กลุ่มอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน
กลุ่มอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน (Acute respiratory distress syndrome) | |
---|---|
ชื่ออื่น | Respiratory distress syndrome (RDS), adult respiratory distress syndrome, shock lung |
ภาพเอกซเรย์ปอดของผู้ป่วย ARDS แสดงให้เห็นรอยทึบแบบกระจกฝ้ากระจายทั่วปอดทั้งสองข้าง | |
สาขาวิชา | เวชบำบัดวิกฤติ |
อาการ | หายใจลำบาก, หายใจเร็ว, ตัวเขียวคล้ำ[1] |
การตั้งต้น | ภายใน 1 สัปดาห์[1] |
วิธีวินิจฉัย | สำหรับผู้ใหญ่: PaO2/FiO2 ratio of less than 300 mm Hg[1] สำหรับเด็ก: oxygenation index > 4[2] |
โรคอื่นที่คล้ายกัน | หัวใจวายเลือดคั่ง[1] |
การรักษา | การใช้เครื่องช่วยหายใจ, การใช้เครื่องพยุงการทำงานของหัวใจและปอด[1] |
พยากรณ์โรค | โอกาสเสียชวิต 35 - 50 %[1] |
ความชุก | ปีละ 3 ล้านคน[1] |
กลุ่มอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน (อังกฤษ: acute respiratory distress syndrome) หรือ ARDS เดิมเรียกว่า กลุ่มอาการหายใจลำบาก (อังกฤษ: respiratory distress syndrome, RDS) , กลุ่มอาการหายใจลำบากในผู้ใหญ่ (อังกฤษ: adult respiratory distress syndrome) หรือ shock lung เป็นภาวะการหายใจล้มเหลวชนิดหนึ่งที่ผู้ป่วยจะมีการอักเสบทั่วไปในเนื้อปอดอย่างรวดเร็ว[1] ผู้ป่วยจะมีอาการหายใจลำบาก หายใจเร็ว และตัวเขียวได้[1] ผู้รอดชีวิตบางรายจะมีคุณภาพชีวิตที่ถดถอยลง[3]
สาเหตุของภาวะนี้มีหลายอย่าง เช่น ติดเชื้อในกระแสเลือด ตับอ่อนอักเสบ การบาดเจ็บ ปอดอักเสบ และการสูดสำลัก[1] กลไกเบื้องหลังการเจ็บป่วยคือการเกิดการบาดเจ็บต่อเซลล์ปอดส่วนที่กั้นแบ่งถุงลม การทำงานผิดปกติของสารลดแรงตึงผิวในถุงลม การกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันเกินปกติ และภาวะการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ[4] ผลจากกลไกเหล่านี้ทำให้เนื้อปอดมีความสามารถในการแลกเปลี่ยนก๊าซ (ออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์) ลดลง[1] การวินิจฉัยภาวะนี้ในผู้ใหญ่อาศัยอัตราส่วน PaO2/FiO2 (อัตราส่วนระหว่างความดันออกซิเจนในหลอดเลือดแดงเทียบกับอัตราส่วนออกซิเจนในอากาศที่หายใจ) ที่น้อยกว่า 300 mmHg เมื่อตั้งค่าเครื่องช่วยหายใจให้ PEEP สูงกว่า 5 cmH2O แล้ว[1] นอกจากนี้ต้องตรวจว่าไม่ใช่ภาวะอื่นที่คล้ายกันคืออาการปอดบวมน้ำที่มีสาเหตุจากหัวใจ[3]
การรักษาที่สำคัญที่สุดคือการใช้เครื่องช่วยหายใจและรักษาภาวะอื่นที่เป็นสาเหตุของ ARDS[1] แนวทางช่วยหายใจที่เป็นที่แนะนำคือการใช้ปริมาตรหายใจต่ำ และความดันอากาศต่ำ[1] หากยังไม่เพียงพอสามารถใช้การระดมถุงลม (lung recruitment maneuver) และการใช้ยาหย่อนกล้ามเนื้อชนิดยับยั้งสารสื่อประสาทกับกล้ามเนื้อ (neuromuscular blocking agent)[1] หากยังไม่เพียงพออีกอาจใช้การแลกเปลี่ยนออกซิเจนนอกร่างกาย (ECMO) เป็นทางเลือกได้[1] ผู้ป่วยภาวะนี้จะมีอัตราตายสูง อยู่ที่ 35-50%[1]
ทั่วโลกมีผู้ป่วย ARDS ประมาณ 3 ล้านรายต่อปี[1] ภาวะนี้ถูกบรรยายไว้ครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1967[1] เดิมถูกเรียกชื่อว่า "adult respiratory distress syndrome" (กลุ่มอาการหายใจลำบากในผู้ใหญ่) เพื่อแยกจากกลุ่มอาการหายใจลำบากในทารกแรกเกิด ("infant respiratory distress syndrome") ปัจจุบันที่ประชุมนานาชาติได้มีมติให้เรียกโรคนี้ว่า "acute respiratory distress syndrome" เนื่องจากภาวะนี้สามารถเกิดได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่[5] เกณฑ์การวินิจฉัยโรคนี้จะแตกต่างออกไปจากเกณฑ์ข้างต้น หากต้องการวินิจฉัยภาวะนี้ในผู้ป่วยเด็ก หรือผู้ป่วยในประเทศที่มีทรัพยากรจำกัด[3]
การวินิจฉัย
[แก้]เกณฑ์การวินิจฉัย
[แก้]เกณฑ์การวินิจฉัย ARDS มีการเปลี่ยนแปลงอยู่อย่างต่อเนื่องตามองค์ความรู้ในพยาธิสรีรวิทยาของโรคที่มีมากขึ้นเรื่อยๆ มติที่ประชุมผู้เชี่ยวชาญนานาชาติฉบับ ค.ศ. 2012 เป็นฉบับล่าสุด ได้ออก "นิยามเบอร์ลิน" เพื่อประกอบการวินิจฉัย ARDS[6][7] มีการเปลี่ยนแปลงคือ ขยายผู้ป่วยเข้านิยามให้กว้างขึ้น ไม่สนับสนุนให้ใช้คำว่า "ปอดเสียหายเฉียบพลัน" (acute lung injury) และนิยามระดับความรุนแรงของ ARDS ตามความรุนแรงของการลดลงของปริมาณออกซิเจนในเลือด[5]
นิยามของ ARDS ในผู้ใหญ่ ตามนิยามเบอร์ลิน ค.ศ. 2012 มีดังนี้
- การบาดเจ็บของปอดที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน ภายใน 1 สัปดาห์ หลังเหตุกระตุ้น และมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางแย่ลงของอาการระบบหายใจ
- รอยทึบแบบเป็นทั้งสองข้าง (bilateral opacities) ที่เห็นจากการถ่ายภาพรังสีทรวงอก (เอกซเรย์ หรือ ซีที) ที่ไม่มีคำอธิบายอื่น (คำอธิบายอื่น เช่น น้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด, ปอดแฟบ, หรือจุดเนื้อ เป็นต้น)
- การหายใจล้มเหลวที่ไม่สามารถอธิบายได้ด้วยภาวะหัวใจวายหรือสารน้ำเกิน
- อัตราส่วนความดันออกซิเจนในเลือดแดง ต่อความเข้มข้นออกซิเจนที่ใช้หายใจ (PaO
2/FiO
2) ลดลง (ถ้าสัดส่วนนี้ลดลง อาจแปลว่า แม้ในอากาศที่หายใจจะมีออกซิเจนมาก แต่ออกซิเจนในเลือดกลับมีน้อย)- ARDS ระดับเล็กน้อย: 201-200 mmHg
- ARDS ระดับปานกลาง: 101-200 mmHg
- ARDS ระดับรุนแรง ≤ 100 mmHg
- โปรดสังเกตว่าการใช้ PaO
2/FiO
2 มาเป็นนิยามของ ARDS ตามนิยามเบอร์ลิน มีข้อกำหนดว่าผู้ป่วยจะต้องได้รับการให้การช่วยหายใจที่มี PEEP อย่างน้อย 5 cmH
2O โดยอาจเป็นการให้แบบไม่รุกล้ำ เช่น ให้ผ่าน CPAP ก็สามารถวินิจฉัย ARDS ได้
ทั้งนี้ นิยามเบอร์ลินฉบับ ค.ศ. 2012 เป็นการดัดแปลงเพิ่มเติมจากนิยามตามมติที่ประชุมฯ เมื่อ ค.ศ. 1994[8]
พยากรณ์โรค
[แก้]โดยภาพรวมแล้วผู้ป่วย ARDS มีพยากรณ์โรคที่ไม่ดีนัก โดยมีอัตราตายสูงถึง 40%[9] แม้ในผู้ที่รอดชีวิตก็อาจมีผลตามมาได้หลายอย่าง เช่น ออกกำลังกายได้ลดลง ผลต่อสภาพร่างกายและจิตใจ คุณภาพชีวิตลดลง เป็นต้น
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 1.12 1.13 1.14 1.15 1.16 1.17 1.18 Fan, E; Brodie, D; Slutsky, AS (20 February 2018). "Acute Respiratory Distress Syndrome: Advances in Diagnosis and Treatment". JAMA. 319 (7): 698–710. doi:10.1001/jama.2017.21907. PMID 29466596.
- ↑ Cheifetz, Ira M (25 May 2017). "Pediatric ARDS". Respiratory Care. 62 (6): 718–731. doi:10.4187/respcare.05591. PMID 28546374.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 Matthay, MA; Zemans, RL; Zimmerman, GA; Arabi, YM; Beitler, JR; Mercat, A; Herridge, M; Randolph, AG; Calfee, CS (14 March 2019). "Acute respiratory distress syndrome". Nature Reviews. Disease Primers. 5 (1): 18. doi:10.1038/s41572-019-0069-0. PMC 6709677. PMID 30872586.
- ↑ Fanelli, Vito; Ranieri, V. Marco (2015-03-01). "Mechanisms and clinical consequences of acute lung injury". Annals of the American Thoracic Society. 12 Suppl 1: S3–8. doi:10.1513/AnnalsATS.201407-340MG. ISSN 2325-6621. PMID 25830831.
- ↑ 5.0 5.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อdefinition-ARDS
- ↑ Ranieri VM, Rubenfeld GD, Thompson BT, Ferguson ND, Caldwell E, Fan E, Camporota L, Slutsky AS (Jun 2012). "Acute respiratory distress syndrome: the Berlin Definition. ARDS Definition Task Force". JAMA. 307 (23): 2526–33. doi:10.1001/jama.2012.5669. PMID 22797452. S2CID 36276275.
- ↑ Ferguson ND, Fan E, Camporota L, Antonelli M, Anzueto A, Beale R, Brochard L, Brower R, Esteban A, และคณะ (Oct 2012). "The Berlin definition of ARDS: an expanded rationale, justification, and supplementary material". Intensive Care Med. 38 (10): 1573–82. doi:10.1007/s00134-012-2682-1. PMID 22926653. S2CID 13556499. Erratum in: Intensive Care Med. 2012 Oct;38(10):1731-2. PMID 22926653
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อRippe-ARDS
- ↑ Lewis, Sharon R.; Pritchard, Michael W.; Thomas, Carmel M.; Smith, Andrew F. (July 23, 2019). "Pharmacological agents for adults with acute respiratory distress syndrome". The Cochrane Database of Systematic Reviews. 7: CD004477. doi:10.1002/14651858.CD004477.pub3. ISSN 1469-493X. PMC 6646953. PMID 31334568.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]การจำแนกโรค | |
---|---|
ทรัพยากรภายนอก |