Nothing Special   »   [go: up one dir, main page]

ข้ามไปเนื้อหา

มาลัย (พืช)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มาลัย
ดอกและใบ
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Rosids
อันดับ: Malvales
วงศ์: Malvaceae
วงศ์ย่อย: Grewioideae
สกุล: Grewia
สปีชีส์: G.  asiatica
ชื่อทวินาม
Grewia asiatica
L.
ชื่อพ้อง

Grewia subinaequalis DC.
Grewia hainesiana Hole
Microcos lateriflora L.

มาลัย (ชื่อวิทยาศาสตร์: Grewia asiatica) เป็นพืชในวงศ์ชบา เป็นไม้ผลัดใบ เปลือกหยาบสีเทา กิ่งห้อยลง กิ่งอ่อนมีขนแข็งห่อหุ้มหนาแน่น ใบเดี่ยว ร่วงง่าย ใบด้านบนมีขนปกคลุม ด้านล่างมีผงรังแค ดอกช่อ สีเหลือง ผลสดแบบเมล็ดเดียวแข็ง รูปกลมเป็นพูไม่ชัดเจน สีแดงหรือสีม่วง เนื้อผลนุ่ม มีเส้นใย สีขาวแกมเขียว รสเปรี้ยว เป็นไม้พื้นเมืองในแถบเทือกเขาหิมาลัยในปากีสถานและอินเดีย[1][2] นิยมปลูกในอินเดีย ปากีสถาน บังกลาเทศ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้พบทางภาคเหนือของไทยและเกาะลูซอน ประเทศฟิลิปปินส์

ผลมาลัย

การปลูกและใช้ประโยชน์

[แก้]

ผลสุก รับประทานเป็นของหวาน ในอินเดียทำเป็นเครื่องดื่ม เนื้อไม้ใช้ทำเครื่องใช้ เปลือกลำต้นใช้ฟั่นเชือก สารเมือกที่ได้จากการทุบเปลือกใช้ในการผลิตน้ำตาลในอินเดีย ในอินเดียใช้ผลเป็นยาบำรุง เปลือกต้นใช้เป็นยาป้องกันอาการระคายเคือง ผลของพืชชนิดนี้รับประทานได้ มีการปลูกเพื่อนำผลไปขาย ใช้ทำเชอร์เบต ชาวสันถัลใช้รากรักษารูมาติก ใบใช้รักษาแผลเป็นหนอง[3] พืชชนิดนี้เป็นพืชรุกรานในออสเตรเลียและฟิลิปปินส์[4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Flora of Pakistan: Grewia asiatica
  2. Pacific Island Ecosystems at Risk: Grewia asiatica เก็บถาวร 2014-10-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  3. Purdue University: Fruits of warm climates: Phalsa
  4. Yadav, A. K. (1999). Phalsa: A Potential New Small Fruit for Georgia. pp.348–352 in: Janick, J. (ed.). Perspectives on new crops and new uses. ASHS Press. Available online.
  • พีรศักดิ์ วรสุนทโรสถ และคณะ. ทรัพยากรพืชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 2: ไม้ผลและไม้ผลเคี้ยวมัน. กทม. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. 2544. หน้า 255 – 256