Nothing Special   »   [go: up one dir, main page]

ข้ามไปเนื้อหา

ปลาซิวหัวตะกั่วสุโขทัย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปลาซิวหัวตะกั่วสุโขทัย
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Cypriniformes
วงศ์: Cyprinidae
สกุล: Laubuka
สปีชีส์: L.  caeruleostigmata
ชื่อทวินาม
Laubuka caeruleostigmata
Smith, 1931
ชื่อพ้อง
  • Chela caeruleostigmata (Smith, 1931)

ปลาซิวหัวตะกั่วสุโขทัย หรือ ปลาท้องพลุ หรือ ปลาข้าวเม่า[2] (อังกฤษ: Flying minnow, Flying barb, Leaping barb, Siamese hatchetfish; ชื่อวิทยาศาสตร์: Laubuka caeruleostigmata) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง จำพวกปลาซิวและปลาท้องพลุ ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae)

มีรูปร่างค่อนข้างกว้าง ลำตัวแบนข้างมาก ส่วนท้องเป็นสัน เส้นข้างลำตัวโค้งลงเห็นชัดเจน และขนานกับริมท้อง ครีบอกแหลมยาว ก้านครีบของครีบท้องยื่นยาวเป็นเส้นเดี่ยว ที่หัวและบนหลังตอนหน้าครีบหลังมีจุดสีน้ำเงินเข้ม บนลำตัวหลังช่องเหงือกมีจุดสีดำขนาดใหญ่ 1 จุด และเหนือครีบอกมีจุดสีดำ 4-9 จุด สีของลำตัวทั่วไปเป็นสีขาวอมเขียวแวววาว

มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 7 เซนติเมตร แต่ขนาดโดยเฉลี่ย 4-5 เซนติเมตร จัดเป็นปลาซิวหัวตะกั่ว 1 ใน 2 ชนิดที่พบได้ในประเทศไทย พบกระจายพันธุ์ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนบนและแม่น้ำโขง

มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูงขนาดเล็กในแหล่งน้ำที่มีพรรณไม้ขึ้นหนาแน่น กินอาหารบริเวณผิวน้ำ เช่น แมลง, ลูกน้ำ, ลูกไร เป็นอาหาร เป็นปลาที่เมื่อตกใจแล้วสามารถกระโดดพ้นน้ำได้สูง

มีสถานะพบในธรรมชาติใกล้สูญพันธุ์แล้ว นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม โดยเฉพาะรวบรวมจากแหล่งธรรมชาติจำหน่ายยังต่างประเทศ และในปัจจุบัน ก็สามารถเพาะขยายพันธุ์ในบ่อเลี้ยงได้เป็นผลสำเร็จ[3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Kottelat, M. 1996. Chela caeruleostigmata. 2006 IUCN Red List of Threatened Species. Downloaded on 19 July 2007.
  2. [https://web.archive.org/web/20120414232001/http://rirs3.royin.go.th/new-search/word-2-search.asp เก็บถาวร 2012-04-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ข้าวเม่า ๒ น. ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542]
  3. สมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์. สาระน่ารู้ ปลาน้ำจืดไทย เล่ม ๑. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, 2547. 264 หน้า. หน้า 59. ISBN 974-00-8701-9

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]