มะค่าแต้
หน้าตา
มะค่าแต้ | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | พืช Plantae |
เคลด: | พืชมีท่อลำเลียง Tracheophytes |
เคลด: | พืชดอก Angiosperms |
เคลด: | พืชใบเลี้ยงคู่แท้ Eudicots |
เคลด: | โรสิด Rosids |
อันดับ: | ถั่ว Fabales |
วงศ์: | ถั่ว Fabaceae |
สกุล: | สกุลมะค่าแต้ Sindora Teijsm. ex Miq., Ann. Mus. Bot. Lugduno-Batavi 3: 86 (1867)[2] |
สปีชีส์: | Sindora siamensis |
ชื่อทวินาม | |
Sindora siamensis Teijsm. ex Miq., Ann. Mus. Bot. Lugduno-Batavi 3: 86 (1867)[2] | |
ชื่อพ้อง | |
มะค่าแต้ หรือ มะค่าหนาม มะค่าหลุม มะค่าลิง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Sindora siamensis) เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Leguminosae ผลัดใบ ใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ ดอกช่อมีดอกย่อยจำนวนมาก ฝักแบนหรือกลมแบน ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม – พฤษภาคม พบครั้งแรกที่จังหวัดราชบุรี โดย J.E. Teijsmann ชื่อสปีชีส์ตั้งเป็นเกียรติแก่ประเทศไทย กระจายพันธุ์ในมาเลเซียตะวันตก ไทย, กัมพูชา, เวียดนาม, พม่า และบังกลาเทศ[3]
ในภาคอีสานของไทยมีมะค่าแต้สองสายพันธุ์คือแต้โหลน ฝักแบบรูปไข่ ไม่มีหนาม และแต้หนาม ฝักแบนรูปไข่ มีหนาม นิยมใช้เนื้อไม้ในการก่อสร้าง ของใช้ เปลือกนำมาแช่น้ำให้ได้น้ำสีน้ำตาลแดง ใช้แช่แผลจากการคลอดบุตรให้สมานตัวเร็ว ไม่ติดเชื้อ ใบใช้แทนช้อนในการตักอาหารที่มีน้ำเช่นแกงได้[4]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ปิยะ เฉลิมกลิ่น จิรพันธุ์ ศรีทองกุล และอนันต์ พิริยะภัทรกิจ. พรรณไม้ที่พบครั้งแรกในประเทศไทย. กทม. โครงการพัฒนาองค์ความรู้และศึกษานโยบายการจัดการทรัพยากรชีวภาพ. 2551 หน้า 80
- ↑ Choo, L.M. (2021). "Sindora siamensis". IUCN Red List of Threatened Species. 2021: e.T33242A2835471. doi:10.2305/IUCN.UK.2021-1.RLTS.T33242A2835471.en. สืบค้นเมื่อ 16 November 2021.
- ↑ "Sindora siamensis Teijsm. ex Miq., Ann. Mus. Bot. Lugduno-Batavi 3: 86 (1867)". International Plant Name Index (IPNI). Royal Botanic Gardens, Kew. สืบค้นเมื่อ 26 April 2020.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 "Sindora siamensis Teijsm. ex Miq". Plants of the World Online (POWO). Royal Botanic Gardens, Kew/Science. สืบค้นเมื่อ 26 April 2020.
- ↑ สถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. พรรณไม้พื้นบ้านอีสาน เล่ม 1. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 2544 หน้า 73 - 75