ลาไฮนา
ลาไฮนา รัฐฮาวาย Lāhainā | |
---|---|
โฮโคจิ ชิงง มิชชั่น วัดพุทธในย่านดาวน์ทาวน์ลาไฮนา | |
ที่ตั้งในเทศมณฑลเมาวี และในรัฐฮาวาย | |
ที่ตั้งในเทศมณฑลเมาวี และในรัฐฮาวาย | |
พิกัด: 20°52′26″N 156°40′39″W / 20.87389°N 156.67750°W | |
ประเทศ | สหรัฐ |
รัฐ | รัฐฮาวาย |
เทศมณฑล | เมาวี |
พื้นที่[1] | |
• ทั้งหมด | 9.29 ตร.ไมล์ (24.07 ตร.กม.) |
• พื้นดิน | 7.78 ตร.ไมล์ (20.15 ตร.กม.) |
• พื้นน้ำ | 1.51 ตร.ไมล์ (3.92 ตร.กม.) |
ความสูง | 3 ฟุต (1 เมตร) |
ประชากร (2020) | |
• ทั้งหมด | 12,702 คน |
• ความหนาแน่น | 1,632.44 คน/ตร.ไมล์ (630.26 คน/ตร.กม.) |
เขตเวลา | UTC-10 (ฮาวาย-อาลีวเชียน) |
รหัสซิป | 96761, 96767 |
รหัสพื้นที่ | 808 |
FIPS | 15-42950 |
GNIS feature ID | 0361678 |
ลาไฮนา (ฮาวาย: Lāhainā, อักษรโรมัน: Lahaina) เป็นสถานที่ซึ่งระบุในสำมะโน (CDP) ในเทศมณฑลเมาวี รัฐฮาวาย สหรัฐอเมริกา ซึ่งรวมถึงพื้นที่ของกาอานาปาลี และ กาปาลัว ข้อมูลตามสำมะโนปี 2020 มีประชากรอยู่อาศัยในลาไฮนาอยู่ที่ 12,702 คน ลาไฮนาครอบคลุมพื้นที่ของชายหาดตามทางหลวงฮาวายสาย 30 ตั้งแต่อุโมงค์ถึงปลายทิศใต้
เนื่องจากลาไฮนาตั้งอยู่บนเกาะเมาวี ซึ่งมีขนาดค่อนข้างเล็กและมีพื้นที่สำหรับพัฒนาน้อยกว่า อสังหาริมทรัพย์ในลาไฮนาจึงมีมูลค่าสูงกว่าหลายพื้นที่ในฮาวาย[2]
ในเดือนสิงหาคม 2023 เหตุไฟป่าลามเข้าพื้นที่ลาไฮนา สร้างความเสียหายแก่พื้นที่และเป็นผลให้มีผู้เสียชีวิต 55 ราย[3] มีสิ่งปลูกสร้างเสียหายราว 1,700 หลัง
ประวัติศาสตร์
[แก้]เลเล (Lele) เป็นชื่อโบราณของลาไฮนา ส่วนชื่อลาไฮนามาจากภาษาฮาวาย Lā hainā แปลว่า "ดวงอาทิตย์ที่โหดร้าย" ซึ่งสื่อถึงภูมิอากาศแบบร้อนแห้งของฮาวาย[4] โดยย่านประวัติศาสตร์ของลาไฮนามีปริมาณน้ำฝนเพรยง 13 นิ้ว (330 มิลลิเมตร) ต่อปี
ในปี 1795 ก่อนการรวมเกาะในฮาวายเข้าด้วยกัน ลาไฮนาอยู่ภายใต้การปกครองของกาเมฮาเมฮามหาราช ลาไฮนาเคยเป็นราชธานีของราชอาณาจักรฮาวายในปี 1820 ถึง 1845[5] ต่อมา กาเมฮาเมฮาที่สาม ซึ่งชื่นชอบลาไฮนากว่าโฮโนลูลูซึ่งวุ่นวาย ได้สร้างเกาะขนาด 1 เอเคอร์ (0.40 ha) ชื่อว่า โมกุอุลา ล้อมรอบด้วยทะเลสาบ โมกุฮินา (Moku Hina) ว่ากันว่าเป็นที่ประทับของกีวาฮีเน (Kiwahine) เทพารักษ์ของเกาะเมาวีและราชสกุลปิอิลานี (Pi'ilani royal line) ขึ้นที่ใกล้กับใจกลางของลาไฮนา[6]
ในปี 1824 เบ็ตซี สต็อกตัน ได้สร้างโรงเรียนมิสซังแห่งแรกที่เปิดสอนแก่สามัญชนในลาไฮนา หลังได้รับการร้องขอโดยผู้นำเผ่าในลาไฮนา[7]
ในปี 1845 ได้ย้ายราชธานีแห่งฮาวายกลับไปยังโฮโนลูลู ต่อมาในศตวรรษที่ 19 ลาไฮนาเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรม ล่าวาฬโลก มีเรือจอดมากมายที่ย่านริมน้ำของลาไฮนา ถนนริมน้ำของลาไฮนายังได้รับการขึ้นชื่อเป็นหนึ่งในสิบถนนที่เยี่ยมที่สุด ("Top Ten Greatest Streets") โดยองค์การวางแผนอเมริกัน[8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "2020 U.S. Gazetteer Files". United States Census Bureau. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 27, 2021. สืบค้นเมื่อ December 18, 2021.
- ↑ "Hawaiian Real Estate Trends – A New Way to Look at Hawaii Realty". RealEstate.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 November 2012. สืบค้นเมื่อ 16 January 2013.
- ↑ "Hawaii Wildfires". New York Times. New York Times. 2023-08-10. สืบค้นเมื่อ 10 August 2023.
...This brings the death toll to 53 people,
- ↑ Pukui and Elbert (2004). "lookup of Lā-hainā". on Place Names of Hawai'i. Ulukau, the Hawaiian Electronic Library, University of Hawaii. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-17. สืบค้นเมื่อ 2009-12-31.
- ↑ Pukui and Elbert (2004). "lookup of Lahaina". on Place Names of Hawai'i. Ulukau, the Hawaiian Electronic Library, University of Hawaii. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-19. สืบค้นเมื่อ 2009-12-31.
- ↑ P.C. Klieger, 1998. The restoration of this site has been delayed. Moku`ula: Maui's Sacred Isle Bishop Museum Press, Honolulu.
- ↑ Dodd, Carol Santoki (1984). "Betsey Stockton". ใน Peterson, Barbara Bennett (บ.ก.). Notable Women of Hawaii. Honolulu: University of Hawaii Press. pp. 358–360. ISBN 978-0-8248-0820-4. OCLC 11030010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-04-23. สืบค้นเมื่อ 2017-05-18.
- ↑ "Maui's Front Street Named to Top 10 Great Streets for 2011 – Maui Now". mauinow.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-05. สืบค้นเมื่อ 2011-10-05.