มิชิมะ ยูกิโอะ
มิชิมะ ยูกิโอะ | |||||
---|---|---|---|---|---|
三島由紀夫 | |||||
มิชิมะใน ค.ศ. 1955 | |||||
เกิด | ฮิราโอกะ คิมิตาเกะ 14 มกราคม ค.ศ. 1925 Nagazumi-cho 2-chome, ยตสึระ-กุ, นครโตเกียว จังหวัดโตเกียว จักรวรรดิญี่ปุ่น[1] | ||||
เสียชีวิต | 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1970
| (45 ปี)||||
สาเหตุเสียชีวิต | ฆ่าตัวตายด้วยการเซ็ปปูก | ||||
สุสาน | สุสานทามะ โตเกียว | ||||
การศึกษา | มหาวิทยาลัยโตเกียว | ||||
อาชีพ |
| ||||
นายจ้าง |
| ||||
องค์การ | ทาเตโนไก ("Shield Society") | ||||
อาชีพนักเขียน | |||||
ภาษา | ญี่ปุ่น | ||||
ช่วงเวลา | ร่วมสมัย (คริสต์ศตวรรษที่ 20) | ||||
แนวs |
| ||||
แนวร่วมในทางวรรณคดี |
| ||||
ผลงานที่สำคัญ | |||||
ช่วงปีที่ทำงาน | 1938–1970 | ||||
ชื่อภาษาญี่ปุ่น | |||||
คันจิ | 三島 由紀夫 | ||||
| |||||
ชื่อภาษาญี่ปุ่น | |||||
คันจิ | 平岡 公威 | ||||
| |||||
ลายมือชื่อ | |||||
มิชิมะ ยูกิโอะ (ญี่ปุ่น: 三島 由紀夫; โรมาจิ: Mishima Yukio) เป็นนามปากกาของ ฮิราโอกะ คิมิตาเกะ (ญี่ปุ่น: 平岡 公威; โรมาจิ: Hiraoka Kimitake; 14 มกราคม ค.ศ. 1925 - 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1970) เป็นกวีและนักเขียนชาวญี่ปุ่น ได้รับการยอมรับว่าเป็นนักเขียนท่านหนึ่งที่มีผลงานเป็นที่ยอมรับ มิชิมะเคยได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมถึง 3 ครั้ง[2] และเกือบได้รับรางวัลนี้ในปี ค.ศ. 1968 (แต่คาวาบาตะ ยาซูนาริได้รับรางวัลแทน)[3]
ประวัติ
[แก้]มิชิมะ ยูกิโอะ หรือชื่อเกิดว่า ฮิราโอกะ คิมิตาเกะ เกิดเมื่อ ค.ศ. 1925 ในครอบครัวที่มีบรรพบุรุษเป็นซามูไร ตอนยังเป็นเด็ก มิชิมะอาศัยอยู่กับคุณย่า จนถึงปี ค.ศ. 1937 เขาก็ย้ายกลับไปอยู่กับครอบครัว มิชิมะเป็นเด็กเรียนดี และสนใจในวรรณกรรมตะวันตก งานเขียนของเขาได้รับการตีพิมพ์ตั้งแต่สมัยเขาอยู่ชั้นมัธยมศึกษา เมื่อเรียนกฎหมายที่มหาวิทยาลัยโตเกียว เขาก็เปลี่ยนมาใช้นามปากกา "มิชิมะ ยูกิโอะ" เพื่อปกปิดอายุตัวเอง[4] หลังเรียนจบ มิชิมะทำงานในกระทรวงการคลัง แต่ต่อมาก็ลาออกมาเขียนนิยาย เขามีแนวคิดที่จะฟื้นฟู "บูชิโด" และต่อต้านการพัฒนาแบบตะวันตกของญี่ปุ่น มิชิมะเชื่อในลัทธิชาตินิยมสุดโต่ง และ มีความคิดฟื้นฟูจักรพรรดิโชวะให้กลับไปมีอำนาจสูงสุดในญี่ปุ่น เพื่อแสดงความรับผิดชอบที่ญี่ปุ่นแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง ที่มาพร้อมกับอิทธิพลของตะวันตก โดยเฉพาะในช่วงการยึดครองญี่ปุ่น และ ช่วงหลังการลงนามสนธิสัญญาซานฟรานซิสโก[5] จึงเริ่มรวบรวมผู้คน จนในวันที่ 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1970 มิชิมะและพรรคพวกอีก 4 คนก็บุกยึดศูนย์บัญชาการกองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่น จับผู้บัญชาการเป็นตัวประกัน และปลุกระดมให้กองทัพก่อรัฐประหาร แต่ไม่เป็นผล มิชิมะจึงกระทำเซ็ปปูกุ หรือคว้านท้องตัวเอง[6][7]
ชีวิตส่วนตัว
[แก้]นอกจากจะเป็นนักเขียน มิชิมะยังเป็นเคยแสดงภาพยนตร์มาแล้ว 5 เรื่อง[8] นอกจากนี้เขายังฝึกเพาะกายและศิลปะการต่อสู้อื่น ๆ อีกด้วย[9]
ด้านความสัมพันธ์ เขาเคยคบหากับโชดะ มิจิโกะ (ต่อมาโชดะเข้าพิธีอภิเษกสมรสกับสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะและทรงขึ้นเป็นสมเด็จพระจักรพรรดินีมิจิโกะ)[10] ต่อมามิชิมะสมรสกับซูงิยามะ โยโกะในปี ค.ศ. 1958 ทั้งคู่มีบุตรด้วยกัน 2 คน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อbio-m1
- ↑ YUKIO MISHIMA - BIOGRAPHY
- ↑ Revealing the many masks of Mishima
- ↑ A View of the Snowy Mountain :: 1941-1964
- ↑ "Yukio Mishima -- C.M. Stassel". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-15. สืบค้นเมื่อ 2015-03-01.
- ↑ Yukio Mishima Essay - Mishima, Yukio
- ↑ MISHIMA’S SUICIDE
- ↑ Yukio Mishima by iMDb
- ↑ Sun and Steel
- ↑ The Man Who Would Be Samurai
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- 三島由紀夫文学館 The Mishima Yukio Literary Museum website In Japanese only, with the exception of one page (see "English Guide" at top right)
- 山中湖文学の森公園「三島由紀夫文学館」Yamanakako Forest Park of Literature "Mishima Yukio Literary Museum" เก็บถาวร 16 พฤษภาคม 2020 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Yukio Mishima: A 20th Century Samurai ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (เก็บถาวร 27 ตุลาคม 2009)
- แม่แบบ:Books and Writers
- Mishima chronology, with links
- Yukio Mishima: The Harmony of Pen and Sword, a ceremony commemorating his 70th birthday
- Yukio Mishima speaking in English, On The Samurai Spirit ที่ยูทูบ, from a 1980s BBC documentary (9:02)
- Rare 1969 interview with Yukio Mishima ที่ยูทูบ, from Canadian Television (3:59)
- Yukio Mishima on The end of WWII ที่ยูทูบ – Full NHK Interview in 1966 (9:21)
- Yukio Mishima's attempt at personal branding comes to light in the rediscovered 'Star', Nicolas Gattig, The Japan Times (27 April 2019)
- มิชิมะ ยูกิโอะ ที่อินเทอร์เน็ตมูวีเดตาเบส