ภาษาสินธ์
ภาษาสินธ์ | |
---|---|
سنڌي, सिन्धी, | |
คำว่า "สินธ์" ในอักษรเปอร์เซีย-อาหรับ | |
ประเทศที่มีการพูด | ปากีสถาน, อินเดีย |
ภูมิภาค | แคว้นสินธ์, กัจฉ์ |
ชาติพันธุ์ | ชาวสินธ์ |
จำนวนผู้พูด | 25 ล้านคน (2007)[1] |
ตระกูลภาษา | อินโด-ยูโรเปียน
|
ภาษาถิ่น | Sindhi
Siroli
Vicholi
Lari
Lasi
Thari
Kachhi
Sindhi Bhil
|
ระบบการเขียน | |
สถานภาพทางการ | |
ภาษาทางการ | |
ผู้วางระเบียบ |
|
รหัสภาษา | |
ISO 639-1 | sd |
ISO 639-2 | snd |
ISO 639-3 | มีหลากหลาย:snd – Sindhilss – Lasisbn – Sindhi Bhil |
Linguasphere | 59-AAF-f |
ภาษาสินธ์ เป็นภาษาของกลุ่มชนในเขตสินธ์ในเอเชียใต้ ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของประเทศปากีสถาน เป็นภาษาตระกูลอินโด-ยูโรเปียน แม้ว่าจะเป็นภาษาของชาวอารยัน แต่มีอิทธิพลจากภาษาของดราวิเดียนด้วย ผู้พูดภาษาสินธ์พบได้ทั่วโลก เนื่องจากการอพยพออกของประชากรเมื่อปากีสถานแยกตัวออกจากอินเดียเมื่อ พ.ศ. 2490 และสินธ์เป็นของปากีสถาน ภาษานี้เขียนด้วยอักษรอาหรับดัดแปลง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2491 รัฐบาลอินเดียพยายามให้ชาวสินธ์ในอินเดียเขียนด้วยอักษรเทวนาครีแต่ไม่มีการยอมรับเท่าที่ควร นอกจากนี้ชาวสินธ์ในอินเดียมีการเขียนภาษาสินธ์ด้วยอักษรขุทาพาทีอีกด้วย
การแพร่กระจายทางภูมิศาสตร์
[แก้]ภาษาสินธ์ใช้พูดในแคว้นสินธ์และแคว้นบาโลชิสถานในปากีสถาน เป็นภาษาหลักในโรงเรียนในแคว้นสินธ์ และเป็นภาษาที่สองในการาจีและแคว้นบาโลชิสถาน ในอินเดียมีผู้พูดภาษานี้ในรัฐราชสถาน รัฐคุชราต และรัฐมหาราษฏระ
ประวัติศาสตร์
[แก้]ภาษาที่เป็นที่มาของภาษาสินธ์คือภาษาอปภรามศา ปรากฤต ที่เรียกวรจทะ นักเดินทางจากเปอร์เซียและอาหรับได้เข้ามาประกาศศาสนาอิสลามในสินธ์เมื่อราว พ.ศ. 1284 ทำให้ภาษาอาหรับและภาษาเปอร์เซียเข้ามามีบทบาท ภาษาสินธ์ใช้เขียนวรรณคดีเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 19–23 มีทั้งเรื่องของผู้นับถือนิกายซูฟีและบทกวีทางศาสนาอิสลาม ใน พ.ศ. 2411 เจ้าราชรัฐบอมเบย์ได้ออกประกาศให้ใช้อักษรขุทาพาที ซึ่งเป็นอักษรมาตรฐานในบอมเบย์แทนอักษรอาหรับ ทำให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในหมู่มุสลิม
สำเนียง
[แก้]สำเนียงสินธ์ สิรากีใช้พูดในสินธิ์ตอนบน สำเนียงวิโชลีใช้พูดในสินธิ์ตอนกลาง สำเนียงลารี ใช้พูดในสินธิ์ตอนล่าง สำเนียงลาซีใช้พุดในโกฮิสถาน ในบาลูชิสถาน สำเนียงทารี ใช้พูดทางตะวันออกเฉียงใต้ของสินธิ์ และบางส่วนของราชสถาน ประเทศอินเดีย สำเนียงกะฉี ใช้พูดในกุตาร์ และบางส่วนในคุชราต และทางใต้ของสินธ์ สำเนียงวิโชลีถือเป็นสำเนียงมาตรฐานของภาษา
การเขียน
[แก้]ก่อนจะมีการจัดรูปแบบมาตรฐานของการเขียน มีการใช้อักษรเทวนาครีและอักษรลันทา รวมทั้งดัดแปลงอักษรอาหรับแบบเปอร์เซียมาใช้ นอกจากนั้น ยังมีอักษรคุรมุขี อักษรขุทาพาที และอักษรศิกรรปุรี ซึ่งปรับรูปแบบมาจากอักษรลันฑา ในช่วงที่อังกฤษเข้ามาปกครอง จะใช้อักษรอาหรับเป็นอักษรมาตรฐาน แต่ก็ใช้อักษรเทวนาครีอย่างแพร่หลายเช่นกัน
อักษรอาหรับ
[แก้]มีการนำอักษรเปอร์เซียมาใช้เขียนภาษาสินธ์ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 24 ยังใช้ในปากีสถานจนปัจจุบัน มีอักษร 52 ตัว โดยมีการเพิ่มอักษรใหม่ (ڄ ٺ ٽ ٿ ڀ ٻ ڙ ڍ ڊ ڏ ڌ ڇ ڃ ڦ ڻ ڱ ڳ ڪ) เพื่อใช้แทนเสียงในภาษาสินธ์
جھ | ڄ | ج | پ | ث | ٺ | ٽ | ٿ | ت | ڀ | ٻ | ب | ا |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ɟʱ | ʄ | ɟ | p | s | ʈʰ | ʈ | tʰ | t | bʱ | ɓ | b | ɑː ʔ ∅ |
ڙ | ر | ذ | ڍ | ڊ | ڏ | ڌ | د | خ | ح | ڇ | چ | ڃ |
ɽ | r | z | ɖʱ | ɖ | ɗ | dʱ | d | x | h | cʰ | c | ɲ |
ڪ | ق | ڦ | ف | غ | ع | ظ | ط | ض | ص | ش | س | ز |
k | q | pʰ | f | ɣ | ɑː oː eː ʔ ʕ ∅ | z | t | z | s | ʃ | s | z |
ي | ء | ھ | و | ڻ | ن | م | ل | ڱ | گھ | ڳ | گ | ک |
j iː | h | ʋ ʊ oː ɔː uː | ɳ | n | m | l | ŋ | ɡʱ | ɠ | ɡ | kʰ |
อักษรเทวนาครี
[แก้]เป็นอักษรที่ใช้เขียนภาษาสินธ์ในอินเดีย รูปแบบสมัยใหม่เป็นรูปแบบที่กำหนดโดยรัฐบาลอินเดียใน พ.ศ. 2491 แต่ยังไม่ได้รับการยอมรับอย่างสมบูรณ์ จึงมีการใช้ทั้งอักษรอาหรับและอักษรเทวนาครี
अ | आ | इ | ई | उ | ऊ | ए | ऐ | ओ | औ |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ə | a | ɪ | i | ʊ | uː | e | ɛ | o | ɔ |
क | ख | ख़ | ग | ग॒ | ग़ | घ | ङ | ||
k | kʰ | x | ɡ | ɠ | ɣ | ɡʱ | ŋ | ||
च | छ | ज | ज॒ | ज़ | झ | ञ | |||
c | cʰ | ɟ | ʄ | z | ɟʱ | ɲ | |||
ट | ठ | ड | ड॒ | ड़ | ढ | ढ़ | ण | ||
ʈ | ʈʰ | ɖ | ɗ | ɽ | ɖʱ | ɽʱ | ɳ | ||
त | थ | द | ध | न | |||||
t | tʰ | d | dʱ | n | |||||
प | फ | फ़ | ब | ब॒ | भ | म | |||
p | pʰ | f | b | ɓ | bʱ | m | |||
य | र | ल | व | ||||||
j | r | l | ʋ | ||||||
श | ष | स | ह | ||||||
ʃ | ʂ | s | h |
การถอดอักษร
[แก้]เทวนาครี | อาหรับ-เปอร์เซีย |
आ | آ |
अ | ا |
ब | ب |
भ | ڀ |
थ | ٿ |
ट | ٽ |
ठ | ٺ |
प | پ |
ज | ج |
झ | جھ |
ञ | ڃ |
च | چ |
छ | ڇ |
ख़ | خ |
द | د |
ध | ڌ |
ड | ڊ |
ढ | ڍ |
र | ر |
ड़ | ڙ |
श | ش |
ग़ | غ |
फ़ | ف |
फ | ڦ |
क़ | ق |
क | ڪ |
ख | ک |
ग | گ |
घ | گھ |
ङ | ڱ |
ल | ل |
म | م |
न | ن |
ं | ن |
ण | ڻ |
व | و |
य | ي |
ब॒ | ٻ |
ज॒ | ڄ |
ड॒ | ڏ |
ग॒ | ڳ |
त | ت |
त | ط |
ह | ح |
ह | ه |
ज़ | ذ |
ज़ | ز |
ज़ | ض |
ज़ | ظ |
स | س |
स | ص |
स | ث |
คำศัพท์
[แก้]นอกจากคำศัพท์ที่มาจากภาษาสันสกฤตแล้ว ภาษาสินธ์ยังยืมคำจำนวนมากมาจากภาษาอาหรับ และภาษาเปอร์เซีย ต่อมายังได้รับอิทธิพลจากภาษาอังกฤษ ภาษาฮินดีและภาษาอูรดู ปัจจุบันภาษาสินธ์ในปากีสถานได้รับอิทธิพลจากภาษาอูรดู มีคำยืมจากภาษาอาหรับและเปอร์เซีย ส่วนในอินเดีย ได้รับอิทธิพลจากภาษาฮินดี และมีคำยืมจากภาษาสันสกฤต
สัทวิทยา
[แก้]ภาษาสินธ์มีเสียงสระและพยัญชนะมากเมื่อเทียบกับภาษาอื่น ๆ มีเสียงพยัญชนะ 46 เสียง และสระ 16 เสียง
พยัญชนะ
[แก้]Bilabial | Labiodental | Dental consonant|Dental | Alveolar | Post- alveolar |
Palatal | Velar consonant|Velar | Glottal | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
Plosives | p ph |
b bɦ |
t th |
d dɦ |
ʈ ʈh |
ɖ ɖɦ |
k kh |
g gɦ |
||||||||
Implosives | ɓ | ɗ | ʄ | ɠ | ||||||||||||
Affricates | c ch |
ɟ ɟɦ |
||||||||||||||
Nasals | m mɦ |
n nɦ |
ɳ ɳɦ |
ɲ | ŋ | |||||||||||
Fricatives | f | s | z | ʂ | x | ɣ | h | |||||||||
Taps and flaps | r | ɽ ɽɦ |
||||||||||||||
Approximants | ʋ | j | ||||||||||||||
Lateral approximants |
l lɦ |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Nationalencyklopedin "Världens 100 största språk 2007" The World's 100 Largest Languages in 2007
- ↑ "Script". Sindhilanguage.com.
- ↑ Majeed, Gulshan. "Ethnicity and Ethnic Conflict in Pakistan" (PDF). Journal of Political Studies. สืบค้นเมื่อ December 27, 2013.
- ↑ "Sindhi". The Languages Gulper. สืบค้นเมื่อ December 27, 2013.
- ↑ "Encyclopædia Britannica". สืบค้นเมื่อ December 29, 2013.
{{cite web}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|encyclopedia=
ถูกละเว้น (help)