Nothing Special   »   [go: up one dir, main page]

ข้ามไปเนื้อหา

พระเจ้าฟร็องซัวที่ 1 แห่งฝรั่งเศส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 1
พระมหากษัตริย์แห่งฝรั่งเศส
ครองราชย์1 มกราคม ค.ศ. 1515 ถึง
31 มีนาคม ค.ศ. 1547
ราชาภิเษก25 มกราคม ค.ศ. 1515
รัชกาลก่อนหน้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 12
รัชกาลถัดไปพระเจ้าอองรีที่ 2
พระราชสมภพ22 กันยายน ค.ศ. 1494 เมืองคอนญัค แคว้นแซงตง
สวรรคต31 มีนาคม ค.ศ. 1547 พระราชวังรังบุยเยต์
พระมเหสีโคลดแห่งบริตานี สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส
(ค.ศ. 1499 ถึง ค.ศ. 1524)
เอเลนอร์แห่งออสเตรีย สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส
(ค.ศ. 1498 ถึง ค.ศ. 1558)
ราชวงศ์ราชวงศ์วาลัวส์
พระราชบิดาชาร์ลส์ ดยุคแห่งอองกูแลม
(Charles, Duke of Angoulême)
พระราชมารดาหลุยส์แห่งซาวอย
(Louise of Savoy)
ลายพระอภิไธย

พระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 1 แห่งฝรั่งเศส (ฝรั่งเศส: François Ier) (12 กันยายน ค.ศ. 1494 ถึง 31 มีนาคม ค.ศ. 1547) ทรงเป็นกษัตริย์แห่งฝรั่งเศสตั้งแต่ ค.ศ. 1515 ถึงค.ศ. 1547 พระเจ้าฟรองซัวส์ทรงได้ชื่อว่าเป็นกษัตริย์ พระองค์แรกของยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาฝรั่งเศส

ต้นพระชนม์ชีพ

[แก้]

พระเจ้าฟรองซัวส์ประสูติที่เมืองคอนญัค (Cognac) ในแคว้นแซงตง (Saintonge) เป็นพระโอรสของชาร์ลส์ ดยุคแห่งอองกูแลม (Duke of Angoulême) และพระนางหลุยส์แห่งซาวอย (Louise of Savoy) ทรงเป็นลูกพี่ลูกน้องของพระเจ้าหลุยส์ที่ 12 แห่งฝรั่งเศส กษัตริย์องค์ก่อนพระองค์ ทรงเป็นราชวงศ์วาลัวส์สาขาอองกูแลม พระเจ้าฟรองซัวส์ทรงได้รับแต่งตั้งเป็นดยุคแห่งออกูแลมต่อจากพระบิดา และเมื่อพระชนมายุได้ 4 พรรษาก็ได้รับแต่งตั้งเป็นดยุคแห่งวาลัวส์ (Duke of Valois) และได้เป็นองค์รัชทายาทของราชอาณาจักรฝรั่งเศส เพราะพระเจ้าหลุยส์ที่ 12 นั้นทรงไม่มีพระโอรส ในค.ศ. 1514 พระเจ้าฟรองซัวส์ทรงอภิเษกสมรสกับพระนางโคลด (Claude of France) พระธิดาของพระเจ้าหลุยส์ที่ 12 เมื่อพระเจ้าหลุยส์สิ้นพระชนม์ในค.ศ. 1515 พระเจ้าฟรองซัวส์ก็ขึ้นครองราชย์ตั้งแต่พระชนมายุ 21 พรรษา

พระเจ้าฟรองซัวส์ทรงเป็นกษัตริย์ที่ยึดแนวความคิดมนุษยนิยม (Humanism) ไว้ในพระหฤทัยผิดกับกษัตริย์สองพระองค์ก่อนคือพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 8 และพระเจ้าหลุยส์ที่ 12 ที่ทรงนำฝรั่งเศสเข้าสู่สงครามที่สิ้นเปลืองในอิตาลี ดู สงครามอิตาลี ซึ่งทั้งสองพระองค์นั้นก็ได้ชื่อว่าเป็นกษัตริย์สมัยกลางพระองค์สุดท้ายในฝรั่งเศส

สงครามอิตาลีทำให้กระแสฟื้นฟูศิลปวิทยาจากอิตาลีแพร่เข้าสู่ฝรั่งเศส ซึ่งพระเจ้าฟรองซัวส์ก็ทรงได้รับเต็มๆจากพระอาจารย์ พระราชมารดาหลุยส์ก็ทรงชื่นชมในศิลปะ และความชื่นชมในของสวยงามนี้ก็ส่งต่อให้พระโอรสคือพระเจ้าฟรองซัวส์ แม้จะไม่อาจพูดได้ว่าพระเจ้าฟรองซัวส์ทรงได้รับการศึกษาอย่างฟื้นฟูศิลปวิทยา แต่พระองค์ก็ทรงเป็นเช่นนั้นมากกว่ากษัตริย์องค์ก่อนๆ

ทรงอุปถัมภ์ศิลปะ

[แก้]

พระเจ้าฟรองซัวส์ทรงอุปถัมภ์ศิลปะและจิตรกร และทรงให้จิตรกรอิตาลีมาทำงานในฝรั่งเศส โดยเฉพาะลีโอนาร์โด ดาวินชี (Leonardo da Vinci) ซึ่งพำนักในฝรั่งเศสจนเสียชีวิต และนำภาพโมนา ลิซา มาด้วย พระเจ้าฟรองซัวส์ทรงติดต่อกับพ่อต้าขายภาพอิตาลี ให้ขนภาพของจิตรกรชื่อดังต่างๆมาไว้ในฝรั่งเศสให้หมด พระราชวังของพระองค์นั้นก็หรูหราเต็มไปด้วยงานศิลปะทุกกระเบียด

บุรุษแห่งหนังสือ

[แก้]

พระเจ้าฟรองซัวส์ยังทรงได้รับสมยาว่า “บุรุษแห่งการเล่าเรียน” (Man of letters) ทรงสนพระทัยในหนังสือต่างๆ เช่น Book of the Courtiers และยังทรงเป็นกวีเองด้วย ทรงปรับปรุงหอหนังสือหลวงและให้กวีฝรั่งเศสกุยแยม บูเด (Guillaime Budé) เป็นบรรณรักษ์ เพื่อรวบรวมหนังสือที่มีค่าต่างๆ ในอิตาลีโดยเฉพาะหนังสือหายาก และทรงเปิดหอสมุดของพระองต์ให้นักปราชญ์ทั่วไปได้ใช้ เพื่อเผยแพร่ความรู้

ในค.ศ. 1537 พระเจ้าฟรองซัวส์ทรงออกพระราชกฤษฎีกามองต์เปอลิแยร์ (Ordinance of Montpellier) ให้หนังสือทุกเล่มที่ขายในฝรั่งเศสต้องส่งสำเนาไปไว้ที่หอสมุดของพระองค์ พระขนิษฐา คือมาร์เกอรีตแห่งนาวาร์ สมเด็จพระราชินีแห่งนาวาร์ (Marguerite of Navarre) ก็ทรงเป็นนักเขียน

การก่อสร้าง

[แก้]

พระเจ้าฟรองซัวส์ทรงใช้พระราชทรัพย์มหาศาลในการก่อสร้าง ดังต่อไปนี้

สงครามอิตาลี

[แก้]

กษัตริย์สองพระองค์ก่อน คือพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 8 และพระเจ้าหลุยส์ที่ 12 ต่างล้มเหลวในสงครามอิตาลี แม้กระนั้นพระเจ้าฟรองซัวส์ก็ทรงสานต่อการรุกรานอิตาลี พระเจ้าฟรองซัวส์ทรงยึดมิลานคืนได้จากสวิส ในค.ศ. 1516 จักรพรรดิแมกซิมีเลียนสิ้นพระชนม์ พระเจ้าฟรองซัวหวังจะได้เป็นจักรพรรดิโรมันอันศักดิสิทธิ แต่ตำแหน่งก็ตกเป็นของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 แห่งสเปน ทำให้พระเจ้าฟรองซัวทรงโกรธแค้นจักรพรรดิชาลส์ จึงทรงหาแนวร่วมพันธมิตรคืออังกฤษ โดยทรงเจรจากับพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ ใน การพบปะที่ทุ่งภูษาทองไม่ไกลจากคาเลส์ เพราะทั้งสองพระองค์ต่างตกแต่งเตนต์อย่างหรูหราเพื่อโอ้อวดอีกฝ่าย การเจรจาจึงไม่เป็นผล

พระเจ้าฟรองซัวส์ทรงหาข้ออ้างบุกเนเปิลส์คืนจากสเปนแต่ไม่เป็นผล และทัพสเปนก็บุกมิลาน พระเจ้าฟรองซัวนำทัพไปป้องกัน แต่พ่ายแพ้ในการรบที่ปาเวีย (Pavia) และทรงถูกจับไปเมืองมาดริดใน ค.ศ. 1525 จนเมื่อทรงสัญญาว่าจะไม่บุกอิตาลีอีก และไถ่พระองค์ด้วยเงินมหาศาล พระเจ้าฟรองซัวจึงถูกปล่อยพระองค์

พระเจ้าฟรองซัวครั้งถูกปล่อยพระองค์มาก็ละทิ้งคำสัญญาทุกประการกับจักรพรรดิชาร์ลส์ เพราะทรงถูกบังคับให้สัญญา ทรงหันไปหาสุลต่านสุไลมานแห่งจักรวรรดิออตโตมาน ร่วมมือกันบุกเมืองนีซ ในค.ศ. 1543 แต่ไปไม่ถึงมิลาน จักรพรรดิชาร์ลส์ร่วมมือกับพระเจ้าเฮนรีที่ 8 บุกฝรั่งเศสจากทางเหนือ แต่ไม่เป็นผล

พระราชวงศ์

[แก้]

พระเจ้าฟรองซัวส์ทรงอภิเษกกับพระนางโคลดแห่งฝรั่งเศสในค.ศ. 1514 ซึ่งเป็นพระธิดาของพระเจ้าหลุยส์ที่ 12 และแอนน์ ดัชเชสแห่งบริตตานี (Anne, Duchess of Brittany) มีพระโอรสธิดารวมหกพระองค์ รอดชีวิตอยู่สามพระองค์

  1. พระเจ้าอองรีที่ 2 แห่งฝรั่งเศส (ค.ศ. 1519 ถึง ค.ศ. 1559) อภิเษกกับพระนางคัทเธอรีน เดอ เมดีซี (Catherine de Medici)
  2. องค์หญิงเมเดไลน์ (ค.ศ. 1520 ถึง ค.ศ. 1537) อภิเษกกับพระเจ้าเจมส์ที่ 5 แห่งสกอตแลนด์
  3. มาร์กาเร็ต ดัชเชสแห่งแบร์รี (Duchess of Berry - ค.ศ. 1523 ถึง ค.ศ. 1574) อภิเษกกับดยุคแห่งซาวอย (Duke of Savoy)

ในค.ศ. 1530 พระเจ้าฟรองซัวส์ทรงอภิเษกใหม่กับพระนางเอเลเนอร์แห่งออสเตรีย (Eleanor of Austria) ไม่มีบุตรธิดา