กวาง
กวาง ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: โอลิโกซีนตอนต้น–ปัจจุบัน | |
---|---|
ชนิดของกวาง | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | สัตว์ (Animalia) |
ไฟลัม: | สัตว์มีแกนสันหลัง (Chordata) |
ชั้น: | สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม (Mammalia) |
อันดับ: | สัตว์กีบคู่ (Artiodactyla) |
อันดับย่อย: | สัตว์เคี้ยวเอื้อง (Ruminantia) |
วงศ์: | กวาง (Cervidae) Goldfuss, 1820 |
วงศ์ย่อย | |
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ |
กวาง เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กีบคู่ (อันดับย่อยสัตว์เคี้ยวเอื้อง) ที่จัดอยู่ในวงศ์ Cervidae
มีลักษณะขนยาวหยาบสีน้ำตาล ตัวผู้มีเขาเป็นแขนง ผลัดเขาปีละครั้ง ตัวเมียมีขนาดเล็กกว่าและไม่มีเขา ลักษณะเขาตัน ไม่กลวง เป็นเกลียว บางชนิดอาจแตกแขนงได้มากเหมือนกิ่งไม้ ไม่มีถุงน้ำดี ชอบอยู่ตามลำพังตัวเดียวยกเว้นฤดูผสมพันธุ์ กินใบไม้อ่อน หญ้าอ่อน
การจำแนก
[แก้]วงศ์ Cervidae [1]
Cervidae | |
- วงศ์ย่อย Muntiacinae คือ เก้ง
- สกุล Muntiacus
- Muntiacus muntjak (เก้งธรรมดา)
- Muntiacus reevesi
- Muntiacus crinifrons (เก้งดำเมืองจีน)
- Muntiacus feae (เก้งหม้อ, เก้งดำ หรือ เก้งดง)
- Muntiacus atherodes (เก้งเหลืองบอร์เนียว)
- Muntiacus rooseveltorum (เก้งอินโดจีน)
- Muntiacus gongshanensis
- Muntiacus vuquangensis (เก้งยักษ์)
- Muntiacus truongsonensis (เก้งตรองซอน)
- Muntiacus putaoensis
- สกุล Elaphodus
- Elaphodus cephalophus (กวางจุก)
- สกุล Muntiacus
- วงศ์ย่อย Cervinae
- สกุล Cervus
- สกุลย่อย Cervus
- สกุลย่อย Przewalskium
- Cervus albirostris
- สกุลย่อย Sika
- Cervus nippon (กวางซีก้า กวางซิกะ หรือ กวางญี่ปุ่น)
- สกุลย่อย Rucervus
- Cervus duvaucelii (กวางบึง)
- Cervus schomburgki (สมัน; สูญพันธุ์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1938)
- Cervus eldii (ละองละมั่ง)
- ละองละมั่งที่พบในประเทศไทยเป็นชนิดย่อย ละองละมั่งพันธุ์ไทย (Cervus eldii thamin) และ ละองละมั่งพันธุ์พม่า Cervus eldii siamensis
- สกุลย่อย Rusa
- สกุล Axis
- สกุลย่อย Axis
- Axis axis (กวางดาว)
- สกุลย่อย Hyelaphus
- Axis porcinus (เนื้อทราย)
- Axis calamianensis (กวางคาลาเมียน)
- Axis kuhlii (กวางบาวีน)
- สกุลย่อย Axis
- สกุล Elaphurus
- Elaphurus davidianus (กวางปักกิ่ง)
- สกุล Dama
- Dama dama (กวางฟอลโล)
- Dama mesopotamica
- Megaloceros giganteus
- สกุล Cervus
- วงศ์ย่อย Hydropotinae
- สกุล Hydropotes
- Hydropotes inermis (กวางน้ำจีน)
- สกุล Hydropotes
- วงศ์ย่อย Odocoileinae/ Capreolinae
- สกุล Odocoileus
- Odocoileus virginianus (กวางหางขาว)
- Odocoileus hemionus (กวางหางดำ)
- สกุล Blastocerus
- Blastocerus dichotomus
- สกุล Ozotoceros
- Ozotoceros bezoarticus (กวางปัมปัส)
- สกุล Mazama
- Mazama americana
- Mazama bricenii
- Mazama chunyi
- Mazama gouazoubira
- Mazama nana
- Mazama pandora
- Mazama rufina
- สกุล Pudu
- สกุล Hippocamelus
- Hippocamelus antisensis (กวางกูเอมาลเปรู)
- Hippocamelus bisulcus (กวางกูเอมาลชิลี)
- สกุล Capreolus
- Capreolus capreolus (กวางโรตะวันตก)
- Capreolus pygargus (กวางโรตะวันออก)
- สกุล Rangifer
- Rangifer tarandus (กวางเรนเดียร์ หรือ กวางแคริบู)
- สกุล Alces
- Alces alces (กวางมูส; เป็นกวางใหญ่ที่สุดในโลก)
- สกุล Odocoileus
การปรับตัวต่อถิ่นอาศัย
[แก้]จากการศึกษาวิวัฒนาการของสัตว์วงศ์กวางและกระจง ซึ่งเป็นสัตว์เคี้ยวเอื้องที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน พบว่ามีหลายชนิดที่มีลักษณะการปรับตัวทางวิวัฒนาการเป็นแบบเข้าหากัน คือ กวางและกระจงที่มีถิ่นอาศัยต่างถิ่นกัน อาจมีรูปร่างภายนอกที่คล้ายคลึงกันได้ หากสภาพแวดล้อมทางนิเวศวิทยาของถิ่นอาศัยนั้นมีสภาพใกล้เคียงกัน [3] ซึ่งภายใต้สภาพการเลี้ยงในสวนสัตว์ในแต่ละที่ แต่ละกลุ่มประชากรในถิ่นอาศัยที่มีสภาพทางนิเวศวิทยาที่แตกต่างกันนั้น อาจจะเป็นคนละชนิด ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันก็ได้ [4]
ความสำคัญต่อมนุษย์
[แก้]กวางเป็นสัตว์ที่มีบทบาทสำคัญต่อการตำรงชีวิตของมนุษย์มานานแล้ว ตั้งแต่ยุคที่มีการล่าสัตว์เพื่อนำมาทำเป็นอาหาร เอาหนังมาทำเครื่องนุ่งห่ม ต่อมาได้มีการนำกวางมาเป็นสัตว์เลี้ยงเพื่อบริโภคเนื้อ เป็นเกมกีฬาของชนชั้นสูงและมีการพัฒนาขึ้นมาจนเกิดเป็นอุตสาหกรรมการเลี้ยงกวางหรือฟาร์มกวาง [5]
นอกจากนี้แล้ว กวาง ยังเป็นสัญลักษณ์แห่งดาวโชคลาภ กวาง ในภาษาจีนจะเรียกว่า "ลู่" (鹿) เป็นสัตว์สิริมงคลตามความเชื่อของจีน ซึ่งหมายถึงเทพดาวลก (ผู้เป็น 1 ใน 3 เทพดาว ฮก ลก ซิ่ว) ดังนั้นกวางจึงมีความหมายในเชิงสัญลักษณ์ เป็นตัวแทนหมายถึง เทพแห่งดาวโชคลาภและชื่อเสียง[6] กวางหลายชนิดถูกจัดอยู่ในสัตว์ป่าคุ้มครอง สถานภาพทางกฎหมายตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 ที่อนุญาตให้เพาะพันธุ์ได้ [7]
หมายเหตุ
[แก้]สัตว์เคี้ยวเอื้องอื่นบางชนิดเรียกว่ากวางตามชื่อสามัญ แต่ไม่ใช่กวางแท้ ๆ เช่น สัตว์ในวงศ์กวางชะมด (ชื่อสามัญ: Musk deer; ชื่อวิทยาศาสตร์: Moschidae) และกวางผา (ชื่อสามัญ: Goral; ชื่อวิทยาศาสตร์: Naemorhedus sp.)[8] [9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ จาก itis.gov (อังกฤษ)
- ↑ (สวัสดิ์, 2527)
- ↑ Biology and management of the Cervidae. a conference held at the Conservation and Research Center, National Zoological Park, Smithsonian Institution, Front Royal, Virginia, August 1-5, 1982
- ↑ การศึกษาลำดับนิวคลีโอไทดสัตววงศกวางเพื่อประโยชนในการจำแนกสัตวปาของกลาง เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. โดย กณิตา อุยถาวร. สืบค้น 26 ตุลาคม 2556
- ↑ กวาง เก็บถาวร 2013-10-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. รัตตนาฟาร์ม
- ↑ กวาง สัญลักษณ์แห่งดาวโชค[ลิงก์เสีย]. โฮโรเวิลด์
- ↑ กวาง. การเลี้ยงกวางจากกรมปศุสัตว์
- ↑ กวาง เก็บถาวร 2008-10-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน คณะสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- ↑ "การเลี้ยงกวาง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-17. สืบค้นเมื่อ 2009-03-29.