พระเจ้าปุษยมิตรศุงคะ
พระเจ้าปุษยมิตรศุงคะ | |
---|---|
รูปปั้นจากสมัยศุงคะ | |
จักรพรรดิศุงคะองค์ที่ 1 | |
ครองราชย์ | ป. 185 – 149 ปีก่อน ค.ศ. |
ก่อนหน้า | พระเจ้าพฤหทรถะเมารยะ (ในฐานะจักรพรรดิเมารยะ) |
ถัดไป | พระเจ้าอัคนิมิตร |
เสนาบดีแห่งจักรวรรดิเมารยะ | |
ราชวงศ์ | ศุงคะ |
ศาสนา | ฮินดู |
พระเจ้าปุศยมิตรศุงคะ (อักษรโรมัน: Pushyamitra Shunga, Puṣyamitra Śuṅga; ขึ้นครองราชย์เมื่อ ป. 185 – 149 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นผู้ก่อตั้งและปฐมกษัตริย์ของจักรวรรดิศุงคะที่เขาก่อตั้งขึ้นถัดจากจักรวรรดิเมารยะ[1] ชื่อเดิมของเขาคือ Puṣpaka หรือ Puṣpamitra และความสับสนระหว่างชื่อ Puṣyamitra กับ Puṣpamitra ปรากฏขึ้นเนื่องจากรูปอ่านที่ผิดพลาดของอักษร 'p' กับ 'y' ในเอกสารตัวเขียน[2]
พระองค์ได้ประกอบพิธีอัศวเมธ หรือพิธีปล่อยม้าอุปการตามประเพณีของกษัตริย์อินเดียโบราณ เพื่อสร้างความชอบธรรมในการปกครอง[3] ซึ่งมีการค้นพบจารึกของราชวงศ์ศุงกะอย่างมากมายจนถึง อโยธยา (Dhanadeva-Ayodhya inscription) และ ทิพยวทานะ กล่าวว่าอาณาจักรของพระองค์ได้ขยายออกไปไกลถึงสาคละหรือเสียลโกต ใน แคว้นปัญจาบ ทางตะวันตกเฉียงเหนือ
ตำราทางพระพุทธศาสนาระบุว่าพระองค์เป็นปฏิปักษ์ต่อพระพุทธศาสนา แม้ว่านักวิชาการสมัยใหม่บางคนจะแสดงความสงสัยเกี่ยวกับข้อมูลเหล่านี้ก็ตาม[4][5]
บรรพบุรุษ
[แก้]ตามบันทึกในปุราณะ ปุศยมิตรขึ้นเป็นกษัตริย์ด้วยการสังหารพระเจ้าพฤหทรถะ จักรพรรดิเมารยะองค์สุดท้าย[6] อย่างไรก็ตาม ตำราพุทธ ทิวยาวทาน ระบุ Pushyamitra เป็นจักรพรรดิเมารยะองค์สุดท้าย[7] ดูเหมือนว่าตำรานี้สับสนพระนามระหว่างพฤหทรถะกับ Pushyamitra[8]
H. C. Raychaudhuri ตั้งทฤษฎีว่า นาม "ศุงคะ" มาจากศัพท์สันสกฤตของต้นมะเดื่อ[9]
ข้อกล่าวหาเป็นปฏิปักษ์ต่อชาวพุทธ
[แก้]ตำราพุทธอ้างว่าพระเจ้าปุษยมิตรศุงคะกดขี่ชาวพุทธอย่างรุนแรง ข้อมูลแรกสุดที่กล่าวถึงสิ่งนี้มาจากตำราอโศกาวทาน (ส่วนหนึ่งของทิวยาวทาน) ในคริสต์ศตวรรษที่ 2 ซึ่งระบุว่า พระเจ้าปุษยมิตร (ระบุเป็นจักรพรรดิเมารยะองค์สุดท้าย) ต้องการมีชื่อเสียง เสนาบดีจึงให้คำแนะนำพระองค์ว่า ตราบเท่าที่ศาสนาพุทธยังคงเป็นศาสนาหลัก พระองค์คงไม่มีวันที่จะมีชื่อเสียงเท่าพระเจ้าอโศก บรรพบุรุษที่มีรับสั่งให้สร้างสถูป 84,000 แห่ง ที่ปรึกษาคนหนึ่งบอกว่า พระองค์สามารถมีชื่อเสียงด้วยการทำลายศาสนาพุทธ จากนั้นพระเจ้าปุษยมิตรพยายามทำลายอารามกุกกุฏาราม แต่กลับรอดได้โดยบังเอิญ จากนั้นจึงเสด็จไปที่สาคละทางตะวันตกเฉียงเหนือ โดยพระองค์บำเหน็จรางวัล 100 เดนารีโรมัน (เหรียญ) สำหรับผู้ที่นำเศียรพระภิกษุมาให้ ต่อมา พระองค์จึงเสด็จไปที่อาณาจักร Koshthaka ที่มียักษ์พุทธนาม Damshtranivasin กับยักษ์อีกตนนาม Krimisha สังหารพระองค์กับบรรดาทหาร[10][11]
... พระเจ้าปุษยมิตรเตรียมกองทัพสี่กองและตั้งใจที่จะทำลายศาสนาพุทธ พระองค์เสด็จไปยังกุกกุฏาราม (ที่ปาฏลีบุตร) ... ดังนั้น พระเจ้าปุษยมิตรจึงทำลายสังฆาราม สังหารพระภิกษุ และเสด็จจากไป ... หลังจากนั้น พระองค์เสด็จถึงสาคละและประกาศพระองค์จะบำเหน็จ ... รางวัลแก่ใครก็ตามที่นำเศียรพระภิกษุมากให้พระองค์[12]
Vibhasa ตำราคริสต์ศตวรรษที่ 2 อีกเล่ม ระบุว่า พระเจ้าปุษยมิตรเผาคัมภีร์พุทธ สังหารพระภิกษุ และทำลายอาราม 500 แห่งทั้งในและรอบกัศมีร์ โดยมีบรรดายักษ์ กุมภัณฑ์ และปีศาจตนอื่น ๆ สนับสนุนการทัพนี้ อย่างไรก็ตาม เมื่อพระองค์เสด็จถึงต้นโพธิ์ เทพที่อยู่ในต้นนั้นแปลงกายเป็นสตรีและสังหารพระองค์[13] Shariputrapariprichha ซึ่งแปลเป็ยภาษาจีนในช่วง ค.ศ. 317 ถึง 420 ก็กล่าวถึงตำนานนี้ แต่ในฉบับนี้มีรายละเอียดมากกว่า และกล่าวถึงศูนย์กลางการทัพต่อต้านศาสนาพุทธของพระเจ้าปุษยมิตรที่อินเดียตะวันออก (ไม่ใช่กัศมีร์)[13]
Arya-Manjushri-Mula-Kalpa ในสมัยกลางกล่าวถึงกษัตริย์ที่ชั่วร้ายและโง่เขลานาม Gomimukhya ("พระพักตร์โค") หรือ Gomishanda ("โกมิน วัวตัวผู้") ผู้ยึดดินแดนจากตะวันออกถึงกัศมีร์ ทำลายอารามและสังหารพระภิกษุ ท้ายที่สุด ทั้งพระองค์กับบรรดาขุนนางเสียชีวิตจากหินบนภูเขาตกหล่นทับ[13][14] นักเขียนบางคนระบุกษัตริย์องค์นี้เข้ากับพระเจ้าปุษยมิตร[15]
Taranatha นักประวัติศาสตร์พุทธชาวทิเบตในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ก็กล่าวว่า พระเจ้าปุษยมิตรกับพันธมิตรสังหารพระภิกษุและทำลายอารามจาก มัธยเทศ (พื้นที่ตอนกลาง) ถึงชลันธร ทำให้คัมภีร์พุทธถูกกำจัดจากทางเหนือภายใน 5 ปี[13]
ความน่าเชื่อถือของข้ออ้าง
[แก้]เมื่ออิงตามธรรมเนียมพุทธ นักวิชาการบางส่วนเชื่อว่าพระเจ้าปุษยมิตรเป็นผู้กดขี่ศาสนาพุทธจริง อย่างไรก็ตาม นักวิชาการบางส่วนเชื่อว่านักวิชาการพุทธมีอคติต่อพระเจ้าปุษยมิตรศุงคะ เนื่องจากพระองค์ไม่ได้อุปถัมภ์พวกตน[16] จอห์น มาร์แชลล์ นักโบราณคดี รายงานว่า มีหลักฐานความเสียหายบางส่วนจากสถานประกอบพิธีทางพระพุทธศาสนาที่ตักศิลาประมาณสมัยศุงคะ เขายังตั้งทฤษฎีว่าสถูปสัญจีเคยถูกทำลายในศตวรรษที่ 2 ก่อน ค.ศ. (สมัยพระเจ้าปุษยมิตรศุงคะ) ก่อนสร้างใหม่ขนานใหญ่[17] G. R. Sharma ผู้ขุดค้นซากปรักหักพังทางศาสนาพุทธที่โกสัมพี เสนอแนะว่า การทำลายอารามท้องถิ่นอาจเกิดขึ้นในรัชสมัยพระเจ้าปุษยมิตรศุงคะ P. K. Mishra เชื่อว่าความเสียหายต่อสถูป Deur Kothar ก็มีอายุถถึงสมัยพระเจ้าปุษยมิตร[18] H. C. Raychaudhari ชี้ให้เห็นว่าพุทธสถานสร้างขึ้นที่ภารหุตในสมัยศุงคะ[19] อย่างไรก็ตาม N. N. Ghosh รายงานว่าสิ่งก่อสร้างเหล่านี้สร้างขึ้นในสมัยผู้นำศุงคะยุคหลัง ไม่ใช่สมัยพระเจ้าปุษยมิตร[18]
H. Bhattacharya ตั้งทฤษฎีว่าพระเจ้าปุษยมิตรอาจกดขี่ชาวพุทธในทางการเมืองมากกว่าทางศาสนา โดยมีเหตุผลว่า ชาวพุทธที่มีส่วนเกี่ยวข้องทางการเมืองน่าจะสนับสนุนฝ่ายศัตรูอินโด-กรีกของพระเจ้าปุษยมิตร ซึ่งอาจทำให้พระองค์ต้องข่มเหงพวกเขา[20] อโศกาวทานระบุว่าพระเจ้าปุษยมิตรประกาศรางวัลแก่ผู้ที่สังหารพระภิกษุที่สังคละ (ปัจจุบันคือซิอัลโกต) ซึ่งตั้งอยู่ใกล้ชายแดนอินโด-กรีก K. P. Jayaswal รายงานว่าสิ่งนี้เน้นย้ำถึงแรงจูงใจทางการเมืองที่อยู่เบื้องหลังการกล่าวหาว่าพระองค์ทำการกดขี่ชาวพุทธ[21]
Historian Eric Seldeslachts นักประวัตืศาสตร์ ระบุว่า "ไม่มีหลักฐานใดก็ตามที่ระบุว่าพระเจ้าปุษยมิตรศุงคะกดขี่ชาวพุทธจริง ๆ" แม้ว่าพระองค์อาจไม่ได้สนับสนุนศาสนาพุทธอย่างจริงจัง ซึ่งทำให้ชาวพุทธโกรธแค้น[22]
Romila Thapar เขียนไว้ว่า การขาดหลักฐานทางโบราณคดีที่เป็นรูปธรรมทำให้เกิดข้อสงสัยต่อการกล่าวอ้างถึงการกดขี่ชาวพุทธของพระเจ้าปุษยมิตร[5]
มีความเป็นไปได้ว่าอิทธิพุทธในราชสำนักเมารยะเสื่อมถอยในรัชสมัยพระเจ้าปุษยมิตรศุงคะ และอารามพุทธและสถาบันอื่น ๆ หยุดได้รับพระราชอุปถัมภ์ การเปลี่ยนแปลวนี้อาจนำไปสู่ความไม่พอใจในหมู่ชาวพุทธ ส่งผลให้เกิดรายงานการกดขี่ที่มีเนื้อหาเกินจริง[21]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Mitchiner, John E. (1986). The Yuga Purāṇa (ภาษาอังกฤษ) (1st ed.). Kolkata: The Asiatic Society. p. 71. ISBN 978-93-81574-56-0.
- ↑ Mitchiner, John E. (1986). The Yuga Purāṇa (ภาษาอังกฤษ) (1st ed.). Kolkata: The Asiatic Society. pp. 71–72. ISBN 978-93-81574-56-0.
- ↑ Dineshchandra Sircar (1971). Studies in the Religious Life of Ancient and Medieval India. Motilal Banarsidass. p. 175. ISBN 978-81-208-2790-5.
- ↑ Mishra, Ram Kumar (2012). "Pushyamitra Sunga and the Buddhists". Proceedings of the Indian History Congress. 73: 50–57. ISSN 2249-1937. JSTOR 44156189.
- ↑ 5.0 5.1 Aśoka and the Decline of the Mauryas by Romila Thapar, Oxford University Press, 1960 P200
- ↑ Thapar 2013, p. 296.
- ↑ Lahiri 1974, p. 29.
- ↑ Lahiri 1974, p. 30.
- ↑ Raychaudhari Hemchandra, "Tha Audvijja Senani of the Harivansa?", Indian culture, Vol. IV, 1938, P. 360-365
- ↑ Simmons & Sarao 2010, pp. 95–96.
- ↑ Lahiri 1974, p. 33.
- ↑ Strong 1989, p. 293.
- ↑ 13.0 13.1 13.2 13.3 Simmons & Sarao 2010, p. 96.
- ↑ Lahiri 1974, p. 33-34.
- ↑ Bandyopadhyaya, Jayantanuja (2007). Class and Religion in Ancient India. Anthem. p. 209. ISBN 978-1-84331-332-8.
- ↑ Lahiri 1974, pp. 34–35.
- ↑ Simmons & Sarao 2010, pp. 96–97.
- ↑ 18.0 18.1 Simmons & Sarao 2010, p. 97.
- ↑ Lahiri 1974, p. 34.
- ↑ Simmons & Sarao 2010, p. 100.
- ↑ 21.0 21.1 Simmons & Sarao 2010, pp. 99–100.
- ↑ Heirman, Ann; Bumbacher, Stephan Peter (2007-05-11). The Spread of Buddhism (ภาษาอังกฤษ). BRILL. p. 141. ISBN 978-90-04-15830-6.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Jain, Kailash Chand (1991). Lord Mahāvīra and His Times. Motilal Banarsidass. ISBN 978-81-208-0805-8.
- Simmons, Caleb; Sarao, K. T. S. (2010). Danver, Steven L. (บ.ก.). Popular Controversies in World History. ABC-CLIO. ISBN 978-1-59884-078-0.
- Lahiri, Bela (1974). Indigenous states of northern India, circa 200 B.C. to 320 A.D. University of Calcutta. p. 31.
- Strong, John S. (1989). The Legend of King Aśoka : a study and translation of the Aśokāvadāna. Princeton: Princeton University Press. ISBN 0-691-01459-0.
- Thapar, Romila (2013), The Past Before Us, Harvard University Press, ISBN 978-0-674-72651-2