วงจรบวก
วงจรบวก(Adder) เป็นวงจรเชิงผสม ที่ใช้บวกเลขฐาน2 ซึ่งเป็นหน่วยคำนวณและตรรกะ ชนิดหนึ่ง มักใช้เป็นกรณีศึกษาของการออกแบบวงจรเชิงผสม
วงจรบวกหนึ่งบิต
[แก้]วงจรบวกหนึ่งบิตมักแบ่งออกเป็นสองประเภทดังนี้
วงจรบวกหนึ่งบิตครึ่งอัตรา
[แก้]วงจรบวกหนึ่งบิตครึ่งอัตรา(Single bit Half-Adder)เป็นวงจรบวกมีอินพุตหนึ่งบิตสองค่า วงจรจะบวกเลขและให้ค่าสองค่าคือ ค่าผลรวม(Sum) และตัวทด(Carry) โดยวงจรนี้จะได้ค่าผลรวมและตัวทดตามตารางต่อไปนี้
A | B | SUM | CARRY |
0 | 0 | 0 | 0 |
0 | 1 | 1 | 0 |
1 | 0 | 1 | 0 |
1 | 1 | 0 | 1 |
ลักษณะของการต่อวงจรแบบ Half-Adder คือดังต่อไปนี้
จากรูปทั้งสองจะเห็นได้ว่าการใช้ XOR-Gate ช่วยลดจำนวน Gate ที่ใช้ลงไปได้เป็นอย่างมากและยังช่วยลดความซับซ้อนของวงจรได้อีกด้วย ลักษณะของสมาการ Half-Adder คือ
วงจรบวกนี้นอกจากจะใช้บวกเลขหนึ่งบิตสองอันแล้ว ยังใช้สำหรับหาผลบวกเลขโดดของเลขสองบิตหรือที่เรียกว่า2:2 compressor
วงจรบวกหนึ่งบิตเต็มอัตรา
[แก้]วงจรบวกหนึ่งบิตเต็มอัตรา (Single bit Full-Adder) เป็นวงจรที่ใช้ในการบวกเลขฐานสองเช่นกันแต่จะสามารถบวกได้มากกว่า Half-Adder โดยจะมีอินพุตหนึ่งบิตสามค่า คือสองค่าที่จะบวก และ ตัวทดเข้า(Carry in) จากภายนอก เพื่อเชื่อมตัวกับวงจรตัวอื่น (เช่น 1112+1012=11002 ตัว 1 และ 0 ที่เป็นตัวหนา ย่อมมีตัวทดจากหลักที่แล้วเข้ามา เป็นต้น)วงจรจะบวกเลขและให้ค่าสองค่าคือ ค่าผลรวม(Sum) และตัวทด(Carry) เช่นเดียวกับ Half-Adder ซึ่งแสดงได้ตามตารางค่าความจริงต่อไปนี้
A | B | Carry in | Sum | Carry Out |
0 | 0 | 0 | 0 | 0 |
0 | 0 | 1 | 1 | 0 |
0 | 1 | 0 | 1 | 0 |
0 | 1 | 1 | 0 | 1 |
1 | 0 | 0 | 1 | 0 |
1 | 0 | 1 | 0 | 1 |
1 | 1 | 0 | 0 | 1 |
1 | 1 | 1 | 1 | 1 |
ลักษณะสมการของวงจร Full-Adder คือ
ลักษณะของวงจร Full-Adder สามารถต่อได้หลายแบบ คือการนำ Half-Adder 2 ตัว และ OR-Gate 1 ตัวมาต่อรวมกัน หรือการใช้ XOR เพียง 2 ตัวต่อกันก็เป็น Full-Adder ได้เช่นกัน โดยมีลักษณะวงจรดังต่อไปนี้
การต่อวงจร Full-Adder แบบใช้ Half-Adder 2 ชุดกับ OR-Gate 1 ตัว มาต่อรวมกัน
การใช้ XOR-Gate 2 ตัว มาต่อเป็นวงจร Full-Adderจากรูปข้างต้นจะเห็นได้ว่าการต่อวงจร Full-Adder แบบใช้ XOR-Gate 2 ตัว นั้นจะไม่มี Output ของ Carry Out ออกมาด้วยซึ่งต่างกับแบบแรกที่มี Output เป็น Carry Out ออกมาด้วย แต่จะเห็นได้ว่ามีการใช้จำนวน Gate ต่างกันอย่างชัดเจน วงจรบวกนี้เราสามารถมองได้ว่ามันบวกเลขหนึ่งบิตสามอันได้ จึงใช้หาผลบวกเลขโดดของเลขสามบิตหรือที่เรียกว่า3:2 compressor
วงจรบวกหลายบิตและหลักการการทด
[แก้]วงจรบวกหลายบิต(Multiple-bit Adder) คือการสร้างวงจรบวกให้สามารถรับอินพุตได้มากขึ้น กล่าวคือบวกเลขได้หลายบิตนั้นเอง หลักการสร้างก็ง่ายๆคือการนำ Full-Adder หลายๆตัวมาต่อรวมๆกันเป็นวงจรใหญ่ๆ เพื่อที่จะได้คำนวณให้ได้หลายบิตมากขึ้นโดยเมื่อมีการต่อวงจรแบบนี้แล้วจะมีการคำนวณการทด ได้หลายแบบดังเช่นการทดแบบริปเปอร์ หรือ การทดแบบดูตัวทดล่วงหน้า เป็นต้น
การทดแบบริปเปอร์
[แก้]การทดแบบริปเปอร์(Ripple Carry Adder) คือการทดโดย เมื่อมีการต่อวงจรบวกหลายๆตัวจะต้องมีการส่งตัวทด(Carry) ไปให้กับวงจรบวกตัวต่อไปเพื่อคำนวณด้วย (โดยคำว่า Ripple นั้นแปลว่า ระลอก) เพราะฉะนั้น Ripple Carry Adder คือวงจรบวกที่มีการส่งตัวทดเป็นระลอกนั้นเอง ลักษณะวงจรคือ
การต่อวงจรลักษณะนี้มีข้อเสียคือ จะทำให้วงจรมีการทำงานที่ช้าลงเมื่อมีการต่อลอจิกเกตมากขึ้นเพราะว่าจากสมการ Carry ของ Full-Adder จะเห็นได้ว่าจำเป็นต้องมีการรอ Carry-in ก่อนที่จะคำนวณต่อไปได้
การทดแบบดูตัวทดล่วงหน้า
[แก้]การทดแบบดูตัวทดล่วงหน้า(Carry-look-Ahead)คือการทดโดยให้วงจรบวกสามารถคาดเดาก่อนได้ว่าจะมีตัวทดมาหรือไม่ โดยดูบิตการบวกคู่หลัง เพราะถ้ามีตัวทดอย่างแน่นอน(บิตหลังเป็น 1 กับ 1) หรือไม่มีตัวทดอย่างแน่นอน(บิตหลังเป็น 0 กับ 0)ก็จะได้คำตอบทันทีไม่ต้องรอตัวทดเข้า เช่นนี้ก็ไม่ต้องรอการส่งผ่านแบบ Ripple-Carry-Adder โดยในวิธีนี้จะช่วยเพิ่มความเร็วให้กับวงจรขนาดใหญ่ได้เพราะไม่จำเป็นต้องรอ Carry-in จาก Full-Adder ตัวข้างหลัง สามารถคำนวณ Carry ออกมาได้พร้อมกับการคำนวณ Sum ได้เลยลักษณะของสูตร Carry-look-Ahead คือ
ลัษณะการนำไปใช้งาน
ในกรณี Full-Adder แบบ 1 บิต
ในกรณี Full-Adder แบบ 2 บิต
ในกรณี Full-Adder แบบ 3 บิต
จะเห็นได้ว่าจะสมการสามารถนำสมการข้างบนลงไปแทนได้เรื่อยๆ จึงไม่มีข้อจำกัดของจำนวนบิตที่ต้องการ แต่ในกรณีที่จำนวนบิตมีมากเกินไปอาจจะทำให้วงจรยุ่งยากซับซ้อนได้
Bits | Ripple-Carry | Carry-look-Ahead |
1 | 2 | 2 |
4 | 8 | 6 |
8 | 16 | 10 |
12 | 24 | 10 |
16 | 32 | 10 |
20 | 40 | 14 |
24 | 48 | 14 |
32 | 64 | 14 |
64 | 128 | 14 |
ตารางแสดงค่า Delay ระหว่าง Ripple-Carry และ Carry-look-Ahead
ส่วนการดูตัวทดล่วงหน้า
[แก้]ส่วนการดูตัวทดล่วงหน้า(Lookahead Carry Unit) เป็นวิธีการหนึ่งที่ลดปัญหาการคำนวณซ้ำๆของ Carry-look-Ahead เมื่อสร้างวงจรบวกบิตมากๆ โดยจะสร้างส่วนมาพิจารณาตัวทดโดยเฉพาะ โดยแบ่งเป็นบิตย่อยๆ เรียกส่วนนี้ว่า ส่วนการดูตัวทดล่วงหน้า