Nothing Special   »   [go: up one dir, main page]

ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แพร์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nix Sunyata (คุย | ส่วนร่วม)
Nix Sunyata (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 33: บรรทัด 33:
[[หมวดหมู่:วงศ์กุหลาบ]]
[[หมวดหมู่:วงศ์กุหลาบ]]
[[หมวดหมู่:ไม้ผล]]
[[หมวดหมู่:ไม้ผล]]
[[หมวดหมู่:สกุลสาลี่]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:19, 21 เมษายน 2564

แพร์
European Pear branch with fruit (Image Courtesy of USDA, ARS)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Rosids
อันดับ: Rosales
วงศ์: Rosaceae
สกุล: Pyrus
สปีชีส์: P.  communis
ชื่อทวินาม
Pyrus communis
Linnaeus, 1758

แพร์ (อังกฤษ: European Pear; ชื่อวิทยาศาสตร์: Pyrus communis)เป็นผลไม้เมืองหนาว มีถิ่นกำเนิดในยุโรป โดยมีหลักฐานทางโบราณคดีระบุว่าได้มีการนำแพร์ที่เป็นพืชป่ามาปลูกเป็นพืชสวน[1] จากหลักฐานในยุโรปสมัยยุคหินใหม่และยุคบรอนซ์ การปลูกแพร์มีบันทึกในเอกสารของกรีกโบราณและจักรวรรดิโรมัน [2] เป็นไม้ยืนต้น ใบรูปไข่ ผิวใบเรียบ กลีบดอก 5 กลีบ ขนาดผลใกล้เคียงกับแอปเปิล เปลือกบาง สุกแล้วเนื้อนิ่มมาก ฉ่ำน้ำ รสชาติหวานอมเปรี้ยวและหวานหอม เป็นพืชคนละสปีชีส์กับสาลี่ แพร์เองแบ่งได้เป็นหลายพันธุ์ แต่พันธุ์ที่นิยมในตลาดมากที่สุดคือ Williams pear หรือเรียกว่า Bartlett ในสหรัฐและแคนาดา[3]

เปรียบเทียบแพร์ 8 สายพันธุ์จากซ้ายไปขวาคือ Williams' Bon Chrétien (ในสหรัฐเรียก Bartlett), พันธ์ Bartlett สีแดงสองแบบ, d'Anjou, Bosc, Comice, Concorde, และ Seckel

การใช้ประโยชน์

พายแพร์

เนื้อลูกแพร์ไม่แข็งเท่าเนื้อแอปเปิล นอกจากบริโภคเป็นผลไม้แล้ว แพร์ยังนำไปแปรรูปได้โดยการเชื่อม แช่อิ่ม ตากแห้ง บรรจุกระป๋อง [4] ใช้ทำของหวาน เช่น พาย น้ำผลไม้จากลูกแพร์ที่นำไปหมักเรียก เพอร์รี (perry)


อ้างอิง

  1. Daniel Zohary and Maria Hopf, Domestication of plants in the Old World, third edition (Oxford: University Press, 2000), p. 176
  2. Zohary and Hopf, Domestication, p. 177
  3. U.S. Department of Agriculture. (September 2004.) "Pyrus Crop Germplasm Committee: Report and genetic vulnerability statement, September 2004". (Website.) Germ Resources Information Network (GRIN), page 5. Retrieved on 2007-10-02.
  4. นิดดา หงส์วิวัฒน์ และทวีทอง หงส์วิวัฒน์. แพร์ ใน ผลไม้ 111 ชนิด: คุณค่าอาหารและการกิน. กทม. แสงแดด. 2550 หน้า 119

แหล่งข้อมูลอื่น