มารีแห่งบูร์กอญ
มารีแห่งบูร์กอญ | |
---|---|
ดัชเชสแห่งบูร์กอญ | |
ครองราชย์ | 5 มกราคม ค.ศ. 1477 – 27 มีนาคม ค.ศ. 1482 |
ก่อนหน้า | ชาร์ลที่ 1 |
ถัดไป | ฟิลิปที่ 4 |
ปกครองร่วมกับ | มัคซีมีลีอาน |
ประสูติ | 13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1457 บรัสเซลส์ บราบันต์ เนเธอร์แลนด์ของบูร์กอญ |
สิ้นพระชนม์ | 27 มีนาคม ค.ศ. 1482 ปราสาท Wijnendale ฟลานเดอส์ เนเธอร์แลนด์ของบูร์กอญ | (25 ปี)
ฝังพระศพ | บรูช ฟลานเดอส์ |
คู่อภิเษก | อาร์ชดยุกมัคซีมีลีอานแห่งออสเตรีย (สมรส 1477) |
พระบุตร | พระเจ้าเฟลิเปที่ 1 แห่งกัสติยา มาร์กาเร็ต ดัชเชสแห่งซาวอย |
ราชวงศ์ | วาลัว-บูร์กอญ |
พระบิดา | ชาร์ลผู้อาจหาญ |
พระมารดา | อิซาเบลลาแห่งบูร์บง |
ศาสนา | โรมันคาทอลิก |
มารีแห่งบูร์กอญ (ฝรั่งเศส: Marie de Bourgogne; ดัตช์: Maria van Bourgondië;) หรือ มารีผู้มั่งคั่ง (อังกฤษ: Mary the Rich) เป็นบุตรีของชาร์ล ดยุกแห่งบูร์กอญกับอิซาเบลลาแห่งบูร์บง และมีบรรดาศักดิ์เป็นดัชเชสแห่งแห่งบูร์กอญระหว่าง ค.ศ. 1477 จนกระทั่งสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 27 มีนาคม ค.ศ. 1482 มารีเป็นพระธิดาองค์เดียวของชาร์ลผู้อาจหาญซึ่งทำให้มีสิทธิเป็นทายาทของดินแดนบูร์กอญอันใหญ่โตในฝรั่งเศสและในกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำเมื่อพระบิดาสิ้นพระชนม์ในยุทธการนองซี (Battle of Nancy) เมื่อวันที่ 5 มกราคม ค.ศ. 1477 พระมารดาของมารีสิ้นพระชนม์ก่อนหน้านั้นในปี ค.ศ. 1465 แต่มารีทรงมีความสัมพันธ์อันดีกับพระมารดาเลี้ยงมาร์กาเร็ตแห่งยอร์คผู้ที่ชาร์ลผู้อาจหาญทรงเสกสมรสด้วยใน ค.ศ. 1468
พระประวัติ
[แก้]ทายาทแห่งบูร์กอญ
[แก้]มารีแห่งบูร์กอญประสูติในปราสาทดยุกแห่งคูดองแบร์กที่บรัสเซลส์ นักบันทึกประวัติศาสตร์ฌอร์ฌ ชาสเตลแลงบันทึกว่าการประสูติกาลของมารีตามด้วยเสียงฟ้าผ่าสามครั้งทั้งที่ท้องฟ้าปรอดโปร่ง พระบิดาทูลหัวของมารีคือโดแฟงหลุยส์แห่งฝรั่งเศสผู้ขณะนั้นเสด็จมาลี้ภัยอยู่ในบูร์กอญ พระองค์พระราชทานนามตามชื่อของพระชนนีของพระองค์--มารีแห่งอองชู ปฏิกิริยาต่อประสูติกาลของมารีทั้งดีและไม่ดี ฟิลิปที่ 3 ดยุกแห่งบูร์กอญญผู้เป็นพระอัยกาไม่ทรงยินดียินร้ายเท่าใดนักและไม่ทรงเข้าร่วมในพิธีรับศีลจุ่มเพราะเป็นเพียงพิธีสำหรับเด็กผู้หญิง แต่พระชายา อิสซาเบลลาแห่งบูร์กอญดีใจที่ทรงได้พระนัดดา[1]
เพราะเป็นพระธิดาองค์เดียวของชาร์ล ดยุกแห่งบูร์กอญ มารีจึงทรงเป็นทายาทของดินแดนอันมหาศาลและมั่งคั่งที่ปประกอบด้วยดัชชีแห่งบูร์กอญ, อาณาจักรเคานท์แห่งบูร์กอญ และส่วนใหญ่ของบริเวณกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ ซึ่งทำให้กลายเป็นที่หมายปองจากเจ้าผู้ครองนครหลายคน คำเสนอครั้งแรกที่ชาร์ลผู้อาจหาญได้รับเมื่อมารียังคงพระชันษาได้เพียงห้าขวบ เพื่อสมรสกับผู้ที่ต่อมาเป็นพระเจ้าเฟรนานโดที่ 2 แห่งอารากอน ที่ตามมาก็มีพระอนุชาองค์รองของพระเจ้าหลุยส์ที่ 11 แห่งฝรั่งเศส ชาร์ลส์แห่งวาลัวส์ ดยุกแห่งแบร์รีผู้ทรงพยายามแม้ว่าจะไม่ที่พึงพอใจต่อพระเชษฐาผู้ที่ทรงพยายามยับยั้งการออกประกาศของพระสันตะปาปาเพราะจะเป็นการเสกสมรสระหว่างญาติพี่น้องที่ใกล้ชิดกัน
ทันทีที่พระเจ้าหลุยส์ที่ 11 มีพระราชโอรสผู้ต่อมาเป็นพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 8 พระองค์ก็มีพระราชประสงค์ที่จัดให้เสกสมรสกับมารี แม้ว่าชาร์ลส์จะมีพระชันษาอ่อนกว่ามารีถึงสิบสามปี นิโคลาส์ที่ 1 ดยุกแห่งลอร์แรนผู้มีพระชันษาแก่กว่ามารีสองสามปีมีดินแดนที่มีพรมแดนติดกันกับดินแดนบูร์กอญ แต่แผนที่จะรวมสองอาณาจักรมาสิ้นสุดลงเมื่อนิโคลาส์มาสิ้นพระชนม์ในยุทธการในปี ค.ศ. 1473
เมื่อชาร์ล ดยุกแห่งบูร์กอญสิ้นพระชนม์ในสนามรบในการล้อมนองซีเมื่อวันที่ 5 มกราคม ค.ศ. 1477 มารีเพิ่งทรงมีพระชันษาได้สิบเก้าปี พระเจ้าหลุยส์ที่ 11 ทรงฉวยโอกาสจากการสิ้นพระชนม์ของคู่แข่งในการพยายามยึดครองแคว้นบูร์กอญ และฟร็องช์-กงเต, พิคาร์ดี และ อาร์ทัวส์ พระเจ้าหลุยส์ทรงวิตกกังวลที่จะผูกมัดมารีกับโดแฟงชาร์ลส์ เพื่อที่จะได้ดินแดนในกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำมาเป็นของฝรั่งเศส แม้ว่าอาจจะต้องมีการบังคับกัน มารีด้วยคำแนะนำของมาร์กาเร็ตมีความไม่ไว้วางใจพระเจ้าหลุยส์จึงทรงปฏิเสธคำขอจากฝรั่งเศส และหันไปพึ่งเนเธอร์แลนด์ให้ช่วย
มหาอภิสิทธิ์
[แก้]เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1477 มารีเสด็จไปยังเกนต์เพื่อทรงทำการเข้าเมืองอย่างเป็นทางการ (Joyous Entry) เนื่องในโอกาสรับรองฐานะในการเป็นทายาทของชาร์ลโดยการลงนามในกฎบัตรอภิสิทธิ์ (charter of rights) ที่เรียกว่า “มหาอภิสิทธิ์” (Great Privilege) ภายใต้ข้อตกลงนี้จังหวัดและเมืองต่างๆ ของฟลานเดอร์, บราบองต์, เอโนต์ และ ฮอลแลนด์ได้รับสิทธิต่างๆ คืนมาหลังจากที่ถูกยุบเลิกไปตามประกาศของดยุกแห่งบูร์กอญในการพยายามที่จะสร้างรัฐร่วมรัฐเดียวที่ปกครองจากศูนย์กลางตามแบบฝรั่งเศสจากรัฐเดิมหลายรัฐที่เป็นอิสระต่อกันในบริเวณกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ โดยเฉพาะรัฐสภาแห่งเมเชเลนที่ก่อตั้งโดยชาร์ลผู้อาจหาญในปี ค.ศ. 1470 ถูกยุบเลิกและแทนที่ด้วยรัฐสภาแห่งปารีสที่มีอยู่เดิม ซึ่งเป็นการสร้างดุลยภาพของการปกครองจากศูนย์กลางที่คืบเข้ามาโดยทั้งชาร์ลและฟิลิปที่ 3 มารีต้องตกลงที่จะไม่ทรงประกาศสงคราม, สร้างสันติ หรือขึ้นภาษีโดยไม่ได้รับการยินยอมจากรัฐต่างๆ และต้องจ้างเฉพาะผู้อยู่ในท้องถิ่นในการทำราชการเท่านั้น
การปกครองโดยคณะรัฐบาลเดิมเป็นที่ชิงชังของประชาชนเป็นอันมาก จนองคมนตรีผู้มีอิทธิพลสองคนของชาร์ล ดยุกแห่งบูร์กอญ องคมนตรีอูโกเนต์ และ อุมแบร์ตคูร์ตถูกประหารชีวิตที่เกนต์เมื่อพบว่าทำการเขียนจดหมายติดต่อกับกษัตริย์ฝรั่งเศส
การเสกสมรส
[แก้]มารีทรงเลือกอาร์ชดยุกมัคซีมีลีอานแห่งออสเตรีย (หลังจากการสิ้นพระชนม์ของมารี พระสวามีทรงได้เป็นจักรพรรดิมัคซีมีลีอานที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์) จากบรรดาผู้หมายปองเป็นพระสวามี การเสกสมรสจัดขึ้นที่เกนต์เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม ค.ศ. 1477 ซึ่งทำให้มารีทรงได้รับบรรดาศักดิ์เป็นอาร์ชดัชเชสแห่งออสเตรีย และทำให้กลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำกลายเป็นของฮับส์บวร์ก ซึ่งทำให้เป็นการเริ่มสร้างความขัดแย้งระหว่างฝรั่งเศสและฮับส์บวร์กที่ดำเนินต่อมาอีกสองร้อยปี ที่ต่อมาขยายตัวไปยังสเปน จนกระทั่งในที่สุดก็เป็นชนวนที่ก่อให้เกิดสงครามสืบราชบัลลังก์สเปน ระหว่าง ค.ศ. 1701 ถึง ค.ศ. 1714.
แต่ในขณะนั้นในเนเธอร์แลนด์สถานการณ์ก็ดูจะราบรื่นอยู่ระยะหนึ่ง ความก้าวร้าวของฝรั่งเศสก็ดูจะยุติลง และสถานการณ์ภายในโดยทั่วไปก็ฟื้นตัวเป็นส่วนใหญ่
การสิ้นพระชนม์
[แก้]ห้าปีต่อมาอาร์ชดัชเชสมารีผู้ทรงมีพระชนมายุได้เพียง 25 พรรษาก็มาสิ้นพระชนม์จากการทรงตกจากหลังม้าเมื่อวันที่ 27 มีนาคม ค.ศ. 1482 อาร์ชดัชเชสมารีเป็นทรงโปรดทรงม้าและเสด็จออกไปล่าสัตว์ด้วยเหยี่ยวกับอาร์ชดยุกมัคซีมีลีอาน ขณะที่ขี่อยู่ม้าก็สะดุดและโยนตัวอาร์ชดัชเชสมารีลงจากหลังและล้มตัวลงมาทับอาร์ชดัชเชสมารีจนพระศอหัก อาร์ชดัชเชสมารีก็สิ้นพระชนม์สองสามวันหลังจากนั้นหลังจากที่ได้ทรงทำพินัยกรรมอย่างละเอียดแล้ว พระศพของอาร์ชดัชเชสมารีได้รับการบรรจุไว้ที่บรูจส์
ทันทีที่อาร์ชดัชเชสมารีสิ้นพระชนม์พระเจ้าหลุยส์ก็เริ่มขยายอิทธิพลและบังคับให้อาร์ชดยุกมัคซีมีลีอานลงพระนามใน สนธิสัญญาอาร์ราส (ค.ศ. 1482) ที่ระบุให้ฟรองช์-กงเต และ อาร์ทัวส์กลับมาตกอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศสชั่วคราว ก่อนที่จะทำการแลกเปลี่ยนเป็นบูร์กอญและพิคาร์ดีต่อมาในปีต่อมาในสนธิสัญญาซองลีส์ ซึ่งเป็นผลให้เกิดความสงบสุขขึ้นในบริเวณกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ
ในปี ค.ศ. 1493 อาร์ชดยุกมัคซีมีลีอานเสกสมรสเป็นครั้งที่สองกับบิอังคา มาเรีย สฟอร์ซา (5 เมษายน ค.ศ. 1472- 31 ธันวาคม ค.ศ. 1510) บุตรีของยาน กาลีอัซโซ สฟอร์ซาดยุกแห่งมิลาน และ โบนาแห่งซาวอยแต่ไม่มีลูกด้วยกัน
ครอบครัว
[แก้]อาร์ชดัชเชสมารีและอาร์ชดยุกมัคซีมีลีอานมีพระบุตรพระธิดาด้วยกันสามพระองค์ พระโอรสพระองค์โตฟิลิป ทรงเป็นทายาทในดินแดนต่างๆ ของมารีภายใต้การดูแลของอาร์ชดยุกมัคซีมีลีอาน พระบุตรพระธิดาของอาร์ชดัชเชสมารีก็ได้แก่:
- ฟิลิปผู้ทรงโฉม (22 กรกฎาคม ค.ศ. 1478 – 25 กันยายน ค.ศ. 1506) ผู้สืบครองบูร์กอญต่อจากมารีเป็น “ฟิลิปที่ 4 แห่งบูร์กอญ” และต่อมาเป็น พระเจ้าฟิลิปที่ 1 แห่งคาสตีลโดยการเสกสมรสกับโจแอนนาแห่งคาสตีล
- มาร์กาเร็ตแห่งออสเตรีย (10 มกราคม ค.ศ. 1480 – 1 ธันวาคม ค.ศ. 1530) เสกสมรสกับครั้งแรกกับเจ้าชายจอห์นแห่งอัสทูเรีย พระราชโอรสในพระเจ้าเฟรนานโดที่ 2 แห่งอารากอนและสมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลลาที่ 1 แห่งคาสตีล) และต่อมากับฟิลิแบร์ตที่ 2 ดยุกแห่งซาวอย
- ฟรันซ์ ประสูติและสิ้นพระชนม์ ค.ศ. 1481
บรรพบุรุษ
[แก้]มารีแห่งบูร์กอญ | พระบิดา: ชาร์ลผู้อาจหาญ |
พระอัยกาฝ่ายพระบิดา(ปู่): ฟิลิปที่ 3 ดยุกแห่งบูร์กอญ |
พระปัยกาฝ่ายพระอัยกา(พ่อของปู่): ฌ็องที่ 1 ดยุกแห่งบูร์กอญ |
พระปัยยิกาฝ่ายพระอัยกา(แม่ของปู่): มาร์กาเร็ตแห่งบาวาเรีย | |||
พระอัยยิกาฝ่ายพระบิดา(ย่า): อิสซาเบลลาแห่งโปรตุเกส |
พระปัยกาฝ่ายพระอัยยิกา(พ่อของย่า): จอห์นที่ 1 แห่งโปรตุเกส | ||
พระปัยยิกาฝ่ายพระอัยยิกา(แม่ของย่า): ฟิลิปปาแห่งแลงคาสเตอร์ | |||
พระมารดา: อิซาเบลลาแห่งบูร์บง |
พระอัยกาฝ่ายพระมารดา(ตา): ชาร์ลส์ที่ 1 ดยุกแห่งบูร์บง |
พระปัยกาฝ่ายพระอัยกา(พ่อของตา): จอห์นที่ 1 ดยุกแห่งบูร์บง | |
พระปัยยิกาฝ่ายพระอัยกา(แม่ของตา): มารี ดัชเชสแห่งโอแวญน์ | |||
พระอัยยิกาฝ่ายพระมารดา(ยาย): แอ็กเนสแห่งบูร์กอญ |
พระปัยกาฝ่ายพระอัยยิกา(พ่อของยาย): ฌ็องที่ 1 ดยุกแห่งบูร์กอญ | ||
พระปัยยิกาฝ่ายพระอัยยิกา(แม่ของยาย): มาร์กาเร็ตแห่งบาวาเรีย |
ผู้สืบเชื้อสายจากมารี
[แก้]พระธิดาของมารี มาร์กาเร็ตแห่งออสเตรีย สิ้นพระชนม์โดยไม่มีพระบุตร แต่ฟิลิปทรงเป็นพระราชบรรพบุรุษของพระมหากษัตริย์หลายพระองค์ และจากพระราชนัดดาสมเด็จพระจักรพรรดิคาร์ลที่ 5 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ มารีก็ทรงเป็นพระราชบรรพบุรุษของพระมหากษัตริย์สเปนหลายพระองค์เช่นพระเจ้าเฟลีเปที่ 2 แห่งสเปน และ พระเจ้าเฟลีเปที่ 3 แห่งสเปน พระปนัดดาโจแอนนา อาร์ชดัชเชสแห่งออสเตรียเป็นพระราชมารดาของเอเลโนรา เดอ เมดิชิ และ มารี เดอ เมดิชิ เอเลโนราเป็นพระราชมารดาของฟรานเชสโคที่ 4 กอนซากา ส่วนมารี เดอ เมดิชิทรงเป็นสมเด็จพระราชินีนาถแห่งฝรั่งเศส พระราชโอรสของมารีคือพระเจ้าหลุยส์ที่ 13 แห่งฝรั่งเศส มารีจึงทรงเป็นพระราชบรรพบุรุษของพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศส ทางสายพระราชธิดาของมารีเฮนเรียตตา มาเรียผู้เสกสมรสกับสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษและมีพระราชโอรสสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 และ สมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 2) มารีจึงทรงเป็นพระราชบรรพบุรุษของพระมหากษัตริย์อังกฤษด้วย
พระอิสริยยศและบรรดาศักดิ์
[แก้]- 18 สิงหาคม ค.ศ. 1477 - 27 มีนาคม ค.ศ. 1482: อาร์ชดัชเชสมารีแห่งออสเตรีย
- 5 มกราคม ค.ศ. 1477-27 มีนาคม ค.ศ. 1482: ดัชเชสแห่งบูร์กอญ ในพระนามว่า "มารีที่ 1"
- 5 มกราคม ค.ศ. 1477-27 มีนาคม ค.ศ. 1482: ดัชเชสแห่งบราบองต์ ในพระนามว่า "มารีที่ 1"
- 5 มกราคม ค.ศ. 1477-27 มีนาคม ค.ศ. 1482: ดัชเชสแห่งเกลเดอร์ส ในพระนามว่า "มารีที่ 1"
- 5 มกราคม ค.ศ. 1477-27 มีนาคม ค.ศ. 1482: ดัชเชสแห่งลิมบวร์ก ในพระนามว่า "มารีที่ 1"
- 5 มกราคม ค.ศ. 1477-27 มีนาคม ค.ศ. 1482: ดัชเชสแห่งโลเธียร์ ในพระนามว่า "มารีที่ 1"
- 5 มกราคม ค.ศ. 1477-27 มีนาคม ค.ศ. 1482: ดัชเชสแห่งแห่งลักเซมเบิร์ก ในพระนามว่า "มารีที่ 1"
- 5 มกราคม ค.ศ. 1477-27 มีนาคม ค.ศ. 1482: มากราวีนแห่งนาเมอร์ ในพระนามว่า "มารีที่ 1"
- 5 มกราคม ค.ศ. 1477-27 มีนาคม ค.ศ. 1482: เคานเทสพาลาไทน์แห่งบูร์กอญ ในพระนามว่า "มารีที่ 1"
- 5 มกราคม ค.ศ. 1477-27 มีนาคม ค.ศ. 1482: เคานเทสแห่งอาร์ทัวส์ ในพระนามว่า "มารีที่ 1"
- 5 มกราคม ค.ศ. 1477-27 มีนาคม ค.ศ. 1482: เคานเทสแห่งชาโรเลส์ ในพระนามว่า "มารีที่ 1"
- 5 มกราคม ค.ศ. 1477-27 มีนาคม ค.ศ. 1482: เคานเทสแห่งฟลานเดอร์ส ในพระนามว่า "มารีที่ 1"
- 5 มกราคม ค.ศ. 1477-27 มีนาคม ค.ศ. 1482: เคานเทสแห่งเอโนต์ ในพระนามว่า "มารีที่ 1"
- 5 มกราคม ค.ศ. 1477-27 มีนาคม ค.ศ. 1482: เคานเทสแห่งฮอลแลนด์ ในพระนามว่า "มารีที่ 1"
- 5 มกราคม ค.ศ. 1477-27 มีนาคม ค.ศ. 1482: เคานเทสแห่งเซแลนด์ ในพระนามว่า "มารีที่ 1"
- 5 มกราคม ค.ศ. 1477-ค.ศ. 1492: เคานเทสแห่งซุทเฟน ในพระนามว่า "มารีที่ 1"
บรรพบุรุษ
[แก้]มารีแห่งบูร์กอญ | บิดา: ชาร์ลผู้อาจหาญ |
ปู่ทางพ่อ: ฟิลิปที่ 3 ดยุกแห่งบูร์กอญ |
ทวดทางพ่อ: ฌ็องที่ 1 ดยุกแห่งบูร์กอญ |
ทวดทางพ่อ: มาร์กาเร็ตแห่งบาวาเรีย | |||
ย่าทางพ่อ: อิสซาเบลลาแห่งโปรตุเกส |
ทวดทางพ่อ: จอห์นที่ 1 แห่งโปรตุเกส | ||
ทวดทางพ่อ: ฟิลิปปาแห่งแลงคาสเตอร์ | |||
แม่: อิซาเบลลาแห่งบูร์บง |
ปู่ทางแม่: ชาร์ลส์ที่ 1 ดยุกแห่งบูร์บง |
ทวดทางแม่: จอห์นที่ 1 ดยุกแห่งบูร์บง | |
ทวดทางแม่: มารี ดัชเชสแห่งโอแวญน์ | |||
ย่าทางแม่: แอ็กเนสแห่งบูร์กอญ |
ทวดทางแม่: ฌ็องที่ 1 ดยุกแห่งบูร์กอญ | ||
ทวดทางแม่: มาร์กาเร็ตแห่งบาวาเรีย |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Taylor, Aline, Isabel of Burgundy
ข้อมูล
[แก้]- Armstrong, C.A.J. (1957). "The Burgundian Netherlands, 1477-1521". ใน Potter, G.R. (บ.ก.). The New Cambridge Modern History. Vol. I. Cambridge at the University Press. ISBN 978-0521045414.
- Hand, Joni M. (2017). Women, Manuscripts and Identity in Northern Europe, 1350-1550. Taylor & Francis.
- Ingrao, Charles W. (2000). The Habsburg Monarchy, 1618–1815. Cambridge University Press. ISBN 978-1108499255.
- Kendall, Paul Murray (1971). Louis XI. W.W. Norton Co. Inc. ISBN 978-0393302608.
- Koenigsberger, H. G. (2001). Monarchies, States Generals and Parliaments: The Netherlands in the Fifteenth and Sixteenth Centuries. Cambridge University Press. ISBN 978-0521803304.
- Taylor, Aline S. (2002). Isabel of Burgundy. Rowman & Littlefield Co. ISBN 978-1568332277.
- Vaughan, Richard (2004). Charles the Bold: The Last Valois Duke of Burgundy. Boydell Press. ISBN 978-0851159188.
- Ward, A.W.; Prothero, G.W.; Leathes, Stanley, บ.ก. (1934). The Cambridge Modern History. Vol. XIII. Cambridge at the University Press.
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2000
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2025
- ขุนนางฝรั่งเศส
- บุคคลในคริสต์ศตวรรษที่ 15
- ราชวงศ์วาลัว-บูร์กอญ
- ดยุกแห่งบูร์กอญ
- ดยุกแห่งบราบันต์
- ดยุกแห่งโลเธียร์
- ดยุกแห่งลักเซมเบิร์ก
- ดยุกแห่งเกลเดอร์ส
- เคานต์แห่งแฟลนเดอส์
- เคานท์แห่งอาร์ทัวส์
- เคานต์แห่งแอโน
- เคานท์แห่งฮอลแลนด์
- เคานท์แห่งเซแลนด์
- เสียชีวิตจากอุบัติเหตุขี่ม้า
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์