Nothing Special   »   [go: up one dir, main page]

ข้ามไปเนื้อหา

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นเชษฐาธิเบนทร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นเชษฐาธิเบนทร์
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 3
พระองค์เจ้าชั้นเอก
ประสูติ4 พฤษภาคม พ.ศ. 2358
สิ้นพระชนม์14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2405 (46 ปี)
หม่อมหม่อมราชวงศ์เอี่ยม
พระบุตร9 องค์
ราชสกุลโกเมน
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมารดาเจ้าจอมมารดาเฟือง

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นเชษฐาธิเบนทร์[1] (4 พฤษภาคม พ.ศ. 2358 – 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2404) มีพระนามเดิมว่า หม่อมเจ้าโกเมน เป็นพระราชโอรสลำดับที่ 11 ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นลำดับที่ 2 ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเฟือง เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 6 แรม 11 ค่ำ ปีกุน สับตศก จุลศักราช 1177 ตรงกับวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2358

ในปี พ.ศ. 2394 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนา พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโกเมน ขึ้นเป็น พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นเชษฐาธิเบนทร์[2]

พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นเชษฐาธิเบนทร์ สิ้นพระชนม์เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 3 แรม 2 ค่ำ ปีระกา ตรีศก จุลศักราช 1223 ตรงกับวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2404 (แบบสากล คือ พ.ศ. 2405) สิริพระชันษา 46 ปี

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นเชษฐาธิเบนทร์ เป็นต้นราชสกุล โกเมน โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามราชสกุลแก่หม่อมหลวงวงศ์ ผู้ขอ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2459 เป็นสกุลอันดับที่ 3202 ตามประกาศวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2459

พระโอรสและพระธิดา

[แก้]

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นเชษฐาธิเบนทร์ มีพระโอรสและพระธิดา 9 องค์ ได้แก่[3]

  1. หม่อมเจ้าหญิงนารี โกเมน (ประสูติ พ.ศ. 2382)
  2. หม่อมเจ้าหญิงถัด โกเมน
  3. หม่อมเจ้าหญิงอ่าง โกเมน (10 กรกฎาคม พ.ศ. 2383 – 6 มีนาคม พ.ศ. 2459; พระราชทานเพลิง ณ วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2465) ประสูติแด่หม่อมราชวงศ์หญิงเอี่ยม โกเมน (ราชสกุลเดิม: ปาลกะวงศ์)
  4. หม่อมเจ้า (ไม่ปรากฏพระนาม)
  5. หม่อมเจ้า (ไม่ปรากฏพระนาม)
  6. หม่อมเจ้า (ไม่ปรากฏพระนาม)
  7. หม่อมเจ้าหญิงวณิดา[4] (พ.ศ. 2388 – 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2435; พระราชทานเพลิง ณ วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2438)
  8. หมม่อมเจ้าชายศักดิ์ศรี (พ.ศ. 2394 – 19 สิงหาคม พ.ศ. 2433)
  9. หม่อมเจ้าหญิงสถิตย (พ.ศ. 2395 – 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2418)

พระอิสริยยศ

[แก้]
ธรรมเนียมพระยศของ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นเชษฐาธิเบนทร์
การทูลใต้ฝ่าพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพ่ะย่ะค่ะ/เพคะ
  • 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2358 – 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 : หม่อมเจ้าโกเมน
  • 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 – 2 เมษายน พ.ศ. 2394 : พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าโกเมน
  • 2 เมษายน พ.ศ. 2394 – 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2394 : พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโกเมน
  • 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2394 – 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2404 : พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นเชษฐาธิเบนทร์
  • 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 : พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นเชษฐาธิเบนทร์

พงศาวลี

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. ราชสกุลวงศ์. พิมพ์ครั้งที่ 14, กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2554. 296 หน้า. หน้า 39. ISBN 978-974-417-594-6
  2. พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชชกาลที่ ๔ : ๑๒. ตั้งกรมเจ้านาย
  3. ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พลตรี หม่อมราชวงศ์, และรัชนี ทรัพย์วิจิตร. พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2549. 360 หน้า. หน้า 130. ISBN 974-221-818-8
  4. "พระราชทานเพลิง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 12 (9): 73–74. 2 มิถุนายน พ.ศ. 2438. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)