pɔɲaˈtɔfskʲi]; 7 พฤศภาคม ค.ศ. 1763 – 19 ตุลาคม ค.ศ. 1813) พระองค์ทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นเจ้าชายแห่งโปแลนด์ ก่อนที่จะเข้าทรงดำรงตำแหน่งเป็นจอมพลแห่งจักรวรรดิฝรั่งเศสในช่วงสงครามนโปเลียน[1][2]
ช่วงต้น
[แก้]พระองค์ทรงเป็นพระราชนัดดาของพระเจ้าสตาญิสวัฟที่ 2 เอากุสตุส เป็นโอรสของขุนนางอันด์แชย์ ปอญาตอฟสกี มีพี่สาวคือ มาเรีย แตแรซา ปอญาตอฟสกา เกิดที่กรุงเวียนนา ราชธานีของออสเตรีย และอาศัยอยู่ในออสเตรียระยะหนึ่งก่อนที่จะกลับโปแลนด์ ในระหว่างที่อยู่ที่ออสเตรียนั้น ได้ฝึกวิชาความรู้ทั้งด้านการรบและการปกครอง
ค.ศ. 1787 ได้รับตำแหน่งเป็นพันเอก และทำการช่วยเหลือองค์ชายคาร์ล ฟิลิป ในการรบกับพวกเติร์ก
จอมพลแห่งจักรวรรดิฝรั่งเศส
[แก้]พระองค์ทรงกลับโปแลนด์พร้อมกับนายพลตาแดอุช กอชชุชกอ ตอนนั้นรัสเซียทำการรุกรานโปแลนด์อยู่บ่อยครั้ง จนทำให้พระองค์ต้องไปใช้ชีวิตแบบส่วนตัว แต่เมื่อนโปเลียนแห่งฝรั่งเศสเรืองอำนาจและสามารถเอาชนะออสเตรียได้ องค์ชายปอญาตอฟสกีจึงยินยอมให้กองทัพของฌออากีม มูว์ราเข้ากรุงวอร์ซอ และได้เป็นจอมพลแห่งจักรวรรดิฝรั่งเศสและได้บัญชาการในส่วนทหารม้า
กองทัพออสเตรียที่นำโดยอาร์ชดยุคเฟอร์ดินานด์ คาร์ล โยเซฟ ยังคงบุกโปแลนด์อยู่เรื่อย ๆ แต่พระองค์ก็สามารถเอาชนะทหารออสเตรียได้ทั้งหมด
ค.ศ. 1812 ฝรั่งเศสทำการบุกรัสเซีย องค์ชายปอญาตอฟสกีก็ทรงนำทหารม้าของพระองค์เข้าร่วมรบด้วย
สมรภูมิสุดท้ายของปอญาตอฟสกี
[แก้]หลังการบุกรัสเซีย ทำให้ฝรั่งเศสพ่ายแพ้กลับมา ทำให้อังกฤษ, ออสเตรีย, ปรัสเซีย, รัสเซีย และบรรดาประเทศอื่น ๆ ที่เกลียดชังนโปเลียนรวมกำลังกันแล้วเคลื่อนพลไปที่เมืองไลพ์ซิช นโปเลียนจึงยกทัพไปหมายจะล้างแค้นบรรดาพันธมิตร เมื่อสงครามเริ่มขึ้น องค์ชายปอญาตอฟสกีก็นำทหารม้าเข้าบุกศัตรูอย่างกล้าหาญ แต่จำนวนทหารพันธมิตรมีมากและช่วงนั้นทหารฝรั่งเศสกำลังชุลมุนเนื่องจากการเปลี่ยนฝ่ายของบรรดาเจ้าเยอรมัน พระองค์จึงตัดสินใจให้กองทัพหลวงของนโปเลียนถอยทัพ ส่วนพระองค์ก็พยายามป้องกันข้าศึกแต่ต้านไม่อยู่จึงพาทหารที่เหลือหนีข้ามแม่น้ำ แต่ก็ถูกทหารพันธมิตรไล่ตามจนพระองค์พลัดตกจากหลังม้าตกน้ำจนจมน้ำสิ้นพระชนม์
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Józef Antoni Poniatowski ที่สารานุกรมบริตานิกา
- ↑ Bejrowski, Piotr. "Józef Poniatowski: "Greater Than The King, This Prince"". Polish History. สืบค้นเมื่อ 26 March 2020.
ข้อมูล:
- บทความนี้ ประกอบด้วยข้อความจากสิ่งพิมพ์ซึ่งปัจจุบันเป็นสาธารณสมบัติ: Bain, Robert Nisbet (1911). . ใน Chisholm, Hugh (บ.ก.). สารานุกรมบริตานิกา ค.ศ. 1911. Vol. 22 (11 ed.). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์. p. 61. Endnotes:
- Stanisław Kostka Bogusławski, Life of Prince Jòzef Poniatowski (ในภาษาโปแลนด์), Warsaw, 1831.
- Franciszek Paszkowski, Prince Józef Poniatowski (ในภาษาโปแลนด์), Kraków, 1898.
- Correspondence of Poniatowski, edited by E. Raczyński, Poznań, 1843.
- Bronisław Dembiński, Stanisław August and Prince Józef Poniatowski in the Light of Their Correspondence (in French), Lemberg, 1904.
- Szymon Askenazy, Prince Józef Poniatowski (ในภาษาโปแลนด์), Warsaw, 1905.
อ่านเพิ่ม
[แก้]- Józef Antoni Poniatowski, Mes souvenirs sur la campagne de 1792, Lemberg [Lwów], 1863.
- Poniatowski, the Sejm (11 May 2001). "Poniatowski". CoreComm Internet. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 August 2012. สืบค้นเมื่อ 24 May 2015.