Nothing Special   »   [go: up one dir, main page]

ข้ามไปเนื้อหา

ลักกีสตาร์ (มังงะ)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ลักกีสตาร์
Lucky Star
ปกมังงะเล่มที่หนึ่ง ประกอบด้วย อิซึมิ โคนาตะ (ซ้าย), ฮิอินางิ สึคาซะ (ขวาบน) และ ฮิอินางิ คางามิ (ขวาล่าง)
らき☆すた
ชื่อภาษาอังกฤษLucky☆Star
แนวตลก, เสี้ยวชีวิต[1]
มังงะ
เขียนโดยคางามิ โยชิมิซุ
สำนักพิมพ์สำนักพิมพ์คาโดกาวะ
สำนักพิมพ์ภาคภาษาไทยสยามอินเตอร์คอมิกส์
สำนักพิมพ์ภาคภาษาอังกฤษบันไดเอ็นเทอร์เทนเมนต์ (อดีต)
วิซมีเดีย
นิตยสารคอมป์ทิก
โชเน็นเอซ
ฟรอมเกมเมอร์ส
เอซโมโมกูมิ
คอมป์เอซ
ดรากอนแม็กกาซีน
โมบายนิวไทป์
คอมป์เอชส์
ไซตามะชิมบุง
4-โคมะนาโนเอซ
กลุ่มเป้าหมายโชเน็น
วางจำหน่ายตั้งแต่10 ธันวาคม 2546 – ปัจจุบัน
จำนวนเล่ม10
เกม
ลักกีสตาร์โมะเอะดริล
ผู้พัฒนาสำนักพิมพ์คาโดกาวะ
ผู้จัดจำหน่ายสำนักพิมพ์คาโดกาวะ
แนวผจญภัย, การศึกษา, ปริศนา
แพลตฟอร์มนินเท็นโดดีเอส
วางจำหน่ายเมื่อ1 ธันวาคม 2547
อนิเมะ
กำกับโดยยามาโมโต้ ยูทากะ (1-4)
ทาเคโมโตะ ยาสุฮิโระ (5-24)
สตูดิโอเกียวโตแอนิเมชัน
เกม
ชินลักกีสตาร์โมะเอะดริล: ทะบิดะชิ
(Shin Lucky Star Moe Drill: Tabidachi)
ผู้พัฒนาสำนักพิมพ์คะโดะกะวะ
ผู้จัดจำหน่ายสำนักพิมพ์คะโดะกะวะ
แนวผจญภัย, การศึกษา, ปริศนา
แพลตฟอร์มนินเทนโด ดีเอส (Nintendo DS)
มังงะ
ลักกีสตาร์พ็อคเก็ตแทรเวเลอส์
(Lucky Star Pocket Travelers)
เขียนโดยคะงะมิ โยะชิมิซุ
สำนักพิมพ์ญี่ปุ่น คาโดคาว่า โชเท็น
นิตยสาร• คอมป์ทิก
• โชเน็งเอซ
กลุ่มเป้าหมายโชเน็น
เกม
ลักกีสตาร์: เรียวโอกะกุเอ็งโอโตไซ
(Lucky Star: Ryōō Gakuen Ōtōsai)
ผู้พัฒนาสำนักพิมพ์คะโดะกะวะ
ผู้จัดจำหน่ายสำนักพิมพ์คะโดะกะวะ
แนวโรมานซ์-ผจญภัย, วิชวลโนเวล
แพลตฟอร์มเพลย์สเตชัน 2, เพลย์สเตชันพอร์เทเบิล
มังงะ
ลักกีสตาร์: เมอร์เดอร์เคส
(Lucky Star: Murder Case)
เขียนโดยโทกะ ทะเก (Tōka Takei)
สำนักพิมพ์ญี่ปุ่น สำนักพิมพ์คะโดะกะวะ
มังงะ
ลักกีสตาร์: ยุรุยุรุเดส์
(Lucky Star: Yuruyuru Days)
เขียนโดยโทโกะ มะชิดะ (Tōko Machida)
วาดภาพโดยยุกิโกะ โฮะริงุชิ (Yukiko Horiguchi)
สำนักพิมพ์คะโดะกะวะสนีเกอร์บุงโกะ
นิตยสารคอมป์ทิก
กลุ่มเป้าหมายชาย
อนิเมะ
ลักกีสตาร์: ออริจินัลนะวิชวลทูแอนิเมชัน
(Lucky Star: Original na Visual to Animation)
กำกับโดยยะซุฮิโระ ทะเกะโมะโตะ (Yasuhiro Takemoto)
สตูดิโอญี่ปุ่น เคียวโตะแอนิเมชัน
เกม
ลักกีสตาร์: เน็ตไอดอลไมสเทอร์
(Lucky Star: Net Idol Meister)
ผู้พัฒนาสำนักพิมพ์คะโดะกะวะ
ผู้จัดจำหน่ายสำนักพิมพ์คะโดะกะวะ
แนวเกมเสมือนจริง
แพลตฟอร์มเพลย์สเตชันพอร์เทเบิล

ลักกีสตาร์ (ญี่ปุ่น: らき☆すたโรมาจิRaki Suta) เป็นมังงะการ์ตูนสี่ช่อง วาดโดย คางามิ โยชิมิซุ เริ่มตีพิมพ์ลงในนิตยสาร คอมป์ทิก ของสำนักพิมพ์คาโดกาวะ ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2546 นอกจากนี้ยังตีพิมพ์ลงในนิตยสารอื่น ๆ เช่น โชเน็นเอซ เป็นต้น การดำเนินเรื่องของ ลักกีสตาร์ นั้นไม่มีเนื้อเรื่องที่ยาวเป็นตอนต่อเนื่อง แต่จะเน้นไปที่ชีวิตประจำวันของตัวละครในแต่ละตอน

ลักกีสตาร์ มีดัดแปลงเป็นสื่อต่าง ๆ ได้แก่ ดรามาซีดีวางจำหน่ายในเดือนสิงหาคม 2548, วิดีโอเกมจำนวนสี่เกมวางจำหน่ายระหว่างปี 2548 ถึง 2552, อนิเมะจำนวน 24 ตอน โดยเกียวโตแอนิเมชัน ออกอากาศทางโทรทัศน์ระหว่างวันที่ 8 เมษายน ถึง 16 กันยายน 2550 อนิเมะเรื่องนี้ได้รับลิขสิทธิ์ในอเมริกาเหนือโดยคาโดกาวะพิกเจอร์สและจัดจำหน่ายโดยบันไดเอ็นเทอร์เทนเมนต์ เป็นดีวีดีหกแผ่นวางจำหน่ายระหว่างเดือนพฤษภาคม 2551 ถึงมีนาคม 2552[3] และออริจินัลวิดีโอแอนิเมชัน (โอวีเอ) วางจำหน่ายที่ญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2551[4] มาพร้อมกับดรามาซีดี บันไดเอ็นเทอร์เทนเมนต์วางจำหน่ายโอวีเอในรูปแบบคำบรรยายภาษาอังกฤษเท่านั้น เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2552 ปัจจุบันอนิเมะลิขสิทธิ์โดย ฟันนิเมชัน ส่วน วิซมีเดีย ได้รับสิทธิ์ในการตีพิมพ์มังงะแบบดิจิทัลเมื่อปี 2557 ส่วนในประเทศไทย สยามอินเตอร์คอมิกส์ เป็นผู้ถือสิทธิ์ในการตีพิมพ์และแปลมังงะ และ โรสแอนิเมชัน เป็นผู้ถือสิทธิ์ในการจัดจำหน่ายอนิเมะเมื่อปี 2553[2]

มังงะเรื่องแยก มิยาคาวะ-เคะ โนะ คูฟูคุ เริ่มตีพิมพ์ลงในนิตยสาร คอมป์เอชส์ ของสำนักพิมพ์คาโดกาวะ ตั้งแต่เดือนมกราคม 2551 และได้ถูกดัดแปลงเป็นอนิเมะโดย ออร์เด็ตและเอ็นเคอเรจฟิล์มส เริ่มออกอากาศบน ยูสตรีม ในเดือนเมษายน 2556

เนื้อเรื่อง

[แก้]

เนื้อหาของลักกีสตาร์จะหยิบเอาเรื่องราวที่เกี่ยวกับสิ่งรอบตัวปัจจุบันและโอตาคุ ที่เป็นประจำวันของกลุ่มนักเรียนหญิงในโรงเรียนระดับชั้นมัธยมปลายของญี่ปุ่น ในเมืองคะซุกะเบะ จังหวัดไซตามะ ที่เสียดสีกลุ่มคนการ์ตูนเล็กน้อย ตัวเอกของเรื่องคือ อิซึมิ โคนาตะ นักเรียนหญิงผู้เป็นเลิศทั้งในด้านกีฬาและการเรียน แต่กลับไม่เข้าชมรมสังกัดไหนเลย นั่นก็เป็นเพราะว่าการเข้าชมรมหรือกลุ่มกิจกรรมเหล่านั้น จะทำให้เธออดดูการ์ตูน และเสียเวลาเล่นเกมของเธอไป แม้ว่าเธอจะเป็นคนที่เกียจคร้านซักแค่ไหน แต่สำหรับเรื่องอนิเมะ หรือวิดีโอเกมที่เธอชอบแล้ว เธอจะทุ่มเวลาและให้ความสนใจกับมันเป็นพิเศษมากว่าสิ่งใด ๆ เสียอีก เนื้อหาที่ตีพิมพ์นั้นจะเริ่มต้นจากการพบกันของตัวละครทั้ง 3 ในปีแรกของการเข้าศีกษาในระดับชั้นมัธยมปลาย คือ อิซึมิ โคนาตะ, ฮิอิรากิ คางามิ, ฮิอิรากิ สึคาสะ และ ทาคาระ มิยูกิ และเมื่อเนื้อเรื่องดำเนินต่อไป พวกเธอก็จะเปลี่ยนระดับชั้นไปด้วย (เรื่องราวดูแล้วบางครั้งไม่ต่อเนื่องกัน)

ตัวละครหลัก

[แก้]
อิสึมิ โคนาตะ
(ญี่ปุ่น: 泉 こなたโรมาจิIzumi Konata)
ให้เสียงโดย: ฮิโรฮาชิ เรียว (ดราม่า ซีดี), ฮิราโนะ อายะ (อนิเมะ)
โคนาตะ หรือ "โคนะจัง" ที่เพื่อนๆ เรียกกัน เธอเป็นคนที่เบื่อง่ายมากหากสิ่งเธอที่เธอกกำลังทำอยู่นั้นมันไม่ได้กระตุ้นความสนใจของเธอ ความจริงแล้วเธอก็เป็นคนที่การเรียนดี กีฬาเยี่ยม แต่เธอกลับเบื่อที่จะต้องมานั่งเรียนในห้องเรียน เพราะเธอคิดว่ามันดูยาก อย่างไรก็ตาม เธอก็ยังเป็นคนที่มีความสามารถในการท่องจำหนังสือเรียนเป็นจำนวนมาก ก่อนเวลาสอบเพียงไม่กี่วัน เธอรัก วิดีโอเกม เป็นอย่างมาก แถมยังเล่นเกมเก่งทุกประเภทซะด้วย ขนาดคางามิที่ว่าเก่งเรียน ยังแพ้เธอเวลาเล่นเกมตอบปัญหาความรู้รอบตัว ตัวเธอเองก็ไม่เกี่ยงว่าเกมที่เธอเล่นจะเป็นประเภทอะไร เพราะเธอเล่นได้หมด ตัวอย่างเกมที่เธอเล่นก็มี "Lucky☆Star โมเอะ ดริล" (เกมตอบปัญหา ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับ "Lucky☆Star"), "Monster Hunter 2", เกมออนไลน์ หรือแม้แต่เกมสำหรับผู้ใหญ่ นอกจากวิดีโอเกมที่เธอรักแล้ว เธอยังรัก อนิเมะ อีกด้วย นั่นก็เป็นเพราะว่าเธอจะดูมันในระหว่างที่พ่อของเธอกำลังเล่นเกมอยู่ เมื่อพ่อของเธอซื้อ[[เอโรเกะ|เกมสำหรับผู้ใหญ่ หรือเกมจีบสาวมาเพื่อที่จะเล่นเอง แต่เธอก็ยังสามารถเอาออกมาเล่นเองได้ ซึ่งเธอก็เคยบอกไว้ว่าถ้าเธออายุ 18 เมื่อไหร่ เธอจะหาซื้อมาเล่นเองบ้าง
จากการที่เธอใช้เงินส่วนมากไปกับวิดีโอเกมและโดจินชิ ทำให้เธอต้องหางานพิเศษทำเพื่อหาเงิน ซึ่งเธอก็ได้งานพิเศษที่ร้านน้ำชาคอสเพลย์ ซึ่งนั่นก็เข้าทางกับที่เธอชอบในด้านนี้เลย ส่วนในเรื่องเกมออนไลน์ เธอมักจะเล่นเป็นตัวละครชาย แถมไม่มีใครรู้อีกด้วย เพราะเธอก็รู้ว่าผู้เล่นส่วนใหญ่จะใช้ตัวละครที่ไม่ตรงกับเพศของตัวเองกัน เธอมักจะเล่นเกมออนไลน์อยู่จนดึก และไปหลับในห้องเรียน ซึ่งสร้างความรำคาญให้กับอาจารย์นานาโกะ ของเธออยู่บ่อยๆ
ฮิรากิ คางามิ
(ญี่ปุ่น: 柊 かがみโรมาจิHiiragi Kagami)
ให้เสียงโดย: โคชิมิซุ อามิ (ดราม่า ซีดี), คาโต้ เอมิริ (อนิเมะ)
คางามิเป็นพี่สาวฝาแฝดของสึคาสะ ที่โรงเรียน การเรียนของเธอจัดได้ว่าเก่งเลยทีเดียว แถมยังเป็นคนที่ตั้งใจเรียนซะด้วย เธอมีหน้าที่เป็นคณะกรรมการนักเรียนในชั้นปีแรกของมัธยมปลาย เธอเรียนอยู่คนละห้องกับสึคาสะและโคนาตะ แต่ช่วงพักกลางวันพวกเธอมักจะมาทานอาหารกลางวันด้วยกันทุกคนเสมอ และเธอก็ได้เลือกเข้าเรียนในสายมนุษย์ศาสตร์ในปีสอง ซึ่งเป็นทางที่จะทำให้เธอได้มาอยู่กับเพื่อนๆ ของเธอ แต่กลายเป็นว่าเธอต้องไปเรียนอยู่ห้องอื่น และเป็นอย่างนี้เช่นเดียวกันในปีสามของเธอ เธอมักจะถูกเรียกว่า "คางามิน" เป็นคนที่ออกจะมั่นใจในตัวเองมากเล็กน้อย แต่ในเรื่องทำอาหารนี่ตรงกันข้ามกับน้องสาวฝาแฝดของเธอเลยทีเดียว
คางามิจัดได้ว่าเป็นตัวละครประเภท ปากอย่างใจอย่าง แม้ว่าบางทีเธอจะแข็งกระด้าง แต่เธอก็มีด้านที่ขี้อายอยู่เหมือนกัน ซึ่งเข้าประเภทที่เรียกว่า ซึนเดเระ เลยทีเดียว สิ่งหนึ่งที่เธอเหมือนกับโคนาตะ คือเธอชอบเล่น วิดีโอเกม เหมือนกัน แต่เล่นคนละประเภทกันกับโคนาตะ คากามิชอบเล่นเกมประเภทเดินยิงด้านข้าง และนอกจากนั้นยังชอบอ่านหนังสือพวก ไลท์ โนเวล แต่นั่นก็ทำให้เธอรู้สึกเหงา เพราะรอบตัวเธอไม่มีใครที่จะมาพูดคุยกับเธอในเรื่องนี้เลย
ฮิรากิ สึคาสะ
(ญี่ปุ่น: 柊 つかさโรมาจิHiiragi Tsukasa)
ให้เสียงโดย: นาคาฮาระ ไม (ดราม่า ซีดี), ฟุคุฮาระ คาโอริ (อนิเมะ)
สึคาสะเป็นน้องสาวฝาแฝดของคางามิ พวกเธออาศัยอยู่กับพี่น้องอีก 2 และพ่อ-แม่ รวมเป็น 6 คนทั้งครอบครัว พร้อมกับเครือญาติของเธอ เธออยู่ห้องเรียนเดียวกันกับโคนาตะ การเรียนและกีฬาเธอแทบจะเรียกได้ว่าไม่เอาถ่าน แต่ถ้าเป็นเรื่องทำอาหารล่ะถือได้ว่าชำนาญเลยทีเดียว เป็นคนที่มีมนุษย์สัมพันธ์ดี แม้จะออกเหนียมๆ ไปบ้าง
ทาคาระ มิยูกิ
(ญี่ปุ่น: 高良 みゆきโรมาจิTakara Miyuki)
ให้เสียงโดย: นาคายาม่า เอรินะ (ดราม่า ซีดี), เอนโด อายะ (อนิเมะ)
มิยูกิเป็นคุณหนูจากตระกูลมหาเศรษฐี เป็นคนที่สวย ฉลาด แถมยังมีมนุษย์สัมพันธ์ดีอีกด้วย เธอเป็นกรรมการนักเรียนและเป็นเพื่อนสนิทของคางามิ มิยูกิเรียนอยู่ห้องเดียวกันกับโคนาตะและสึคาสะ แม้ว่าเธอจะอยู่กลุ่มเดียวกันกับพวกโคนาตะ แต่เธอก็ไม่เคยโดนอ.นานาโกะ ลงโทษเลย และเธอยังเป็นที่ไว้วางใจของนักเรียนทุกคนในชั้นมากกว่าอ.นานาโกะเสียอีก
เธอมักจะถูกเพื่อนๆ เรียกกันว่า สาวแว่น ซึ่งสายตาของเธอก็สั้นกว่า 0.1 ซึ่งเธอเริ่มเป็นตั้งแต่เธอเริ่มอ่านหนังสือเองในที่มืด หลังจากที่แม่ของเธออ่านหนังสือให้เธอฟังและเผลอหลับไป เธอรักการอ่านมาก แต่เธอไม่อ่านไลท์ โนเวล

สื่อรูปแบบต่าง ๆ

[แก้]

มังงะ

[แก้]

Lucky☆Star ในรูปแบบมังงะ นั้นได้เริ่มตีพิมพ์ครั้งแรกลงในนิตยสาร คอมทิค ของประเทศญี่ปุ่นในเดือนมกราคม ปี 2004 มาจนถึงปัจจุบัน และมีฉบับรวมเล่มตีพิมพ์ออกมาแล้ว 10 เล่ม ภายใต้ลิขสิทธิ์ของ คาโดคาว่า โชเท็น เล่มแรกวางจำหน่ายเมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2547 เล่มสองวางจำหน่าย 10 สิงหาคม พ.ศ. 2547 เล่มสามวางจำหน่าย 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 เล่มสี่ วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2550 และเล่มห้า วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2550 ส่วนในประเทศไทยทางสำนักพิมพ์สยามอินเตอร์คอมิกส์ได้ลิขสิทธิ์เรื่องนี้ โดยเล่มหนึ่งได้มีกำหนดการวางจำหน่ายแล้วในวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2550[5] เล่มสองได้วางจำหน่ายในวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 เล่มสามวางจำหน่ายในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 เล่มสี่วางจำหน่ายในวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 และเล่มห้าวางจำหน่ายในวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2551

นอกจากนิตยสาร คอมทิค แล้ว มังงะของเรื่องนี้ยังปรากฏในนิตยสารอื่นๆ ในเครือของคาโดคาว่าอีกด้วย เช่น โชเน็น เอซ,นิวไทป์, คอมพเอซ, ดรากอน แมกกาซีน, โมบาย นิวไทป์ และ คาโดคาว่า ฮอตไลน์ ให้เห็นกันอยู่เรื่อยๆ

วิดีโอเกม

[แก้]

นินเทนโด ดีเอส

[แก้]

ในเวอร์ชันวิดีโอเกม จะใช้ชื่อว่า Lucky☆Star โมเอะ ดริล (ญี่ปุ่น: らき☆すた 萌えドリルโรมาจิRaki ☆ Suta Moe Doriru) ซึ่งวางจำหน่ายไปในวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ในเครื่อง นินเทนโด ดีเอส ซึ่งจะมีแบบจำนวนจำกัดอยู่ด้วย ซึ่งในรูปแบบจำนวนจำกัดนั้นมีส่วนพิเศษเพิ่มมามากมาย ซึ่งจะวางจำหน่ายปะปนไปกับแบบธรรมดา และแบบจำนวนจำกัดนี้จะถูกเรียกว่า "DX Pack" และต่อมาก็ได้มีการวางแผนที่จะจำหน่ายเกมใหม่ ภายใต้ชื่อว่า ชิน Lucky☆Star โมเอะ ดริล ~ทาบิดาจิ~ (ญี่ปุ่น: 真・らき☆すた 萌えドリル~旅立ち~โรมาจิShin Raki ☆ Suta Moe Doriru ~Tabidachi~) สำหรับเครื่อง นินเทนโด ดีเอส ในวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2550

เกมแรกจะเป็นประเภทเกมฝึกสมอง โดยที่ตัวเกมจะทดสอบผู้เล่นในทักษะต่างๆ และในด้านความจำ โดยที่ตัวละครจะต้องไล่ตอบคำถามของตัวละครตัวอื่นๆ ไปเรื่อยๆ รวมไปถึงใน "Drama ☆ Mode" ซึ่งผู้เล่นจะได้เล่นในรูปแบบเกมผจญภัยขนาดย่อม โดยเป้าหมายคือการพาตัวละครไปที่ อากิฮาบาระ โดยการตอบคำถามและเล่นมินิเกม (ทั้งหมด 5 เกม) ที่จะโผล่ออกมาให้เล่นตลอดเกม

จุดสังเกต
[แก้]
  • ในเกมจะมีจุดที่น่าสนในการเล่นคนเดียวในโหมด "Hitasura ☆ Drill" และ "Drama ☆ Mode" คือผู้เล่นสามารถที่จะลิงก์เล่นกับผู้เล่นคนอื่นๆ ที่กำลังเล่นอยู่ได้ด้วย ซึ่งผู้เล่นสามารถที่จะนำตัวละครที่ตนสร้างไว้ใน "Drama ☆ Mode" มาเล่นกันได้ และถ้าผู้เล่นต้องการที่จะใช้ท่าไม้ตายพิเศษเพื่อต่อสู้กับผู้เล่นอีกคนในขณะที่กำลังลิงก์เล่นด้วยกันอยู่ ผู้เล่นจะต้องตะโกนชื่อของท่าไม้ตายนั้นใส่ในไมโครโฟนด้วย
  • ใน Drama ☆ Mode ผู้เล่นจะได้รับบทเป็นผู้ช่วยของตัวละครตัวใดตัวหนึ่ง ซึ่งจะต้องพยายามทำให้ค่าสถานะต่างๆ ของเธอเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพื่อไว้ใช้ฝึกทักษะในการต่อสู้ใหม่ๆ อยู่เสมอ
  • ในเกมจะมี "ดริลส" อยู่ 5 ชนิด ซึ่งจะแตกต่างกันออกไป หนึ่งในนั้นจะมีปัญหาที่เรียกว่า "Ondoku" ซึ่งผู้เล่นจำเป็นที่จะต้องพูดคำตอบใส่ไมโครโฟนเพื่อตอบคำถามนั้น
  • มาสคอตของร้านขายสินค้าโดจิน และอนิเมะ ส่วนใหญ่จะปรากฏในเรื่องนี้ทั้ง 3 เวอร์ชัน (เช่น ดิ จิ การัตของค่ายบร็อกเคอลี่, อนิเมะ เทนโช ของร้าน อนิเมท และ มิโกะจัง ของร้าน โทระโนะอานะ ซึ่งจะปรากฏออกมาให้เห็นกันเป็นช่วงๆ)

เพลย์สเตชัน 2

[แก้]

คาโดคาว่า โชเท็น ได้พัฒนาเกม วิชช่วล โนเวล สำหรับเครื่องเล่น เพลย์สเตชัน 2 ชื่อว่า Lucky☆Star: เรียวโอ กาคุเอ็น โอโตไซ (ญี่ปุ่น: らき☆すた ~陵桜学園 桜藤祭~โรมาจิLucky ☆ Star: Ryōō Gakuen Ōtōsai) ซึ่งออกวางจำหน่ายในวันที่ 24 มกราคม 2008[6]

เพลย์สเตชันพอร์เทเบิล

[แก้]

สำหรับเครื่องเล่น เพลย์สเตชันพอร์เทเบิล ในชื่อว่า Lucky☆Star: เน็ต ไอดอล เมอิสเตอร์ (ญี่ปุ่น: らき☆すた ネットアイドル・マイスターโรมาจิ: 'Lucky Star: Net Idol Meister) ซึ่งออกวางจำหน่ายในวันที่ 24 ธันวาคม 2009 โดย คาโดคาว่า โชเท็น[7]

อนิเมะ

[แก้]

Lucky☆Star ในรูปแบบอนิเมะนั้น สร้างโดย เกียวโตแอนิเมชัน ออกอากาศครั้งแรกในวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2550 มีความยาวทั้งหมด 24 ตอน[8] ซึ่งได้เปลี่ยนตัวผู้กำกับ ยามาโมโต้ ยูทากะ เป็น ทาเคโมโต้ ยาสุฮิโระ หลังจากตอนที่ 4 เป็นต้นไป ด้วยเหตุผลที่ว่า: "คุณยามาโมโต้ ยูทากะ ยังไม่มีความสามารถพอที่จะไปถึงจุดที่เรียกว่าผู้กำกับได้ ดังนั้นจึงต้องขอเปลี่ยนตัวผู้กำกับ"[9]

การวางจำหน่ายแผ่น ดีวีดี

[แก้]

แผ่นดีวีดีชุดพิเศษชุดแรกนั้นวางจำหน่ายในวันที่ 22 มิถุนายน 2550 ที่ข้างในบรรจุอนิเมะไว้ 2 ตอน ซึ่งดีวีดีแผ่นแรกนั้นหลังจากที่วางจำหน่ายก็ได้รับกระแสตอบรับเป็นอย่างมากจนทำให้สินค้านั้นหมดลงไปอย่างรวดเร็วในประเทศญี่ปุ่น รายงานจาก แอมะซอนประเทศญี่ปุ่น [10] ยิ่งไปกว่านั้น "แหล่งจำหน่ายสินค้าใหญ่ [ในอากิฮาบาระ] ที่มีการวางจำหน่ายชุดพิเศษนั้นก็ยังหมดลงอย่างรวดเร็วอีกด้วย"[10]

เพลงประกอบ

[แก้]
เพลงเปิด
มตเทเคะ! เซเลอร์ ฟุคุ (ญี่ปุ่น: もってけ!セーラーふくโรมาจิMotteke! Sailor Fukuทับศัพท์: lit.ใส่ซะ! ชุดกะลาสี) โดย ฮิราโนะ อายะ, คาโต้ เอมิริ, ฟุคุฮาระ คาโอริ, และ เอนโด อายะ (ตอนที่ 1-23)
เพลงปิด

Lucky☆Star เป็นอนิเมะที่ผิดแผกไปจากเรื่องอื่นๆในเรื่องของเพลงปิด ที่ส่วนจะมีเพลงปิดเพียงไม่กี่เพลง แต่เรื่องนี้จะใช้เพลงปิดไม่ซ้ำกันในแต่ละตอน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเพลงที่นำมาจากอนิเมะเรื่องอื่นๆ และภาพยนตร์คนแสดง ซะมาก และหลังจากตอนที่ 13 เป็นต้นไป จะใช้นักพากย์หลักคือคุณ ชิราอิชิ มิโนรุ มา แสดงสด เพื่อใช้เป็นเพลงปิดในแต่ละตอนด้วย

เพลงประกอบ
  1. "ฮาเระ ฮาเระ ยูไค" โดย ฮิราโนะ อายะ, จิฮาระ มิโนริ และ โกโต้ ยูโกะ (ตอนที่ 2, 4, และ 16)
  2. "โบเค็น เดโชะ เดโชะ?" โดย ฮิราโนะ อายะ, ร้องโดย โคนาตะ (ตอนที่ 5)
  3. "Gravity" โดย ซาโตรุ โคซากิ & m.o.v.e (ตอนที่ 6 และ 8)
  4. "คุจิบิรุ เดย์ดรีม" โดย มิซาโตะ อากิ (ตอนที่ 7)
  5. "God knows..." โดย ฮิราโนะ อายะ (ตอนที่ 15)
  6. "ซากุระ ซากุ มิราอิ โค่ย ยูเมะ" (ญี่ปุ่น: サクラサクミライコイユメโรมาจิSakura Saku Mirai Koi Yumeทับศัพท์: lit.ดอกซากุระที่เบ่งบานสู่อนาคตแห่งความรักและความฝัน) โดย yozuca* (ตอนที่ 15)
  7. "โค่ย โนะ มิคุรุ เด็นเซ็ตสึ" (ญี่ปุ่น: 恋のミクル伝説โรมาจิKōi no Miruku Densetsuทับศัพท์: lit.ตำนานรักมิคุรุ) โดย โกโต้ ยูโกะ (ตอนที่ 16)
  8. "ฟุทาริ โนะ โมจิพิททัน" (ญี่ปุ่น: ふたりのもじぴったん) โดย ฟุรุฮาระ นานะ (ตอนที่ 22)
  9. "United Force" โดย คุริบายาชิ มินามิ (ตอนที่ 23)
  10. "มตเทเคะ! เซเลอร์ ฟุคุ" (ญี่ปุ่น: もってけ!セーラーふくโรมาจิMotteke! Sērāfukuทับศัพท์: lit.ใส่ซะ! ชุดกะลาสี) โดย ฮิราโนะ อายะ, คาโต้ เอมิริ, ฟุคุฮาระ คาโอริ, และ เอนโด อายะ (ตอนที่ 24)
  11. "โค่ย โนะ มิโนรุ เด็นเซ็ตสึ" (ญี่ปุ่น: 恋のミノル伝説โรมาจิKoi no Minoru Densetsuทับศัพท์: lit.ตำนานรักมิโนรุ) โดย ชิราอิชิ มิโนรุ (ตอนที่ 24)

ซีดีเพลง

[แก้]

Lucky☆Star ในแบบของ ดราม่า ซีดี นั้นมีชื่อว่า ดราม่า ซีดี Lucky☆Star ซึ่งวางจำหน่ายในวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2547 โดย ฟรอนเทียร์ เวิร์คส ส่วน วิดีโอเกม ซาวนด์แทร็ค ภายใต้ชื่อว่า Lucky☆Star โวคอล มินิ อัลบั้ม ได้วางจำหน่ายในวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2547 สำหรับ มตเทเคะ! เซเลอร์ ฟุคุ (ญี่ปุ่น: もってけ!セーラーふくโรมาจิMotteke! Sērāfuku) ที่เป็นซิงเกิลเปิดนั้น วางจำหน่ายในวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ซีดีเพลงปิด "Lucky☆Star เอนดิ้ง ธีม ดราม่า" ที่จะรวมทุกเพลงปิดในรูปแบบเต็มเพลง และคาราโอเกะเหมือนกับในอนิเมะ วางจำหน่ายในวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 โดย แลนติส ซีดีซิงเกิลแบบ maxi ไอไม เน็ต ดาร์ลิง (ญี่ปุ่น: 曖昧ネットだーりんโรมาจิAimai Netto Daarin) ที่ร้องโดยคุณ คนโนะ ฮิโรมิ เป็น โคงามิ อากิระ และ ชิราอิชิ มิโนรุ เป็นตัวเขาเองในฉบับอนิเมะ ได้วางจำหน่ายในวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ซีดีเพลง มตเทเคะ! เซเลอร์ ฟุคุ ฉบับรีมิกซ์นั้นได้วางจำหน่ายในวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2550 โดย แลนติส ซีดีซิงเกิล โคซุตเตะ! โอ้ มาย ฮันนี่ ที่ร้องโดย อายะ ฮิราโนะ เป็น โคนาตะ และ ซาซากิ โนโซมิ เป็น แพทริเซีย และซิงเกิล มิโซจิ มิซากิ ที่ร้องโดย คนโนะ ฮิโรมิ เป็น โคงามิ อากิระ นั้นได้วางจำหน่ายพร้อมกันในวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2550 และอัลบั้ม ชิราอิชิ มิโนรุ โนะ โอโตโกะ โนะ ลัลละไบ ที่เป็นอัลบั้มรวมเพลงปิดที่ร้องโดย ชิราอิชิ มิโนรุ ในอนิเมะตั้งแต่ตอนที่ 13 เป็นต้นไป ได้วางจำหน่ายในวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2550

ซีดีคาแร็คเตอร์ 4 แผ่นแรกได้วางจำหน่ายในวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2550 ซึ่งร้องโดยนักพากย์ทั้ง 4 คนในแต่ละแผ่น ฮิราโนะ อายะ เป็น โคนาตะ, คาโต้ เอมิริ เป็น คางามิ, ฟุคุฮาระ คาโอริ เป็น สึคาสะ และ เอนโด อายะ เป็น มิยูกิ ต่อมาได้มีซีดีคาแร็คเตอร์ออกตามมาอีก 4 แผ่นในวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2550 ซึ่งร้องโดยนักพากย์อีก 4 คนในแต่ละตัวละคร ฮาเซงาวะ ชิซุกะ เป็น ยูทากะ, ชิฮาระ มิโนริ เป็น มินามิ, ชิมิซึ คาโอริ เป็น ฮิโยริ และ ซาซากิ โนโซมิ เป็น แพทริเซีย สำหรับซีดีคาแร็คเตอร์อีกสองแผ่นนั้นได้วางจำหน่ายในวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2550 แผ่นหนึ่งจะเป็น ดูเอท ของนักพากย์สองคนคือ มิซุฮาระ คาโอรุ เป็น คุซาคาเบะ มิซาโอะ และ ไอซาวะ ไม เป็น มิเนะงิชิ อายาโนะ และอีกแผ่นหนึ่งจะเป็น ทริโอ ของ อายะ ฮิราโนะ, ฮาเซงาวะ ชิซุกะ และ ชิฮาระ มิโนริ เป็น โคนาตะ, ยูทากะ และ มินามิ นอกจากนั้นยังมีซีดีคาแร็คเตอร์ดูเอทอีก 2 แผ่นตามมาในวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 ซึ่งแผ่นแรกเป็นของ ฮิโรคาซุ ฮิระมัตสึ เป็น อิซึมิ โซจิโร่ และ สุมิ ชิมาโมโตะ เป็น อิซึมิ คานาตะ และอีกแผ่นจะเป็นของ นิชิฮาระ ซาโอริ เป็น นารุมิ ยุย และ มาเอดะ โคโนมิ เป็น คุโรอิ นานาโกะ

อัลบั้ม ลักกีสตาร์ BGM & เรดิโอ บันกุมิ "ลักกี☆ แชนแนล" โนะ ไดเจส โอะ ชูโรคุ ชิตะ สเปเชียล ซีดี 1 (ญี่ปุ่น: らき☆すた BGM & ラジオ番組 "らっきー☆ちゃんねる" のダイジェストを収録したスペシャルCDโรมาจิRaki Suta BGM & rajio bangumi "Raki ☆ Chaneru" no daijesuto o shuurokushita supesharu CD) ได้วางจำหน่ายครั้งแรกพร้อมกับดีวีดีแผ่นแรกในวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2550 ซึ่งเป็นอัลบั้มรวมเพลงประกอบในอนิเมะ พร้อมกับดราม่าออดิโอของ คนโนะ ฮิโรมิ ในบทของ โคงามิ อากิระ และ ชิราอิชิ มิโนรุ ในบทของเขาเอง และอัลบั้มในแบบเดียวกันนี้ฉบับต่อไปก็ได้ออกมาพร้อมกับดีวีดีชุดที่ 2 ในวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ชุดที่ 3 พร้อมกับดีวีดีชุดที่ 3 ในวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ชุดที่ 4 พร้อมกับดีวีดีชุดที่ 4 ในวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2550 ชุดที่ 5 พร้อมกับดีวีดีชุดที่ 5 ในวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2550 ชุดที่ 6 พร้อมกับดีวีดีชุดที่ 6 ในวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 ชุดที่ 7 พร้อมกับดีวีดีชุดที่ 7 ในวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ชุดที่ 8 พร้อมกับดีวีดีชุดที่ 8 ในวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2551 ชุดที่ 9 พร้อมกับดีวีดีชุดที่ 9 ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 ชุดที่ 10 พร้อมกับดีวีดีชุดที่ 10 ในวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2551 ชุดที่ 11 พร้อมกับดีวีดีชุดที่ 11 ในวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2551 และชุดที่ 12 พร้อมกับดีวีดีชุดที่ 12 ในวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

ไลท์ โนเวล

[แก้]

Lucky☆Star ในฉบับไลท์ โนเวล นั้นมีอยู่ด้วยกัน 3 เล่ม ไลท์ โนเวลเล่มแรกมีชื่อว่า Lucky☆Star Lucky☆Star ซัทสึจิน จิเค็น (ญี่ปุ่น: らき☆すた らき☆すた殺人事件โรมาจิRaki ☆ Suta Raki ☆ Suta Satsujin Jiken) ซึ่งเนื้อเรื่องจะเป็นผลงานการแต่งของ โทกะ ทาเคอิ และภาพประกอบโดย โยชิมิสึ คางามิ ผู้วาดในต้นฉบับนั่นเอง และได้วางจำหน่ายในวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2550 โดยสำนักพิมพ์ คาโดคาว่า สนีกเกอร์ บุงโกะ ในเครือ คาโดคาว่า โชเท็น[12] ส่วนเล่มที่สอง เนื้อเรื่องนั้นแต่งโดย โทกะ ทาเคอิ และภาพประกอบโดย โยชิมิสึ คางามิ มีชื่อว่า ลักกีสตาร์ : ลักกีสตาร์ ออนไลน์ (ญี่ปุ่น: らき☆すた らき☆すたオンラインโรมาจิLucky Star: Lucky Star Online) วางจำหน่ายในวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2551 เล่มที่สาม มีชื่อว่า Lucky☆Star ซูปเปอร์ โดว่า ไทเซ็น (ญี่ปุ่น: らき☆すた スーパー童話大戦โรมาจิLucky Star Super Dōwa Taisen) วางจำหน่ายในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551

โอวีเอ

[แก้]

สำนักพิมพ์คาโดคาว่าโชเท็นได้ประกาศเกี่ยวกับโอวีเอ ลักกีสตาร์ ลงในนิตยสาร คอมทิค[13] ซึ่ง คอมทิค ประจำเดือนมิถุนายนนั้นได้บอกว่า โอวีเอ จะวางจำหน่ายในฤดูร้อน 2008[14] แต่ข่าวล่าสุดประกาศออกมาว่าจะมีการวางจำหน่ายในวันที่ 26 กันยายน 2008.[4] ส่วนเพลงประกอบของโอวีเอคือเพลง "ไอ โอะ โทริโมะโดเซะ!!" (愛をとりもどせ!!, "Ai o Torimodose!!" lit. "ทวงรักกลับคืนมา!!') ร้องโดย "อุโจวเทน" (ญี่ปุ่น: 有頂天โรมาจิUchōten) (คนโนะ ฮิโรมิ และ ชิราอิชิ มิโนรุ) ทั้งนี้ เพลง "ไอ โอะ โทริโมะโดเซะ!!" เดิมเป็นเพลงเปิดสำหรับแอนิเมชันชุด "โฮะคุโตะ โนะ เค็น" ("หมัดเพชฌฆาตดาวเหนือ") บทเพลงต้นฉบับขับร้องโดย คริสตัลคิง

การตอบรับ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Lucky★Star Vol. 1". ComiXology. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 18, 2018. สืบค้นเมื่อ July 16, 2018.
  2. 2.0 2.1 http://www.rose.co.th/forum/index.php?topic=4868.0
  3. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ luckystarvol6
  4. 4.0 4.1 "Lucky Star OVA Delayed". Animekon. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-23. สืบค้นเมื่อ 2008-06-16.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  5. "ตารางกำหนดการวางจำหน่ายมังงะเรื่อง ลักกีสตาร์ ฉบับภาษาไทย ในเว็บไซต์ของสำนักพิมพ์สยามอินเตอร์คอมมิก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-28. สืบค้นเมื่อ 2007-09-10.
  6. "ข่าวการวางจำหน่ายเกม ลักกีสตาร์ วิชช่วล โนเวล บนเครื่องเพลย์สเตชัน 2" (ภาษาญี่ปุ่น). ฟามิตสึ. 10 กรกฎาคม 2007. สืบค้นเมื่อ 2007-07-29. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  7. "トップアイドル目指して活動!? 『らき☆すた ネットアイドル・マイスター』" [Aiming to be a Top Idol!? Lucky Star: Net Idol Meister] (ภาษาญี่ปุ่น). ASCII Media Works. 2009-07-13. สืบค้นเมื่อ 2009-07-15.
  8. สารานุกรมของ Anime News Network
  9. "บทสัมภาษณ์การเปลี่ยนตัวผู้กำกับ ของ บริษัทเกียวโตแอนิเมชัน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-03. สืบค้นเมื่อ 2007-05-19.
  10. 10.0 10.1 "การวางจำหน่ายดีวีดีชุดพิเศษลักกีสตาร์ ในอากิบะ". Anime News Network. 27 มิถุนายน 2550. สืบค้นเมื่อ 2007-06-27. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  11. ที่เคยปรากฏเป็นฉบับสั้นและเป็นรูปแบบของเพลงฮัมโดยตัวละครที่ชื่อว่า ทานิงุจิ ในเรื่อง สึซึมิยะ ฮารุฮิ โดยผู้ที่ให้เสียงทานิงุจินั้นก็คือ ชิราอิชิ มิโนรุ และทั้งสองเรื่องนี้ก็ได้ถูกผลิตโดยบริษัท เกียวโตแอนิเมชัน เช่นกัน
  12. "สินค้าอื่นๆ ในเว็บไซต์หลักของ ลักกีสตาร์" (ภาษาญี่ปุ่น). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-28. สืบค้นเมื่อ 2007-08-10.
  13. "ประกาศโอวีเอเรื่อง ลักกีสตาร์ ในญี่ปุ่น". Anime News Network. 2008-05-05. สืบค้นเมื่อ 2008-05-05.
  14. "แผนการวางหน่ายลักกีสตาร์ในฤดูร้อน". Anime News Network. 2008-05-08. สืบค้นเมื่อ 2008-05-09.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]