Nothing Special   »   [go: up one dir, main page]

ข้ามไปเนื้อหา

ลัทธิประทับใจใหม่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพ "บ่ายวันอาทิตย์บนเกาะลากร็องด์ฌัต" โดยฌอร์ฌ-ปีแยร์ เซอรา ราว ค.ศ. 1884–1886
ภาพเหมือนของเฟลิกซ์ เฟเนอง โดยปอล ซีญัก ค.ศ. 1890

ลัทธิประทับใจใหม่[1] (อังกฤษ: neo-impressionism) เป็นคำที่เริ่มใช้โดยนักวิพากษ์ศิลปะชาวฝรั่งเศสชื่อเฟลิกซ์ เฟเนอง ในปี ค.ศ. 1886 ในการบรรยายขบวนการทางศิลปะที่ก่อตั้งขึ้นโดยฌอร์ฌ-ปีแยร์ เซอรา (Georges Seurat) งานชิ้นเอกของเซอรา "บ่ายวันอาทิตย์บนเกาะลากร็องด์ฌัต" เป็นงานชิ้นแรกที่เป็นการเริ่มขบวนการของแนวคิดทางศิลปะดังว่าเมื่อตั้งแสดงเป็นครั้งแรกในนิทรรศการแสดงศิลปะของสมาคมศิลปินอิสระแห่งปารีส[2] ในช่วงเดียวกันนี้เป็นช่วงเริ่มต้นของยุคใหม่ของฝรั่งเศสที่จิตรกรหลายคนพยายามแสวงหาวิธีใหม่ในการแสดงออก ผู้ที่ดำเนินตามลัทธิประทับใจใหม่โดยเฉพาะจะนิยมวาดภาพฉากต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในเมือง และภูมิทัศน์และทิวทัศน์ทะเล จิตรกรลัทธิประทับใจใหม่จะใช้การตีความหมายของเส้นและลายเชิงวิทยาศาสตร์ในการเขียนภาพ[3] จิตรกรกลุ่มนี้มักจะกล่าวถึงเทคนิคการผสานจุดสีเพราะเป็นลักษณะการเขียนภาพในช่วงแรกของลัทธิประทับใจใหม่

แสงและสี

[แก้]

ในช่วงแรกของลัทธิประทับใจใหม่ ฌอร์ฌ-ปีแยร์ เซอรา และผู้ติดตามพยายามพัฒนาลักษณะการเขียนที่มาจากแรงกระตุ้นของอารมณ์ (impulsive) และจากสัญชาตญาณ (intuitive) ของศิลปินลัทธิประทับใจ ศิลปินลัทธิประทับใจใหม่จะใช้การประจุดเพื่อที่จะแสดงถึงความมีระเบียบและความยั่งยืนในการวาดภาพ (organization and permanence)[4] เซอราพยายามเพิ่มการสร้างเอกลักษณ์ของขบวนการโดยการพยายามให้คำอธิบายถึงทัศนมิติในเรื่องของแสงและสายตา

อ้างอิง

[แก้]
  1. ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน[1] เก็บถาวร 2017-07-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  2. Hutton, John G. (2004). Neo-impressionism and the Search for Solid Ground: Art, Science, and Anarchism in Fin-de-siècle France. Baton Rouge: Louisiana State University Press. ISBN 0-8071-1823-0.
  3. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ five
  4. Fraquelli, Simonetta; Ginex, Giovanna; Greene, Vivien; Tosini, Aurora (2008). Radical Light: Italy’s divisionist painters, 1891-1910. London: National Gallery, [dist. by] Yale University Press. ISBN 978-1-85709-409-1.

ดูเพิ่ม

[แก้]
  • Floyd, Ratliff (1992). Paul Signac and Color in Neo-Impressionism. New York, New York: Rockefeller University Press. ISBN 0874700507.
  • Hutton, John G. (2004). Neo-impressionism and the Search for Solid Ground: Art, Science, and Anarchism in Fin-de-siècle France. Baton Rouge: Louisiana State University Press. ISBN 0-8071-1823-0.
  • Ward, Martha (1996). Pissarro, Neo-impressionism and the Spaces of the Avante-Garde Chicago, Illinois: Chicago University Press. ISBN 0226873242.
  • Haslett, Carrie (2002). Neo-impressionism: Artists on the Edge. Portland, Oregon: Portland Museum of Art. ISBN 0916857301.

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ลัทธิประทับใจใหม่