Nothing Special   »   [go: up one dir, main page]

ข้ามไปเนื้อหา

ปลาอินทรีทะเลสาบเขมร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปลาอินทรีทะเลสาบเขมร
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Perciformes
วงศ์: Scombridae
สกุล: Scomberomorus
สปีชีส์: S.  sinensis
ชื่อทวินาม
Scomberomorus sinensis
(Lacepède , 1801)
ชื่อพ้อง
  • Cymbium combodgiense Durand, 1940
  • Scomber sinensis Lacepède, 1800

ปลาอินทรีทะเลสาบเขมร[2] (อังกฤษ: Chinese seerfish, Chinese mackerel; เขมร: ត្រីស្បៃកា, ត្រីបីកា; ชื่อวิทยาศาสตร์: Scomberomorus sinensis) เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่งที่สามารถอาศัยในน้ำกร่อยหรือน้ำจืดได้ อยู่ในวงศ์ปลาอินทรี (Scombridae)

มีรูปร่างเพรียวยาว หัวแหลม ปากมีฟันแหลมคม ครีบหางเว้าลึก ครีบท้องและครีบหลังแหลมและมีรอยหยักไปจรดครีบหาง ชายครีบเป็นสีดำ ปลายครีบอกหรือครีบอกมนกลมไม่แหลม ลำตัวสีเทาเงินเหลือบเขียว ลำตัวไม่มีลวดลายหรือแต้มจุดเหมือนปลาอินทรีชนิดอื่น อาศัยอยู่ตามชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก ตั้งแต่สหรัฐอเมริกาแถบชายฝั่งแปซิฟิก, ญี่ปุ่น, จีน, เวียดนาม และพบบางส่วนเข้ามาอาศัยในแหล่งน้ำจืด ที่ปากแม่น้ำโขง และทะเลสาบเขมรด้วย โดยพบได้ตั้งแต่น้ำตกคอนพะเพ็งในลาวไปจนถึงจังหวัดกระแจะและพนมเปญในกัมพูชา ในประเทศไทยพบได้บ้างแถบจังหวัดจันทบุรี และมีการตกได้ที่เกาะราชาน้อย จังหวัดภูเก็ต เมื่อปลายเดือนมีนาคม ค.ศ. 2018 โดยนักตกปลานายอานนท์ แดงสวัสดิ์ น้ำหนักมากกว่า 72.5 กิโลกรัม[3] เป็นปลากินเนื้อที่ล่าเหยื่อเป็นอาหาร ซึ่งได้แก่ ปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็ก[4]

มีความยาวได้ถึง 2.18 เมตร หนักได้ถึง 80 กิโลกรัม (หนักที่สุดพบ 131 กิโลกรัม[5] เมื่อปี ค.ศ. 2006) นับเป็นปลาอินทรีชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด[5][6] แต่มักสับสนกับปลาอินทรีญี่ปุ่น (S. niphonius) ที่พบในทะเลจีนใต้[1]

เป็นปลาเศรษฐกิจใช้เพื่อการบริโภค ตกเป็นเกมกีฬา และเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Collette, B.B.; Chang, S.-K. "Scomberomorus sinensis". The IUCN Red List of Threatened Species. 2023: e.T170346A170088828. สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2024. doi:10.2305/IUCN.UK.2023-1.RLTS.T170346A170088828.en.
  2. "ภาพจาก ndap.org". siamensis.org. 28 ตุลาคม 2005. สืบค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2016.
  3. "ตะลึง!โคตรปลาอินทรียักษ์72.5โลฯตัวแรกในประเทศไทย (ประมวลภาพ-ชมคลิป)". แนวหน้า. 25 มีนาคม 2018.
  4. Maurice Kottelat; Tony Whitten (กันยายน 1996). Freshwater Biodiversity in Asia: With Special Reference to Fish. World Bank Technical Paper. Washington, D.C. p. 16. ISBN 0-8213-3808-0.
  5. 5.0 5.1 Froese, R.; D. Pauly (บ.ก.). "Scomberomorus sinensis (Lacepède, 1800)". FishBase. สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2024.
  6. "Japanese Spanish mackerel". kotobank.jp (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 31 พฤษภาคม 2016.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]