Nothing Special   »   [go: up one dir, main page]

ข้ามไปเนื้อหา

ปลาแค้

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปลาแค้
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ยุคไพลโอซีน - ปัจจุบัน[1]
ปลาแค้ยักษ์ (Bagarius yarrelli) ซึ่งเป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุด
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Siluriformes
วงศ์: Sisoridae
วงศ์ย่อย: Sisorinae
สกุล: Bagarius
Bleeker, 1855
ชนิดต้นแบบ
Pimelodus bagarius
Hamilton, 1822
ชนิด
ชื่อพ้อง
  • Pimelodus Lacepède, 1803

ปลาแค้ (อังกฤษ: Devil catfish, Goonch, Bagarius catfish; เบงกอล: বাঘাইর) เป็นปลากระดูกแข็งในสกุล Bagarius (/บา-กา-เรียส/) อยู่ในอันดับปลาหนัง ในวงศ์ปลาแค้ (Sisoridae)

ลักษณะ

[แก้]

มีรูปร่างโดยรวมคือ ส่วนหัวโต ปากกว้างมากและอยู่ด้านล่าง ภายในปากมีฟันซี่แหลม ๆ อยู่ ช่องเหงือกกว้าง ผิวหนังบนหัวและตัวไม่เรียบ อาจสากหรือเป็นตุ่มนิ่มเล็ก ๆ บนหัวมีสันตื้น ๆ ไปถึงด้านหลัง ครีบไขมันมีขนาดเล็ก มีหนวด 4 คู่ หนวดที่ริมฝีปากเป็นเส้นแบนและแข็งเป็นพิเศษ หนวดที่จมูกสั้น หนวดใต้คางยาว ก้านครีบหลังมีก้านครีบเดี่ยวเป็นกระโดงสูงและยื่นเป็นเส้นเดี่ยว ครีบอกมีก้านครีบเดี่ยวที่มีปลายยื่นออกมาเป็นเส้นเดี่ยวเช่นเดียวกัน ครีบท้องใหญ่ ครีบก้นเล็ก ครีบหางเว้าลึก ตามีขนาดเล็ก ข้อหางไปจรดปลายหางเรียวลู่ มีสีลำตัวน้ำตาลเขียวและมีลวดลายสีดำ

จัดเป็นปลาขนาดใหญ่ มีขนาดโดยรวมตั้งแต่ 2 เมตร-75 เซนติเมตร ถือได้ว่าเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในวงศ์นี้ พบแพร่กระจายพันธุ์ตั้งแต่อนุทวีปอินเดีย, เอเชียอาคเนย์ จนถึงมณฑลยูนนานในประเทศจีน[2]

มีพฤติกรรมอาศัยอยู่ในแม่น้ำสายใหญ่ ที่มีคุณภาพน้ำใสสะอาด มีปริมาณออกซิเจนละลายในน้ำสูง และมีกระแสน้ำไหลพอสมควร โดยมักจะกบดานตัวอยู่นิ่ง ๆ ที่ใต้พื้นน้ำเพื่อดักรออาหาร ซึ่งได้แก่ ปลาชนิดต่าง ๆ

มีด้วยกันทั้งหมด 4 ชนิด ได้แก่[3]

ทั้งหมดนี้ นิยมบริโภคกันมาก เพราะเนื้อมีรสชาติอร่อย และตกเป็นเกมกีฬา โดยเฉพาะใน 2 ชนิดแรก เนื่องจากมีขนาดใหญ่และพบได้มากกว่า ในภาษาไทยจะเรียกปลาสกุลนี้ชื่ออื่น ๆ อีก เช่น "แข้" หรือ "ตุ๊กแก" เป็นต้น[4]

ฟอสซิล

[แก้]
Bagarius gigas ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว

ชนิดที่สูญพันธุ์ไปแล้ว คือ B. gigas ได้รับรายงานจากเกาะสุมาตรา ในยุคอีโอซีน แต่อายุของสถานที่ถูกขุดค้นพบนั้นยังไม่เป็นที่ทราบแน่แนอน[5]

ปลาชนิดที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่รู้จักของสกุลนี้และมีซากดึกดำบรรพ์ที่ได้รับการยืนยัน คือ ปลาแค้วัว พบในเกาะสุมาตราและอินเดียในยุคไพลโอซีน[1]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Zhou, Wei (2007). "A Review of the Catfish Genus Pseudexostoma (Siluriformes: Sisoridae) with Description of a New Species from the Upper Salween (Nujiang) Basin of China" (PDF). The Raffles Bulletin of Zoology. 55 (1): 147–155. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-02-06. สืบค้นเมื่อ 2014-03-28. {{cite journal}}: ระบุ |accessdate= และ |access-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  2. หน้า 40, สาระน่ารู้ปลาน้ำจืดไทย เล่ม ๒ โดย สมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์ (พ.ศ. 2547) ISBN 974-00-8738-8
  3. "ITIS". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-07-04. สืบค้นเมื่อ 2014-03-28.
  4. หมายความของคำว่า "แค้" ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542
  5. Ferraris, Carl J., Jr. (2007). "Checklist of catfishes, recent and fossil (Osteichthyes: Siluriformes), and catalogue of siluriform primary types" (PDF). Zootaxa. 1418: 1–628.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Bagarius ที่วิกิสปีชีส์