การลอบสังหารชินโซ อาเบะ
การลอบสังหารชินโซ อาเบะ | |
---|---|
อาเบะในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2565 | |
สถานที่ | ใกล้สถานีรถไฟยามาโตะ-ไซไดจิ นครนาระ จังหวัดนาระ ประเทศญีปุ่น |
พิกัด | 34°41′38.6″N 135°47′02.2″E / 34.694056°N 135.783944°E |
วันที่ | 8 กรกฎาคม ค.ศ. 2022 ป. 11:30 JST (UTC+09:00) |
เป้าหมาย | ชินโซ อาเบะ |
ประเภท | การลอบสังหารโดยการยิง |
อาวุธ | ปืนประดิษฐ์[1][a] |
ตาย | 1 (ชินโซ อาเบะ) |
เหตุจูงใจ | ความคับข้องใจต่อโบสถ์แห่งความสามัคคีและความเชื่อที่ว่าอาเบะและลัทธิมีความสัมพันธ์ใกล้ชิด |
ชินโซ อาเบะ อดีตนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ถูกลอบสังหารในวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 ระหว่างที่อาเบะกำลังปราศรัยเพื่อหาเสียงที่งานกิจกรรมทางการเมืองนอกสถานียามาโตะ-ไซไดจิในนครนาระ จังหวัดนาระ ประเทศญี่ปุ่น[2][3][4] ขณะที่อาเบะกำลังปราศรัยเพื่อหาเสียงให้แก่ผู้สมัครรับเลือกตั้งพรรคเสรีประชาธิปไตย (LDP) เขาถูกยิงจากด้านหลังในระยะใกล้ด้วยปืนประดิษฐ์[1] อาเบะได้รับการนำตัวส่งโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแพทย์นาระโดยเฮลิคอปเตอร์พยาบาล ที่ซึ่งคณะแพทย์ของโรงพยาบาลประกาศการเสียชีวิตของเขา[5]
ผู้ต้องสงสัย เท็ตสึยะ ยามางามิ ถูกจับกุมในข้อหาพยายามฆ่า ณ ที่เกิดเหตุ จากนั้นถูกปรับใหม่เป็นฆาตกรรมหลังการเสียชีวิตของอาเบะ ยามางามิกล่าวกับตำรวจสืบสวนว่าเขาเก็บความขุ่นแค้นที่มีต่อโบสถ์แห่งความสามัคคี (Unification Church; บ้างเรียก ลัทธิมูนนี) ซึ่งเป็นเหตุให้มารดาของเขาล้มละลาย และตัดสินใจยิงอาเบะโดยเชื่อว่าอาเบะมีความสัมพันธ์กับกลุ่มดังกล่าว ผู้ต้องสงสัยยังกล่าวหาอาเบะว่าเป็นผู้ขยายอิทธิพลของโบสถ์ในประเทศญี่ปุ่น[6]
ผู้นำจากหลากหลายประเทศยกย่องความสำเร็จของอาเบะ ขณะแสดงความสะเทือนใจและความโศกเศร้าต่อการเสียชีวิตของเขา[7] อาเบะเป็นอดีตนายกรัฐมนตรีคนแรกที่ถูกลอบสังหารนับตั้งแต่ ไซโต มาโกโตะ และ ทากาฮาชิ โคเรกิโยะ ในเหตุการณ์ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2479[8]
ภูมิหลัง
[แก้]ความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวอาเบะและโบสถ์แห่งความสามัคคี
[แก้]ชินโซ อาเบะ รวมถึงบิดาของเขา ชินตาโร อาเบะ และตาของเขา คิชิ โนบูซูเกะ มีความสัมพันธ์ที่ยาวนานกับโบสถ์แห่งความสามัคคีซึ่งเป็นขบวนการศาสนาใหม่ที่มักได้รับข้อโต้แย้งโดยสาธารณชน ก่อตั้งโดย ซ็อน มย็อง มูน ในประเทศเกาหลีใต้ เจ้าหน้าที่ของโบสถ์เดินทางไปที่บ้านของคิชิซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับสำนักงานใหญ่ในประเทศญี่ปุ่นอยู่บ่อยครั้ง[9] รายงานโดยคณะอนุกรรมาธิการสืบสวนสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ ใน พ.ศ. 2521 โบสถ์แห่งความสามัคคีก่อตั้งโดยอธิบดีสำนักข่าวกรองกลางเกาหลีใต้ คิม ช็อง-พิล เพื่อใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองในการสร้างอิทธิพลต่อการเมืองสากลในนามของ พัก จ็อง-ฮี ผู้จะขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเกาหลีใต้ในเวลาต่อมา[10] โบสถ์เป็นที่รู้จักโดยทั่วไปว่าได้รับการสนับสนุนจากพรรคเสรีประชาธิปไตยตั้งแต่การเข้ามามีส่วนร่วมของโนบูซูเกะในท้ายคริสต์ทศวรรษ 1950 อย่างไรก็ตามความสัมพันธ์นี้ถูกเพิกเฉยโดยนักข่าวญี่ปุ่น[11]
ใน ค.ศ. 2006 ระหว่างการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีวาระแรกของเขา อาเบะและรัฐมนตรีหลายคนส่งโทรเลขแสดงความยินดีแก่สหพันธ์สันติภาพสากล (Universal Peace Federation; UPF) องค์การนอกภาครัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโบสถ์[12] สิบเดือนก่อนการลอบสังหาร ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2021 อาเบะออกอากาศระหว่างพูดสุนทรพจน์ความยาว 5 นาที ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการงานรวมตัวสมาชิกสหพันธ์สันติภาพสากล โดยมีการปรากฏตนของอดีตประธานาธิบดีสหรัฐ โดนัลด์ ทรัมป์ และบุคคลสำคัญในต่างประเทศอื่น ๆ[13]
โบสถ์แห่งความสามัคคีในประเทศญี่ปุ่น
[แก้]อ้างอิงจากนักประวัติศาสตร์ ประเทศญี่ปุ่นได้มอบความช่วยเหลือกว่า 70% ของทรัพย์สินของโบสถ์แห่งความสามัคคี โบสถ์ได้รับเงินทุนสนับสนุนจากสิ่งที่เรียกว่า "การซื้อขายทางจิตวิญญาณ" (spiritual sales) ในประเทศ สตีฟ ฮัสซัน อดีตสมาชิกโบสถ์ได้อธิบายการซื้อขายทางจิตวิญญาณว่าคือสมาชิกโบสถ์ที่ตรวจสอบหาข่าวมรณกรรม (parishioners scanning obituaries) ไปเคาะประตูชาวบ้าน และบอกกับพวกเขาว่า "ผู้วายชนม์ที่ท่านรักกำลังสื่อสารกับเรา ด้วยเหตุนี้ ขอให้ท่านไปที่ธนาคารและส่งเงินให้แก่โบสถ์แห่งความสามัคคีเพื่อให้ผู้เป็นที่รักของท่านสามารถเดินทางขึ้นสู่สวรรค์ไปยังโลกแห่งวิญญาณ"[14]
ใน พ.ศ. 2530 ทนายความกว่า 300 คนในประเทศญี่ปุ่นจัดตั้งสมาคมที่เรียกว่า เครือข่ายทนายความต่อต้านการซื้อขายทางจิตวิญญาณแห่งชาติ[b] เพื่อช่วยเหลือผู้คนที่ถูกบังคับให้บริจาคเป็นจำนวนมากหรือซื้อสินค้าราคาแพงจากโบสถ์แห่งความสามัคคี[15] [16] อ้างอิงจากสถิติที่รวบรวมโดยทนายความของสมาคมระหว่าง พ.ศ. 2530 ถึง 2564 สมาคมและศูนย์ผู้บริโภคของรัฐบาลท้องถิ่นได้รับ 34,537 ข้อร้องเรียนซึ่งกล่าวหาว่าโบสถ์ได้บังคับผู้คนให้บริจาคเงินก้อนใหญ่หรือสินค้าจำนวนมากอย่างไม่สมเหตุสมผลซึ่งมีมูลค่าราว 123.7 พันล้านเยน[17]
กำหนดการของอาเบะ
[แก้]ตามกำหนดการ อาเบะจะกล่าวปราศรัยในจังหวัดนางาโนะ ในวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 เพื่อเป็นการสนับสนุนแก่ ซันชิโร มัตสึยามะ ผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกราชมนตรีสภาจังหวัดนางาโนะจากพรรคเสรีประชาธิปไตย (LDP) สำหรับการเลือกตั้งที่กำลังมีขึ้นในวันที่ 10 กรกฎาคม[18] แต่การขึ้นกล่าวปราศรัยต้องถูกยกเลิกอย่างกะทันหันในวันที่ 7 กรกฎาคม[18] หลังมัตสึยามะหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับเขาได้รับการกล่าวหาว่าประพฤติตนโดยมิชอบและการทุจริต[19][20] และได้รับการแทนที่โดยกิจกรรมที่ใกล้เคียงกันในจังหวัดนาระ ที่ซึ่งอาเบะจะกล่าวปราศรัยสนับสนุน เค ซาโต สมาชิกราชมนตรีสภาสังกัดพรรคเสรีประชาธิปไตยที่กำลังหาเสียงในการเลือกตั้งครั้งใหม่ในจังหวัด[21] สำนักงานตัวแทนพรรคเสรีประชาธิปไตยในจังหวัดนาระแถลงว่ากำหนดการดังกล่าวไม่ได้เป็นที่รู้จักโดยประชาชนทั่วไป[22] ขณะที่เอ็นเอชเครายงานว่ากิจกรรมทางการเมืองนี้ได้รับการโฆษณาอย่างกว้างขวางบนทวิตเตอร์และโดยรถเครื่องเสียง[23]
ในวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 เวลาประมาณ 11:10 น. ซาโตขึ้นพูดบนทางแยกของถนนใกล้ทางออกเหนือของสถานียามาโตะ-ไซไดจิในนาระ อาเบะมาถึง 9 นาทีให้หลัง และเริ่มกล่าวปราศรัยในเวลาประมาณ 11:29 น.[23][22]
ลำดับเหตุการณ์
[แก้]การลอบสังหาร
[แก้]วิดีโอหลายคลิปจากแหล่งข้อมูลภายนอก | |
---|---|
การจำลองเหตุยิงใหม่ | |
2 นาที 26 วินาทีก่อนการยิงชินโซ อาเบะ, เดอะนิกเก[24] |
ขณะอาเบะกำลังกล่าวปราศรัย ผู้ก่อการที่ถูกกล่าวหาสามารถเข้าถึงตัวได้ภายในไม่กี่เมตรแม้จะมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยให้อารักขาอยู่[25] เวลาประมาณ 11:30 น. เมื่ออาเบะพูดว่า "เขา [ซาโต] แทนที่กำลังคิดว่าทำไมถึงทำไม่ได้..."[26] อาเบะถูกยิงสองครั้งจากด้านหลังด้วยปืนประดิษฐ์[a][1][30] ที่คล้ายกับปืนลูกซองตัดลำกล้อง (sawed-off shotgun) หรือ ปืนลูกซองแฝด[27][30] กระสุนยิงนัดแรกพลาด ทำให้อาเบะหันมาทางด้านหลังโดยทันที ส่งผลให้กระสุนปืนจากการยิงนัดที่สองอย่างรวดเร็วโดนบริเวณลำคอและหน้าอกของอาเบะ[31][32][33] อาเบะก้าวไปด้านหน้าเล็กน้อย ล้มลงทั้งยืน และฟุบตัวนอนแนบพื้น เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของอาเบะควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยที่ไม่ได้แสดงท่าทีขัดขืน[34][35]
แหล่งข่าวจากตำรวจบอกกับเอ็นเอชเคว่าตอนแรกหลังจากถูกยิง อาเบะยังรู้สึกตัวและสื่อสารได้[36] แพทย์ที่มาถึง ณ ที่เกิดเหตุกล่าวว่าไม่มีสัญญาณใด ๆ ที่บ่งชี้ว่าอาเบะมีสติสัมปชัญญะ[37] เพียงไม่นาน เฮลิคอปเตอร์ฉุกเฉินนำเขาส่งโรงพยาบาลท้องถิ่น อาเบะมีบาดแผลที่คอด้านขวา และใต้อกซ้ายของเขามีเลือดออกอยู่ภายใน มีรายงานว่าอาเบะไม่แสดงสัญญาณชีพเมื่อเขาถึงโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแพทย์นาระในคาชิฮาระ[2][38] โดยอาจเป็นเพราะภาวะหัวใจหยุดเต้นก่อนการมาถึงโรงพยาบาลของเขา[39][2][38] ในเวลา 14:45 น. ฟูมิโอะ คิชิดะ นายกรัฐมนตรี จัดงานแถลงข่าวโดยกล่าวว่าอาเบะอยู่ในสภาวะวิกฤต และแพทย์ "กำลังทำทุกอย่าง[เท่าที่ทำได้]"[40]
แม้คณะแพทย์พยายามอย่างสุดความสามารถ อาเบะได้รับการประกาศว่าเสียชีวิตที่โรงพยาบาลในเวลา 17:03 น. ประมาณ 5 ชั่วโมงครึ่งหลังจากถูกยิง[5][41][42] ด้วยอายุ 67 ปี หลังการเสียชีวิตของเขา ฮิเดตาดะ ฟูกูชิมะ แพทย์ประจำโรงพยาบาล กล่าวว่าสาเหตุการตายของอาเบะคือการเสียเลือดแม้จะมีการถ่ายเลือดกว่า 100 หน่วย[c][43][44] การชันสูตรพลิกศพของเจ้าหน้าที่ตำรวจสรุปผลว่าอาเบะเสียชีวิตจากการเสียเลือดหลังกระสุนทำให้หลอดเลือดแดงใต้กระดูกไหปลาร้าได้รับความเสียหาย[45]
อาเบะเป็นอดีตนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นคนแรกที่ถูกลอบสังหารหลังจากไซโต มาโกโตะ และทากาฮาชิ โคเรกิโยะ ถูกฆ่าในเหตุการณ์ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2479[46] สมาชิกสภานิติบัญญัติญี่ปุ่นคนแรกที่ถูกลอบสังหารหลังจากโคกิ อิชิอิ ถูกฆ่าโดยสมาชิกกลุ่มฝั่งขวาใน พ.ศ. 2545 และนักการเมืองญี่ปุ่นคนแรกที่ถูกฆ่าในระหว่างการหาเสียงเลือกตั้งหลังจากอิจโจ อิโต ที่ต่อมาเป็นนายกเทศมนตรีนครนางาซากิถูกยิงในระหว่างการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีในเดือนเมษายน พ.ศ. 2550[47][48]
ผลที่ตามมา
[แก้]ในเวลา 11:45 น. รัฐบาลญี่ปุ่นจัดตั้งสำนักประสานงานภายใต้ศูนย์จัดการภาวะวิกฤตที่สำนักนายกรัฐมนตรี[49][50] ฟูมิโอะ คิชิดะ นายกรัฐมนตรี ขณะกำลังหาเสียงในนครซางาเอะ จังหวัดยามางาตะ ในตอนเที่ยง ยกเลิกกำหนดการการหาเสียงที่เหลือของตนและเดินทางกลับสำนักงานนายกรัฐมนตรี ณ กรุงโตเกียว ในเวลา 14:29 น.[51][38] อ้างอิงจากหัวหน้าเลขาธิการรัฐมนตรี ฮิโรกาซุ มัตสึโนะ คณะรัฐมนตรีคิชิดะถูกเรียกตัวกลับโตเกียวทุกคน ยกเว้น โยชิมาซะ ฮายาชิ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศที่กำลังเข้าร่วมการประชุมจี20 ในประเทศอินโดนีเซีย[52] หลังจากการลอบสังหาร คิชิดะ สั่งให้มีการเพิ่มการรักษาความปลอดภัยแก่รัฐมนตรีและนักการเมืองชั้นนำในญี่ปุ่น[53] มีการส่งตำรวจรักษาความปลอดภัย (Security Police; SP) เพื่อให้การอารักขาแก่ อากิเอะ อาเบะ หญิงม่ายของอาเบะ หลังจากเธอเดินทางถึงเกียวโตเป็นมาตรการป้องกันภัยล่วงหน้า[54]
ผู้นำทางการเมืองส่วนใหญ่ยกเลิกการหาเสียงทุกงานในวันที่ 8 กรกฎาคม หลังจากการโจมตี และกลับมาเริ่มหาเสียงอีกครั้งในวันถัดไป 9 กรกฎาคม โดยผู้นำพรรคการเมืองหลักให้คำมั่นว่าจะไม่ยินยอมให้ความรุนแรงเข้ามาแทรกแซงกระบวนการประชาธิปไตย[55][56]
เอ็นเอชเคเจเนอรัลทีวีเครือข่ายโทรทัศน์เชิงพาณิชย์ทั้งหมด 4 จาก 5 เครือข่าย รวมถึงสถานีวิทยุ ยกเลิกหรือเลื่อนตารางการออกอากาศรายการเพื่อถ่ายทอดรายการข่าวสดตลอดทั้งวัน[57][58][59][60] ในบรรดารายการที่ได้รับผลกระทบ ตอนที่สองทั้งตอนของอนิเมะเทปเปน—!!! ถูกยกเลิกเนื่องจากมีโครงเรื่องเกี่ยวกับการลอบสังหาร จากเดิมมีการกำหนดออกอากาศในวันที่ 9 กรกฎาคม[61][62][63][64]
การเข้าเยี่ยม
[แก้]เวลาประมาณ 21:00 น. ในวันที่เกิดเหตุการณ์ โยชิฮิเดะ ซูงะ อดีตนายกรัฐมนตรี เข้าเยี่ยมอาเบะที่โรงพยาบาล[65] และ ฮิโรกาซุ มัตสึโนะ ตามเข้าเยี่ยมหลังจากซูงะด้วย[66]
ร่างของอาเบะจะต้องเข้ารับการชันสูตรพลิกศพทางตุลาการ (judicial autopsy) และนำร่างออกจากโรงพยาบาลพร้อมด้วยภรรยาของเขา อากิเอะ อาเบะ ในเวลา 05:55 น. ในวันที่ 9 กรกฎาคม[67] ขบวนรถยนต์ที่เกี่ยวข้อง 5 คัน บรรทุกร่างของอาเบะ, โทโมมิ อินาดะ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงป้องกันประเทศนั่งอยู่หนึ่งในห้าคันนั้น เวลา 13:35 น. พวกเขามาถึงที่บ้านพักของอาเบะในโตเกียว เมื่อมาถึง ซานาเอะ ทากาอิจิ ประธานคณะกรรมการวิจัยนโยบายพรรคเสรีประชาธิปไตย, ทัตสึโอะ ฟูกูดะ , ประธานคณะกรรมการสามัญพรรคเสรีประชาธิปไตย[68] และ ฮิซาชิ ฮิเอดะ ประธานฟูจิซันเกคอมมูนิเคชันกรุป (Fujisankei Communications Group) ผู้มีมิตรภาพร่วมกับอาเบะ ยืนต้อนรับ หลังจากนั้น คิชิดะเข้าเยี่ยมแสดงความเสียใจ และอดีตนายกรัฐมนตรี โยชิโร โมริ และ จุนอิจิโร โคอิซูมิ, ฮิโรยูกิ โฮโซดะ (ประธานสภาผู้แทนราษฎร), อากิโกะ ซันโต (ประธานราชมนตรีสภา), โทชิฮิโระ นิไก (อดีตเลขาธิการพรรคเสรีประชาธิปไตย), โคอิจิ ฮางิอูดะ (ผู้ช่วยใกล้ชิดอาเบะและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม), เท็ตสึโอะ ไซโต (นักการเมืองสังกัดพรรคโคเมโต และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยว) และ ยูริโกะ โคอิเกะ (ผู้ว่าราชการมหานครโตเกียว) เข้าเยี่ยมแสดงความเสียใจเช่นกัน[69]
การเฝ้าศพและพิธีศพ
[แก้]ในช่วงบ่ายของวันที่ 11 กรกฎาคม มีการย้ายหีบศพของอาเบะไปยังวัดโซโจจิที่สวนสาธารณะชิบะในเขตมินาโตะของโตเกียว[70][71] การเฝ้าศพอาเบะเริ่มต้นในเวลา 18:00 น.[70] อ้างจากพรรคเสรีประชาธิปไตย มีผู้เข้าร่วมพิธีกว่า 2,500 คน[72]
พิธีศพตามศาสนาพุทธโดยนักบวชนิกายโจโดะจัดขึ้นที่วัดโซโจจิในวันถัดไป พิธีศพถูกจำกัดผู้เข้าร่วมที่ครอบครัวของอาเบะและสมาชิกพรรคเสรีประชาธิปไตยบางคน หลังพิธีศพ มีการเคลื่อนย้ายหีบศพของอาเบะเดินทางผ่านย่านนางาตาโจโดยมีฝูงชนขนาดใหญ่ชมขบวนรถยนต์จากทางเท้า[73] หีบศพเคลื่อนผ่านอาคารหอประชุมพรรคเสรีประชาธิปไตย,[74] อาคารสภานิติบัญญัติแห่งชาติและทำเนียบนายกรัฐมนตรี, ก่อนที่จะเคลื่อนย้ายไปยังโรงประกอบพิธีฌาปนกิจศพคิริงายะในเขตชินางาวะเพื่อประกอบการฌาปนกิจศพเป็นการส่วนตัว[75][76] ระหว่างพิธีศพ อาเบะได้รับชื่อพุทธหลังเสียชีวิต (ไคเมียว) ซึ่งสะท้อนชีวิตของเขาบนเวทีการเมือง[d]
มีการวางแผนการจัดพิธีอำลาหลังพิธีศพเสร็จสิ้น[70] สถานที่จัดวางแผนไว้ภายในเขตเลือกตั้งจังหวัดยามางูจิที่ 4 และโตเกียว[73]
ผู้ต้องสงสัย
[แก้]เท็ตสึยะ ยามางามิ | |
---|---|
山上徹也 | |
เกิด | [77] จังหวัดมิเอะ ประเทศญี่ปุ่น | 10 กันยายน ค.ศ. 1980
สถานะการจับกุม | ถูกจับกุมแล้ว |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
แผนก/ | กองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น |
ประจำการ | ค.ศ. 2002–2005 |
ชั้นยศ | จ่าเอก |
เท็ตสึยะ ยามางามิ (ญี่ปุ่น: 山上徹也; โรมาจิ: Tetsuya Yamagami) ชายวัย 41 ปีที่อาศัยอยู่ในนครนาระถูกจับกุมโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจจังหวัดนาระ ณ ที่เกิดเหตุ บนฐานของเหตุอันควรสงสัยว่าพยายามฆ่าผู้อื่น ทั้งนี้หลังมีการประกาศการเสียชีวิตของอาเบะ ข้อกล่าวหาถูกปรับเป็นการฆาตกรรม ยามางามิถูกจับกุมและนำตัวส่งสถานีตำรวจนาระนิชิ[78] ตามคำบอกเล่า เขาอยู่ในอาการสงบและไม่ได้มีท่าทีที่จะหลบหนี[79][80][81] ยามางามิไม่เคยมีประวัติอาชญากรรมมาก่อน[82] จวบจนถึงวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 ยังไม่มีการแจ้งข้อกล่าวหาอย่างเป็นทางการต่อยามางามิที่กำลังถูกควบคุมตัวที่สำนักงานอัยการระหว่างการสอบสวน[75]
ชีวิตส่วนตัว
[แก้]เท็ตสึยะ ยามางามิ เกิดในจังหวัดมิเอะ[83] ยามางามิเติบโตในครอบครัวที่มีฐานะร่ำรวยและเปิดกิจการการก่อสร้าง[84] ตามคำบอกเล่า เขาเป็นคนเงียบและเก็บตัวในโรงเรียนมัธยมปลาย[85][86][87] เขาเขียนในหนังสือรุ่นว่าเขา "คิดไม่ออกเลย" ว่าเขาอยากทำอะไรในอนาคต[88][89] แม้ว่ายามางามิจบการศึกษาจากโรงเรียนมัธยมปลายที่มีชื่อเสียง เขาไม่สามารถศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยได้เนื่องจากปัญหาทางการเงินของครอบครัวเขา ขณะที่ยามางามิยังอยู่ในช่วงวัยรุ่นตาของเขาเสียชีวิตอย่างกะทันหัน ทำให้แม่ของเขาต้องเข้าดูแลกิจการก่อสร้าง[90]
ยามางามิเข้าร่วมกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น (JMSDF) ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2545 เขาถูกส่งให้ไปประจำที่ฐานทัพเรือคูเระและได้รับการมอบหมายตำแหน่งในเรือพิฆาตชื่อ เจเอส มัตสึยูกิ[91][88][92] ยามางามิถูกปลดจากตำแหน่งในกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่นในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2548 ด้วยตำแหน่งทหารพลาธิการ[91] พร้อมกับยศจ่าเอก[85]
ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2563 ยามางามิเริ่มทำงานในตำแหน่งผู้ควบคุมรถยกในจังหวัดเกียวโตให้แก่บริษัทผู้ผลิตที่ดำเนินกิจการในภูมิภาคคันไซ[93] ตามคำบอกเล่าของผู้คนที่นั่น เขาเป็นคนเงียบครึม และกล่าวว่ายามางามิออกจากงานในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2565 หลังเขาอ้างว่าเขา "รู้สึกไม่ค่อยดี"[94][88][95] ยามางามิเป็นผู้ว่างงานในเวลาที่เขาถูกจับกุม[94][84]
เหตุจูงใจ
[แก้]ยามางามิบอกตำรวจสืบสวนว่าแรงจูงใจของเขาเป็นเรื่องส่วนตัวมากกว่าเรื่องทางการเมือง[96][97][98][99] หลังจากเข้าร่วมโบสถ์แห่งความสามัคคีในช่วง พ.ศ. 2534 ถึง 2541[e][100] แม่ของเขาได้มอบเงินราว 100 ล้านเยน, แปลงที่ดินซึ่งตกทอดมาจากพ่อของเธอ และบ้านที่เธออยู่ร่วมกับลูกสามคน ภายหลังแม่ของยามางามิได้รับการประกาศให้ล้มละลายใน พ.ศ. 2545[101]
ยามางามิกล่าวอ้างว่าเขาเคยพยายามกระทำอัตวินิบาตกรรมใน พ.ศ. 2548 ด้วยความหวังที่จะมอบสิทธิประโยชน์ของประกันชีวิตให้แก่พี่น้องของเขา[100] พี่ชายคนโตของยามางามิที่กำลังต่อสู้กับมะเร็งอย่างยาวนานไม่สามารถจ่ายค่ารักษาพยาบาลได้ เขาเสียชีวิตจากอัตวินิบาตกรรมใน พ.ศ. 2558[102] อ้างถึงลุงของเขา เหตุการณ์ดังกล่างส่งผลให้ยามางามิซึมเศร้า[100][103]
ยามางามิต่อว่าโบสถ์ที่ก่อให้เกิดปัญหาทางการเงินของครอบครัวเขาและเก็บความคับข้องใจที่มีต่อโบสถ์[104][105] หลังเขาค้นคว้าความสัมพันธ์ระหว่างโบสถ์และอาเบะช่วงหลายเดือนก่อนการโจมตี เขาเชื่อว่าอดีตนายกรัฐมนตรีเป็นผู้เผยแพร่อิทธิพลของโบสถ์ในประเทศญี่ปุ่น[106]
คำตอบจากโบสถ์แห่งความสามัคคี
[แก้]ในวันที่ 11 กรกฎาคม ความเกี่ยวข้องของแม่ของยามางามิกับโบสถ์แห่งความสามัคคีได้รับการยืนยันโดย โทโมฮิโระ ทานากะ ประธานโบสถ์สาขาโตเกียวภายในงานแถลงข่าว[107][108] ทานากะกล่าวว่าแม่ของยามางามิเข้าร่วมโบสถ์ครั้งแรกใน พ.ศ. 2541 หยุดเข้าร่วมในช่วง พ.ศ. 2552 และกลับมาสร้างความสัมพันธ์กับโบสถ์ใหม่อีกครั้งใน พ.ศ. 2562 หรือ พ.ศ. 2563[109] เขาปฏิเสธที่จะเปิดเผยจำนวนทรัพย์สินที่บริจาคโดยแม่ของยามางามิตั้งแต่การเข้าร่วมของเธอใน พ.ศ. 2541 โดยอ้างว่าขาดบันทึกการบริจาคของเธอ[107][110] ทานากะยังไม่ได้กล่าวแสดงความสำคัญถึงความสัมพันธ์ใกล้ชิดระหว่างองค์กรและอาเบะตามที่ถูกกล่าวหา โดยกล่าวว่าอดีตนายกรัฐมนตรีไม่ได้เป็นสมาชิกจดทะเบียนหรือที่ปรึกษาของโบสถ์ หากแต่กล่าวสุนทรพจน์แก่ "องค์กรที่เป็นมิตร" ของพวกเขา ซึ่งก็คือโบสถ์แห่งความสามัคคีเพียงเท่านั้น[111][112][113]
ในวันที่ 14 กรกฎาคม โบสถ์ได้เผยแพร่แถลงการณ์อ้างว่าก่อนการลอบสังหาร พวกเขาได้ตกลงร่วมกันว่าจะคืนเงินจำนวน 50 ล้านเยนที่ได้รับบริจาคโดยแม่ของยามางามิในช่วง พ.ศ. 2547 ถึง พ.ศ. 2558 และไม่มีบันทึกการบริจาคครั้งใหม่เพิ่มเติมโดยเธอหลังจากการคืนเงิน[114]
ข้อมูลเท็จ
[แก้]สื่อหลายสำนักระบุตัวตนของผู้สังหารว่าเป็น ฮิเดโอะ โคจิมะ โดยผิดพลาด[115][116][117][118][119] มีผู้กล่าวว่าการรายงานที่ผิดพลาดมีต้นกำเนิดจากมุกตลกในบอร์ดข้อความออนไลน์ โฟร์แชนและทวิตเตอร์ ซึ่งนักการเมืองฝ่ายขวาจัดชาวฝรั่งเศส ดาเมียง ริว ,[120][121] สำนักข่าวกรีก ANT1 และเว็บไซต์สัญชาติอิหร่าน Mashregh News ได้เผยแพร่ข้อมูลนั้นโดยเข้าใจว่าเป็นข้อเท็จจริงในเวลาต่อมา[115][122] ANT1 รายงานเพิ่มเติมว่าผู้ต้องสงสัย "มีความลุ่มหลงในเช เกบารา"[123] สำนักข่าวอัปโหลดวิดีโอข่าวลงยูทูบก่อนจะถูกลบออกไป[124] ริวลบทวีตของเขาออกและเผยแพร่คำขอโทษ[125][120] บริษัทของโคจิมะ โคจิมะโปรดักชัน ประณามการรายงานที่เป็นเท็จและขู่จะดำเนินคดีทางกฎหมายต่อผู้ที่ยังเผยแพร่ข่าวลือดังกล่าว[126][115][119]
ภัยคุกคามเลียนแบบ
[แก้]30 นาทีหลังการยิง มีสายโทรศัพท์ข่มขู่เตือนการโจมตีสำนักงานของมัตสึยามะผู้ซึ่งเป็นคนแรกในหมายกำหนดการของอาเบะที่เขาจะกล่าวปราศรัยให้[127] ผู้ต้องสงสัยถูกจับกุมในวันถัดมา[128]
ประมาณไม่กี่ชั่วโมงหลังเหตุยิง มีการข่มขู่ว่าจะลอบสังหารทางออนไลน์ในสิงคโปร์และสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ต่อผู้นำของพวกเขา นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ ลี เซียนลุง และประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐจีน ไช่ อิงเหวิน ตามลำดับ ในสิงคโปร์ ชายอายุ 45 ปีถูกจับกุมที่บ้านของเขาโดยกองบังคับการตำรวจกลาง (Central Police Division) หลังเขาแสดงความคิดเห็นข่มขู่ว่าจะลอบสังหารลีในรายงานข่าวการลอบสังหารอาเบะบนเฟซบุ๊กของซีเอ็นเอ[129] และในไต้หวัน ชายอายุ 22 ปีจากไถหนานถูกจับกุมที่บ้านของเขาในเขตหย่งกัง ควบคุมตัวส่งสถานีตำรวจท้องถิ่น และโอนไปให้สำนักงานอัยการเขตไถหนานจากการข่มขู่ในทำนองเดียวกัน[130]
ประเทศไทยยังมีการกำชับการรักษาความปลอดภัยข้าราชการรัฐบาลและได้วางแผนเพิ่มมาตรการความปลอดภัยในการประชุมสุดยอดความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิกที่จะจัดขึ้นในกรุงเทพมหานครในวันที่ 17–18 พฤศจิกายน[131]
ปฏิกิริยา
[แก้]ภายในประเทศญี่ปุ่น
[แก้]นายกรัฐมนตรีปัจจุบัน ฟูมิโอะ คิชิดะ เรียกการลอบสังหาร "การกระทำที่ให้อภัยไม่ได้" และ "การกระทำอันป่าเถื่อนอย่างขี้ขลาด"[132][133] โดยให้ความสำคัญว่าอาเบะถูกยิงขณะกล่าวปราศรัยหาเสียงเลือกตั้ง คิชิดะประณามการลอบสังหารว่าเป็นการโจมตีประชาธิปไตยของประเทศญี่ปุ่นและให้คำมั่นสัญญาว่าจะปกป้อง "การเลือกตั้งที่เสรีและเป็นธรรมทุกวิถีทางที่ทำได้"[134]
ก่อนการเสียชีวิตของอาเบะจะได้รับการประกาศ ผู้ว่าราชการมหานครโตเกียว ยูริโกะ โคอิเกะ แถลงว่า "ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใด การกระทำอันชั่วร้าย นั้นไม่สามารถให้อภัยได้โดยเด็ดขาด อีกทั้งยังเป็นการดูหมิ่นประชาธิปไตย[ของประเทศญี่ปุ่น]"[135] คาซูโอะ ชิอิ หัวหน้าพรรคคอมมิวนิสต์ญี่ปุ่นเรียกการลอบสังหาร "ป่าเถื่อน", การโจมตีเสรีภาพในการพูดและเป็นการกระทำการก่อการร้ายในโพสต์บนทวิตเตอร์[136] โทโมฮิโกะ ทานิงูจิ อดีตที่ปรึกษาของอาเบะ เปรียบเทียบการเสียชีวิตของเขากับการลอบสังหารจอห์น เอฟ. เคนเนดีในแง่ของผลประทบทางสังคมในประเทศญี่ปุ่น[137]
โทโมอากิ โอนิซูกะ หัวหน้าตำรวจจังหวัดนาระ ยอมรับการรักษาความปลอดภัยที่หละหลวมในงานกิจกรรมทางการเมืองซึ่งเป็นเหตุให้อาเบะเสียชีวิต และให้คำมั่นที่จะระบุและแก้ไขข้อผิดพลาด โอนิซูกะกล่าวว่า "มันเป็นสิ่งที่ไม่สามารถปฏิเสธได้ว่ามีปัญหาเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยของอดีตนายกรัฐมนตรีอาเบะและจะระบุปัญหาและวางมาตรการอย่างเหมาะสมเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยเร่งด่วน"[138]
เครือข่ายทนายความต่อต้านการซื้อขายทางจิตวิญญาณแห่งชาติซึ่งก่อตั้งเพื่อช่วยเหลือผู้คนที่ถูกโบสถ์แห่งความสามัคคีบังคับให้บริจาคเงินและซื้อสินค้าราคาแพงโดยมิชอบ ได้จัดงานแถลงข่าวต่อการลอบสังหารอาเบะ หลังทนายความของสมาคมแสดงความเสียใจแก่อาเบะ พวกเขาชี้ให้เห็นว่าแต่ก่อนสมาคมไม่พอใจอาเบะจากการส่งข้อความแสดงความยินดีต่อโบสถ์แห่งความสามัคคี[139] สมาคมร้องขอไม่ให้นักการเมืองชาวญี่ปุ่นร่วมงานกิจกรรมหรือส่งข้อความแสดงความยินดีต่อโบสถ์แห่งความสามัคคีและกล่าวว่าเกือบ 30 ปี อาเบะและนักการเมืองชาวญี่ปุ่นคนอื่น ๆ ไม่ได้มีการวางมาตรการใด ๆ ต่อโบสถ์แห่งความสามัคคี[140][141][15]
ในวันที่ 11 กรกฎาคม คณะรัฐมนตรีของคิชิดะตัดสินใจมอบฐานันดรศักดิ์ผู้น้อยชั้นหนึ่ง (ญี่ปุ่น: 従一位; โรมาจิ: Ju Ichi'i) รวมถึงเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันสูงส่งยิ่งดอกเบญจมาศ ชั้นสังวาล มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 8 กรกฎาคม[142] ทำให้อาเบะเป็นอดีตนายกรัฐมนตรีลำดับที่ 4 ตั้งแต่ยาซูฮิโระ นากาโซเนะ ที่ได้รับสังวาลภายใต้รัฐธรรมนูญปัจจุบัน[143][144][145]
นานาชาติ
[แก้]เพื่อเป็นการตอบโต้ต่อการยิงและการเสียชีวิตของอาเบะ ตัวแทนจากหลากหลายประเทศรวมถึงผู้นำโลกทั้งอดีตและปัจจุบันแสดงความเสียใจ[146][147]
แอนโทนี แอลบานีส นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย กล่าวว่าภายใต้การนำของอาเบะ ประเทศญี่ปุ่นเป็น "หนึ่งในประเทศเอเชียที้มีความคิดเห็นพ้องตรงกันกับออสเตรเลียมากที่สุด" แอลบานีสยังกล่าวถึงผลงานนโยบายการต่างประเทศของอาเบะ โดยเพิ่มเติมว่า "ควอดและข้อตกลงความครอบคลุมและความก้าวหน้าเพื่อหุ้นส่วนทางการค้าภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกเป็นผลพวงมาจากการความเป็นผู้นำทางการทูตของเขา" แอลบานีสกล่าวว่ามรดกของอาเบะ "ครอบคลุมทั่วโลก และลึกซึ้ง และเป็นประโยชน์ต่อออสเตรเลีย"[148] สถานที่ที่สำคัญในเมลเบิร์น, แอดิเลด, ซิดนีย์ และเพิร์ท เปิดไฟแสงสีแดงและขาว มีการลดธงครึ่งเสาในวันที่พิธีศพจัดขึ้น[149]
มีการประกาศวันไว้อาลัยแห่งชาติในประเทศบังกลาเทศ, ประเทศบราซิล, ประเทศอินเดีย, ประเทศเนปาล, ประเทศภูฏาน, ประเทศกัมพูชา, ประเทศคิวบา และประเทศศรีลังกา โดยทุกประเทศต่างลดธงครึ่งเสาในวันที่มีการประกาศให้เป็นวันไว้อาลัยแห่งชาติ ในบังกลาเทศ มีการกำหนดวันไว้อาลัยแห่งชาติในวันที่ 9 กรกฎาคม[150] ฌาอีร์ โบลโซนารู ประธานาธิบดีบราซิล กำหนดให้มีการไว้อาลัยเป็นระยะเวลา 3 วันในบราซิล ซึ่งเป็นประเทศที่มีประชากรเชื้อสายญี่ปุ่นมากที่สุดนอกประเทศญี่ปุ่น[151] นเรนทระ โมที นายกรัฐมนตรีอินเดีย ประกาศว่าประเทศอินเดียจะกำหนดวันไว้อาลัยแห่งชาติเป็นวันที่ 9 กรกฎาคม ปฏิกิริยาของโมทีถูกมองว่าเป็นส่วนตัวอย่างมากเมื่อเปรียบเทียบกับผู้นำโลกคนอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเรียกอดีตนายกรัฐมนตรีว่า "อาเบะ-ซัง" ในบล็อกแสดงความไว้อาลัยของเขา[152][153][154][155] รัฐบาลเนปาลกำหนดวันที่ 9 กรกฎาคม เป็นวันไว้อาลัยแห่งชาติและให้ธงต่าง ๆ ลดครึ่งเสา[156] ประเทศภูฏานกำหนดให้วันที่ 9 กรกฎาคมเป็นวันไว้อาลัยแห่งชาติโดยให้ธงลดลงครึ่งเสา[157] นายกรัฐมนตรีกัมพูชาประกาศให้วันที่ 10 กรกฎาคมเป็นวันไว้อาลัยแห่งชาติ, ให้ลดธงครึ่งเสาและกำหนดให้ปิดสถานบันเทิงในวันดังกล่าว[158][159] ประเทศคิวบาประกาศให้วันที่ 11 กรกฎาคม เป็นวันไว้อาลัยแห่งชาติโดยให้ธงต่าง ๆ ลดลงครึ่งเสา[160] ในวันที่ 12 กรกฎาคม ประเทศศรีลังกากำหนดให้เป็นวันไว้อาลัยแห่งชาติแห่งชาติโดยให้ธงต่าง ๆ ในอาคารภาครัฐลดลงครึ่งเสา[161] โดยที่ไม่มีการประกาศวันไว้อาลัยแห่งชาติแห่งชาติอย่างเป็นทางการในประเทศไทย รัฐบาลกำหนดให้ลดธงครึ่งเสาในวันที่ 8 กรกฎาคม และนายกรัฐมนตรีไทย ประยุทธ์ จันทร์โอชา เดินทางเยี่ยมสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยเพื่อแสดงความเคารพด้วยตนเอง[162][163]
ประธานาธิบดีสหรัฐ โจ ไบเดน สั่งให้ธงชาติต่าง ๆ ในสหรัฐลดลงครึ่งเสาจนถึงวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2565[164][165] และเข้าเยี่ยมสถานเอกอัครราชญี่ปุ่นเพื่อลงนามในหนังสือแสดงความอาลัย[166] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในระหว่างกำลังเดินทางเพื่อเข้าร่วม การประชุมสุดยอดจี20 ไบเดนให้ แอนโทนี บลิงเกน เดินทางเยือนนอกกำหนดการไปโตเกียวและพบกับนายกรัฐมนตรีคิชิดะเพื่อแสดงความอาลัยด้วยตนเอง จากนั้นแสดงจดหมายที่ไบเดนเขียนให้แก่ครอบครัวอาเบะ[167][168][166][169] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เจเน็ต เยลเลน ยกเลิกการเดินทางเยี่ยมท่าเรือโยโกฮามะซึ่งเป็นกำหนดการก่อนการลอบสังหารอาเบะระหว่างการเดินทางเยือนประเทศญี่ปุ่น[170] ในวันที่ 11 กรกฎาคม เยลเลนพร้อมด้วยเอกอัครราชทูตประจำประเทศญี่ปุ่น ราห์ม เอมานูเอล เข้าร่วมการเฝ้าศพที่วัดโซโจจิ ขณะที่ในสหรัฐ สมาชิกจากทั้งพรรคเดโมแครตและพรรคริพับลิกันร่วมกันแสดงความอาลัยแก่อาเบะ[145][169][171]
คณะมนตรียุโรป (European Council) เผยแพร่ภาพและคลังวิดีโอในความทรงจำของอาเบะ ปรากฏภาพอดีตนายกรัฐมนตรีแสดงปฏิสัมพันธ์ทางการทูตกับผู้นำต่าง ๆ ในสหภาพยุโรป[172]
ชาติผู้นำควอดอย่างประเทศออสเตรเลีย ประเทศอินเดีย และสหรัฐ เผยแพร่แถลงการณ์ร่วมกล่าวว่าองค์กรจะทวีคูณงานของพวกเขามุ่งสู่ "ภูมิภาคที่มีความสันติภาพและความรุ่งเรือง" เพื่อเป็นเกียรติของอาเบะ ทำเนียบขาวแถลงว่าอาเบะเป็นผู้ที่ีบทบาทสำคัญในการร่วมก่อตั้งหุ้นส่วนควอดอย่างเป็นรูปธรรมและได้ทำงานอย่างไม่เหน็ดเหนื่อยเพื่อก้าวหน้าไปยังวิสัยทัศน์ร่วมกันคืออินโด-แปซิฟิกที่เปิดกว้างและเสรี[173] ในแถลงการณ์อย่างเป็นทางการว่าด้วยการลอบสังหารนายกรัฐมนตรีแคนาดา จัสติน ทรูโด กล่าวแสดงการสนับสนุนที่ให้ไว้โดยควอด[174]
ประธานาธิบดีสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ไช่ อิงเหวิน ประกาศว่าจะกำหนดวันไว้อาลัยแห่งชาติในวันที่ 11 กรกฎาคม โดยธงชาติไต้หวันจะลดลงครึ่งเสา[175] ไทเป 101 ส่องแสงเป็นข้อความแสดงความอาลัยต่าง ๆ ต่อการเสียชีวิตของอาเบะ[176][177] ในวันที่ 11 กรกฎาคม ไหล ชิง-เท รองประธานาธิบดีไต้หวัน เยี่ยมที่พักของอาเบะในฐานะผู้แทนพิเศษต่อประธานาธิบดีไช่เพื่อแสดงความอาลัยร่วมกับ แฟรงก์ เซ ผู้แทนไต้หวันต่อประเทศญี่ปุ่น ไหลเป็นเจ้าหน้าที่รัฐชาวไต้หวันซึ่งมีตำแหน่งสูงที่สุดที่จะเยือนประเทศญี่ปุ่นในรอบ 50 ปีหลังได้รับความเสียหายอย่างรุนแรงต่อความสัมพันธ์ทางการทูตกับไต้หวันใน พ.ศ. 2515 เพื่อประโยชน์ของประเทศจีน[178]
ดูเพิ่ม
[แก้]หมายเหตุ
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 ขณะที่แหล่งข้อมูลบางแห่งรายงานว่าอาวุธที่ใช้คือปืนลูกซอง[27] ตำรวจจังหวัดนาระรายงานว่าอาวุธคือปืนพก[28][29]
- ↑ ญี่ปุ่น: 全国霊感商法対策弁護士連絡会; โรมาจิ: Zenkoku Reikanshoho Taisaku Bengoshi Renrakukai; อังกฤษ: National Network of Lawyers Against Spiritual Sales
- ↑ ในประเทศญี่ปุ่น 1 หน่วยของการถ่ายเลือดเท่ากับประมาณ 200 มิลลิลิตร/cc หรืออีกนัยหนึ่ง อาเบะได้รับการจ่ายเลือดไป 20,000 cc (20 L)
- ↑ ญี่ปุ่น: 紫雲院殿政譽清浄晋寿大居士; โรมาจิ: Shiun-in Den Sei Yo Shō Jō Shin Jū Dai Kōji
- ↑ ในงานแถลงข่าววันที่ 11 กรกฎาคม ประธานโบสถ์แห่งความสามัคคีโตเกียวอ้างว่าแม่ของยามางามิเข้าร่วมโบสถ์ครั้งแรกใน พ.ศ. 2541 ขณะที่ลุงฝ่ายพ่อของยามางามิอ้างว่าอยู่ในช่วง พ.ศ. 2534 ขณะกำลังให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนในวันที่ 15 กรกฎาคม
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 Kim, Chang-Ran (June 7, 2022). "Shinzo Abe shot while making election speech in Japan". Reuters. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2022. สืบค้นเมื่อ 8 July 2022.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 "Man taken into custody after former Japanese PM Abe Shinzo collapses". NHK World. 8 July 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2022. สืบค้นเมื่อ 8 July 2022.
- ↑ "Former Japanese PM Abe Shinzo showing no vital signs after apparently being shot | NHK WORLD-JAPAN News". NHK WORLD (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2022. สืบค้นเมื่อ 8 July 2022.
- ↑ "Former Japanese PM Shinzo Abe shot dead". CNN. 8 July 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2022. สืบค้นเมื่อ 8 July 2022.
- ↑ 5.0 5.1 "安倍氏は午後5時3分に死亡確認" [Mr. Abe confirmed dead at 5:03pm] (ภาษาญี่ปุ่น). Kyodo News. 8 July 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2022. สืบค้นเมื่อ 8 July 2022.
- ↑ Fisher, Marc (12 July 2022). "How Abe and Japan became vital to Moon's Unification Church". www.washingtonpost.com. สืบค้นเมื่อ 12 July 2022.
- ↑ "Reactions to Shinzo Abe shooting". Reuters. 8 July 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2022. สืบค้นเมื่อ 8 July 2022.
- ↑ "Giappone, l'ex premier Shinzo Abe ucciso in un attentato" [Japan, former premier Shinzo Abe killed in an attack]. Il Sole 24 Ore (ภาษาอิตาลี). 8 July 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2022. สืบค้นเมื่อ 8 July 2022.
- ↑ "「擁護はできないが、統一協会への恨みは理解できる」元信者が弁護士会見で明かしたこと(現代ビジネス)". Yahoo!ニュース (ภาษาญี่ปุ่น). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-07-16. สืบค้นเมื่อ 2022-07-16.
- ↑ Halloran, Richard (1978-03-16). "UNIFICATION CHURCH CALLED SEOUL TOOL". New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2022-07-13.
- ↑ "Killing of Shinzo Abe shines spotlight on politicians' links with Moonies", Financial Times (ภาษาอังกฤษ), 11 July 2022, เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 July 2022, สืบค้นเมื่อ 11 July 2022
- ↑ "Prime Minister Abe sent congratulatory telegrams to Unification Church". www.japan-press.co.jp. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 April 2022. สืบค้นเมื่อ 10 July 2022.
- ↑ "Ex-PM Abe sends message of support to Moonies-related NGO". www.japan-press.co.jp. 18 September 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 July 2022. สืบค้นเมื่อ 11 July 2022.
- ↑ Fisher, Mark (12 July 2022). "How Abe and Japan became vital to Moon's Unification Church". Washington Post. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 July 2022.
- ↑ 15.0 15.1 "自己破産させられた信者はたくさんいる. 2世の苦しみがどんなにつらいか. 霊感商法弁護団が会見" [There are many believers who have been bankrupted by themselves. How painful the suffering of the second generation is. An inspirational commercial law defense team meets.]. Yahoo! News Japan (ภาษาญี่ปุ่น). Bengo4. 12 July 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 July 2022.
- ↑ 全国霊感商法対策弁護士連絡会 [National Inspirational Commercial Law Countermeasures Lawyer Liaison Committee] (ภาษาญี่ปุ่น). National Network of Lawyers Against Spiritual Sales. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 July 2022.
- ↑ 窓口別被害者集計(1987年~) [Victim total by window (1987-)] (ภาษาญี่ปุ่น). National Network of Lawyers Against Spiritual Sales. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 July 2022.
- ↑ 18.0 18.1 安倍元首相が松山氏の応援取りやめ 参院選長野県区 女性問題など週刊誌報道受け [Former Prime Minister Shinzo Abe suspends support for Nagano district House of Councilors candidate Matsuyama over sexual/female scandals, per weekly news reports]. 信濃毎日新聞 (ภาษาญี่ปุ่น). 2022-07-08. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-07-08.
- ↑ 参院選 自民党・松山三四六候補が不倫の末、中絶同意書に偽名で署名していた [House of Councilors LDP candidate Sanshirou Matsuyama had an affair, signed letter of consent for an abortion with false name]. 文春オンライン (ภาษาญี่ปุ่น). 2022-07-06. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 July 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-07-07.
- ↑ 自民ものまねタレントに「900万円踏み倒し」の過去 法廷で偽証を求められた知人が告発 [LDP impersonator is accused of soliciting false testimony from an acquaintance in case of previous 9 million yen debt]. デイリー新潮 (ภาษาญี่ปุ่น). 2022-07-06. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-07-07.
- ↑ 自民党奈良県連「脅しみたいのはこれまでなかった」 [LDP's Nara Prefecture chapter: "The apparent threat up to now is no more"]. FNNプライムオンライン (ภาษาญี่ปุ่น). 2022-07-08. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-07-08.
- ↑ 22.0 22.1 安倍元首相の奈良入り「一般への周知はしていない」 自民県連が会見 [LDP Prefecture Chapter Interview: Former Prime Minister Abe's Nara schedule was not generally known]. 朝日新聞デジタル (ภาษาญี่ปุ่น). 2022-07-08. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-07-08.
- ↑ 23.0 23.1 自民奈良県連が会見 "演説7日急きょ決定 開始直後に発砲" [LDP Nara Prefecture Chapter Interview: Speech on the 7th decided upon suddenly, gunfire immediately after commencing]. NHK NEWS WEB (ภาษาญี่ปุ่น). 2022-07-08. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-07-08.
- ↑ "映像で見えた警備の穴 安倍元首相銃撃までの2分26秒", The Nikkei (ภาษาญี่ปุ่น), July 2022, สืบค้นเมื่อ 2022-07-15
- ↑ Sugiyama, Satoshi (8 July 2022). "Before fatal shooting, Japan's Abe was up close with the crowd". Reuters. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2022. สืบค้นเมื่อ 8 July 2022.
- ↑ 安倍元首相、銃撃の詳細判明 最初の発砲に振り向き、2度目で倒れる [Former Prime Minister Abe reveals details of shooting Turns to the first shot and collapses the second time]. 産経ニュース (ภาษาญี่ปุ่น). 産経新聞 (Sankei Shimbun). 8 July 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 July 2022. สืบค้นเมื่อ 11 July 2022.
- ↑ 27.0 27.1 "Shooting of Japan's Ex-Leader Shocks Nation Where Guns Are Rare". Bloomberg News. 8 July 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2022. สืบค้นเมื่อ 8 July 2022.
- ↑ Japanese police say former prime minister shot with pistol, weapon may have been made by shooter เก็บถาวร 8 กรกฎาคม 2022 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Sora News 24
- ↑ The man arrested over the shooting of former Japanese PM Shinzo Abe told police he was 'dissatisfied' with Abe: report เก็บถาวร 8 กรกฎาคม 2022 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Business Insider
- ↑ 30.0 30.1 Ismay, John; Chivers, C. J. (2022-07-08). "An improvised firearm was used to assassinate Abe". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-07-08.
- ↑ Ye Hee Lee, Michelle; Mio Inuma, Julia. "Japan reels after assassination of Shinzo Abe, as investigation into gunman, security begins". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 11 July 2022.
- ↑ Rich, Motoko; Inoue, Makiko; Hida, Hikari; Ueno, Hisako. "Shinzo Abe Is Assassinated With a Handmade Gun, Shocking a Nation". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 11 July 2022.
- ↑ Rutwich, John. "Former Japanese Prime Minister Shinzo Abe is assassinated at a campaign rally". NPR. สืบค้นเมื่อ 11 July 2022.
- ↑ "Shinzo Abe: Japan ex-leader assassinated while giving speech". BBC. 8 July 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2022. สืบค้นเมื่อ 8 July 2022.
- ↑ Sang-Hun, Choe (8 July 2022). "Shinzo Abe of Japan Dies After Being Shot During Speech". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2022. สืบค้นเมื่อ 8 July 2022.
- ↑ CNN, Helen Regan, Junko Ogura and Emiko Jozuka. "Former Japanese Prime Minister Shinzo Abe in critical condition following shooting". CNN. สืบค้นเมื่อ 2022-07-13.
- ↑ "「奇跡が起こってくれ、という一心でその場に」 安倍元首相の銃撃現場に駆けつけた医師が語った全て〈AERA〉(AERA dot.)". Yahoo!ニュース (ภาษาญี่ปุ่น). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-07-12. สืบค้นเมื่อ 2022-07-13.
- ↑ 38.0 38.1 38.2 Nakamaru, Ryotaro (7 July 2022). "Former Japan PM Abe Unconscious After Shooting; Man in Custody". Bloomberg News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2022. สืบค้นเมื่อ 8 July 2022.
- ↑ Hayes, Andy. "Former Japanese prime minister Shinzo Abe shot while giving speech" (ภาษาอังกฤษ). Sky News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-07-08.
- ↑ "Shinzo Abe shot: former Japan prime minister in critical condition, says PM Kishida – live updates". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2022-07-08. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-07-08.
- ↑ "Shinzo Abe: Japan's ex-leader dies after being shot - local media". BBC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2022. สืบค้นเมื่อ 8 July 2022.
- ↑ "安倍晋三元首相死亡 奈良県で演説中に銃で撃たれる" [Former Prime Minister Shinzo Abe dead, shot while giving a speech in Nara Prefecture]. 日本放送協会 [NHK] (ภาษาญี่ปุ่น). 8 July 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2022. สืบค้นเมื่อ 8 July 2022.
- ↑ "Shinzo Abe: Former Japanese prime minister dies after being shot while giving speech" (ภาษาอังกฤษ). Sky News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-07-08.
- ↑ Rich, Motoko (2022-07-08). "Abe received over 100 units of blood in transfusions over four hours as he hemorrhaged from a wound in the heart, said Hidetada Fukushima, the professor in charge of emergency medicine at Nara Medical University Hospital". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-07-08.
- ↑ "Police: Abe died from loss of blood due to single bullet | NHK WORLD-JAPAN News". NHK WORLD (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-07-13.
- ↑ Landers, Peter. "Shinzo Abe Shooting Recalls Japan's Prewar History of Political Violence". The Wall Street Journal (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2022. สืบค้นเมื่อ 8 July 2022.
- ↑ Brooke, James (2002-10-26). "Anticorruption Lawmaker Slain in Japan; Rightist Detained". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 January 2018. สืบค้นเมื่อ 2022-07-08.
- ↑ "Japan mayor dies in suspected gangster shooting". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 2007-04-18. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-07-08.
- ↑ Rich, Motoko; Dooley, Ben (8 July 2022). "Suspect Is in Custody After Shinzo Abe Is Wounded". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2022. สืบค้นเมื่อ 8 July 2022.
- ↑ Rich, Motoko; Dooley, Ben (8 July 2022). "Suspect Is in Custody After Shinzo Abe Is Wounded". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2022. สืบค้นเมื่อ 8 July 2022.
- ↑ "8日の岸田首相の動静" [PM Kishida's movement on 8th] (ภาษาญี่ปุ่น). Nikkei. 8 July 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 July 2022. สืบค้นเมื่อ 9 July 2022.
- ↑ "東京に戻るよう閣僚に指示と官房長官" [Directed ministers to come back to Tokyo - Chief Cabinet Secretary] (ภาษาญี่ปุ่น). Kyodo News. 8 July 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2022. สืบค้นเมื่อ 8 July 2022.
- ↑ "Japan PM Kishida orders tightened security for top politicians". NHK World-Japan. 8 July 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 July 2022. สืบค้นเมื่อ 10 July 2022.
- ↑ "【速報】昭恵夫人は京都から奈良へ移動" [[Breaking news] Mrs. Akie moves from Kyoto to Nara]. news.tv-asahi.co.jp (ภาษาญี่ปุ่น). 9 July 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 July 2022. สืบค้นเมื่อ 11 July 2022.
- ↑ "Party heads back on the campaign trail day after Abe killed". The Asahi Shimbun (ภาษาอังกฤษ). 9 July 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 July 2022. สืบค้นเมื่อ 9 July 2022.
- ↑ McCurry, Justin (2022-07-09). "Shinzo Abe's body arrives in Tokyo as election campaign resumes in shadow of killing". The Guardian (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 July 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-07-09.
- ↑ "民放各局が報道特番 ドラマ、バラエティー延期 安倍氏銃撃受け" [Commercial TV broadcasters had special news reports, postponed dramas & variety programs. Due to Mr. Abe's shooting] (ภาษาญี่ปุ่น). Mainichi Shimbun. 8 July 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2022. สืบค้นเมื่อ 9 July 2022.
- ↑ #ひるおび、#ゴゴスマ、#Nスタ の電波ジャックは中止となりました。 เก็บถาวร 8 กรกฎาคม 2022 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน @ishihane_tbs on Twitter
- ↑ [1] เก็บถาวร 8 กรกฎาคม 2022 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน @ishihane_tbs on Twitter
- ↑ Japanese Media Ditch Schedules to Focus on Shinzo Abe Shooting เก็บถาวร 8 กรกฎาคม 2022 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Variety (magazine)
- ↑ Teppen—!!!!!!!!!!!!!!! Laughing 'til you Cry Anime Cancels Airing of 2nd Episode เก็บถาวร 8 กรกฎาคม 2022 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Anime News Network
- ↑ Teppen!!! Comedy Anime Will Not Air 2nd Episode เก็บถาวร 8 กรกฎาคม 2022 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน AniTrendz
- ↑ アニメ「てっぺん!!!!!!!!!!!!!!!」第2話の放送取りやめ 安倍元首相銃撃事件に配慮か (ภาษาญี่ปุ่น). Sports Nippon. July 9, 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 July 2022. สืบค้นเมื่อ July 12, 2022.
- ↑ 町田啓太の〝自衛隊ドラマ〟に安倍元首相銃撃余波! 犯人が元海自でフジ騒然 (ภาษาญี่ปุ่น). Tokyo Sports. July 9, 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 July 2022. สืบค้นเมื่อ July 12, 2022.
- ↑ "【速報】菅前首相が病院に 搬送の病院前から中継" [[Breaking news] Former Prime Minister Suga relays to the hospital from the front of the hospital]. FNNプライムオンライン (ภาษาญี่ปุ่น). 8 July 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 July 2022.
- ↑ "病院に入る松野官房長官" [Secretary of State Matsuno entering the hospital]. jiji.com (ภาษาญี่ปุ่น). 8 July 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 July 2022.
- ↑ "安倍昭恵夫人、後部座席で前を見据え頭を下げる 前後に関係車両5台、稲田朋美元防衛相らの姿も" [Mrs. Akie Abe looks forward in the back seat and lowers her head. Five related vehicles and former defense minister Tomomi Inada are also seen before and after.]. 日刊スポーツ (ภาษาญี่ปุ่น). 9 July 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 July 2022. สืบค้นเมื่อ 9 July 2022.
- ↑ "安倍元首相、無言の帰宅 銃撃死から一夜、各党遊説再開" [Former Prime Minister Abe returns home silently.]. jiji.com (ภาษาญี่ปุ่น). 8 July 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 July 2022.
- ↑ "安倍元首相、無言の帰宅 岸田首相、森・小泉氏ら弔問" [Former Prime Minister Abe, silent return home Prime Minister Kishida, condolences by Mr. Mori and Koizumi]. 時事ドットコム (ภาษาญี่ปุ่น). 時事通信社. 9 July 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 July 2022. สืบค้นเมื่อ 10 July 2022.
- ↑ 70.0 70.1 70.2 "Wake of former Prime Minister Abe held at Tokyo temple". NHK. 11 July 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 July 2022. สืบค้นเมื่อ 14 July 2022.
- ↑ Sugiyama, Satoshi; Shalal, Andrea (11 July 2022). "Mourners throng Abe's wake as his party secures sombre Japan election win". Reuters. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 July 2022. สืบค้นเมื่อ 14 July 2022.
- ↑ "Japan honors ex-PM Abe with highest decoration, wake held in Tokyo". Kyodo News. 11 July 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 July 2022. สืบค้นเมื่อ 14 July 2022.
- ↑ 73.0 73.1 Lies, Elaine (12 July 2022). "Japan bids sombre farewell to slain Shinzo Abe, its longest-serving premier". Reuters. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 July 2022. สืบค้นเมื่อ 14 July 2022.
- ↑ Jalil, Zubaidah Abdul; Wingfield-Hayes, Rupert (12 July 2022). "Shinzo Abe: Japanese mourners pay last respects to ex-PM at funeral". BBC. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 July 2022. สืบค้นเมื่อ 14 July 2022.
- ↑ 75.0 75.1 "Japanese people say their final goodbyes to former leader Shinzo Abe at his funeral". NPR. 12 July 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 July 2022. สืบค้นเมื่อ 14 July 2022.
- ↑ Yeung, Jessie; Mogul, Rhea (12 July 2022). "Japan holds Shinzo Abe's funeral". CNN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 July 2022. สืบค้นเมื่อ 14 July 2022.
- ↑ INC, SANKEI DIGITAL (15 July 2022). "【妄信】㊦「宗教で家庭が崩壊」献金1億円超、死の影に追われた容疑者の半生". 産経ニュース (ภาษาญี่ปุ่น). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 July 2022. สืบค้นเมื่อ 17 July 2022.
- ↑ Rich, Motoko (8 July 2022). "A 41-year-old man is in custody, accused of shooting Mr. Abe". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2022. สืบค้นเมื่อ 8 July 2022.
- ↑ "Former Prime Minister Shinzo Abe unconscious after being shot in Nara". The Japan Times. Kyodo News. 8 July 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2022. สืบค้นเมื่อ 8 July 2022.
- ↑ 日本放送協会. 安倍元首相銃撃 41歳男"殺そうと思って狙った"【速報中】 | NHK [Former Prime Minister Abe Shooter, 41-year-old man, “I intended to kill him.”]. NHKニュース (ภาษาญี่ปุ่น). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-07-08.
- ↑ 【速報】山上徹也容疑者は元海上自衛隊員 安倍首相、心肺停止 [[Breaking news] Tetsuya Yamagami is a former Maritime Self-Defense Force member Prime Minister Abe, cardiopulmonary arrest]. FNN (ภาษาญี่ปุ่น). Fuji News Network. 8 July 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2022. สืบค้นเมื่อ 8 July 2022.
- ↑ 【速報】41歳の山上徹也容疑者を殺人未遂で逮捕 犯罪歴確認なし [[Breaking news] 41-year-old Tetsuya Yamagami arrested for attempted murder No criminal history confirmed]. FNNプライムオンライン. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2022. สืบค้นเมื่อ 8 July 2022.
- ↑ 安倍元首相を殺害した山上容疑者の「素顔」 近隣住民「非常におとなしかった」 ["Real face" of Yamagami who killed former Prime Minister Abe Neighbors "Very quiet"]. スポニチ Sponichi Annex (ภาษาญี่ปุ่น). 8 July 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2022. สืบค้นเมื่อ 8 July 2022.
- ↑ 84.0 84.1 "父は急死、母は宗教団体へ多額の金 安倍氏銃撃容疑者の生い立ち" [His father died suddenly and his mother went to a religious group with a large amount of money: Mr. Abe's background of the shooting suspect]. The Asahi Shimbun (ภาษาญี่ปุ่น). 9 July 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 July 2022. สืบค้นเมื่อ 9 July 2022.
- ↑ 85.0 85.1 銃撃容疑者 自衛官時代に、小銃組み立てや射撃訓練を受けた可能性 [Suspected gunner May have received rifle assembly and shooting training during his time as a self-defense officer]. 毎日新聞 (Mainchi Shimbun) (ภาษาญี่ปุ่น). 8 July 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2022. สืบค้นเมื่อ 8 July 2022.
- ↑ 安倍元首相銃撃の容疑者 高校時代は応援団所属、おとなしい性格 [Former Prime Minister Abe suspected of shooting, belonging to a cheering party in high school, quiet personality]. 毎日新聞 (Mainchi Shimbun) (ภาษาญี่ปุ่น). 8 July 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2022. สืบค้นเมื่อ 8 July 2022.
- ↑ 海自に3年、射撃経験も 同級生「寡黙な印象」―安倍氏銃撃で逮捕の山上容疑者:時事ドットコム [3 years in the sea, a classmate with shooting experience "silent impression" -Mr. Abe arrested for shooting Yamagami suspect: Jiji.com]. 時事ドットコム (JIJI PRESS) (ภาษาญี่ปุ่น). 9 July 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 July 2022. สืบค้นเมื่อ 9 July 2022.
- ↑ 88.0 88.1 88.2 "Abe murder suspect quit most recent job after he felt 'tired'". The Japan Times. Kyodo News. 8 July 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2022. สืบค้นเมื่อ 8 July 2022.
- ↑ 山上容疑者は県内有数の進学校出身…卒業アルバムには笑顔の写真、将来は「わからん」 [Yamagami is from one of the prefecture's leading high schools ... Smiley photos on his graduation album, "I don't know" in the future]. 読売新聞オンライン (Yomiuri Shimbun) (ภาษาญี่ปุ่น). 9 July 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 July 2022. สืบค้นเมื่อ 9 July 2022.
- ↑ As Japan mourns Abe's death, details of shooting suspect begin to emerge เก็บถาวร 12 กรกฎาคม 2022 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Johnson, Jesse. The Japan Times. 12 July 2022. Retrieved 14 July 2002.
- ↑ 91.0 91.1 海自護衛艦で勤務 逮捕の山上容疑者と同一人物か [Worked on a sea self-defense ship Is it the same person as Mr. Yamagami who was arrested?]. 産経ニュース (Sankei Shimbun) (ภาษาญี่ปุ่น). 8 July 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2022. สืบค้นเมื่อ 8 July 2022.
- ↑ 安倍元首相銃撃の男、海自呉基地で勤務 [Former Prime Minister Abe shooting man, working at Kaijin Wu base]. 共同通信 (Kyodo News) (ภาษาญี่ปุ่น). 8 July 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2022. สืบค้นเมื่อ 8 July 2022.
- ↑ 部屋から「ギコギコ」と異音、職場では「お前がやれや」とトラブル…安倍氏銃撃の容疑者 [A strange noise from the room, "You're gonna do it" at work ... Mr. Abe suspected of shooting]. 読売新聞オンライン (Yomiuri Shimbun) (ภาษาญี่ปุ่น). 9 July 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 July 2022. สืบค้นเมื่อ 9 July 2022.
- ↑ 94.0 94.1 「夜にギコギコという音が聞こえた」 銃撃事件容疑者の隣室の男性:朝日新聞デジタル ["I heard a rattling noise at night." A man in the room next to the suspected shooting case: Asahi Shimbun Digital]. 朝日新聞デジタル (Asahi Shimbun) (ภาษาญี่ปุ่น). 8 July 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2022. สืบค้นเมื่อ 8 July 2022.
- ↑ NEWS, KYODO. "Former Japan PM Abe dies after being shot during election speech". Kyodo News+. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2022. สืบค้นเมื่อ 8 July 2022.
- ↑ "Police: Suspect 'intended to kill' former PM Abe". NHK. NHK. 8 July 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2022. สืบค้นเมื่อ 8 July 2022.
- ↑ "Shinzo Abe: Explosives found at shooting suspect's home – reports". BBC News. 8 July 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2022. สืบค้นเมื่อ 8 July 2022.
- ↑ "安倍元首相、銃撃され死亡 67歳、選挙応援演説中―元海自隊員の41歳男逮捕、「特定の団体に恨み」・奈良" [Former Prime Minister Abe, shot dead 67 years old, in an election support speech - A 41-year-old man of a former Maritime Self-Defense Force member was arrested in Nara, with "a grudge against a specific group"]. Jiji Press (ภาษาญี่ปุ่น). 9 July 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 July 2022. สืบค้นเมื่อ 9 July 2022.
- ↑ "安倍元首相銃撃で山上容疑者「ある特定の宗教団体に恨み」" [Former Prime Minister Abe shoots Yamagami "grudge against a specific religious group"]. FNN Prime Online (ภาษาญี่ปุ่น). 8 July 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2022. สืบค้นเมื่อ 8 July 2022.
- ↑ 100.0 100.1 100.2 "「疲労困ぱい立っていられない」山上容疑者"母の近況"を伯父明かす 献金額も…", All-Nippon News Network (ภาษาญี่ปุ่น), 2022-07-15, สืบค้นเมื่อ 2022-07-15 – โดยทาง YouTube
- ↑ "関係者「母親は旧統一教会に献金1億円」、土地・自宅売却で破産" [Official: "His mother made 100 million yen in donations to former Unification Church, became bankrupt after selling their land and home"] (ภาษาญี่ปุ่น). Yomiuri Shimbun. 13 July 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 July 2022. สืบค้นเมื่อ 13 July 2022.
- ↑ "《安倍元首相銃殺》「母親が宗教に傾倒し、大病を患う兄が自殺」山上徹也容疑者が自殺未遂に至った"不遇な家庭環境"と事件直前の"悪質レビュートラブル"" [Former Prime Minister Abe shot dead; Suspect's mother was devoted to religion, and his brother who was seriously ill committed suicide – "Unfavorable family environment" that led to Tetsuya Yamagami's suicide attempt and "malicious review trouble" just before the incident.]. Bunshun Online (ภาษาญี่ปุ่น). Yahoo! News Japan. 10 July 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 July 2022. สืบค้นเมื่อ 14 July 2022.
- ↑ "「どうして兄ちゃん死んだんや」7年前の葬儀、涙を流していた山上容疑者", Yomiuri Shimbun (ภาษาญี่ปุ่น), 2022-07-14, สืบค้นเมื่อ 2022-07-16
- ↑ "銃撃容疑者「母親が宗教にのめり込み破産」 安倍氏に一方的恨みか" [Shooting Suspect: "Mother became involved in religion and went bankrupt," unilateral resentment toward Mr. Abe?]. Mainichi Shimbun (ภาษาญี่ปุ่น). 9 July 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 July 2022. สืบค้นเมื่อ 9 July 2022.
- ↑ "当初の狙いは宗教団体の幹部襲撃か「母親がのめり込み恨みがあった」 安倍元首相銃撃事件の容疑者が供述" [Suspect in the shooting of former Prime Minister Abe stated that his initial aim was to attack a religious leader or that he had a grudge against his mother because she had become obsessed with him.]. Yomiuri Shimbun (ภาษาญี่ปุ่น). 9 July 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 July 2022. สืบค้นเมื่อ 9 July 2022.
- ↑ "【速報】"特定の宗教団体"は母親と関係 「のめり込み破産」新たな供述" [[Breaking news] "Specific religious group" has a relationship with mother "Devotion bankruptcy" new statement]. FNN Prime Online (ภาษาญี่ปุ่น). 9 July 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 July 2022. สืบค้นเมื่อ 9 July 2022.
- ↑ 107.0 107.1 "「山上容疑者の母は会員」「献金額たどれず」 旧統一教会が会見". The Asahi Shimbun (ภาษาญี่ปุ่น). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 July 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-07-11.
- ↑ Johnson, Jesse; Otake, Tomoko (11 July 2022). "Unification Church says Abe shooting suspect's mother is follower". The Japan Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 July 2022. สืบค้นเมื่อ 11 July 2022.
- ↑ Takenaka, Kiyoshi; Park, Ju-min; Kelly, Tim (11 July 2022). "Unification Church confirms mother of Abe suspect is member" (ภาษาอังกฤษ). Reuters. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 July 2022. สืบค้นเมื่อ 12 July 2022.
- ↑ "安倍元首相銃撃事件 宗教団体代表"容疑者は団体に在籍せず"" [Former Prime Minister Abe shot, religious group head: "Suspect is not a member of the group."]. NHK NEWS WEB (ภาษาญี่ปุ่น). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 July 2022. สืบค้นเมื่อ 11 July 2022.
- ↑ "【速報】「安倍元総理は当団体の顧問になったことはない」安倍元総理が銃撃され死亡 容疑者の母親が信者の宗教団体「世界平和統一家庭連合」が会見「献金問題は捜査中で言及は避ける」". MBS News (ภาษาญี่ปุ่น). Yahoo! News Japan. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 July 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-07-11.
- ↑ "宗教団体が会見「団体への恨みから殺害に至るまで距離があって困惑」 信者の容疑者母親の献金について「たどり切れていない」" [Religious group holds press conference: "We are puzzled by the distance between the grudge against the group and the murder" and "We have not been able to trace the donations to the mother of the suspect, who is a member."]. Yahoo! News Japan (ภาษาญี่ปุ่น). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 July 2022. สืบค้นเมื่อ 11 July 2022.
- ↑ 公開抗議文 衆議院議員 安倍晋三 先生へ 統一教会 家庭連合. National Network of Lawyers Against Spiritual Sales (Japan). 2021-09-17. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 July 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-07-13.
- ↑ ""1億円献金"銃撃男の母親は今…乗せた?タクシー運転手「表札見たら山上」", All-Nippon News Network (ภาษาญี่ปุ่น), 2022-07-15, สืบค้นเมื่อ 2022-06-15 – โดยทาง YouTube
- ↑ 115.0 115.1 115.2 Bankhurst, Adam (9 July 2022). "Kojima Productions Threatens Legal Action Against Those Who Claim Hideo Kojima Was Linked to Shinzo Abe Assassination". IGN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 July 2022. สืบค้นเมื่อ 9 July 2022.
- ↑ Khan, Zarmena (8 July 2022). "Shinzo Abe Assassin Misidentified as Hideo Kojima by Politicians and Media". PlayStation LifeStyle. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2022. สืบค้นเมื่อ 9 July 2022.
- ↑ Zwiezen, Zack (8 July 2022). "Hideo Kojima Misidentified As Shinzo Abe Assassin By News Channel, Politicians". Kotaku. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 July 2022. สืบค้นเมื่อ 9 July 2022.
- ↑ "Hideo Kojima Misidentified as Shinzo Abe Assassin by News Channel, Politicians: Latest Tweet by Kotaku". LatestLY. 8 July 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 July 2022. สืบค้นเมื่อ 9 July 2022.
- ↑ 119.0 119.1 "Shinzo Abe killing: Hideo Kojima threatens to sue over false posts". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2022-07-11. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 July 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-07-11.
- ↑ 120.0 120.1 Saint-André, Elsa de La Roche. "Damien Rieu a-t-il publié des photos d'un créateur de jeux vidéo «d'extrême gauche» en l'accusant d'être l'assassin de Shinzo Abe?". Libération (ภาษาฝรั่งเศส). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 July 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-07-11.
- ↑ "Assassinat de Shinzo Abe : Damien Rieu attaqué en justice pour diffusion de fausses informations ?". TF1 INFO (ภาษาฝรั่งเศส). 2022-07-09. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 July 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-07-11.
- ↑ Gault, Matthew (8 July 2022). "News Outlets Mistakenly Identify Abe Assassin as Hideo Kojima". Vice. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 July 2022. สืบค้นเมื่อ 10 July 2022.
- ↑ Michaels, Stephen (8 July 2022). "The Awful Reason Hideo Kojima Is Trending". SVG. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 July 2022. สืบค้นเมื่อ 10 July 2022.
- ↑ Loveridge, Lynzee (9 July 2022). "Hideo Kojma's Kojima Production Company Condemns 'Fake News'". Anime News Network. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 July 2022. สืบค้นเมื่อ 10 July 2022.
- ↑ Loveridge, Lynzee (9 July 2022). "French Politician Damien Rieu Apologizes For Falsely Identifying Hideo Kojima as Shinzo Abe's Killer". Anime News Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 July 2022. สืบค้นเมื่อ 10 July 2022.
- ↑ Kojima Productions (Eng) [@KojiPro2015_EN] (9 July 2022). "#KojimaProductions strongly condemns the spread of fake news and rumors that convey false information. We do not tolerate such libel and will consider taking legal action in some cases" (ทวีต). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 July 2022. สืบค้นเมื่อ 9 July 2022 – โดยทาง ทวิตเตอร์.
- ↑ "「次はおまえだ」長野自民候補に脅迫電話か 安倍氏銃撃30分後" ["Next is you" A threatening call to the Nagano Liberal Democratic candidate or Mr. Abe 30 minutes after the shooting]. 毎日新聞 (ภาษาญี่ปุ่น). 8 July 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-07-09. สืบค้นเมื่อ 8 July 2022.
- ↑ "'You're next.' LDP candidate threatened after attack on Abe | The Asahi Shimbun: Breaking News, Japan News and Analysis". The Asahi Shimbun. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 July 2022. สืบค้นเมื่อ 14 July 2022.
- ↑ "Man arrested after threatening PM Lee on Facebook following shooting of former Japan PM Shinzo Abe". CNA (ภาษาอังกฤษ). 10 July 2022. สืบค้นเมื่อ 10 July 2022.
- ↑ Chang, Jung-hsiang; Lin, Ko (9 July 2022). "Tainan man arrested for making death threats against President Tsai". Focus Taiwan. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 July 2022. สืบค้นเมื่อ 10 July 2022.
- ↑ Limited, Bangkok Post Public Company. "Security in Thailand tightened after Abe's killing". Bangkok Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 July 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-07-13.
- ↑ Ng, Eileen (8 July 2022). "Assassination of Japan's Shinzo Abe stuns world leaders". Associated Press. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2022. สืบค้นเมื่อ 8 July 2022.
- ↑ Inoue, Makiko (8 July 2022). "Fumio Kishida, Japan's prime minister, said: "An act of cowardly barbarism has stolen Prime Minister Abe's life. It is absolutely unallowable, and I once again condemn it with the strongest words."". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2022. สืบค้นเมื่อ 8 July 2022.
- ↑ Sugiyama, Satoshi; Kim, Chang-Ran (2022-07-08). "Shinzo Abe's assassin used a handmade firearm". Reuters (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-07-08.
- ↑ Lies, Elaine (2022-07-08). "In mostly gun-free nation, Japanese stunned by Abe killing". Reuters (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-07-08.
- ↑ Shii, Kazuo [@shiikazuo] (July 8, 2022). (神戸で記者団に)安倍晋三元首相への襲撃は、自由な言論をテロで封殺しようという許し難い蛮行であり、強い憤りをもって抗議する。 安倍さんのご回復を強く願ってやみません。 (ทวีต) (ภาษาญี่ปุ่น). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2022. สืบค้นเมื่อ 8 July 2022 – โดยทาง ทวิตเตอร์.
- ↑ 'An equivalent of JFK's assassination day': Shinzo Abe's special adviser on former Japanese prime minister's death - CNN Video, เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 July 2022, สืบค้นเมื่อ 2022-07-10
- ↑ Lee, Michelle Ye Hee (July 9, 2022). "Japan probes Abe assassination motive as police chief admits 'problems'". The Washington Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 July 2022. สืบค้นเมื่อ July 9, 2022.
- ↑ "Lawyers in Japan say Unification Church lying about not extorting donations from followers". 13 July 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 July 2022. สืบค้นเมื่อ 14 July 2022 – โดยทาง Mainichi Daily News.
- ↑ 旧統一教会被害者弁護士ら会見 「献金の強要ないという説明はうそ」 (ภาษาญี่ปุ่น). Mainichi Shimbun. 12 July 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 July 2022.
- ↑ 「政治家として配慮いただきたい、ということを繰り返しお願いしてきた」安倍元総理の銃撃事件、旧統一教会の記者会見を受け、全国霊感商法対策弁護士連絡会が声明 (ภาษาญี่ปุ่น). Abema. 12 July 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 July 2022 – โดยทาง Yahoo News Japan.
- ↑ 元内閣総理大臣安倍晋三氏を従一位に叙すること並びに大勲位菊花章頸飾及び菊花大綬章の授与について [Regarding the awarding of former Prime Minister Shinzo Abe to the first rank and the awarding of the Collar of the Supreme Order of the Chrysanthemum and Grand Cordon of the Supreme Order of the Chrysanthemum]. kantei.go.jp (Press release). Prime Minister's Office of Japan. 11 July 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 July 2022. สืบค้นเมื่อ 12 July 2022.
- ↑ 安倍元首相に最高位勲章 中曽根氏に続き4人目 [Highest-rank to former PM Abe, fourth after Mr. Nakasone]. Kyodo News. July 11, 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 July 2022. สืบค้นเมื่อ July 11, 2022.
- ↑ "Japan honors Shinzo Abe with highest decoration as wake held in Tokyo". The Japan Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2022-07-11. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 July 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-07-11.
- ↑ 145.0 145.1 "Japan honors ex-PM Abe with highest decoration, wake held in Tokyo". Kyodo News. July 11, 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 July 2022. สืบค้นเมื่อ July 11, 2022.
- ↑ Watsom, Kathryn (8 July 2022). "World leaders mourn assassination of "friend" Shinzo Abe". CBS News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2022. สืบค้นเมื่อ 8 July 2022.
- ↑ De Guzman, Chad (8 July 2022). "How the World Is Reacting to Shinzo Abe's Death". Time (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2022. สืบค้นเมื่อ 8 July 2022.
- ↑ "Reactions to Shinzo Abe shooting". Reuters. 8 July 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2022. สืบค้นเมื่อ 8 July 2022.
- ↑ "'True friend to Australia': Australian landmarks lit up to honour Shinzo Abe as Quad nations vow to continue legacy". SBS News (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 July 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-07-09.
- ↑ "Bangladesh to observe state mourning Saturday in memory of Shinzo Abe". Dhaka Tribune. 2022-07-08. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2022. สืบค้นเมื่อ July 8, 2022.
- ↑ "Brazil's Bolsonaro 'outraged' by Japan ex-PM Abe's killing, orders three-day mourning". Reuters. 8 July 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 July 2022. สืบค้นเมื่อ 9 July 2022.
- ↑ Suliman, Adele; Ye, Hee Lee; Inuma, Mio (8 July 2022). "'Shocked' and 'saddened' world leaders react to Shinzo Abe's assassination". The Washington Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2022. สืบค้นเมื่อ 8 July 2022.
- ↑ "Saddened beyond words at tragic demise of one of my 'dearest friends': PM Modi on Abe's death". The Times of India (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-07-08.
- ↑ ""This is really personal," How the World Reacted to PM Modi's Heartfelt Tribute to Shinzo Abe". News18 (ภาษาอังกฤษ). 2022-07-09. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 July 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-07-13.
- ↑ "'My Friend, Abe San': PM Modi pens heartfelt tribute to ex-Japan PM Shinzo Abe". Hindustan Times (ภาษาอังกฤษ). 2022-07-08. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 July 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-07-16.
- ↑ "Nepal condoles death of Shinzo Abe, announces day of national mourning". The Print. 8 July 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 July 2022. สืบค้นเมื่อ 16 July 2022.
- ↑ Press Release. "Press Release – Ministry of Foreign Affairs". Mfa.gov.bt. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-07-17.
- ↑ "Cambodia declares one-day mourning to mark respect for former Japanese PM". Khmer Times. 9 July 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 July 2022. สืบค้นเมื่อ 16 July 2022.
- ↑ "Karaoke, entertainment clubs, bars, discos, and beer gardens shut today to mourn assassinated former Japanese PM". Khmer Times. 10 July 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 July 2022. สืบค้นเมื่อ 16 July 2022.
- ↑ "Cuba decrees official mourning for Shinzo Abe's murder". Prensa Latina. 11 July 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 July 2022. สืบค้นเมื่อ 16 July 2022.
- ↑ "Japan leader Shinzo Abe assassination ‖ Sri Lanka observes day of national mourning". The Hindu. 12 July 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 July 2022. สืบค้นเมื่อ 12 July 2022.
- ↑ "Thailand flies flags at half-mast in mourning for Shinzo Abe". nationthailand (ภาษาอังกฤษ). 2022-07-11. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 July 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-07-12.
- ↑ Leah (11 July 2022). "Thailand flies flags at half-mast today in memory of Shinzo Abe". The Thaiger. The Thaiger. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 July 2022. สืบค้นเมื่อ 13 July 2022.
- ↑ "A Proclamation on the Death Of Abe Shinzo" (Press release). White House. 8 July 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2022. สืบค้นเมื่อ 8 July 2022.
- ↑ Shear, Michael (8 July 2022). "President Biden ordered on Friday that United States flags at federal facilities around the world be flown at half-staff for three days in honor of Shinzo Abe". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2022. สืบค้นเมื่อ 8 July 2022.
- ↑ 166.0 166.1 "U.S. top diplomat Antony Blinken to visit Japan to offer condolences over Abe". The Japan Times. 10 July 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 July 2022. สืบค้นเมื่อ 11 July 2022.
- ↑ "Secretary Antony J. Blinken Remarks to Traveling Press Yokota Air Base Tokyo, Japan" (Press release). U.S. Department of State. 10 July 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 July 2022. สืบค้นเมื่อ 11 July 2022.
- ↑ ブリンケン国務長官による岸田総理大臣表敬 [Courtesy visit to PM Kishida by Secretary of State Blinken] (Press release) (ภาษาญี่ปุ่น). Ministry of Foreign Affairs of Japan. 11 July 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 July 2022. สืบค้นเมื่อ 11 July 2022.
- ↑ 169.0 169.1 Michelle Ye Hee Lee (11 July 2022). "Shinzo Abe's family holds private wake for slain former Japanese leader". The Washington Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 July 2022. สืบค้นเมื่อ 11 July 2022.
- ↑ "Yellen cancels public event in Japan after Abe assassination". Reuters. 9 July 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 July 2022. สืบค้นเมื่อ 11 July 2022.
- ↑ Tully-Mcmanus, Katherine. "Hill mourns Abe, an ally assassinated". Politico (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 July 2022. สืบค้นเมื่อ 13 July 2022.
- ↑ "Council of EU - Newsroom" (ภาษาอังกฤษ). Europa. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 July 2022. สืบค้นเมื่อ 9 July 2022.
- ↑ ""Our Hearts Are With People Of Japan": Quad Mourns Death Of Shinzo Abe". NDTV.com. 9 July 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 July 2022. สืบค้นเมื่อ 9 July 2022.
- ↑ "Statement by the Prime Minister on the assassination of former Japanese Prime Minister Shinzo Abe". Prime Minister of Canada (ภาษาอังกฤษ). 8 July 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2022. สืบค้นเมื่อ 12 July 2022.
- ↑ "Taiwan to fly flags at half-staff in honor of killed ex-Japanese leader Shinzo Abe - Focus Taiwan". focustaiwan.tw (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 July 2022. สืบค้นเมื่อ 10 July 2022.
- ↑ "Taiwan lost a friend, Tsai says after Abe shot dead - Taipei Times". Taipei Times. 9 July 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 July 2022. สืบค้นเมื่อ 9 July 2022.
- ↑ "Taipei 101 lights up in tribute to slain ex-Japan leader Abe - Focus Taiwan". focustaiwan.tw (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 July 2022. สืบค้นเมื่อ 9 July 2022.
- ↑ "Taiwan vice president arrives in Japan to mourn Abe". Taiwan News. 11 July 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 July 2022. สืบค้นเมื่อ 11 July 2022.